วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การตำหนิ

การตำหนิ

วิธีการตำหนิลูกน้องที่ดี 

http://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?user=myzeon&board=39&id=133&c=1&order=numview



อันว่าการตำหนิคนอื่น โดยเฉพาะลูกน้องนั้น ท่านว่าเป็นศาสตร์และศิลปเชียวนะครับ 
ผมเคยอ่านพบที่ไหนจำไม่ได้ว่าขนาดมีการเขียนเป็นตำรามาตั้งแต่สมัยโบราณโดยปราชญ์ชาวจีน 
และก็เคยเห็นพ๊อกเกตบุ๊คตามแผงหนังสือก็มีเกี่ยวกับเรื่องศิลปในการตำหนิลูกน้อง 
ซึ่งผมก็ไม่เคยซื้อหามาอ่านนะครับเลยไม่รู้ว่าเค้ามีหลักมีวิธีการกันอย่างไรบ้าง 
จึงอยากให้แนวคิดตามสไตล์ของผมเองที่เคยทำๆมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็แล้วกัน 

สิ่งแรกผมว่าการจะตำหนิคนได้ ตำหนิเป็น แบบว่าคนถูกตำหนิไม่ถึงกับขุ่นข้องหมองใจ 
มันอยู่ที่คนที่จะตำหนิเขานะครับ ว่าเป็นคนมีจิตใจอย่างไร พูดเป็นหรือไม่แค่ไหน 
จิตใจก็หมายถึงว่าเป็นคนที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีไม่ได้เป็นคนที่หุนหันพลันแล่น 
ใจเยือกเย็นสุขุม มักจะคิดก่อนจะพูด หรือคิดก่อนจะทำ เพราะไม่ชอบการผิดพลาด 
โดยเฉพาะเรื่องการทำให้คนอื่นเข้าใจผิดๆ ไม่อยากให้เกิดปัญหาตามมา 
คนแบบนี้มักจะเป็นคนที่ค่อนข้างจะแคร์ความรู้สึกคนอื่นมากพอสมควร 
มักจะไม่อยากให้ใครเกลียด ไม่อยากให้ใครโกรธ ตรงกันข้ามอยากให้คนอื่นเขารู้สึกดีกับตนเอง 
หรือแปลว่าคนแบบนี้ไม่ต้องการสร้างศัตรู อยากสร้างมิตรมากกว่า 
ดังนั้นเรื่องที่จะไปพูดหักหาญน้ำใจใครเขาก็จะไม่ทำ จะใช้วิธีนิ่งและเงียบมากกว่า 
แต่หากมันเป็นหน้าที่เป็นความจำเป็นที่เขาจะต้องทำอย่างเช่นการเป็นหัวหน้าคนอื่น 
ซึ่งไม่สามารถหลีกหนีเรื่องการอบรมสั่งสอน หรือแม้แต่การต้องตำหนิติเตียนลูกน้องตัวเอง 
ดังนั้นการตำหนิติเตียนอบรมสั่งสอนลูกน้องจึงมีคอนเซ็ปตามจิตใจและความเป็นเขาโดยธรรมชาติ 

ถ้ามีคำพูดหลายๆคำที่มีความหมายเดียวกันอย่างเช่นคำที่เกี่ยวกับการทำผิดของลูกน้อง 
ซึ่งหากพูดกันตรงๆเข้ากลางแสกหน้า ก็จะมีประมาณว่า "ไม่รู้หรือไงว่ามันผิด" 
"ทำอย่างนี้ได้ยังไงมันผิดเห็นๆ" 
"ทำไมไม่ใช้หัวคิดเสียบ้าง""ทำไมถึงโง่นักล่ะ" ประมานนี้นะครับ 
คนที่เป็นคนที่มีจิตใจอย่างที่ผมว่าแต่ต้นนั้นเขาจะไม่ใช้คำเหล่านั้นสักคำเลย 
เขาจะเลี่ยงไปใช้ถ้อยคำและวิธีพูดที่สละสลวยกว่าแต่ความหมายมันก็เหมือนกันนั่นแหละ 

อย่างเช่นอาจจะใช้คำอื่นมาแทนคำว่าผิดเป็นต้นว่า"คงจะไม่รู้มาก่อนมันจึงออกมาไม่ถูก" 
"เอาเป็นว่าถ้าจะให้มันถูกต้องและเหมาะสม ควรจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้นะ 
ผลที่ออกมามันจะได้อย่างที่ควรจะเป็น พยายามหน่อยก็แล้วกัน ใจเย็นๆ 
คนทำงานมันก็ต้องมีผิดมีพลาดกันบ้างเป็นธรรมดา ไม่มีใครทำอะไรถูกไปหมดหรอก ทำไม่ถูก 
ก็ทำมันเสียใหม่ให้ถูก คราวหน้าระวังหน่อยก็แล้วกัน" 
คุณคิดว่าไงครับความหมายเดียวกันไหมเพียงแต่ใช้วิธีพูดคนละอย่างเท่านั้น 
ยิ่งเป็นการพูดกันสองต่อสองด้วยสีหน้าและโทนเสียงธรรมดาเหมือนกับการพูดจาทั่วไปแล้ว 
คนที่ถูกตำหนิจะไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำว่ากำลังถูกตำหนิอยู่แท้ๆ 
พอเอากลับไปคิดทีหลังนั่นแหละถึงจะรู้ว่าโดนเฉ่งแบบนิ่มๆเข้าไปดอกหนึ่งซะแล้ว 

การใช้จังหวะและโอกาสก็เป็นเท็คนิคอย่างหนึ่งที่ใช้ประกอบการตำหนิแบบนุ่มนวล 
คือลูกพี่ส่วนใหญ่พอเห็นลูกน้องทำผิดทำไม่ดีก็จะต่อว่าหรือด่ากันตรงนั้นเลย 
บางคนอาจจะเห็นว่านั่นแหละถูกต้อง ต้องว่าเดี๋ยวนั้นด่าเดี๋ยวนั้น ลูกน้องจะได้จดจำ 
ที่จำได้เพราะอายที่ถูกด่าไม่อยากถูกด่าอีกก็ต้องจำให้ดี 
แต่บางครั้งลูกน้องไม่ได้อายหรือรู้สึกไม่ดีอย่างเดียวเขาอาจจะรู้สึกโกรธและไม่พอใจด้วยก็ได้ 
เพราะบางครั้งมันอาจจะไม่ใช่ความผิดพลาดของเขาอย่างแท้จริง มันอาจจะมาจากสาเหตุอื่นด้วย 
แต่ผมจะคิดอีกอย่างแบบว่าก่อนที่จะตำหนิใครมันต้องแน่ใจเสียก่อนว่ามันใช่ 
มันไม่มีอะไรหรือใครมามีส่วนเป็นสาเหตุในครั้งนี้ด้วย ต้องหาข้อมูลให้ชัดเจนเสียก่อน 
ฉะนั้นการจะไปดุด่าว่ากันทันทีทันควันจึงไม่สมควรจะทำต้องหาข้อเท็จจริงอย่างแรก 
แน่นอนแล้วค่อยหาจังหวะและโอกาสเรียกมานั่งคุยกันเป็นเรื่องเป็นราวแบบไม่ต้องซีเรียสอะไร 

อีกแนวทางหนึ่งคือเราต้องจำแนกแยกแยะประเภทของลูกน้องที่จะตำหนิหรืออบรมสั่งสอนเขาด้วย 
ไม่ใช่ว่ามีวิธีเดียวที่จะเอามาใช้กับทุกคนได้เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน 
บางคนเปราะบางมากก็ต้องใช้ความละมุนละไมและนิ่มนวลในการพูด 
บางคนก็อย่างหนาใช้ความนิ่มนวลกับเขาไม่รู้สึกก็อาจต้องเพิ่มแรงเข้าไปสักหน่อย 
หรือบางคนอาจไม่ต้องพูดเลยแค่แสดงออกด้วยสีหน้าท่าทางว่าผิดหวังแค่นั้นลูกน้องก็กลุ้มใจแล้ว 
ซึ่งแปลว่าเราต้องอ่านลูกน้องแต่ละคนให้ออกว่าใครเป็นอย่างไรอย่างหนาหรืออย่างบาง 
จึงจะเลือกแนวทางและดีกรีการพูดได้ถูกต้องและเหมาะสม 

สำหรับคนชอบเขียนอย่างผมผมยังมีใช้มุขในการเขียน 
เพื่อใช้อบรมและแนะนำลูกน้องวิจารณ์ทั้งผลงานและตัวเขาถึงข้อดีข้อเสีย 
แต่ผมจะเลือกเขียนให้เฉพาะลูกน้องคนที่ใกล้ตัวจริงๆและรู้ว่าเขายอมรับในตัวผมจริงๆ 
อย่างเช่นบรรดามือรองๆและตัวคีย์ๆของผม พวกเขาส่งส.ค.ส 
ตอนปีใหม่ให้ผมๆก็ส่งจดหมายรักคืนเป็นส.ค.สให้กลับไป 
ในจดหมายรักนั้น(เลขาฯเป็นคนตั้งชื่อ)ผมจะเขียนถึงผลงานและการทำงานของเขาทั้งปีที่ผ่านมา 
มีงานไหนแง่มุมไหนที่ผมชื่นชมและพึงพอใจอย่างไรบ้าง 
เพราะเหตุผลอะไรเพราะความสามารถและข้อดีอย่างไรของเขาบ้างจึงทำให้งานมันสำเร็จออกมาดี 
มีงานอะไรบ้างที่มันยังคั่งค้างและต้องพยายามทำให้สำเร็จ 
ที่มันค้างหรือล่าช้ามันมาจากสาเหตุอะไรมันไปบั่นทอนจุดอ่อนของเขาตรงไหน 
เขาควรจะแก้ไขอย่างไร โดยใช้แนวคิดอย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร 
และตอนสรุปส่งท้ายก็จะให้กำลังใจและชื่นชม ขอบอกขอบใจที่พวกเขาร่วมมือร่วมใจกับผม 
ลูกน้องบางคนเก็บจดหมายนี้ไว้อย่างดีและบอกว่ามันช่วยเตือนใจและสามารถใช้แก้ไขตัวเองได้ 
มันเปรียบเสมือนกระจกสำหรับส่องตัวเอง 
แต่ผมจะกล้าเขียนก็เฉพาะกับคนที่ผมคิดว่าอ่านเขาทะลุปรุโปร่ง ยอมรับ 
เต็มใจและอยากได้เท่านั้น ไม่ใช่เขียนให้ทุกคน 

แนวทางและวิธีของผมนี้ไม่ได้เอาเพศมาเป็นตัวกำหนดว่าผู้หญิงต้องแบบนี้ผู้ชายต้องแบบนี้ 
แต่ผมใช้ประเภท ใช้นิสัยใจคอ ใช้พื้นฐานจิตใจ ความละเอียดอ่อนไหวของแต่ละคน 
มาเป็นโจทย์ในการวางกลยุทธ์และวิธีการในการตำหนิหรืออบรมสั่งสอนมากกว่า 
พอจะเข้าใจวิธีการแนวคิดและสไตล์นี้ของผมไหมครับ 

โดย : สุจินต์ จันทร์นวล 



ขออนุญาตแชร์ความเห็น เรื่องการตำหนิลูกน้อง ผมมีประสบการณ์ตรงที่ยังใช้อยู่คือ 
การต้องตอบคำถามให้ครบ 5 ข้อ ก่อนการตำหนิ หรือกระทั่งการตัดสินลงโทษครับ 

1.เขามีข้อบกพร่อง หรือผิดพลาดจริงมั้ย... (ถ้าจริงตอบข้อ 2) 
2.อะไรคือเหตุผลที่บอกว่าเขาบกพร่อง หรือผิดพลาด...(ถ้าไม่มีเหตุผลเป็นรูปธรรม 
แสดงว่าเขาแค่ทำไม่ถูกใจเรา ไม่ใช่ผิดพลาด หรือบกพร่อง) 
3.ความรุนแรงของความบกพร่องถึงขั้นเป็นความผิดที่ต้องลงโทษหรือไม่... 
(แปลว่าต้องเทียบกับกฏเกณฑ์ของบริษัทที่ต้องและประกาศให้พนักงานทราบก่อนหน้า...ถ้าเข้าข่ายตอบข้อ 4 
ถ้าไม่เข้าข่ายข้ามไปตอบข้อ 5) 
4.เมื่อเข้าข่ายเป็นความผิดที่ต้องลงโทษ ลงโทษสถานใด และมีเหตุอันใดที่จะลดโทษได้บ้าง...(ต้องตอบ 2 
ประเด็นในข้อนี้ ลงโทษสถานใดที่ระบุชัดในระเบียบ 
แต่จะลดโทษได้สถานใดคือการหาทางเข้าข้างด้วยความมีเมตตาต่อลูกน้อง) 
5.การตำหนิหรือลงโทษครั้งนี้ อะไรคือข้อดีที่ลูกน้องจะได้รับ แล้วจะสื่อถึงเขาอย่างไร... 
(เปลี่ยนประเด็นจากสิ่งที่อยากด่าเป็นสิ่งที่อยากบอกให้เขาดีขึ้น..แล้วอารมณ์พล่านๆของคนตำหนิจะลดอุณหภู 
มิลง) 

ถ้าตอบ 5 ข้อนี้ด้วยความจริงใจ การหาเหตุผลตรงนี้จะชะลอเวลาและอารมณ์อันหงุดหงิดของเราออกไปด้วย 
ขออนุญาตอ้างคำสอนของคุณสุจินต์อันหนึ่งที่ว่า.. "ลูกน้องไม่ใช่ศัตรู แต่คือ ลูก กับ น้อง" 

โดย : พลชัย เพชรปลอด 

http://www.smart2work.net/webboard280/view.php?topic=41&PHPSESSID=9e89d4e4476df67382bb880789ca40e8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น