วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การตัดสินใจ

การตัดสินใจ

ลักษณะการตัดสินใจที่มีประสิทธิผล
วันทนา เมืองจันทร


การ ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิผลนั้น หมายถึงสภาพการดำเนินการตัดสินใจที่บรรลุผลตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการของ การแก้ปัญหานั้น ถ้าผู้นำคนใดสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่จำเป็นจะต้องตัดสินใจและมีวิธีการ เลือกกระบวนการตัดสินใจซึ่งจะทำให้ผลของการตัดสินใจนั้น ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ ก็นับว่าการตัดสินใจนั้นเกิดประสิทธิผล
Bryan D. Prescott ได้เสนอกระบวนการตัดสินใจซึ่งสามารถจำแนกออกตามลักษณะการตัดสินใจของผู้นำได้ 5 แบบดังนี้
1. แบบอัตตาธิปไตย      กระบวนการตัดสินใจลักษณะนี้ ผู้นำจะตัดสินใจแก้ปัญหาโดยการใช้ข้อมูลที่เขามีอยู่โดยไม่จำเป็นต้องปรึกษา กับผู้ใดเลย หรืออาจจะหาข้อมูลข่าวสารมาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ แต่ในลักษณะการตัดสินใจเช่นนี้ ผู้นำจะต้องมีข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเชื่อถือได้ เพียงพอและ
ควรต้องมีทักษะและความชำนาญสูง เพื่อที่จะทำให้การตัดสินใจนั้นมีคุณภาพ
2. แบบอัตตาธิปไตยที่อยู่บนฐานของข้อมูลและการแสวงหาความชำนาญ    กระบวน การตัดสินใจวิธีนี้ ผู้นำอาจจะไม่จำเป็นต้องมีข้องมูลเพียงพอ   และไม่จำเป็นต้องมีทักษะในเรื่องที่ต้องตัดสินใจมากนัก เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้นำจึงต้องแสวงหาข้อมูล ข่าวสาร    และทักษะจากบุคคลอื่นซึ่งสามารถจะช่วยให้เขาได้ตัดสินใจได้อย่างมี ประสิทธิผล  ขณะเดียวกันผู้นำก็อาจจะไม่จำเป็นต้องบอกให้บุคคลเหล่านี้ทราบถึงปัญหาที่ ตนกำลังเผชิญอยู่เพียงแต่ผู้นำต้องไปหาข้อมูล     ข่าวสารมา แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประเมินค่า เพื่อดูว่าข่าวสารที่ได้มานั้นถูกต้อง เหมาะสม       เพียงพอ ตรงกับเวลาสามารถที่จะนำไปวิเคราะห์ปัญหาได้หรือไม่     หรืออาจจะต้องตัดข้อมูลข่าวสารที่ไม่เกี่ยวข้องบางอย่างออกไป ขั้นตอนต่อไปจึงกำหนดทางเลือกและตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด
3. แบบปรึกษาหารือ    กระบวน การของการตัดสินใจวิธีนี้ ผู้นำจะต้องอธิบายสถานการณ์ให้กับกลุ่มผู้ร่วมงานหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งผู้ ซึ่งจะสามารถให้รายละเอียดของข้อมูล  ข่าวสารได้อย่างใกล้เคียงและเป็นผู้ช่วยแก้ปัญหาโดยการทำการประเมินค่า ข้อมูล ข่าวสารให้ด้วย  ส่วนในการเลือกทางเลือกเพื่อแก้ปัญหานั้น ผู้นำอาจจะให้กลุ่มผู้ร่วมงานหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายงานทำการสำรวจและสืบ สวนข้อเท็จจริงแล้วให้ข้อคิดเห็นแนะนำ โดยผู้นำจะเป็นผู้ปฏิบัติการตัดสินใจแก้ปัญหาตามข้อแนะนำที่กลุ่มผู้ร่วมงาน หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย ได้ศึกษานำร่องไว้แล้วหรือผู้นำอาจจะไม่ตัดสินใจตามที่ผู้ร่วมงานได้ชี้แนะ ไว้เลยก็ได้  
 4. แบบตกลงต่อรอง    กระบวน การการตัดสินใจลักษณะนี้ ผู้นำจะอธิบายปัญหาสถานการณ์ให้กับกลุ่มผู้ร่วมงานหรือบุคคลใดที่เห็นสมควร โดยการให้รายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และแล้วทั้งผู้นำและกลุ่มผู้ร่วมงานก็จะร่วมกันกลั่นกรอง แยกแยะข้อแตกต่าง  และตกลงต่อรองเลือกทางเพื่อแก้ปัญหาซึ่งต้องเป็นที่ยอมรับของทุกคน    วิธีนี้ผู้นำควรจะปรึกษาหารือกันก่อนที่จะมีการประชุมชี้แจง เพื่อที่จะเตรียมการให้พร้อมและเสนอทางเลือกแก้ปัญหาที่จะเป็นที่ยอมรับของ ทุกฝ่าย
5. แบบมอบหมายหน้าที่   วิธี การนี้ ผู้นำจะมอบทั้งความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจต่อคณะบุคคลหรือ ตัวบุคคลโดยที่ผู้นำจะต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องและจำเป็นซึ่งเขามี อยู่ ส่วนตัวผู้นำเองจะเป็นเพียงประธานในการตัดสินใจ ด้วยการเสนอแนวทางและควบคุมการอภิปราย
แต่จะไม่พยายามที่จะยัดเยียดความคิดเห็นของตนให้แก่กลุ่ม ผู้นำต้องพร้อมที่จะยอมรับและปฏิบัติการ
แก้ปัญหาตามที่กลุ่มเสนอแนวทางไว้
        จาก รูปแบบของกระบวนการตัดสินใจทั้ง 5  ประการนี้ สามารถนำมาสรุปเป็นตารางแสดงการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของผู้นำได้ ดังนี้
ตารางแสดงการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ
ผู้มีส่วนร่วม
(Participants)
1 2 3 4 5
ผู้นำ ผู้นำและคนอื่น ผู้นำและคนอื่น ผู้นำและคนอื่น ผู้นำและคนอื่น
บทบาทของผู้มีส่วนร่วม
(Role of Participants)
ผู้นำแก้ปัญหาและประเมิน
การแก้ปัญหาแต่ผู้เดียว
ผู้อื่นช่วยหาข้อมูลและ
ช่วยให้ผู้นำเกิดทักษะ
และแล้วผู้นำตัดสินใจเอง
ผู้อื่นช่วยกันแก้ปัญหาและ
ให้ข้อเสนอแนะ แนะนำ
ในการตัดสินใจ แต่ผู้นำ
ตัดสินใจเอง
มีการโต้แย้งก่อนการ
ตัดสินใจระหว่างผู้นำ
และกลุ่ม
กลุ่มเป็นผู้ดำเนินการ
ตัดสินใจ
ผู้ตัดสินใจ
(Who makes the dicision)
ผู้นำ ผู้นำ ผู้นำ ผู้นำและกุ่มบุคคล กลุ่มบุคคล
                จากตารางที่แสดงกระบวนการตัดสินใจที่เริ่มต้นด้วยลักษณะการตัดสินใจแบบที่ 1      ถึงลักษณะที่ 5 และแสดงถึงขอบข่ายการมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคลหรือบุคคลที่มีต่อการตัดสินใจ ของผู้นำคนเดียวและค่อย ๆ ทวีปริมาณมากขึ้น จนกระทั่งการตัดสินใจเป็นของกลุ่มบุคคลโดยสิ้นเชิง  กระบวนการตัดสินใจ 5 รูปแบบนี้  ผู้นำสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจได้ตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันออก ไปเพื่อให้การตัดสินใจได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหา ซึ่งก็หมายถึงการตัดสินใจนั้นมีประสิทธิผล
เป็นที่น่าพอใจของทุกผ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น