วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประเด็นเสนอแนะสำหรับการปรับแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ #6/6



ประเด็นเสนอแนะสำหรับการปรับแก้ไข พรบ.การศึกษาแห่งชาติ: ประเด็นที่ ๖ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
นำเสนอ คณะทำงานยกร่างฯ กมธ.การศึกษาฯ สนช 
ผ่าน ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ ประธานที่ประชุมคณบดีศึกษาศาสตร์
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑
นายกสมาคมเทคโนโลยีการศึกษาแห่งประเทศไทย
ประเด็นที่ ๖
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สาระสำคัญ
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับวิชาชีพการศึกษา เช่นเดียวกับการแพทย์ที่เมื่อคณะแพทย์ (Faculty of Medicine) และวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Faculty of Medical Science) แล้ว ก็จะต้องมี คณะเทคโนโลยีการแพทย์ (Faculty of Medical Technology)
ดังนั้นวิชาชีพการศึกษา นอกจากมี "คณะการศึกษา" (Faculty of Education) และ *Faculty of Educational Science) แล้ว ก็ควรต้องมี คณะเทคโนโลยีการศึกษา” (Faculty of Educational Technology) ด้วย
นักการศึกษาไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นเรื่องของสื่อการศึกษาอย่างเดียว ถือเป็นความข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เทคโนโลยีการศึกาษาในฐานะศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา (The Science of Methods and Techniques in Education) ครอบคลุม การจัดระบบ พฤติกรรม เทคนิควิธีการ กระบวนการสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการและการประเมิน ดังนั้นจำเป็นต้องมีบุคลากรประเภทนักเทคโนโลยีการศึกษา ที่เป็นวิชาชีพที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
แนวทางปรับ พรบ.
ขอเสนอให้มีการปรับปรุงชื่อหมวดและสาระของบางมาตราดังนี้
หมวด ๙
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
มาตรา ๖๓ รัฐต้องจัดให้มีการพัฒนาระบบและการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนการสอนและฝึกอบรม
รัฐต้องพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคมการศึกษาด้วยการสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม เทคโนโลยีและสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนำ ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น
มาตรา ๖๕ ให้มีการพัฒนาเจ้าหน้าที่ทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
ให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาผลิต และสถานศึกษาบรรจุนักเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อทำหน้าที่จัดระบบและออกแบบการสอน ศึกษาวิจัยพฤติกรรมการเรียนการสอน พัฒนาเทคนิคและวิธีการสอน การสื่อการการสอน การจัดสภาพแวดล้อมการศึกษา การจัดการเรียนการสอน และการประเมินการศึกษา เพื่อเสริมประสิทธิภาพการบริหาร วิชาการ และบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาการสอนของครู อาจารย์ และการเรียนของนักเรียนนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยให้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นวิชาชีพที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
มาตรา ๖๖ ครู อาจารย์ และผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะให้ครูอาจารย์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ และและนักเรียน นิสิต นักศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาเป็นเครื่องมือการจัดการศึกษาภควันตภาพที่จะให้ความรู้ และประสบการณ์ไปปรากฏอยู่ทุกแห่งหนทุกเวลาเพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนเข้าถึงแหล่งความรู้ไม่จำกัดด้วยเวลาและสถานที่
หมายเหตุ การศึกษาภควันตภาพ ตรงกับคำว่า Ubiquitous Education) 
Ubiquitous=Existing everywhere at all time 
ภค (ภาค ส่วน แพร่) + วนต (มี) = ภาควันต (มีภาคมีส่วน มีแพร่กระจายทุกแห่งหน ทุกเวลา)


ที่มา โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น