วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ผู้ตาม

ผู้ตาม
ภาวะผู้ตาม (Followship)
สมพิศ  สุขแสน

     จาก การที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนร่วมงานในห้วงเวลาสั้น ๆ เกี่ยวกับภาวะผู้นำ และผู้ตามที่ดี ทำให้รับรู้ว่ามีอีกหลายคนที่คิดเหมือน ๆ กัน และให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงนำบทความที่เคยอ่านมาหลายปีแล้วให้ท่านได้ลองศึกษาดู

"ลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผลกับแนวทางการพัฒนาผู้ตามในยุคปฏิรูประบบราชการ 

วรัช ยา ศิริวัฒน์.(2547,กุมภาพันธ์).“ลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผลกับแนวทางการ พัฒนาผู้ตามในยุคปฏิรูประบบราชการ,” วารสารพัฒนาชุมชน.44(2):27-34.
ความหมายของผู้ตาม (FOLLOWERS) และภาวะผู้ตาม (FOLLOWSHIP) 

ผู้ตาม  และภาวะผู้ตาม  หมายถึงผู้ปฏิบัติงานในองค์การที่มีหน้าที่  และความรับผิดชอบที่จะต้องรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชามาปฏิบัติให้สำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์

แบบของภาวะผู้ตาม (STYLE OF FOLLOWSHIP) เคลลี่ (KELLEY) ได้แบ่งประเภทของผู้ตามโดยใช้เกณฑ์ 2 มิติ  ดังนี้
มิติที่ 1 คุณลักษณะ ของผู้ตามระหว่าง ความอิสระ (INDEPENDENT) (การพึ่งพาตนเอง)  และความคิดสังสรรค์ (UNCRITICAL THINKING) ไม่อิสระ (พึ่งพาผู้อื่น) (DEPENDENT) และขาดความคิดสร้างสรรค์ (UNCRITICAL) พฤติกรรมของผู้ที่มีความเป็นอิสระ และความคิดสร้างสรรค์จะมีลักษณะเป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่ม และเสนอวิธีการใหมอยู่เสมอส่วนบุคคลที่มีลักษณะพึ่งพาผู้อื่นจะขาดความคิดริ เริม และคอยรับคำสั่งจากผู้นำโดยขาดการไตรตรอง 
มิติที่ 2  คุณลักษณะของผู้ตามระหว่าง “ความกระตือรือร้น (ACTIVE BEHAVIOR) กับความเฉื่อยชา (PASSIVE BEHAVIOR)

คุณลักษณะพฤติกรรมของผู้ตาม 5 แบบมีดังนี้
1) ผู้ตามแบบห่างเหิน  ผู้ตามแบบนี้เป็นคนเฉื่อยชา  แต่มีความเป็นอิสระ  และมีความคิดสร้างสรรค์สูง ผู้ตามแบบห่างเหินส่วนมาก  เป็นผู้ตามที่มีประสิทธิผล  มีประสบการณ์ และผ่านอุปสรรคมาก่อน
2) ผู้ตามแบบปรับตาม ผู้ตามแบบนี้ เรียกว่า ผู้ตามแบบครับผม เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน แต่ขาดความคิดสร้างสรรค์
3) ผู้ตามแบบเอาตัวรอด ผู้ตามแบบนี้จะเลือกใช้ลักษณะผู้ตามแบบใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะเอื้อประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุดและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
4) ผู้ตามแบบเฉื่อยชา ผู้ตามแบบนี้ชอบพึ่งพาผู้อื่น ขาดความอิสระ ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5) ผู้ตามแบบมีประสิทธิผล ผู้ตามแบบนี้เป็นผู้ที่ทีความตั้งใจในการปฏิบัติงานสูงมีความสามารถในการบริหารจัดการงานได้ด้วยตนเอง

ลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผล  ดังนี้
    5.1 มีความสามรถในการบริหารจัดการตนเองได้ดี     
    5.2 มีความผูกพันธ์ต่อองค์การต่อวัตถุประสงค์
    5.3 ทำงานเต็มศักยภาพ  และสุดความสามารถ
    5.4 มีความกล้าหาญ  ซื่อสัตย์  และน่าเชื่อถือ

การพัฒนาศักยภาพตนเองของผู้ตาม
การพัฒนาลักษณะนิสัยตนเองให้เป็นคนที่มีประสิทธิผลสูงมี 7 ประการคือ
1)  ต้องมีนิสัยเชิงรุก (BE PROATIVE) หมายถึงไม่ต้องรอให้นายสั่ง
2)  เริ่มต้นจากส่วนลึกในจิตใจ (BEGIN WITH THE END IN MIND) 
3)  ลงมือทำสิ่งแรกก่อน (PUT FIRST THINGS FIRST)
4)  คิดแบบชนะทั้งสองฝ่าย  (THINK WIN-WIN)
5)  เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (SEEK  FIRST  TO  UNDERSTAND, THEN TO BE UNDERSTOOD)
6) การรวมพลัง (SYNERGY) หรือ ทำงานเป็นทีม (TEAM WORK)
7) ลับเลื่อยให้คม (SHARPEN THE SAW) คือพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

แนวทางส่งเสริมและพัฒนาผุ้ตามให้มีคุณลักษณะผู้ตามที่มีวัตถุประสงค์

1) การดูแลเอาใจใส่ เรื่องความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้กับบุคลากรเป็นธรรม
2) การจูงใจด้วยการให้รางวัลคำชมเชย
3) การให้ความรู้ และพัฒนาความคิดโดยการจัดโครงการฝึกอบรมสัมมนาและศึกษาดูงาน
4) ผู้นำต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง
5) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
6) ควรนำหลักการประเมินผลงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์มาพิจารณาความดีความชอบ
7) ส่งเสริมการนำพุทธศาสนามาใช้ในการทำงาน
8) การส่งเสริมสนับสนุนให้ผุ้ตามนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง





















































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น