- กำหนดคุณสมบัติผู้ขอรับการประเมิน ดังนี้
1) ผู้ขอ สามารถยื่นคำขอได้ก่อนที่จะดำรงวิทยฐานะครบตามที่กำหนดในมาตรฐานวิทยฐานะ ได้ก่อนไม่เกิน 2 ปี
2) มีภาระงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่ส่วนราชการกำหนด
3) ผ่านการพัฒนาจากส่วนราชการ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ความรู้ความสามารถเชิงทฤษฎี ส่วนที่ 2 ประสบการณ์วิชาชีพ โดยผลการพัฒนาฯ ให้ใช้เป็นคุณสมบัติในการขอเลื่อนวิทยฐานะไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ประกาศผลการทดสอบ
4) มีข้อตกลงในการพัฒนางาน โดยต้องมีระยะเวลาในการพัฒนางานไม่น้อยกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี
5) ต้องได้รับการรับรองว่าเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ จากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
- ผ่านการประเมิน 2 ด้าน คือ
ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
ด้านที่ 2 ด้านที่ 2 การพัฒนางานตามข้อตกลง ซึ่งประกอบด้วย
1) การพัฒนางานและผลการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน พิจารณาจากความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ประจำ และผลที่เกิดกับผู้เรียนหรือคุณภาพผู้เรียน
2) การพัฒนาตนเอง พิจารณาจากแผนการพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับงานหรือเรื่องที่จะทำการพัฒนา
- ให้มีกรรมการ 2 ชุด
คณะกรรมการชุดที่ 1 ทำหน้าที่พิจารณาข้อตกลงในการพัฒนางานและประเมินสรุปผลการพัฒนางานตามข้อตกลง เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดตามข้อตกลง
คณะกรรมการชุดที่ 2 ทำหน้าที่ประเมินเพื่อพัฒนาเป็นระยะๆ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงตลอดระยะเวลาของการพัฒนางานตามข้อตกลง
- เกณฑ์การตัดสิน ผู้ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนแต่ละด้าน ดังนี้
1) ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม ต้องได้คะแนนจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
2) ด้านที่ 2 ด้านการพัฒนางานตามข้อตกลง ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละชุด แต่ละคน ดังนี้ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
- กำหนดให้ยื่นคำขอได้ปีละ 1 ครั้ง 2 ช่วงเวลา คือ ก่อนภาคเรียนที่ 1 และก่อนภาคเรียนที่ 2 ก่อนเปิดภาคเรียนไม่น้อยกว่า 90 วัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น