องค์กรยุคใหม่
องค์กรยุคใหม่ พัฒนาทุนมนุษย์ 3 ด้าน Human-Technology-Partnership
ต้องยอมรับว่า สังคมอนาคตกับการพัฒนาทุนมนุษย์มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก โดยเฉพาะในยุคข้อมูลข่าวสาร หากทุนมนุษย์พัฒนาไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โอกาสที่องค์กรจะยืนหยัดสู้กับคู่แข่งได้ก็มีน้อย
ในงานสัมมนา "การพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะ ด้านการจัดการทุนมนุษย์ : เตรียมคนไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาฯเป็นเจ้าภาพใหญ่ "ดุสิต รัชตเศรษฐนันท์" ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้นำเสนอมุมมองจังหวะก้าวขององค์กรที่ต้องตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยีไว้อย่างน่าสนใจ
"ดุสิต" เริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบให้เห็นความต่างขององค์กรยุคเก่ากับองค์กรในยุคปัจจุบันว่า ในอดีตทุกองค์กรจะมีความคิดว่า ถ้าผลิตสินค้าหรือโปรดักต์ออกมามากๆ จะช่วยลดต้นทุนต่อหน่วย (economy of scale) คิดว่าการเติบโตขององค์กรขึ้นอยู่กับการที่มีเงินทุนและเครื่องจักรจำนวนมากๆ องค์กรมีความเป็นอิสระ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับองค์กรอื่นๆ การบริหารงานภายในจะแบ่งออกเป็นหลายระดับชั้น รับพนักงานในจำนวนมากๆ และเส้นทางการเติบโตของพนักงานจะเป็นไปตามที่กำหนด (career path) ฉะนั้นโอกาสที่พนักงานจะตกงานจึงมีน้อยมาก หากมีความซื่อสัตย์ ขยัน มีทักษะในงานที่ทำก็อยู่กับองค์กรไปได้เรื่อยๆ
แต่ปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป อย่างสิ้นเชิง มีคู่แข่งเกิดขึ้นมากมาย การผลิตสินค้าจึงจำกัดเฉพาะตามที่ลูกค้าออร์เดอร์มาเท่านั้น เรื่องขององค์ความรู้ใหม่ ความเร็วในการคิดค้นสินค้าใหม่ๆ การผลิตที่สนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด มีผลต่อ การเติบโตขององค์กร การเพิ่มขีดความสามารถ (competitive advantage) ในการแข่งขันทั้งสิ้น
นอกจากนั้นองค์กรยังให้ความสำคัญในการสร้างพันธมิตร เครือข่าย มีการสับเปลี่ยนตำแหน่งงานของพนักงานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ข้ามสายงาน ที่น่าสนใจองค์กรยุคใหม่มีพนักงานในองค์กรน้อยลง มีเส้นทางการเติบโตตามผลงาน
หากมีผลงานโดดเด่นเป็น talent ขององค์กร ทำงานได้หลายอย่าง ก็จะได้รับการพัฒนาอย่างเข้มข้นและได้ผลตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อ ส่วนคนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ผลงานอยู่ในระดับ bottom ten ติดต่อกันหลายปีโอกาสที่จะตกงานก็มีสูง
หากมองไปในอนาคต สิ่งที่ทุกองค์กรจะปฏิเสธไม่ได้ และต้องเกาะติดสถานการณ์ ตลอดเวลา คือเรื่องของ information, technology, global / cross culture และ competition
การพัฒนาทุนมนุษย์จึงต้องเตรียมพร้อมใน 3 ด้านควบคู่กัน นั่นคือ ความพร้อมด้าน human ความพร้อมด้าน technology และสุดท้ายความพร้อมด้าน partnership
ด้าน human สิ่งที่ทุกองค์กรต้องเตรียมคือเรื่องของ knowledge management วัฒนธรรมองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียว การสร้าง environment เพื่อให้เกิดความคิดแปลกใหม่ พัฒนาไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและองค์กร
ความพร้อมทางด้าน technology คือการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อรองรับการแข่งขันที่รวดเร็ว
ส่วน partnership ถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรยุคใหม่เช่นกัน นั่นคือการมองหาพันธมิตร ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างแนวคิดหรือผลิตสิ่งใหม่ๆ ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้
"ดุสิต" ได้หยิบกระบวนการปรับตัวของ KTC มาฉายภาพให้ทุกคนเห็นถึงการเปลี่ยนตัวเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
"เมื่อ KTC ต้องออกจากระบบราชการที่มี ข้อจำกัดมากมายเกิดขึ้น สถานที่ทำงาน บุคลากร อีกทั้งคู่แข่งล้วนแต่เป็นผู้ฝีมือ ทุนหนาทั้งสิ้น แต่วันนี้ KTC สามารถก้าวขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าในธุรกิจนี้ได้"
smart office ของ KTC เริ่มต้นจากการสร้างบรรยากาศการทำงาน เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ด้วยสีสันที่สดใส ทุกคนไม่มีโต๊ะทำงานประจำตัว พื้นที่ไหนว่างก็สามารถใช้ได้ ตรงนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะออฟฟิศมีขนาดเล็ก ไม่เพียงพอที่จะวางโต๊ะทำงานให้กับพนักงานทุกคน แต่ตรงนี้ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านพื้นที่ต่อจำนวนพนักงานแต่ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น
โดยทางองค์กรได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ มีการจัดเก็บข้อมูลแบบ digital library ลดปริมาณกระดาษ ประหยัด รักษาสิ่งแวดล้อม และใช้ระบบ wireless communication ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้ทุกสถานที่
ที่สำคัญ KTC พยายามสร้างความรักและความเป็นหนึ่งเดียวในรูปแบบ "no boundary"
วันนี้จึงต้องยอมรับว่า KTC เป็นอีกองค์กรที่มีความโดดเด่นด้านการบริหารจัดการที่ทันสมัยและน่าจับตา
ที่มา : www.thaihrhub.com
ในงานสัมมนา "การพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะ ด้านการจัดการทุนมนุษย์ : เตรียมคนไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาฯเป็นเจ้าภาพใหญ่ "ดุสิต รัชตเศรษฐนันท์" ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้นำเสนอมุมมองจังหวะก้าวขององค์กรที่ต้องตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยีไว้อย่างน่าสนใจ
"ดุสิต" เริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบให้เห็นความต่างขององค์กรยุคเก่ากับองค์กรในยุคปัจจุบันว่า ในอดีตทุกองค์กรจะมีความคิดว่า ถ้าผลิตสินค้าหรือโปรดักต์ออกมามากๆ จะช่วยลดต้นทุนต่อหน่วย (economy of scale) คิดว่าการเติบโตขององค์กรขึ้นอยู่กับการที่มีเงินทุนและเครื่องจักรจำนวนมากๆ องค์กรมีความเป็นอิสระ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับองค์กรอื่นๆ การบริหารงานภายในจะแบ่งออกเป็นหลายระดับชั้น รับพนักงานในจำนวนมากๆ และเส้นทางการเติบโตของพนักงานจะเป็นไปตามที่กำหนด (career path) ฉะนั้นโอกาสที่พนักงานจะตกงานจึงมีน้อยมาก หากมีความซื่อสัตย์ ขยัน มีทักษะในงานที่ทำก็อยู่กับองค์กรไปได้เรื่อยๆ
แต่ปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป อย่างสิ้นเชิง มีคู่แข่งเกิดขึ้นมากมาย การผลิตสินค้าจึงจำกัดเฉพาะตามที่ลูกค้าออร์เดอร์มาเท่านั้น เรื่องขององค์ความรู้ใหม่ ความเร็วในการคิดค้นสินค้าใหม่ๆ การผลิตที่สนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด มีผลต่อ การเติบโตขององค์กร การเพิ่มขีดความสามารถ (competitive advantage) ในการแข่งขันทั้งสิ้น
นอกจากนั้นองค์กรยังให้ความสำคัญในการสร้างพันธมิตร เครือข่าย มีการสับเปลี่ยนตำแหน่งงานของพนักงานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ข้ามสายงาน ที่น่าสนใจองค์กรยุคใหม่มีพนักงานในองค์กรน้อยลง มีเส้นทางการเติบโตตามผลงาน
หากมีผลงานโดดเด่นเป็น talent ขององค์กร ทำงานได้หลายอย่าง ก็จะได้รับการพัฒนาอย่างเข้มข้นและได้ผลตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อ ส่วนคนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ผลงานอยู่ในระดับ bottom ten ติดต่อกันหลายปีโอกาสที่จะตกงานก็มีสูง
หากมองไปในอนาคต สิ่งที่ทุกองค์กรจะปฏิเสธไม่ได้ และต้องเกาะติดสถานการณ์ ตลอดเวลา คือเรื่องของ information, technology, global / cross culture และ competition
การพัฒนาทุนมนุษย์จึงต้องเตรียมพร้อมใน 3 ด้านควบคู่กัน นั่นคือ ความพร้อมด้าน human ความพร้อมด้าน technology และสุดท้ายความพร้อมด้าน partnership
ด้าน human สิ่งที่ทุกองค์กรต้องเตรียมคือเรื่องของ knowledge management วัฒนธรรมองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียว การสร้าง environment เพื่อให้เกิดความคิดแปลกใหม่ พัฒนาไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและองค์กร
ความพร้อมทางด้าน technology คือการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อรองรับการแข่งขันที่รวดเร็ว
ส่วน partnership ถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรยุคใหม่เช่นกัน นั่นคือการมองหาพันธมิตร ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างแนวคิดหรือผลิตสิ่งใหม่ๆ ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้
"ดุสิต" ได้หยิบกระบวนการปรับตัวของ KTC มาฉายภาพให้ทุกคนเห็นถึงการเปลี่ยนตัวเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
"เมื่อ KTC ต้องออกจากระบบราชการที่มี ข้อจำกัดมากมายเกิดขึ้น สถานที่ทำงาน บุคลากร อีกทั้งคู่แข่งล้วนแต่เป็นผู้ฝีมือ ทุนหนาทั้งสิ้น แต่วันนี้ KTC สามารถก้าวขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าในธุรกิจนี้ได้"
smart office ของ KTC เริ่มต้นจากการสร้างบรรยากาศการทำงาน เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ด้วยสีสันที่สดใส ทุกคนไม่มีโต๊ะทำงานประจำตัว พื้นที่ไหนว่างก็สามารถใช้ได้ ตรงนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะออฟฟิศมีขนาดเล็ก ไม่เพียงพอที่จะวางโต๊ะทำงานให้กับพนักงานทุกคน แต่ตรงนี้ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านพื้นที่ต่อจำนวนพนักงานแต่ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น
โดยทางองค์กรได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ มีการจัดเก็บข้อมูลแบบ digital library ลดปริมาณกระดาษ ประหยัด รักษาสิ่งแวดล้อม และใช้ระบบ wireless communication ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้ทุกสถานที่
ที่สำคัญ KTC พยายามสร้างความรักและความเป็นหนึ่งเดียวในรูปแบบ "no boundary"
วันนี้จึงต้องยอมรับว่า KTC เป็นอีกองค์กรที่มีความโดดเด่นด้านการบริหารจัดการที่ทันสมัยและน่าจับตา
ที่มา : www.thaihrhub.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น