วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หลักการทำงาน : การครองตน ครองคน ครองงาน
 
1. รู้เด็ก รู้ผู้ร่วมงาน รู้ผู้บริหาร รู้ชุมชน หมาย ถึง ต้องทราบถึงข้อมูล สารสนเทศ ของผู้ที่จะทำการปฏิสัมพันธ์ด้วย และต้องเป็นไปอย่างกัลยาณมิตร ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์มากมาย ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences) หลักการประสานประโยชน์ หลักความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ (Maslow ’s hierarchy of needs)  “ต้องรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา” “รู้รักสามัคคี” และที่สำคัญอีกประการคือ ผู้บริหารต้องผดุงไว้ซึ่ง “ความจริงใจ  ความงาม และความดี”
2. อุทิศตนให้ราชการ หมายถึง ความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อทางราชการเป็นสำคัญ ยอมเสียสสะเพื่อปฏิบัติงานให้กับทางราชการ เช่น หากมีภารกิจเร่งด่วน แม้เป็นวันหยุด ก็พร้อมปฏิบัติหน้าที่เสมอ
3. ประสานงานเครือข่าย หมาย ถึง การใช้หลักการมีมนุษยสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานหรือการประกอบภารกิจต่างๆ กล่าวคือการปฏิบัติงานจะต้องพึ่งพาอาศัยพลังจากส่วนต่างๆ ไม่สำคัญตนเอง การสร้างเครือข่ายการทำงานทำให้งานมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีรวมทั้งน่า เชื่อถือ
4. หลากหลายองค์ความรู้ หมาย ถึง การปฏิบัติงานใดๆก็ตาม ต้องใช้ความรู้ความสามารถหลายประการ ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องสั่งสมองค์ความรู้ไว้ให้มาก ซึ่งทำได้โดยการศึกษาค้นคว้าดูงาน อบรมเพิ่มเติม เปิดประตูใจรับฟังจากคนอื่นๆ ไม่ทำตนเป็นคนประเภทชาล้นถ้วย ต้องทำตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และนักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เช่นกัน
5. มุ่งเชิดชูคุณธรรม หมาย ถึง การรู้จักแยกแยะความดีออกจากความชั่วร้ายให้ได้ ผู้บริหารต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและบุคคลโดย ทั่วไป ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา และยกย่องเชิดชูผู้คนให้ปฏิบัติตนเป็นคนดี น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ จะได้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
6. เป็นผู้นำประชาธิปไตย หมาย ถึง การปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบแห่งเหตุและผล ไม่ยึดอารมณ์ในการปฏิบัติงาน ยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ประกอบด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่าและหลักการมีส่วนร่วม พร้อมยึดคุณธรรม 3 ประการ คือ คารวะธรรม สามัคคีธรรมและปัญญาธรรม
7. จริงใจต่อภาระหน้าที่ หมาย ถึง การมีคุณธรรมอันสูงส่งในการปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างเสมอต้นเสมอปลายไม่ให้ มีความย่อหย่อน คุณธรรมนี้ก็คือ “อิทธิบาท 4” อันประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
8. มีจรรยาบรรณวิชาชีพ หมาย ถึง การยึดถือและน้อมนำมาปฏิบัติย่างสมบูรณ์ ซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความเชื่อมั่น ศรัทธา  มีความพึงพอใจและภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีและเกียรติยศแห่งอาชีพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น