PBB 7 Hurdles
“7 Hurdles” กลไกขับเคลื่อน PBB
PBB: Performance – based
Budgeting เป็นระบบการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้กับผลงานที่เกิดขึ้นว่า
มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร คุ้มค่ามากน้อยเพียงไร
ทำให้หน่วยงานของรัฐได้รับข้อมูลทางการเงินและการจัดการที่บ่งบอกถึงผลผลิต
(Outputs – สิ่งของและบริการ) ที่จัดทำโดยส่วนงานนั้นๆ
รวมถึงค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งผลผลิตนั้น
และความเชื่อมโยงของผลผลิตและผลลัพธ์ (Outcoms -ผลที่ตามมา
ผลกระทบและผลสำเร็จ) ที่รัฐบาลต้องการ
โดยแนวทางนี้การตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรจึงอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลด้าน
ผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันกับวัตถุประสงค์ของนโยบาย
นอกจากนี้ PBB
ยังเป็นระบบการทำงานที่ผสมผสานระหว่างการวางแผนการจัดทำงบประมาณ
การตรวจสอบติดตามทบทวนผลงานซึ่งหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณหรือ
ทรัพยากรต้องรับผิดชอบผลงานที่เกิดขึ้น
ผลผลิตหรือผลผลิตหลัก
คือสิ่งของหรือบริการที่เป็นรูปธรรมหรือรับรู้ได้
ที่จัดทำหรือผลิตโดยหน่วยงานของรัฐเพื่อให้บุคคลภายนอกได้ใช้ประโยชน์
ผลผลิตคือการตอบคำถามได้รับอะไรจากการดำเนินงานผลิตหรือ
ให้บริการหรือจัดซื้อ สำหรับผลผลิตของสถานศึกษานั้นได้แก่
การจัดบริการการศึกษาให้นักเรียนประเภทต่างๆ
นอกจากนี้ผลผลิตยังรวมถึงผลผลิตที่เกิดจากการจัดกิจกรรมที่หน่วยงานนั้นได้
ทำขึ้นโดยตรงและเกิดขึ้นทันทีทันใดหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม เช่น
ครูที่ผ่านการอบรม
หนังสือและเครื่องเขียนแบบเรียนที่ได้จัดซื้อและนักเรียนที่ได้รับอาหาร
เสริม เป็นต้น เรียกผลผลิตประเภทนี้ว่า ผลผลิตภายใน (Intermediate
outputs) เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน โดย Intermediate
outputs จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดผลผลิตหลัก
ผลลัพธ์ เป็น ผลงาน ผลกระทบที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม (ลูกค้าเป้าหมาย) จากการได้ใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ (ผลผลิต) ที่เกิดจากการดำเนินงานโดยหน่วยงานของรัฐ ผลลัพธ์จะตอบคำถามว่าทำไมจึงมีการดำเนินการผลิตหรือให้บริการนั้น เช่น การมีงานทำหรือการเรียนต่อของผู้สำเร็จการศึกษา ความสามารถในการพัฒนาตนเอง เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนภายหลังที่จบการศึกษาจากโรงเรียนไปแล้ว การกำหนดผลลัพธ์รัฐบาลและหน่วยงานทางด้านนโยบายเป็นผู้ร่วมกำหนดแล้วมอบหมาย ให้หน่วยงานระดับรองลงมาแปลงเป็นผลผลิตต่อไป
ผลลัพธ์ เป็น ผลงาน ผลกระทบที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม (ลูกค้าเป้าหมาย) จากการได้ใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการ (ผลผลิต) ที่เกิดจากการดำเนินงานโดยหน่วยงานของรัฐ ผลลัพธ์จะตอบคำถามว่าทำไมจึงมีการดำเนินการผลิตหรือให้บริการนั้น เช่น การมีงานทำหรือการเรียนต่อของผู้สำเร็จการศึกษา ความสามารถในการพัฒนาตนเอง เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนภายหลังที่จบการศึกษาจากโรงเรียนไปแล้ว การกำหนดผลลัพธ์รัฐบาลและหน่วยงานทางด้านนโยบายเป็นผู้ร่วมกำหนดแล้วมอบหมาย ให้หน่วยงานระดับรองลงมาแปลงเป็นผลผลิตต่อไป
มาตรฐานการจัดการทางการเงิน
การจัดทำงบประมาณแบบมุ่ง
เน้นผลงาน จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น
สถานศึกษาต้องมีกลไกขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้องโดยอาศัยแนวทางการพัฒนา
ตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน หรือที่เรียกว่า “ 7 Hurdles ” ดังนี้
1. การวางแผนงบประมาณ (Budgeting Planning)
เริ่มต้นจากการวางแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ
เป้าประสงค์ ผลผลิตหลัก กลยุทธ์ โครงสร้างแผนงาน ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
ของผลงานและการวางแผนงบประมาณระยะปานกลาง (MTEF)
2. การกำหนดผลผลิตและการคำนวณต้นทุน (Output Specification and Costing)
ในขั้นนี้เป็นการคำนวณต้นทุนในแต่ละผลผลิตที่ได้กำหนดมาแล้วว่าจะใช้ต้นทุน
ต่อหน่วยงานผลผลิตเท่าไร ซึ่งมีการคิดทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม
3. การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement Management) เป็นการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ การจัดซื้อเน้นความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงิน
4. การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ (Financial Management / Fund Control)
หน่วยงานจำเป็นต้องกำหนดรายการและโครงสร้างทางบัญชี
เอกสารหลักฐานที่จำเป็น
การปรับระบบบัญชีจากเกณฑ์เงินสดไปสู่ระบบเกณฑ์คงค้าง
มีระบบการควบคุมการเบิกจ่าย และบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
5. การรายงานทางการเงินและผลดำเนินงาน (Financial and Performance Reporting) ใน
กระบวนการรายงานต้องมีการกำหนดดัชนีชี้วัด กรอบและโครงสร้างการประเมิน
และรายงานผลที่ชัดเจนและมีการรายงานทั้งการเงินและผลการดำเนินงาน
6. การบริหารสินทรัพย์ (Asset Management) หน่วยงานมีระบบบริหารสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นถึงการบริหารสินทรัพย์
7. การตรวจสอบภายใน (Internal Audit)
หน่วยงานต้องมีฝ่ายที่รับผิดชอบในการตรวจสอบภายใน มีอิสระในการดำเนินงาน
มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน
การตรวจสอบเน้นการตรวจสอบทางการเงิน และการตรวจสอบผลการดำเนินงาน
การบริหารจัดการทรัพยากรขอ
งอค์กรเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ
โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม
การพิจารณาเลือกกิจกรรมที่มีควาทสำคัญก่อนกลัง
การกำหนดระบบการปฏิบัติงานและระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
รวมถึงการควบคุมดูแลและการตรวจสอบภายในที่ชัดเจน
จะช่วยให้กิจกรรมต่างๆขององค์ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประหยัดและบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
การนำเอาระบบการบริหารและจัดการงบประมาณที่เหมาะสมเข้ามาใช้ในองค์กรเป็น
สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ซึ่งแนวคิดในการบริหารจัดการงบประมาณได้เปลี่ยนจากระบบควบคุมการเบิกจ่ายที่
เข้มงวดมาเป็นการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน(PBB) ซึ่งเน้นพันธกิจและ
วัตถุประสงค์ มีการกำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ และตัวชี้วัดในการดำเนินงาน “7Hurdles” จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยให้การบริหารจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
ในวงการศึกษาก็ได้นำระบบการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานมาใช้แล้วแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเพราะ
1 ผู้บริหารระดับนโยบาย
ต้องการเพียงผลักดันสิ่งที่ตนประสงค์ให้บรรลุผลสำเร็จแต่ขาดการวิเคราะห์
ความเหมาะสมกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่าย
2 ผู้บริหารระดับสูง ไม่ได้ให้ความสำคัญการปรับปรุงระบบงบประมาณปล่อยให้เป็นภารกิจประจำ
3 ความรู้ด้านการจัดทำงบประมาณของบุคลากรที่รับผิดชอบแตกต่างกันทำให้ไม่สามารถปรับปรุงระบบงบประมาณได้
4 ผู้ปฏิบัติให้ความสำคัญกับการได้งบประมาณเพื่อปฏิบัติตามภารกิจและกิจกรรม แต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญ กับการติดตามประเมินผลการทำงาน
5
ผู้ปฎิบัติใช้ภารกิจประจำและงบประมาณ
เป็นตัวตั้งในการเริ่มคิดเพื่อวางแผนและจัดทำงบประมาณ
มากกว่าการแปลงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด
สู่ผลผลิต/โครงการและกิจกรรม
6
ส่วนราชการยังยึดติดกับระบบงบประมาณแบบเดิม (line item)
เพื่อส่วนราชการรับทราบกระบวนการ/ขั้นตอน เครื่องมือใหม่ๆ
ของระบบงบประมาณก็ใช้เป็นเพียงกลไกเสริมไม่ใช่กลไกหลัก
7 ขาดแผนและเป้าหมายความสำเร็จในการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อรองรับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
8
แบบฟอร์มในคู่มือการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ยังไม่สะดวกต่อการตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายข้อมูลต่างๆ
ของเครื่องมืองบประมาณ เช่น MTEF การทบทวนผลผลิต กิจกรรม ผลการประเมินจาก
PART
9
ขาดระบบการให้ความช่วยเหลือ ทำให้หน่วยงานต่างๆ
เมื่อได้รับเอกสารคู่มือที่เกี่ยวข้องกับวิธีงบประมาณ
และขาดความเข้าใจไม่สามารถปรึกษาได้
10 การจัดการงบประมาณ
วางแผน จัดทำ ติดตามและประเมินผล ยังคงเป็นแบบต่างคนต่างทำ
ทำให้ไม่สามารถแปลงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด สู่ผลผลิต โครงการ
กิจกรรม อย่างมีประสิทธิภาพ
11 ข้อมูลประกอบการจัดทำงบประมาณ วางแผน จัดทำ ติดตามประเมินผล กระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่างๆ ทำให้ยากต่อการใช้งาน
12 ราชการส่วนภูมิภาคยังคงจัดการงบประมาณแบบเดิม เพราะขาดความรู้และทักษะในการจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
13 ขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างราชการส่วนภูมิภาค ส่วนกลาง ส่งผลให้ขาดข้อมูลประกอบการจัดทำคำขอและวิเคราะห์งบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
14 การจัดทำคำขอ จะใช้ความเดือดร้อนและความไม่คล่องตัวในการปฏิบัติงานเป็นตัวตั้งขาดความชัดเจนในการวิเคราะห์ที่เชื่อมโยงสู่เป้าหมาย
ที่มา : วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
-สรุปรายงานการประชุมเรื่อง
“การใช้คู่มือการปฏิบัติงานที่ครบวงจรงบประมาณ”โครงการศึกษาแนวทางการปรับ
ปรุงระบบงบประมาณ โดยสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี
ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน
2551
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น