วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แนวข้อสอบผู้บริหาร

การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

แนวคำตอบ ข้อสอบ post -test รหัส UTQ - 220 
หลักสูตร กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน : การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

นำเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาเพื่อการอื่นใด คำตอบที่พบได้จากการศึกษาวิเคราะห์ว่าน่าจะใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ผู้บริหารท่านใดคิดว่าอาจจะไม่ถูกต้อง สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่เว็บบอร์ด  ขอขอบคุณ


25/30  คะแนน  
1. ข้อใดไม่ถูกต้อง
     ก. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนชัดเจน
         มีครูทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้อง
     ข. คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
     ค. ครูแนะแนวเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
         
ครูที่ปรึกษา
     ง. การดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ที่โรงเรียนกำหนด

2. ข้อใดไม่ถูกต้อง
     ก. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วยให้นักเรียนที่มีปัญหาได้รับการดูแลแก้ไขอย่างทั่วถึง
         และตรงตามสภาพปัญหาที่แท้จริง
     ข. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้ครูและนักเรียนมีสัมพันธภาพทีดีต่อกัน
     ค. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ได้รับการส่งเสริมพัฒนา
         เต็มตามศักยภาพรอบด้าน
     ง. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วยให้นักเรียนสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างเข้มแข็ง

3. ข้อใดถูกต้องที่สุด
     ก. ครูบรรเจิดพบว่าด.ญ.ปุ๊ก นักเรียนชั้นม.2 ไม่มาเรียน 2 วันแล้ว เมื่อติดต่อผู้ปกครองทราบว่า
         ขาดเรียนเพราะไม่อยากเรียนคณิตศาสตร์ ครูจึงไปเยี่ยมบ้าน พูดคุย ใกล้ชิด สอบถามปัญหา 
         ดูแลช่วยเหลือด้วยตนเองก่อน
     ข. ครูปานวาดพบว่าด. ญ.แนน นักเรียนชั้นม.2 ไม่ค่อยพูด ไม่สบตากับใคร ชอบนั่งเหม่อลอย
         ไม่มีเพื่อนสนิท จึงส่งตัวไปพบครูแนะแนว
     ค. ครูสม ชายพบว่าด.ญ.ไนท์ นักเรียนชั้นม.1 มีอาการปวดหัวอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะวันอังคารที่
         ต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษ จึงส่งตัวไปพบครูพยาบาล
     ง. ครูสังคมพบว่าด.ช.สิงโต นักเรียนชั้นม.1 ไม่อยู่นิ่ง ชอบเล่นซุกซน ไม่มีระเบียบวินัย
         ชวนเพื่อนคุยในห้องเรียน โดนครูดุทุกวัน จึงส่งตัวไปพบครูปกครอง

4. ข้อใดถูกต้องที่สุด
     ก. คณะกรรมการอำนวยการ(ทีมนำ) มีรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนเป็นเลขานุการ
         มีการประชุมอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีหน้าที่นิเทศ กำกับ ติดตาม
     ข. คณะกรรมการประสานงาน(ทีมประสาน) มีครูแนะแนวเป็นเลขานุการ มีการประชุมอย่างน้อย
         ภาคเรียนละ 2 ครั้ง มีหน้าที่ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง
     ค. คณะกรรมการดำเนินงาน(ทีมทำ) มีหัวหน้าระดับชั้นเป็นเลขานุการ ประชุมอย่างน้อยภาคเรียนละ 4 ครั้ง
         มีหน้าที่บันทึกหลักฐานการปฏิบัติงาน
     ง. คณะกรรมการ บุคลากร บทบาทหน้าที่ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมตามบริบท
         ของโรงเรียน

5. ข้อใดเป็นบทบาทหน้าที่ครูแนะแนว
     ก. ครูแนะแนวมีหน้าที่ต้องดำเนินการศึกษานักเรียนรายบุคคล คัดกรอง ส่งเสริม ป้องกัน
         ช่วยเหลือแก้ไขและส่งต่อ
     ข. ครูแนะแนวสอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในคาบกิจกรรมแนะแนว
     ค. ครูแนะแนวมีหน้าที่ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาในกรณีที่ครูที่ปรึกษาไม่สามารถแก้ไข
         หรือยากต่อการช่วยเหลือ
     ง. ครูแนะแนวมีหน้าที่วางแผนการดำเนินงานให้คณะทำงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

6. ข้อใดเป็นเป้าหมายของการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
     ก. เก็บข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนทุกคน
     ข. สร้างฐานข้อมูลในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
     ค. ศึกษาทำความเข้าใจนักเรียนอย่างเพียงพอ
     ง. รู้ความเป็นมาลึกๆ ของนักเรียนเพื่อให้ง่ายต่อการอบรม

7. ในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เครื่องมือใดบ้างที่ให้ข้อมูลรอบด้าน
     ก. การเยี่ยมบ้านนักเรียน
     ข. ระเบียนสะสม
     ค. แบบสอบถาม
     ง. แฟ้มสะสมผลงาน

8. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมีความสำคัญต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างไร
     ก. เป็นต้นทางของระบบในการนำเข้าข้อมูลเพื่อนำไป ใช้วางแผนพัฒนานักเรียน
     ข. เป็นข้อมูลพื้นฐานของระบบในการนำไปบริหารจัดการงบประมาณ
     ค. เป็นข้อมูลที่รวบรวมและนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการคัดกรอง
     ง. เป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับครูทุกคนเพื่อช่วยเหลือได้ทันท่วงที

9. ท่านคิดว่า ชุดข้อมูลหลักด้านใดที่ครูมีความจำเป็นต้องศึกษามากที่สุด
     ก. ครอบครัว สุขภาพ ความสามารถ
     ข. ความสามารถ สุขภาพ เศรษฐกิจ
     ค. ความสามารถ เศรษฐกิจ พฤติกรรมเสี่ยง
     ง. ครอบครัว เศรษฐกิจ พฤติกรรมเสี่ยง

10. วิธีการรวบรวมข้อมูลนักเรียนข้อใดไม่สอดคล้องกับเครื่องมือที่ใช้
     ก. การสังเกตนักเรียนในชั้นเรียน-แบบบันทึกพฤติกรรม
     ข. การพูดคุยซักถาม - แบบสอบถาม
     ค. การเยี่ยมบ้าน- แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
     ง. การสัมภาษณ์นักเรียน - แบบบันทึกการสัมภาษณ์

11. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการคัดกรองนักเรียน
     ก. ครูกานดาสรุปผลการคัดกรอง รายงานแล้ว เก็บเป็นความลับ ไม่แจ้งผลให้นักเรียนทราบ
     ข. ครูคำรณคัดกรองนักเรียนโดยวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการรู้จักนักเรียน รายบุคคล
         ดูว่ามีความสอดคล้องกันหรือมีแนวโน้มไปในทางใดมากที่สุด
     ค. ครูดวงดาวกำหนดเกณฑ์การคัดกรองของนักเรียนในความดูแลด้วยตนเองตามหลักการที่ศึกษามา
     ง. ครูกิตติสรุปผลการคัดกรองนักเรียน แบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มส่งเสริมพัฒนา 
         กลุ่มป้องกัน กลุ่มแก้ไข

12. นักเรียนคนใดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา ควรได้รับการช่วยเหลือโดยด่วนที่สุด
      ก. น.ส.พาที นักเรียนชั้น ม.6 เหม่อลอย บ่นกับเพื่อนสนิทว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่
      ข. นายคชา นักเรียนชั้น ม.5 มีเพื่อนพบว่าแอบสูบบุหรี่ที่บ้านหลายครั้ง
      ค. นายกนก นักเรียนชั้น ม.4 ชอบยกมือถามคำถามสงสัยทุกชั่วโมง
      ง. น.ส. นภา นักเรียนชั้น ม.6 มีเพื่อนต่างเพศ เพื่อนซุบซิบว่าเธอมีท้อง

13. พฤติกรรมใดที่ควรส่งต่อผู้เชี่ยวชาญภายนอก
      ก. ด.ช.ภิภพมีคะแนนเฉลี่ยภาคเรียนที่ผ่านมา 1.00
      ข. ด.ช.ไกรสรไม่กล้าออกมาแสดงความสามารถพิเศษหน้าห้องเรียน
      ค. ด.ช.กันตะชอบลักขโมยของเพื่อนในห้องบ่อยๆ
      ง. ด.ช.มานิตสูบบุหรี่วันละ 1 ซอง

14. ครูพบว่านักเรียนมีปัญหาสารเสพติด ในการป้องกันแก้ไขปัญหา ขั้นแรกครูควรทำอย่างไร
      ก. การตรวจสุขภาพ ตรวจปัสสาวะ 

      
ข. การให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ          

      ค. การทำกลุ่มจิตสังคมบำบัด          
      ง. การจัดจัดกิจกรรมค่ายฟื้นฟู           

15. ด.ญ.นารีถูกมารดาของตนเองทุบตีเมื่อโกรธ อารมณ์เสียบ่อยครั้ง ทำให้ลำตัวเป็นแผล
      เป็นไข้ไม่สามารถมาโรงเรียนได้ ขาดเรียนบ่อย ครูควรทำสิ่งต่อไปนี้ก่อนยกเว้นข้อใด
      ก. ศึกษาข้อมูลประวัติครอบครัว
      ข. หาทางพูดคุย ใกล้ชิดให้นักเรียนระบายความในใจ
      ค. นำเรียนปรึกษาผู้อำนวยการโรงเรียน
      ง. แจ้งตำรวจ

16. ครูควรแนะนำผู้ปกครองที่ลูกมีปัญหาติดเกมให้ปฏิบัติต่อลูกดังนี้ ยกเว้นข้อใด
      ก. วางคอมพิวเตอร์ไว้ในที่เปิดเผย
      ข. ตกลงกับลูกในการใช้เวลากับคอมพิวเตอร์
      ค. ทำโทษทันทีที่ลูกนั่งเล่นเกมเกิน 2 ชั่วโมง
      ง. พ่อแม่พูดคุย มีเวลาให้ลูกมากขึ้น

17. นักเรียนที่มีปัญหาถูกล่วงละเมิดทางเพศ ควรจัดให้เข้าร่วมกิจกรรมใด
      ก. ค่ายเสริมสร้างอนาคตสดใส
      ข. ค่ายเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง
      ค. ค่ายสุขภาพจิตแจ่มใสสุขภาพกายแข็งแรง
      ง. ค่ายคุณธรรมส่องนำจิตใจ

18. น.ส.สุดสวย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้านเพศ ครูที่ปรึกษาควรจัดเข้าร่วมกิจกรรมใด
      ก. ค่ายทักษะชีวิต
      ข. ค่ายแนะแนวสู่มหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝัน
      ค. ค่ายบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
      ง. ค่ายแอโรบิค

19. การให้คำปรึกษาเบื้องต้นเป็นทักษะที่ครูทุกคนต้องฝึกปฏิบัติเพื่อใช้ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
      คำกล่าวใดไม่ถูกต้อง
      ก. ขั้นตอนแรกต้องทำความคุ้นเคย สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับนักเรียนก่อน
      ข. เวลาที่ใช้ในการให้คำปรึกษาแต่ละครั้งไม่กำหนดจนกว่าจะแก้ไขปัญหาได้
      ค. การตัดสินใจแก้ไขปัญหาต้องเกิดจากตัวนักเรียน
      ง. ครูไม่ควรชี้นำนักเรียนในทุกเรื่อง

20. ต่อไปนี้เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่นักเรียน ยกเว้นข้อใด
      ก. การสอนซ่อมเสริมวิชาที่อ่อนมากๆ
      ข. หาเพื่อนคู่คิดให้นักเรียน
      ค. จัดกิจกรรมชมรม ชุมนุมให้เลือกเรียนตามความสนใจ
      ง. ตรวจสุขภาพนักเรียนทุกปี

21. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนทัศน์ในการส่งเสริมพัฒนานักเรียน
      ก. นักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่จะเรียนรู้และสามารถพัฒนาตนเองได้
      ข. นักเรียนทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีเกียรติและเชื่อถือได้
      ค. นักเรียนทุกคนต้องการความรัก ความเข้าใจและให้โอกาส
      ง. นักเรียนทุกคนต้องการเป็นคนดี คนเก่งและเป็นคนมีความสุข

22. ข้อใดเป็นกระบวนการสำคัญในการส่งเสริมพัฒนานักเรียน
      ก. พิจารณาข้อมูลจากการเก็บข้อมูลรอบด้านมาคัดกรอง
      ข. กำหนดเป้าหมายการส่งเสริมหรือพัฒนา
      ค. จัดบรรยากาศการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรม
      ง. ทุกกิจกรรมต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

23. กิจกรรมใดเป็นหลักสำคัญที่โรงเรียนต้องดำเนินการในการส่งเสริมพัฒนานักเรียน
      ก. กิจกรรมโฮมรูม-การจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม
      ข. กิจกรรมการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน-กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
      ค. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน- กิจกรรมพัฒนาพหุปัญญา
      ง. กิจกรรมการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน -กิจกรรมโฮมรูม

24. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการพัฒนาพหุปัญญา
      ก. นักเรียนที่สติปัญญาดีจะเรียนเก่งทุกวิชา
      ข. นักเรียนที่เก่งด้านคณิตศาสตร์มักจะไม่เก่งด้านศิลปะ
      ค. นักเรียนที่เก่งด้านกีฬาส่วนใหญ่จะฝึกดนตรีได้ยาก
      ง. นักเรียนที่เก่งด้านภาษาอาจมีปัญหาด้านมนุษย์สัมพันธ์

25. กิจกรรมในข้อใดที่ครูเห็นว่าควรส่งเสริมนักเรียนดำเนินการต่อเนื่อง
      ก. นักเรียนนัดหมายกันช่วยป้อนข้าวน้องที่บ้านเด็กกำพร้าในวันหยุด
      ข. นักเรียนรวมกลุ่มฝึกซ้อมเต้นและสามารถรับงานแสดงเองเพื่อหารายได้
      ค. นักเรียนรวมทีมซ้อมกีฬาเพื่อไปแข่งขันล่าเงินรางวัลทุกสนามแข่งที่มีการจัด
      ง. นักเรียนร่วมกันจัดค่ายรับน้องใหม่เพื่อให้รุ่นน้องรู้จักเคารพรุ่นพี่

26. จรรยาบรรณในการรับ-ส่งต่อนักเรียนเพื่อช่วยเหลือข้อใดที่ควรเคร่งครัดที่สุด
      ก. ไม่รับนักเรียนมาดำเนินการช่วยเหลือเองกรณีที่เกินขีดความสามารถ
      ข. การรักษาความลับของนักเรียนที่ส่งต่อมารับคำปรึกษาหรือช่วยเหลือ
      ค. การจัดทำเอกสารประสานองค์กรที่ให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ
      ง. ครูคนเดียวไม่อาจพัฒนาเด็กได้รอบด้าน จึงควรสร้างเครือข่ายการช่วยเหลือ

27. กระบวนใดเหมาะสมที่สุดในการส่งต่อนักเรียน
      ก. ครูส่งนายโอมเข้ารับการบำบัดการติดบุหรี่ที่ศูนย์บำบัดยาเสพติด
      ข. ฝ่ายปกครองอบรมบอมแล้วส่งต่อมาให้ครูแนะแนวช่วยปรับพฤติกรรมก้าวร้าว
      ค. ส้มพ้นคดีลักทรัพย์ได้กลับมาเรียน ฝ่ายปกครองจึงส่งต่อให้ครูกิจกรรมหากลุ่มให้
      ง. ครูเห็นว่าภูมิ พูดจาฉลาดมาก จึงเสนอชื่อส่งเข้าร่วมโครงการพัฒนาเด็กอัจฉริยะ

28. ขั้นตอนในการส่งต่อนักเรียนที่ครูที่ปรึกษาควรคำนึงมากที่สุด
      ก. พิจารณาข้อมูลนักเรียนจากการคัดกรองและรายงานความช่วยเหลือเบื้องต้น
      ข. ทำความเข้าใจกับนักเรียนถึงกระบวนการช่วยเหลือและให้นักเรียนตัดสินใจ
      ค. ประสานงานกับผู้ที่จะช่วยเหลือด้วยเอกสาร ก่อนส่งนักเรียน
      ง. จัดประชุมปรึกษารายกรณีหากพฤติกรรมไม่ดีขึ้น

29. ปัญหาในการส่งต่อนักเรียนข้อใดส่งผลกระทบมากที่สุด
      ก. ขาดระบบการส่งต่อ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่เข้มแข็ง
      ข. ไม่มีผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียน เช่น ครูแนะแนว ครูพยาบาล
      ค. ขาดการสร้างและการประสานเครือข่ายความร่วมมือ
      ง. เครือข่ายภายในไม่เข้มแข็ง ขาดความน่าเชื่อถือจากองค์กรภายนอก

30. ปัจจัยในข้อใดส่งผลต่อความสำเร็จของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากที่สุด
      ก. มีการวางแผนบริหารงบประมาณของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
      ข. มีระบบงานและกิจกรรมแนะแนวที่เข้มแข็ง
      ค. ครูมีเจตคติที่ดีและมีความสามารถดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน
      ง. ผู้บริหารเป็นผู้นำในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน


หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน/การวัดประเมินผล


นำเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาเพื่อการอื่นใด  คำตอบที่พบได้จากการศึกษาวิเคราะห์ว่าน่าจะใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ผู้บริหารท่านใดคิดว่าอาจจะไม่ถูกต้อง  สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่เว็บบอร์ด  ขอขอบคุณ

แบบทดสอบหลังเรียน  
Post – test  UTQ – 101
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน/การวัดประเมินผล  
  


1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
    เป็นการกระจายอำนาจให้โรงเรียนมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตร ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร
   ก. ไม่จริงเพราะโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางไม่เปิดช่องให้ปรับตามบริบทเลย     
   ข. จริงเพราะโรงเรียนเป็นผู้อนุมัติการใช้หลักสูตรสถานศึกษาได้เอง      
   ค. ไม่จริงเพราะสถานศึกษาไม่สามารถกำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นได้เอง      
   ง. จริงเพราะนักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาตามความถนัดและความสามารถ
2. ข้อใดไม่ใช่ประเด็นการเปลี่ยนแปลงจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
    สู่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
      ก. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น -> ตัวชี้วัดชั้นปีในการศึกษาภาคบังคับ      
      ข. หลักสูตรเน้นเนื้อหา -> หลักสูตรอิงมาตรฐาน      
      ค. เวลาเรียนรวมแต่ละปี -> เวลาเรียนขั้นต่ำแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้      
      ง. ประเมินตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง -> ประเมินผลตามตัวชี้วัด
3. ข้อปฏิบัติใดของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับข้อกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนของ
    หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
      ก. ระดับประถมศึกษาปรับเวลาเรียนพื้นฐานได้ตามความเหมาะสม      
      ข. มัธยมศึกษาต้องจัดรายวิชาเพิ่มเติมตามที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลาง      
      ค. ระดับประถมศึกษาต้องจัดรายวิชาเพิ่มเติมทุกระดับชั้น      
      ง. ต้องจัดกิจกรรมชุมนุมในทุกระดับชั้นในมัธยมศึกษาตอนปลาย
4. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดสิ่งใดต่อไปนี้
    เป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน   
      ก. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง      
      ข. มาตรฐานการเรียนรู้      
      ค. สาระการเรียนรู้แกนกลาง 8 กลุ่ม      
      ง. หลักการของหลักสูตร
5. ข้อความที่ปรากฏข้างล่างนี้ เป็นข้อมูลส่วนใดของเอกสารกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น
      ก. เป้าหมาย/จุดเน้น      
      ข. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น      
      ค. การประเมินคุณภาพระดับท้องถิ่น      
      ง. สาระการเรียนรู้พื้นฐาน
6. การวางแผนและดำเนินการใช้ วิจัยและพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา
    เป็นบทบาทหน้าที่ของใครต่อไปนี้
      ก. ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญของ สพฐ.      
      ข. ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการ      
      ค. คณะครูและผู้บริหารสถานศึกษา      
      ง. นักวิชาการ คณาจารย์ สถาบันอุดมศึกษา
7. ข้อใดต่อไปนี้ที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กำหนดเพิ่มขึ้น
      ก. สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม      
      ข. โครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน      
      ค. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์      
      ง. ความต้องการของสถานศึกษาและท้องถิ่น
8. การจัดเวลาเรียนและการตัดสินผลการเรียนปัจจุบันดำเนินการตามข้อใด
      ก. ประถมศึกษาจัดเวลาเรียนและตัดสินผลการเรียนเป็นรายปี      
      ข. มัธยมศึกษาจัดเวลาเรียนและตัดสินผลการเรียนเป็นรายปี      
      ค. มัธยมศึกษาจัดเวลาเรียนและตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค      
      ง. ประถมศึกษาจัดเวลาเรียนละตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค
9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนข้อใดครอบคลุมตามที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลาง
      ก. แนะแนว ลูกเสือ ชุมนุม      
      ข. ลูกเสือ-เนตรนารี ชุมนุม กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์      
      ค. แนะแนว กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ กิจกรรมค่าย      
      ง. แนะแนว กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ลูกเสือ
10. เมื่อสถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาจะต้องจัดทำสิ่งใดต่อไปนี้ควบคู่กันไป
      ก. วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด        
      ข. การออกแบบหน่วยการเรียนรู้        
      ค. จัดทำระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร        
      ง. โครงสร้างรายวิชา ตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด
11. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานคาดหวังสิ่งใดให้เกิดกับผู้เรียนมากที่สุด
      ก. คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้        
      ข. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี        
      ค. การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน        
      ง. การเรียนรู้แบบบูรณาการ
12. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
      มีจุดมุ่งหมายอะไร
      ก. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้        
      ข. เพื่อตัดสินผลการเรียน        
      ค. เพื่อเน้นการปฏิบัติตามสภาพจริง        
      ง. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และตัดสินผลการเรียน
13. การประเมินเพื่อตัดสินผลมีความหมายตรงกับต่อไปนี้
      ก. เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน        
      ข. เพื่อใช้แก้ปัญหาการเรียนรู้        
      ค. เพื่อออกแบบกระบวนการจัดการเรียนให้เหมาะสม        
      ง. เพื่อวินิจฉัยความรู้ความสามารถของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด
14. การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลมีเป้าหมายเดียวกันคืออะไร
        ก. หน่วยการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ        ข. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ        
        ค. สื่อการสอนที่เหมาะสม             ง. นักเรียนที่มีคุณภาพ
15. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
        ก. โครงสร้างเวลาเรียน        ข. มาตรฐานการเรียนรู้        
        ค. คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน  ง. เกณฑ์การจบหลักสูตร
16. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
        ก. ส่วนกลางกำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง ซึ่งเป็นเป้าหมายการวัดประเมินผล แต่ละระดับชั้น        
        ข. เขตพื้นที่การศึกษากำหนดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเพื่อให้สถานศึกษาในเขตใช้ใน การจัดการเรียนรู้        
        ค. สถานศึกษาสามารถกำหนดเพิ่มเติมในส่วนสาระตามความต้องการของท้องถิ่น หรือ ส่วนที่ต้องการเน้นได้        
        ง. สถานศึกษาสามารถกำหนดรายวิชาเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับบริบทและความต้องการ
17. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
      มีหลักการเดียวกันคืออะไร ?
        ก. ยึดสาระการเรียนรู้แกนกลางเป็นหลัก        ข. เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน        
        ค. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ      ง. มีวิสัยทัศน์แกนกลางเพื่อความเป็นเอกภาพ
18. องค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา
        ก. คำอธิบายรายวิชา        ข. มาตรฐานการเรียนรู้        
        ค. สาระการเรียนรู้พื้นฐาน  ง. เกณฑ์การประเมินกลุ่มสาระการเรียนรู้
19. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ต้องผ่านการอนุมัติการใช้จากคณะกรรการสถานศึกษา
        ก. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา        ข. คำอธิบายรายวิชา        
        ค. เกณฑ์การจบหลักสูตร                   ง. หน่วยการเรียนรู้
20. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา มีสิ่งสำคัญอะไรบ้าง ?
        ก. กำหนดรายวิชาที่จัดสอนแต่ละปี/ภาคเรียน เวลาเรียนหรือหน่วยกิต        
        ข. ความต้องการของท้องถิ่น/สถานศึกษา/เขตพื้นที่การศึกษา        
        ค. เกณฑ์การจบการศึกษาของผู้เรียน / สถานศึกษา        
        ง. หน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้
21. รายวิชาพื้นฐานในหลักสูตรสถานศึกษากำหนดมาจากสิ่งใด ?
        ก. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน                              ข. จุดหมายของหลักสูตรแกนกลาง        
        ค. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรแกนกลาง   ง. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลาง
22. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กิจกรรมพัฒนานักเรียน ?
        ก. กิจกรรมแนะแนวศึกษาต่อ        ข. กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์        
        ค. กิจกรรมไหว้ครู                     ง. กิจกรรมชุมนุมวาดภาพ
23. ผังความคิดต่อไปนี้ต้องการสื่อสารอะไร
         ก. การนำความรู้ ทักษะ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ไปกำหนดเป็นรายวิชา         
         ข. การนำความรู้ ทักษะ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ไปเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา         
         ค. มาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีประกอบด้วย 2สาระ         
         ง. ตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีประกอบด้วย 2 รายวิชา
24. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สถานศึกษากำหนดข้อใดครอบคลุมตามข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลาง
         ก. แนะแนว ลูกเสือ ชุมนุม         ข. แนะแนว ลูกเสือ-เนตรนารี ผู้บำเพ็ญประโยชน์         
         ค. แนะแนว ผู้บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมเพื่อสังคมฯ         
         ง. แนะแนว ลูกเสือ-เนตรนารีหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมเพื่อสังคมฯ
25. จุดเน้นของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดสิ่งใด
      เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน
         ก. สมรรถนะสำคัญ         ข. คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์         
         ค. วิสัยทัศน์                 ง. สาระการเรียนรู้แกนกลาง
26. การเชื่อมโยงจากหลักสูตรสถานศึกษาสู่การเรียนการสอนและวัดประเมินผล
      มีสิ่งใดต่อไปนี้เป็นตัวเชื่อม ?
         ก. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กับ ตัวชี้วัด                    ข. คำอธิบายรายวิชา กับ โครงสร้างรายวิชา         
         ค. เกณฑ์การจบหลักสูตร กับ หน่วยการเรียนรู้         ง. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา กับ เกณฑ์การตัดสิน
27. จุดมุ่งหมายสำคัญของการวัดประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง
      การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
         ก. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้                      ข. เพื่อตัดสินผลการเรียน         
         ค. เพื่อเน้นการปฏิบัติตามสภาพจริง         ง. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และตัดสินผลการเรียน
28. บทบาทสำคัญในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ครูต้องคำนึงถึงมากที่สุดคืออะไร ?
         ก. ใช้การวัดผลเป็นเครื่องมือการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้         
         ข. ใช้การประเมินเป็นเป้าหมายของการจัดกลุ่มผู้เรียนตามศักยภาพ         
         ค. ใช้การประเมินเป็นกลไกในการพัฒนา ช่วยเหลือผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมาย         
         ง. ใช้การวัดและประเมินประสิทธิภาพการสอน
29. เกณฑ์การให้คะแนน ( Rubrics ) ควรใช้กับการประเมินลักษณะใด
         ก. การประเมินเชิงคุณภาพ         ข. การประเมินแบบอิงกลุ่ม         
         ค. การประเมินเชิงปริมาณ          ง. ถูกหมดทุกข้อ
30. การประเมินระดับใดที่ประเมินได้ตรงและสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานมากที่สุด
         ก. ระดับระดับชั้นเรียน         ข. ระดับสถานศึกษา         
         ค. ระดับเขตพื้นที่การศึกษา  ง. ระดับชาติ

การบริหารหลักสูตร


นำเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาเพื่อการอื่นใด  คำตอบที่พบได้จากการศึกษาวิเคราะห์ว่าน่าจะใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ผู้บริหารท่านใดคิดว่าอาจจะไม่ถูกต้อง  สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่เว็บบอร์ด  ขอขอบคุณ

แบบทดสอบหลังการอบรม 
Post – test  UTQ – 102  การบริหารหลักสูตร

1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
 ?
     ก. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้
     ข. สถานศึกษากำหนดตัวชี้วัดเอง
     ค. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานให้
     ง. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดตัวชี้วัดให้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ในการบริหารหลักสูตรระดับสถานศึกษา ?
     ก. จัดทำมาตรฐานและตัวชี้วัดของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
     ข. ส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรและงบประมาณ
     ค. กำกับดูแลคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา
     ง. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
    ปรับปรุงมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในข้อใด ?
      ก. 2542
      ข. 2543
      ค. 2544
      ง. 2545
4. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการศึกษา รายวิชาการบริหารหลักสูตร (UTQ-102) ?
      ก. มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การจัดทำหลักสูตรระดับชาติ
      ข. มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการจัดทำหลักสูตรระดับสถานศึกษา
      ค. มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการส่งเสริม สนับสนุน การใช้หลักสูตรระดับสถานศึกษา
      ง. มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การกำกับดุแลคุณภาพการนำหลักสูตรระดับสถานศึกษาไปใช้
5. การบริหารจัดการหลักสูตรมีกี่ระดับ ?
      ก. 2 ระดับ
      ข. 3 ระดับ
      ค. 4 ระดับ
      ง. 5 ระดับ
6. ข้อใดกล่าวถึงรายวิชาพื้นฐานไม่ถูกต้อง ?
      ก. เป็นรายวิชาที่นักเรียนทุกคนต้องเรียน
      ข. เป็นรายวิชาที่นักเรียนเลือกเรียนได้ตามความถนัด
      ค. เป็นรายวิชาที่เปลี่ยนแปลงมาตรฐานและตัวชี้วัดไม่ได้
      ง. เป็นรายวิชาที่สถานศึกษาต้องจัดการสอนให้ครบ
7. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมใดที่เพิ่มเติมในหลักสูตรแกนกลาง
    การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ?
      ก. กิจกรรมแนะแนว
      ข. กิจกรรมชมรม
      ค. กิจกรรมลูกเสือ
      ง. กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและสาธารณประโยชน์
8. สิ่งใดกำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
    ที่ไม่สามารถปรับหรือเพิ่มเติมได้เมื่อไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา?
      ก. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
      ข. ตัวชี้วัด
      ค. วิสัยทัศน์
      ง. สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
9. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในระดับประถมศึกษา
    กำหนดให้มีเวลาเรียนทั้งสิ้นไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อปี ?
      ก. 840 ชั่วโมง/ปี
      ข. 1,000 ชั่วโมง/ปี
      ค. 1,200 ชั่วโมง/ปี
      ง. 1,500 ชั่วโมง/ปี
10. ข้อใดกล่าวถึงรายวิชาเพิ่มเติมไม่ถูกต้อง ?
        ก. เป็นรายวิชาที่เปิดตามความต้องการของผู้เรียน
        ข. เป็นรายวิชาที่เปิดตามความต้องการของท้องถิ่น
        ค. เป็นรายวิชาที่นำตัวชี้วัดจากหลักสูตรแกนกลางมาใช้
        ง. กำหนด “ผลการเรียนรู้” เป็นเป้าหมายแทนตัวชี้วัด
11. บุคลใดมีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำโครงสร้างรายวิชา และออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ?
        ก. ครูผู้สอนประจำรายวิชา
        ข. คณะกรรมการบริหารหลักสูตร
        ค. ครูวิชาการของโรงเรียน
        ง. คณะกรรมการสถานศึกษา
12. ผู้ลงนามในประกาศใช้หลักสูตรสถานศึกษาคือบุคลใด ?
        ก. ผู้แทนชุมชน
        ข. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
        ค. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา
        ง. ผู้บริหารสถานศึกษาและประธานกรรมการสถานศึกษา
13. ขั้นตอนแรกในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ?
        ก. วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
        ข. แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน
        ค. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
        ง. คณะกรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นชอบ
14. บุคคลใดเกี่ยวข้องในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาน้อยที่สุด ?
        ก. ผู้บริหาร
        ข. ครู
        ค. นักการเมือง
        ง. ผู้ปกครองและนักเรียน
15. ข้อใดไม่ใช่ข้อดีในการใช้หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ ?
        ก. เหมาะกับครูที่ทำการสอนหลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้
        ข. ลดภาระการวัดและการประเมินผลของครู
        ค. ช่วยให้ครูไม่ต้องประเมินผลครบทุกตัวชี้วัด
        ง. เหมาะกับโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นเรียน
16. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการกำหนดโครงสร้างรายวิชา ?
        ก. หน่วยการเรียนรู้
        ข. สาระการเรียนรู้
        ค. ตัวชี้วัด/เวลา
        ง. เกณฑ์การประเมิน
17. ในหน่วยการเรียนรู้ การที่จะทำให้นักเรียนมีมาตรฐานตามตัวชี้วัดข้อใดคือสิ่งสำคัญที่สุด ?
        ก. ชื่อหน่วยการเรียนรู้
        ข. กิจกรรมการเรียนรู้
        ค. เวลาเรียน
        ง. จำนวนนักเรียน
18. หัวใจของการจัดทำหลักสูตรระดับสถานศึกษาสู่ชั้นเรียนคือข้อใด ?
         ก. โครงสร้างรายวิชา
         ข. หน่วยการเรียนรู้
         ค. สาระสำคัญ
         ง. มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
19. ผู้นำสำคัญในการสร้างบรรยากาศของการร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมทำหลักสูตรสถานศึกษาคือข้อใด ?
        ก. ผู้ปกครอง
        ข. คณะครู
        ค. ผู้บริหารสถานศึกษา
        ง. ผู้นำชุมชน
20. ข้อใดไม่เกี่ยวกับการสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรในการทำหลักสูตรสถานศึกษา
      ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ?
       ก. การจัดสื่อวัสดุ อุปกรณ์ให้เหมาะสมเพียงพอ
       ข. จัดอาคารสถานที่ต่างๆให้พอเพียงและเอื้อต่อการเรียนการสอน
       ค. จัดครูเข้าสอนตรงความรู้ความสามารถและความถนัด
       ง. จัดประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องส่งเสริมการสร้างเครือข่าย
21. ข้อใดไม่ใช่การส่งเสริม สนับสนุน การใช้หลักสูตรระดับสถานศึกษา ?
       ก. การนิเทศ กำกับติดตาม
       ข. การพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา
       ค. การส่งเสริมสนับสนุนทางวิชาการ
       ง. การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม
22. ขั้นตอนแรกของการพัฒนาบุคลากรคือข้อใด ?
        ก. ประเมินความต้องการและความจะเป็นในการพัฒนาบุคลากร
        ข. แต่งตั้งคณะทำงานด้านการพัฒนาบุคลากร
        ค. จัดแหล่งเรียนรู้ หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้แก่บุคลากร
        ง. ดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามแผนที่วางไว้
23. กิจกรรมใดเกี่ยวกับการสนับสนุนทางวิชาการของสถานศึกษา
      ในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ น้อยที่สุด ?
        ก. การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ
        ข. จัดระบบการบริหารงานทางวิชาการที่มีประสิทธิภาพ
        ค. ส่งเสริมสนับสนุนครูเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ง. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษา

24. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์หลักของการวิจัยในชั้นเรียน?
        ก. เพื่อแก้ปัญหาในการเรียนการสอน
        ข. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาการเรียนของนักเรียน
        ค. เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนของครู
        ง. เพื่อจัดทำสื่อและหาประสิทธิภาพ
25. การประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาควรมุ่งเน้นการประเมินเรื่องใดที่สำคัญที่สุด ?
        ก. องค์ประกอบของหลีกสูตร
        ข. โครงสร้างของหลักสูตร
        ค. คุณภาพของผู้เรียนทั้งผลสัมฤทธิ์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
        ง. หน่วยการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้
26. การวิจัยในชั้นเรียนนั้นครูควรเริ่มต้นจากสิ่งใดก่อนข้ออื่น ?
        ก. เลือกปัญหาสำคัญในการสอนของครู
        ข. เลือกปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้ปกครอง
        ค. เลือกปัญหาด้านพฤติกรรมของนักเรียน
        ง. เลือกปัญหาที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อผู้เรียนมากที่สุด
27. นิเทศ ติดตาม การใช้หลักสูตรมีจุดประสงค์สำคัญที่สุดคือข้อใด ?
        ก. ช่วยตรวจสอบกระบวนการสอนของครู
        ข. เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เรียน
        ค. เป็นการพัฒนาดูแลช่วยเหลือนักเรียน
        ง. นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนด
28. กระบวนการนิเทศ ติดตาม ข้อใดไม่ควรใช้ในสถานศึกษา ?
        ก. ผู้บริหารกำหนดวิธีการในการนิเทศติดตาม
        ข. นิเทศเป็นระบบครบวงจรต่อเนื่องและครอบคลุม
        ค. ร่วมกันกำหนดความต้องการหรือกำกับติดตามในการนิเทศ
        ง. สร้างความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการนิเทศในเชิงบวก
29. ในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามุ่งพัฒนาคุณภาพด้านใดมากที่สุด ?
        ก. ผู้บริหาร
        ข. ครูผู้สอน
        ค. ผู้เรียน
        ง. การจัดการเรียนการสอน
30. ข้อใดไม่ใช่ประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องในการประเมินผลการใช้หลักสูตร ?
        ก. ปัจจัยของการใช้หลักสูตร
        ข. กระบวนการใช้หลักสูตร
        ค. ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
        ง. เทคนิคและทักษะการสอนของครู

การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1. ผู้ที่เกี่ยวข้องและได้รับประโยชน์จากการวิจัยทางการศึกษาคือข้อใด
     ก. ครู นักเรียน ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และประชาชนทั่วไป 
     ข. ครู นักเรียน ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์
     ค. ครู นักเรียน ผู้บริหาร
     ง. ครู นักเรียน

2. คะแนนสอบของเด็กชายแดงและเด็กชายขาว ที่พบว่าทำคะแนนจากข้อสอบปรนัยได้น้อยมาก
    ส่วนข้อสอบอัตนัยไม่เขียนคำตอบเป็นส่วนใหญ่ ข้อสังเกตที่พบและเลือกนำไปเป็นปัญหาการวิจัย
    สอดคล้องกับลักษณะปัญหาการวิจัยในข้อใด
     ก. ไม่ใช่ปัญหาที่หาข้อยุติไม่ได้
     ข. ไม่ซ้ำหรือไม่เคยพบปัญหา
     ค. ไม่กว้างมาก
     ง. หาคำตอบได้

3. คะแนนสอบของเด็กชายแดงและเด็กชายขาว ที่พบว่าทำคะแนนจากข้อสอบปรนัยได้น้อยมาก
    ส่วนข้อสอบอัตนัยไม่เขียนคำตอบเป็นส่วนใหญ่ หากจะทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของเด็กชายแดงและเด็กชายขาว
    ถือว่าสอดคล้องกับแนวทางการเลือกปัญหาการวิจัยในประเด็นใดมากที่สุด
     ก. ผู้วิจัยมีความเกี่ยวข้องและมีความรู้ด้านวิจัย   
     ข. มีประโยชน์มีค่าควรแก่การทำการวิจัย
     ค. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่องานวิจัย
     ง. ผู้วิจัยมีความสนใจอย่างแท้จริง

4. คะแนนสอบของเด็กชายแดงและเด็กชายขาว ที่พบว่าทำคะแนนจากข้อสอบปรนัยได้น้อยมาก
    ส่วนข้อสอบอัตนัยไม่เขียนคำตอบเป็นส่วนใหญ่ จากข้อความเกี่ยวข้องกับการกำหนดปัญหาวิจัยข้อใด
     ก. จากงานที่ปฏิบัติเป็นประจำ
     ข. จากปัญหาสังคมโดยทั่วไป
     ค. จากการศึกษางานวิจัย
     ง. จากการสนทนากับผู้รู้

5. การกระทำในข้อใดต่อไปนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของนวัตกรรม
     ก. ครู ก เลือกผลิตแบบฝึกทักษะมาใช้กับนักเรียนที่สอนวิชาภาษาอังกฤษ
     ข. ครู ข เลือกการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้กับการสอนเรื่องการคูณ
     ค. ครู ค ให้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องการปลูกผักแก่เด็กหญิงตุ๊กตาไปศึกษาเองที่บ้าน
     ง. ครู ง รณรงค์การทิ้งขยะให้เป็นที่ภายในโรงเรียนทุกวันศุกร์คาบสุดท้าย

6. “การพัฒนาทักษะเรื่องการบวกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1”
      หัวข้อวิจัยนี้ควรใช้กับนวัตกรรมประเภทใด
      ก. บทเรียนสำเร็จรูป
      ข. การใช้ผังแนวคิด
      ค. การสอนแบบโครงงาน
      ง. ชุดการสอนที่พัฒนาการคิด

7. ข้อใดเป็นชื่อเรื่องการวิจัยที่ถูกต้องครบองค์ประกอบ
      ก. การวิจัยบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องการสอนด้วยบทเรียนการ์ตูน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
      ข. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
      ค. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
      ง. การวิจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องท้องถิ่นของเรา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

8. ข้อใดต่อไปนี้เรียงลำดับการเขียนโครงร่างวิจัยได้ถูกต้อง
      ก. ชื่อเรื่อง คำถามของการวิจัย ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด
      ข. ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขอบเขต สมมติฐาน
      ค. ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ ที่มาของปัญหาการวิจัย สมมติฐาน
      ง. ชื่อเรื่อง ความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมติฐาน

9. ข้อใดควรให้คำนิยามศัพท์เฉพาะในการวิจัยชื่อ “การพัฒนาบทเรียนวีดีทัศน์เรื่องการสังเคราะห์แสงของพืช
    สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประชาสงเคราะห์”
      ก. โรงเรียนประชาสงเคราะห์
      ข. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
      ค. การสังเคราะห์แสงของพืช
      ง. บทเรียนวีดีทัศน์

10. เรื่องใดที่ต้องระบุในการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง
       ก. ช่วงระยะเวลาที่ได้มาของกลุ่มตัวอย่าง
       ข. วิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง
       ค. สถานที่ที่ได้มาของกลุ่มตัวอย่า
       ง. ผู้วิจัยที่เลือกกลุ่มตัวอย่าง

11. “การระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษากว้างขวางเพียงใดเกี่ยวข้องกับใคร
       เนื้อเรื่องที่ต้องการพัฒนาและระยะเวลาที่ทำการวิจัย”
       ข้อความดังกล่าวคือความหมายของข้อใด
        ก. ขอบเขตของการวิจัย
        ข. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
        ค. ประโยชน์ของการทำวิจัย
        ง. สมมติฐานของการวิจัย

12. รูปแบบ O1 X O2 มีความหมายตรงกับข้อใด
        ก. กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมวัดผลก่อนและหลังการทดลอง
        ข. กลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง
        ค. กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมวัดผลหลังการทดลอง
        ง. กลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดผลหลังการทลอง

13. “เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม”
       วัตถุประสงค์นี้ควรใช้เครื่องมือชนิดใดในการเก็บข้อมูล
        ก. แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า
        ข. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
        ค. แบบสังเกตพฤติกรรมการอ่าน
        ง. แบบทดสอบอิงเกณฑ์

14. ข้อใดคือประชากรที่ใช้ในการวิจัย
        ก. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเสือป่า ปีการศึกษา 2553 
            จำนวน 21 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
        ข. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวยงาม ปีการศึกษา 2553 
            ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยโดยวิธีการจับฉลาก
        ค. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนต้นไม้ ปีการศึกษา 2553 
            จำนวน 6 ห้องเรียน 240 คน
        ง. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านป่าเสียด ปีการศึกษา 2553 จำนวน 9 คน

15. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย
       ก. แบบบันทึกเวลาเรียน
       ข. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
       ค. แบบประเมินทักษะปฏิบัติ
       ง. แบบสังเกตพฤติกรรม

16. ข้อใดการเขียนสมมติฐานการวิจัยที่ถูกต้องที่สุด
       ก. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
       ข. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนแตกต่างกับหลังเรียน
       ค. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
       ง. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าร้อยละ 80

17. ข้อเป็นการหาความตรง (IOC) ของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
       ก. การประเมินซ้ำ
       ข. การให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
       ค. การสรุปผลการทดลอง
       ง. การทดลองใช้

18. ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบหาได้จากสูตรข้อใด
       ก. IOC
       ข. t- test
       ค. KR-20
       ง. E1/E2
19.
       ก. ค่าความเชื่อมั่น
       ข. ค่าความยากง่าย
       ค. ค่าอำนาจจำแนก
       ง. ค่าประสิทธิภาพ

20. ข้อใดไม่เกี่ยวกับการพัฒนาแบบทดสอบ
       ก. ค่าความยากง่าย
       ข. ค่าความเชื่อมั่น
       ค. ค่าความน่าเชื่อถือ
       ง. ค่าอำนาจจำแนก

21. “ การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนหลังเรียน
         ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
         ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ” ควรใช้สถิติใดในการวิเคราะห์ข้อมูล
          ก. t- test
          ข. KR-20
          ค. IOA
          ง. ANCOVA

22. องค์ประกอบหลักของการเขียนรายงานการวิจัยตรงกับข้อใด
        ก. ส่วนนำ – ส่วนทดลอง – ส่วนอภิปรายผล
        ข. ส่วนนำ – ส่วนเนื้อหา – ส่วนอ้างอิง
        ค. ส่วนนำ – ส่วนเนื้อหา – ส่วนสรุป
        ง. ส่วนนำ – ส่วนข้อมูล –  ส่วนสรุป

23. “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องการคูณ
        สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอกสะเดา”
        การวิจัยเรื่องนี้ควรใช้เครื่องมือชนิดใดในการเก็บรวบรวมข้อมูล
         ก. แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า
         ข. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
         ค. แบบทดสอบคู่ขนาน
         ง. แบบสังเกตพฤติกรรม

24. ปัญหาและความสำคัญของการวิจัย ควรนำเสนอในส่วนใดของการเขียนรายงานการวิจัย
        ก. บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
        ข. บทที่ 4 ผลการวิจัย
        ค. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
        ง. บทที่ 1 บทนำ

25. ค่าสถิติใดที่ควรนำเสนอพร้อมกับค่าเฉลี่ย (x
̄)
        ก. C.V.
        ข. IOC
        ค. S.D.
        ง. IOA

26. บทสรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับการดำเนินการทั้งหมดคืออะไร และจะอยู่ส่วนใดของการเขียนรายงานการวิจัย
       ก. ผลการอภิปรายและส่วนภาคผนวก
       ข. ผลการอภิปรายและส่วนอ้างอิง
       ค. บทคัดย่อและส่วนเนื้อหา
       ง. บทคัดย่อและส่วนนำ

27. การสรุปผล อภิปรายผลการวิจัยควรสอดคล้องกับหัวข้อใดมากที่สุด
       ก. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย
       ข. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
       ค. วัตถุประสงค์การวิจัย
       ง. สมมติฐานการวิจัย

28. ข้อใดต่อไปนี้ไม่อยู่ในส่วนอ้างอิง
       ก. รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ
       ข. บทคัดย่อ
       ค. ตัวอย่างเครื่องมือวิจัย
       ง. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยละเอียด

29. “ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล”
        รายละเอียดการเขียนจะอยู่ในส่วนใดของรายงานการวิจัย
          ก. บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
          ข. บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
          ค. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
          ง. บทที่ 4 ผลการวิจัย

30. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์หรือความสำคัญของการวิจัย
       ก. ใช้ในการวางแผนหรือกำหนดวิธีในการควบคุมสิ่งต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
       ข. ใช้ในการอธิบายปัญหาหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ทราบสาเหตุ
       ค. ใช้ในการพยากรณ์หรือทำนายอนาคตจะมีแนวโน้มอย่างไร
       ง. ใช้ในการป้องกันเหตุความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในคดีความ

นวัตกรรมการนิเทศ การศึกษาชั้นเรียน

1. การยอมรับและให้เกียรติครูผู้รับการนิเทศหรือทีมงาน เป็นทักษะที่ใช้ในขั้นตอนใด
    ของการนิเทศการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
     ก. ขั้นการประเมินการนิเทศ
     ข. ขั้นการสร้างความจริงใจ
     ค. ขั้นการทบทวนสรุปผลการนิเทศ
     ง. ขั้นการประชุมปฏิบัติการ
2. สมรรถนะประจำสายงานของศึกษานิเทศก์คือข้อใด
     ก. การออกแบบการเรียนรู้
     ข. การบริหารจัดการชั้นเรียน
     ค. การสื่อสารและการจูงใจ
     ง. การพัฒนาผู้เรียน
3. สมรรถนะหลัก (Core Competencies) ของวิชาชีพศึกษานิเทศก์ คือข้อใด
     ก. การทำงานเป็นทีม
     ข.การพัฒนาตนเอง
     ค. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
     ง. การบริการที่ดี
        ** คำตอบคือทุกข้อเป็นสมรรถนะหลัก**
4. การวิเคราะห์จุดพัฒนาทำเพื่ออะไร
     ก. เพื่อเลือกนวัตกรรมการนิเทศ
     ข. เพื่อนิเทศการศึกษาให้เป็นระบบ
     ค. เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการ
     ง. เพื่อการจัดทำงานผลการนิเทศได้สะดวก
5. กระบวนการนิเทศการศึกษาแบบเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอนคืออะไร
     ก. การเยี่ยมชั้นและสังเกตการสอนสมัยใหม่
     ข. การสังเกตการสอนที่มีขั้นตอนและต่อเนื่อง
     ค. การสังเกตการสอนอย่างง่ายที่ไร้รูปแบบ
     ง. การปฏิบัติการเยี่ยมชั้นเรียนที่มีการนัดหมายล่วงหน้า
6. การใช้เทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ ครูเหตุผลและความจำเป็นอย่างไร
     ก. เพราะนักเรียนไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
     ข. เพราะความรู้และวิชาการมีมากและครูมีภาระงานมาก
     ค. เพราะความรู้ความสามารถของครูลดน้อยลง
     ง. ผู้บริหารสถานศึกษาไม่มีเวลานิเทศการเรียนรู้ครู
7. ข้อมูลจากแบบสังเกตการสอนนำมาใช้อย่างไร
     ก. ตีความ สรุป เทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจของครูและนักเรียนกับแผนการเรียนรู้ที่ออกแบบ
     ข. ทบทวน อภิปราย เทียบความพึงพอใจและมาตรฐานการเรียนรู้ที่ต้องการ
     ค. วิเคราะห์ บุคลิกภาพการสอน วิธีการเรียนและการบรรยายการจัดการเรียนการสอน
     ง. ถูกทุกข้อ
8. ประสบการณ์และบันทึกของครูชูใจข้อใดที่นำมาใช้กับเทคนิคการนิเทศ
    ”เทคนิคการ สังเกตการสอนและเยี่ยมชั้น ทำให้ผู้นิเทศมองเห็นพฤติกรรมการสอนของครู
     และความน่ารักตามที่นักเรียนเป็น”
     ก. น้องสันติ เงียบขรึม นั่งหลังห้อง คอยหลบตาครู
     ข. น้องสมชาย พูดจาไพเราะ เรียนภาษาไทยเก่งมาก
     ค. น้องปุ๊ ขยันเรียน ทำงานช้า มองโลกในแง่ดี
     ง. ถูกทุกข้อ
9. จากบันทึกของครูชูใจในข้อ 8 ศึกษานิเทศก์ ควรชี้แนะ (Coaches) และตระหนักในข้อใด
     ก. บันทึกของครูชูใจไม่ได้ช่วยการสอนให้ดีขึ้นเลย
     ข. บันทึกนี้ทำให้เด็กแต่ละคนรู้ว่าครูรักเขาทุกคนและทุกคนล้วนมีจุดเด่น
     ค. ความแตกต่างของนักเรียนจะใช้วิธีสอนแบบเดี่ยวไม่ได้ ควรหาความหลากหลายและกำหนดระดับ
         คุณภาพที่แตกต่าง
     ง. เราเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่างกันได้และปรับให้เป็นแบบเดียวกันได้ไม่มากก็น้อย
10. ครูสมพรพูดว่า “นามสกุลนี้เรียนอ่อนแทบทุกคน ถ้าเป็นสมัยก่อนก็ตก
      และตกอีกไม่จบ ม. 3 หรอกครับ”
ศน. ชินกร : “แล้วครูสอนแก้อย่างไร ซ่อมเสริมหรือเปล่าครับ”
ครูสมพร : “ผมไม่ได้สอนเสริมหรือมีพิเศษอะไรหรอกครับ เชื่อผลเถอะ
สอนไปก็เหนื่อยเปล่า.”
คำชี้แนะหลังการเยี่ยมชั้นข้อใดที่ควรใช้ :
     ก. ครูออกแบบการสอนชนิดเดียว แต่วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนมีความแตกต่างกัน
         ครูเชื่อว่าต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน
     ข. วิชาชีพครูมีความเชื่อว่า นักเรียนทุกคนเรียนรู้ได้และพัฒนาได้แต่อาจไม่เท่ากัน
     ค. ครูแต่ละคนมีความถนัดไม่เท่ากันแต่ต้องมีอารมณ์ สังคมและความต้องการเหมือนกัน
     ง. จนปัญญาในการสอน ครูสมพรท้อแท้มากกว่า ผู้เรียนอย่างว่าเสียดายความเป็นครูคนเก่ง
11. ข้อมูลใดในแผนการเรียนรู้ ชี้บอกและควรตระหนักให้เกิดผลสัมฤทธิ์
      ในการเรียนการสอนมากที่สุด
       ก. มาตรฐานการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและคุณค่าที่แผนการสอนต้องการ
       ข. ประจักษ์พยานการสอน การยอมรับในหลักเกณฑ์ข้อทดสอบ ชิ้นงานและหลักการสังเกตการสอน
       ค. กิจกรรมและประสบการณ์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ฝึกฝน คิดค้นและทบทวน นำเสนอ
       ง. ถูกทุกข้อ
12. คุณค่าของข้อมูลในข้อ 11 ออกแบบให้ปรากฏในเครื่องมือนิเทศข้อใด
       ก. แบบสังเกตการสอน
       ข. คำชี้แนะการสอน
       ค. แผนการจัดการเรียนการสอน
       ง. บันทึกการสนทนา อภิปรายหลังการสังเกตการสอน
13. “ครูเก่งนักเรียนเก่ง ครูดีนักเรียนดี” คำกล่าวนี้สะกิดใจศึกษานิเทศก์ในเรื่องใดมากที่สุด
       ก. ศน.ผจญ “ปีนี้ศึกษานิเทศก์เบญจพร จะเสนอผลงาน คศ.4 น่าจะทำเรื่องของเราให้มากๆนะค่ะ”
       ข. ศน.สุเทียบ “ควรวิเคราะห์และเลือกจุดดีและจุดด้อย ปัญหาและความต้องการพัฒนาครูให้มีศักยภาพสูง 
           ส่งผลให้ครูสามารถพัฒนานักเรียนตรงกับปัญหามากที่สุด”
       ค. ศน.ปิยะรัตน์ “ทำไม ศน.ผจญ จึงเสนอแผนนี้และทำไม ศน.สุเทียบ จึงคิดแบบนี้ ความคิดเห็นของ ศน. ผจญ
           และ ศน.สุเทียบ ส่งผลถึงใครมากที่สุด น่าคิดนะค่ะ”
       ง. ศน.วราภรณ์ “พี่ประเสริฐกลับมาจากอบรม SP2 เป็นอย่างไร ได้ความรู้และเทคนิคหรือ
           ยุทธศาสตร์สมัยใหม่ๆ อะไรมาบ้าง เขากำลังสนใจเรื่องอะไรทุกวันนี้ครับ”
14. ข้อใดสร้างความมั่นใจให้ศึกษานิเทศก์ ชี้แนะ สอนงานและ
      สังเกตการสอนของครูสาระการเรียนรู้ต่างๆ ได้ดีที่สุด
       ก. แผนการนิเทศการศึกษาที่ออกแบบอย่างละเอียดรอบคอบ
       ข. เครื่องมือการนิเทศที่หลากหลายและครบสาระการเรียนรู้
       ค. ความรู้ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญในเรื่องการนิเทศและทักษะมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างทีมงาน
       ง. การช่วยครูให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาต้องการแม้ว่าไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการ
15. ข้อใด ไม่ใช่ นวัตกรรมการนิเทศการสอน
       ก. นุ๊ก นิเทศแบบทีมวิจัยชั้นเรียนโรงเรียนที่ใกล้กัน
       ข. โหน่ง นิเทศสังเกตการสอนครูสมยศใช้ชุดฝึกอ่านคำควบกล้ำ
       ค. หนิงชี้แนะครูประยงค์ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็ก ป.2 โดยใช้กระดาน กระดาษทรายและไหมพรมหลากสี
       ง. นุชชวนครูอี๊ด ประดิษฐ์ตุ๊กตาผักตบชวาขายส่งร้าน OTOP
16. ครูคนใดควรได้รับการปรับปรุงการสอนมากที่สุด
       ก. ครูอั๋น สั่งให้นักเรียนวาดภาพตามจินตนาการ
       ข. ครูโจ้ แบ่งกลุ่มนักเรียนทดลองการศึกษา Indicator ความเป็นกรด – เบส จากวัชพืช
       ค. ครูแอ๊ด พานักเรียนไปดูโรงงานผลิตนมพาสเจอไรด์
       ง. ครูจิ๋ว ให้จดตามคำบอกเรื่อง การหาความจุของถังข้าวสาร
17. ปัจจัยภายใน (Intrinsic Factors) ที่ศึกษานิเทศก์ควรสร้างแรงจูงใจภายในให้ครู คือข้อใด
       ก. ความสำเร็จของงานที่ปฏิบัติ
       ข. การยอมรับจากครูและเพื่อนร่วมงาน
       ค. ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่งาน
       ง. มีโอกาสได้ประสบการณ์ใหม่ๆ
18. ขั้นตอนสุดท้าย (Post Coaching) ของเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ ศึกษานิเทศก์มีบทบาทอย่างไร
       ก. สรุปผลชี้แนะ ยอมรับความสามารถของครูและให้โอกาสครู สรุปเพื่อปรับปรุงงาน
       ข. ตกลงวางแผนร่วมกันในการกำหนดคำถามและประเด็นชี้แนะสอนงาน
       ค. ชี้แนะ บอก ซักถาม พิจารณาผลงานแผนการสอนของครู
       ง. ชี้แนะ รับฟัง ท้าท้ายและให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับครูและโรงเรียน
19. ใครนิเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       ก. ศรีผ่อง นิเทศแบบชี้แนะตามความต้องการของตน
       ข. จันทร์เพ็ญ นิเทศแบบคลินิกอย่างเป็นกระบวนการ 3 ครั้ง
       ค. ศรราม รายงานจุดเด่นและจุดด้อยของโรงเรียนแต่ละแห่งทุกเดือน
       ง. ศรีผ่อง ทำแผนการนิเทศเสนอต่อ คณะกรรมการการนิเทศฯ(กต.ปน.เขตพื้นที่) ทุกปี
20. การทำงานโดยตรงกับครูของศึกษานิเทศก์โดยใช้เทคนิคการนิเทศแบบคลินิก
      (Clinical Supervision) ในขั้นแรกคือทำอะไร อย่างไร
       ก. พูดคุยกับครูก่อนเข้าสังเกตการสอนเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย จุดเด่น
           แบบวิธีการบันทึกและแบบสังเกตการสอน
       ข. วิเคราะห์และตีความผลงานของครู เช่น แผนการสอน ผลการทดสอบ แบบสังเกตการสอนเครื่องมือวัดผล
       ค. การติชม ทบทวน อภิปราย สะท้อนผล สรุปอะไรคือจุดเด่น จุดด้อย และข้อเสนอแนะ
       ง. สังเกตการสอนและบันทึกพฤติกรรมการสอน พฤติกรรมการเรียนและศึกษาข้อมูลบริบทของชั้นเรียน
           และสาระการเรียนรู้
21. การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เป็นการวิจัยประเภทใด
       ก. การวิจัยเชิงสำรวจ
       ข. การวิจัยเชิงทดลอง
       ค. การวิจัยกึ่งทดลอง
       ง. ถูกทุกข้อ
22. Lesson Study มีนิยามและกระบวนการคล้ายคลึงกับข้อใด
       ก. Classroom Study
       ข. Professional Study
       ค. Action Research Study
       ง. ถูกทุกข้อ
23. ขั้นตอนแรกของกระบวนการ Lesson Study คือข้อใด
       ก. การวางแผน
       ข. การอภิปราย
       ค. การสะท้อนผลบทเรียน
       ง. การนำไปใช้และการสังเกต
24. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)
       ก. การสรุปบทเรียน
       ข. การปรับปรุงบทเรียน
       ค. การพัฒนาการเรียนการสอน
       ง. การปรับปรุงการเรียนการสอน
25. ข้อใดเป็นวงจรการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ที่ถูกต้อง
       ก. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> วิเคราะห์และวางแผน ==> สอนและสังเกต
           ==> สนทนาและทบทวน==> สอนและสังเกต==> สนทนาและทบทวน
           ==> รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย
       ข. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> วิเคราะห์และวางแผน ==> สอนและสังเกต==>
           สอนและสังเกต ==> สนทนาและทบทวน==> สนทนาและทบทวน==>
           รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย
       ค. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> สอนและสังเกต ==> วิเคราะห์และวางแผน==>
           สนทนาและทบทวน ==> สอนและสังเกต==> สนทนาและทบทวน==>
           รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย
       ง. กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> วิเคราะห์และวางแผน ==> สอนและสังเกต==>
           สนทนาและทบทวน ==> สอนและสังเกต    ==> สนทนาและทบทวน==>
           สอนและสังเกต ==> รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย
26. ข้อใดเป็นขั้นตอนกระบวนการพื้นฐานของ Lesson Study ที่ถูกต้อง
       ก. วางแผน ==> นำไปใช้ ==> สังเกต ==> อภิปราย ==> สะท้อนผล
       ข. วางแผน ==> สังเกต ==> อภิปราย ==> สะท้อนผล ==> นำไปใช้
       ค. วางแผน ==> สังเกต ==> อภิปราย ==> นำไปใช้ ==> สะท้อนผล
       ง. วางแผน ==> นำไปใช้ ==> สังเกต ==> สะท้อนผล ==> อภิปราย
27. วงจรของการศึกษาชั้นเรียนเริ่มต้นจากข้อใด
       ก. การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Selecting a Focus)
       ข. การวิเคราะห์และวางแผน (Planning the Lesson Study)
       ค. การสนทนาและทบทวน (Revision Based on the Group’s Reflection)
       ง. สอนและสังเกตการสอน (Teaching & Focused Observation of
           Lesson Based on the Group’s Goals)
28. จะเริ่มต้นอย่างไรกับการวางแผนปฏิบัติการ Lesson Study
       ก. พิจารณาเลือกบทเรียนที่จะพัฒนาร่วมกันเป็นเบื้องต้น
       ข. เริ่มจากความสนใจของครูกลุ่มเล็ก ๆ ที่กระทำในประเด็นง่าย ๆ
       ค. เริ่มเลือกหน่วยการสอนและวิเคราะห์ความต้องการของครูเป็นสำคัญ
       ง. เริ่มจุดประสงค์/สาระที่มีปัญหาและความต้องการของนักเรียนเป็นสำคัญ
29. กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของการศึกษาชั้นเรียนคือข้อใด
       ก. การวางแผน (Planning)
       ข. ความร่วมมือ (Collaboration)
       ค. การเรียนการสอน (Learning & Teaching)
       ง. การทบทวนและสะท้อนผล (Revise & Reflection)
30. ประโยชน์สูงสุดที่เป็นคุณค่าของการศึกษาชั้นเรียนคือข้อใด
       ก. เป็นหนึ่งกระบวนการร่วมมือครูเพื่อพัฒนางานและเลื่อนวิทยฐานะ
       ข. การพัฒนาการเรียนการสอนในหน้าที่ครูอย่างต่อเนื่องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน
       ค. การสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการเรียนการสอนที่เน้นความร่วมมือและพัฒนาศาสตร์การสอนให้เข้มแข็ง
       ง. ยกระดับคุณภาพการสอนของครูและเพิ่มสมรรถภาพการเรียนรู้ของนักเรียนให้สูงขึ้นด้วยกระบวนการวิจัย

การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ
นำเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาเพื่อการอื่นใด คำตอบที่พบได้จากการศึกษาวิเคราะห์ว่าน่าจะใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด 
ผู้บริหารท่านใดคิดว่าอาจจะไม่ถูกต้อง สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่เว็บบอร์ดครับ ขอขอบคุณ


แบบทดสอบก่อนเรียน Pre-test

1. ข้อใดอธิบายเกี่ยวข้องกับผู้นำได้ตรงที่สุด
     ก. ผู้นำจะเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับการแต่งตั้งหรือมีการมอบหมายอย่างเป็นชัดเจน
     ข. ผู้นำจะเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด
     ค. ผู้นำคือ บุคคลที่บังคับบุคคลอื่นได้
     ง. ผู้นำ คือความสามารถในการนำไปสู่เป้าหมาย

2. ผู้บริหารระดับสูงควรมีทักษะของผู้นำด้านใดมากที่สุด
     ก. มนุษยสัมพันธ์
     ข. เทคนิค
     ค. การคิดวิเคราะห์
     ง. การควบคุมสั่งการ

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการแบบใดที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาหน่วยงาน
     ก. แบบประชาธิปไตย
     ข. แบบเผด็จการ
     ค. แบบกลอุบายเป็นหลัก
     ง. แบบลูกทุ่ง

4. แนวคิดแบบตาข่าย (Managerial grid) ของเบลคและมูตัน พฤติกรรมผู้นำแบบใดดีที่สุด
     ก. 1.1
     ข. 1.9
     ค. 9.1
     ง. 9.9

5. ข้อใดที่ไม่ใช่แนวทางการจัดการศึกษาของผู้นำทางวิชาการ
     ก. เป้าหมาย
     ข. วิสัยทัศน์
     ค. ทำนายคาดหวัง
     ง. การจัดการ

6. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
     ก. การบริหารจัดการหลักสูตรและการสอน
     ข. การส่งเสริมบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมการเรียนรู้
     ค. การสนับสนุนครูเข้าร่วมเป็นกรรมการระดับต่างๆ
     ง. การพัฒนานักเรียน

7. ข้อใดที่ไม่ใช่เป็นการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
     ก. มาตรฐานการศึกษาของชาติ
     ข. เอกลักษณ์ของสถานศึกษา
     ค. ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้
     ง. จัดทำแผนปฏิบัติราชการประปี

8. ข้อใดกล่าวถึงการประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
    แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) ได้ถูกต้อง
     ก. ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ
     ข. ให้มีการตรวจสอบและประเมินการดำเนินการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่
     ค. ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก 5 ปี
     ง. หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

9. ขั้นตอนใด เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการจัดระบบสารสนเทศ
     ก. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)
     ข. การตรวจสอบข้อมูล (Checking Data)
     ค. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data)
     ง. การใช้ข้อมูล (Using Data)

10. ขั้นตอนสุดท้ายของการจัดเก็บสารสนเทศ คือข้อใด
      ก. เก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)
      ข. การตรวจสอบข้อมูล (Checking Data)
      ค. การประมวลผลข้อมูล (Processing Data)
      ง. การใช้ข้อมูลสารสนเทศ (Using Data)

11. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เชื่อมต่อกันเหมือนใยแมงมุมคือข้อใด
      ก. Wireless Internet
      ข. WWW.
      ค. E – mail
      ง. Leased line

12. ข้อใดไม่ใช่เป็นประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
      ก. ให้คำปรึกษาทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และประชาชน ผู้รับบริการ
      ข. มีรูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่หลากหลาย
      ค. ใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้
      ง. ใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหาร

13. ข้อใดไม่ใช่ภาวะผู้นำของผู้บริหารในด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
      ก. มีความเข้าใจในกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของหลักสูตรแต่ละประเภท
      ข. มีความตระหนักถึงกลุ่มเป้าหมายทางการศึกษาของโรงเรียน
      ค. มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
      ง. มีความรู้ในทฤษฎีและปรัชญาของหลักสูตร

14. ข้อใดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำทางวิชาการในด้านการบริหารจัดการหลักสูตร
      ก. ส่งเสริมให้เกิดการทำงานเป็นทีมในการพัฒนาหลักสูตร
      ข. จัดเวลาให้ครูได้แลกเปลี่ยนความรู้ในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้
      ค. ประสานความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
      ง. ตัดสินใจที่ถูกต้องในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน

15. ข้อใดไม่ใช่เป็นบทบาทของผู้บริหารในฐานะเป็นผู้นำในการจัดการเรียนการสอน
      ก. จะต้องยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
      ข. จะต้องช่วยให้เกิดบูรณาการประสบการณ์ทั้งมวลของนักเรียน
      ค. จะต้องส่งเสริมสมรรถภาพในการสอนของครูให้ดีขึ้น
      ง. จะต้องช่วยให้นักเรียนได้รับความเสมอภาพทุกคน

16. ทุกข้อเป็นองค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอน ยกเว้นข้อใด
      ก. สัมฤทธิผลของการสอน
      ข. การสนับสนุนการสอน
      ค. การสร้างเสริมทักษะ
      ง. การสรุปบทเรียน

17. ข้อใดเป็นขั้นตอนของ O ในกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบ P-A-O-R
      ก. การสำรวจปัญหาและจัดทำแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน
      ข. การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความรอบคอบ
      ค. การประเมิน ตรวจสอบกระบวนการแก้ปัญหา
      ง. การปฏิบัติตามแผนการแก้ปัญหา

18. เป้าหมายสำคัญที่สุดของการใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตรงกับข้อใด
      ก. การปฏิบัติงานที่ตรงตามบทบาทหน้าที่
      ข. การมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครู
      ค. การพัฒนาการสอนของครู
      ง. คุณภาพของผู้เรียน

19. ข้อใดเป็นหลักการเลือกนวัตกรรมที่สำคัญที่สุด
      ก. ความเหมาะสม ครอบคลุมประเด็นปัญหา
      ข. ความต้องการของนักเรียน
      ค. ความง่ายในการพัฒนา
      ง. ความสวยงาม เร้าใจ

20. ข้อใดไม่ใช่ผลที่ได้โดยตรงจากการใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ
      ก. ความพึงพอใจของผู้เรียน
      ข. รายงานวิจัยของผู้บริหารและครู
      ค. ความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียน
      ง. ประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น

 
แบบทดสอบหลังเรียน Post-test

1. ข้อใดเป็นพฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งด้านมิตรสัมพันธ์
     ก. การมอบหมายงานและความรับผิดชอบ
     ข. การกำหนดวิธีการทำงาน
     ค. การยอมรับถึงความรู้สึก ความคิด
     ง. การกำหนดบทบาทของผู้นำและผู้ตาม

2. การบริหารงานวิชาการยุคใหม่ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
     ก. เน้นการสอน
     ข. บริหารการเปลี่ยนแปลง
     ค. สร้างองค์ความรู้ต้วยตนเอง
     ง. ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

3. ข้อใดที่บ่งชี้บทบาทหน้าที่ทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามากที่สุด
     ก. มาตรฐาน
     ข. ระดับเงินเดือน
     ค. คุณวุฒิ
     ง. วัยวุฒิ

4. ข้อใดเป็นบทบาทสำคัญที่สุดของผู้บริหารในการเป็นผู้นำด้านการจัดการเรียนการสอน
     ก. ให้ครูวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้
     ข. ให้ครูมีเจตคติที่ดีต่อการสอนคณิตศาสตร์
     ค. ให้ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบ
     ง. ให้ครูเข้าใจการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ***

5. ข้อใดที่ไม่ใช่แนวทางการจัดการศึกษาของการปฏิรูปการศึกษา
     ก. เป้าหมาย
     ข. วิสัยทัศน์
     ค. การพยากรณ์อนาคต
     ง. การจัดการ

6. ข้อใดที่ไม่ใช่แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้
     ก. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
     ข. ความรู้
     ค. ชาตินิยม
     ง. การบูรณาการ

7. การประกันคุณภาพภายนอกตามกฎหมายการศึกษาต้องดำเนินการทุก ๆ ครั้ง : ปี
     ก. 1 ปี
     ข. 2 ปี
     ค. 3 ปี
     ง. 5 ปี  
คำตอบจาก พรบ. กศ.
ให้สถานศึกษาทุกแห่งได้รับการตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษาอย่างน้อย 3 ปี 1 ครั้ง
โดยเขตพื้นที่การศึกษา นอกจากนี้ มาตรา 49 กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมิน
คุณภาพภายนอกอย่างน้อย 1 ครั้งในทุก 5 ปี
 

8. การรายงานประจำปีตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา เรียกชิ่อย่อตามข้อใด
     ก. SAR
     ข. PAR
     ค. ASR
     ง. SSR

9. ข้อใดที่ไม่ใช่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภายในสถานศึกษา
     ก. มีระบบเครือข่ายอินทราเน็ต และระบบเครือข่ายภายใน ในสถานศึกษา
     ข. มีระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้เพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียน การสอน
     ค. มีการจัดห้องเรียนที่หลากหลาย เช่นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ /ห้องเรียนคอมพิวเตอร์
     ง. มีอุปกรณ์ที่มีราคาแพง

10. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่จำเป็นต้องมีส่วนประกอบตามข้อใด
     ก. คอมพิวเตอร์
     ข. ซอฟแวร์
     ค. ผู้ใช้
     ง. เอกสารทำการ

11. ข้อใดไม่ใช่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      ก. โทรศัพท์
      ข. คอมพิวเตอร์
      ค. แฟกซ์
      ง. แบตเตอรี่

12. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการสื่อสาร
      ก. ผู้รับข่าวสาร
      ข. ผู้ส่งข่าวสาร
      ค. ข้อมูลข่าวสาร
      ง. ผู้ประสานการสื่อสาร

13. ทุกข้อเป็นภาวะผู้นำของผู้บริหารในด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ยกเว้นข้อใด
      ก. มีความตระหนักถึงกลุ่มเป้าหมายทางการศึกษาของโรงเรียน
      ข. มีความตระหนักถึงความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน
      ค. มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
      ง. มีความรู้ในทฤษฎีและปรัชญาของหลักสูตร

14. ข้อใดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านบริหารจัดการในด้านการบริหารจัดการหลักสูตร
      ก. ส่งเสริมให้เกิดการทำงานเป็นทีมในการพัฒนาหลักสูตร
      ข. ให้คำแนะนำแก่ครูในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้
      ค. ประสานความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
      ง. ตัดสินใจที่ถูกต้องในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน

15. ทุกข้อเป็นบทบาทของผู้บริหารในฐานะเป็นผู้นำในการจัดการเรียนการสอน ยกเว้นข้อใด
      ก. จะต้องกระตุ้นให้ครูได้ให้ความสนใจกับพัฒนาการทุก ๆ ด้านของนักเรียน
      ข. จะต้องยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
      ค. จะต้องช่วยให้เกิดบูรณาการประสบการณ์ทั้งมวลของนักเรียน
      ง. จะต้องส่งเสริมสมรรถภาพในการสอนของครูให้ดียิ่งขึ้น

16. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอน
      ก. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอน
      ข. การเตรียมความพร้อมในการเรียน
      ค. การนำเข้าสู่บทเรียน
      ง. การดำเนินการสอน

17. ข้อใดเป็นขั้นตอนของ R ในกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบ P-A-O-R
      ก. การสำรวจปัญหาและจัดทำแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน
      ข. การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความรอบคอบ
      ค. การประเมิน ตรวจสอบกระบวนการแก้ปัญหา
      ง. การปฏิบัติตามแผนการแก้ปัญหา

18. ข้อใดเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของการใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
      ก. การปฏิบัติงานที่ตรงตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและครู
      ข. ผู้เรียนบรรลุตามที่หลักสูตรต้องการ
      ค. การมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครู
      ง. การพัฒนาการสอนของครู

19. การศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี จะเป็นประโยชน์ในข้อใดมากที่สุด
      ก. ได้ความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา
      ข. ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมการแก้ปัญหา
      ค. ได้ทฤษฎีมาเป็นฐานในการแก้ปัญหา
      ง. ได้นวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา

20. ข้อใดเป็นผลพลอยได้จากการใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ
      ก. รายงานวิจัยของผู้บริหารและครู
      ข. ความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียน
      ค. ประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น
      ง. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรม

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1               3 คะแนน
1. ข้อใดที่ไม่ใช่เป็นคุณลักษณะเด่นของผู้นำ
ก. เชื่อมั่นในตนเอง
ข. รอบรู้ในงาน
ค. สืบทอดโดยกำเนิด
ง. ซื่อสัตย์มีจริยธรรม
2. ข้อใดเป็นพฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งผลผลิตหรือมุ่งงาน
ก. การตัดสินใจที่เกี่ยวกับการทำงาน
ข. กำหนดเป้าหมายการทำงาน
ค. ใช้วิธีจูงใจ
ง. การจัดแบ่งงาน
3. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของภาวะผู้นำทางวิชาการ
ก. การบริหารจัดการหลักสูตรและการสอน
ข. การส่งเสริมบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมการเรียนรู้
ค. การสนับสนุนครูเข้าร่วมเป็นกรรมการระดับต่างๆ
ง. การพัฒนานักเรียน
4. ข้อใดไม่ใช่เป็นขอบข่ายงานการบริหารวิชาการในสถานศึกษา
ก. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
ข. การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
ค. การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
ง. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
5. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารทางการศึกษายุดใหม่
ก. ควบคุม
ข. สั่งการ
ค. ร่วมมือ
ง. เหนือกว่า

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 
2                           5 คะแนน
1. ข้อใดไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาที่ต้องจัดระบบประกันคุณภาพตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการดำเนินการการประกันคุณภาพภายใน
ก. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ข. จัดทำแผนงบประมาณของสถานศึกษา
ค. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
ง. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
2. ข้อใดที่มีความสำคัญที่สุดของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ก. มาตรา 8
ข. มาตรา 22
ค. มาตรา 24
ง. มาตรา 47
3. แนวทางจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องการเน้นความสำคัญอะไร
ก. ความรู้
ข. คุณธรรม
ค. กระบวนการเรียนรู้
ง. ความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้
4. ข้อใดเป็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
ก. ทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
ข. เป็นการคัดเลือกสถานการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพออกไปจากระบบการศึกษา
ค. สร้างโอกาสให้สถานศึกษาที่มีความพร้อมได้จัดการศึกษา
ง. ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาทราบว่าสถานศึกษามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด
5. ข้อใดที่ต้องดำเนินการเป็นลำดับแรกในระบบการประกันคุณภาพภายในการศึกษา
ก. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
ข. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ค. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
ง. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน


แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 
3                        3 คะแนน
1. ในการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมีเป้าหมายสำคัญตรงกับข้อใด
ก. มุ่งพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ข. มุ่งพัฒนาผู้เรียนไปสู่คุณภาพตามมาตรฐาน
ค. มุ่งพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้
ง. มุ่งพัฒนาครูผู้สอนให้จัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ข้อใดแสดงถึงความเป็นผู้นำทางวิชาการในการบริหารจัดการหลักสูตร
ก. ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ
ข. วางแผนในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันกับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ค. ให้คำแนะนำแก่ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
ง. จัดลำดับความสำคัญของงานพัฒนาหลักสูตรโดยคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. ข้อใดแสดงถึงความเป็นผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการหลักสูตร
ก. ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ
ข. วางแผนในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันกับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ค. ให้คำแนะนำแก่ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
ง. จัดลำดับความสำคัญของงานพัฒนาหลักสูตรโดยคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. ข้อใดเป็นบทบาทสำคัญที่สุดของผู้บริหารในการเป็นผู้นำด้านการจัดการเรียนการสอน
ก. ให้ครูวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้
ข. ให้ครูมีเจตคติที่ดีต่อการสอนคณิตศาสตร์
ค. ให้ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบ
ง. ให้ครูเข้าใจการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
5. ทุกข้อเป็นบทบาทผู้บริหารในฐานะเป็นผู้นำในการจัดการเรียนรู้ ยกเว้นข้อใด
ก. จะต้องยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับความต้องการ และความสนใจของนักเรียน
ข. จะต้องช่วยให้นักเรียนได้รับความเสมอภาคในการเรียนทุกคน
ค. จะต้องช่วยให้เกิดบูรณาการประสบการณ์ทั้งมวลของนักเรียน
ง. จะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนมีอิสระในการเรียน การเล่น



แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 
4                     4 คะแนน
1. ข้อใดเป็นขั้นตอนของ A ในกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบ P-A-O-R
ก. การสำรวจปัญหาและจัดทำแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน
ข. การประเมิน ตรวจสอบกระบวนการแก้ปัญหา
ค. การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
ง. การปฏิบัติตามแผนการแก้ปัญหา
2. ข้อใดเป็นขั้นตอนของ P ในกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบ P-A-O-R
ก. การสำรวจปัญหาและจัดทำแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน
ข. การประเมิน ตรวจสอบกระบวนการแก้ปัญหา
ค. การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
ง. การปฏิบัติตามแผนการแก้ปัญหา
3. ทุกข้อเป็นหลักการของการใช้การนิเทศบนพื้นฐานการวิจัย (Research Based Supervision : RBS) ยกเว้นข้อใด
ก. ความเป็นกัลยาณมิตร
ข. การเรียนรู้ด้วยตนเอง
ค. การมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน
ง. การใช้วงจรการวิจัย P-A-O-R
4. ขั้นตอนกระบวนการพัฒนานวัตกรรม ขั้นใดที่ต้องอาศัยการศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี
ก. การเลือกนวัตกรรมที่เหมาะสมที่สุด
ข. การวิเคราะห์ปัญหาการปฏิบัติงาน
ค. การสร้างต้นแบบนวัตกรรม
ง. การการทดลองภาคสนาม
5. ผลโดยตรงของการใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ ตรงกับข้อใด
ก. รายงานการวิจัยของครู
ข. การพัฒนาการสอนของครู
ค. ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
ง. การมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครู

แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 
5                         5 คะแนน
1. ข้อใดเป็นกระบวนการสำหรับการแลกเปลี่ยนสื่อสาร
ก. ส่งจากผู้ส่งสาร -> เข้ารหัส -> ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส
ข. ส่งข้อมูล -> จัดเก็บ- > นำไปใช้งาน
ค. ข้อมูล -> เข้าช่องทางสื่อสาร -> เข้าใจและตอบสนอง
ง. ส่งข้อมูล -> ผู้รับข่าวสาร -> จัดเก็บ
2. การตรวจสอบข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณสมบัติที่ดีคือข้อใด
ก. รวดเร็ว
ข. มีความถูกต้องแม่นยำ
ค. ทันสมัย
ง. ตรงตามความต้องการ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ไม่ก่อประโยชน์ด้านทรัพยากรการเรียนรู้คือข้อใด
ก. มีเว็บไซต์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน
ข. มีระบบจัดการแหล่งการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
ค. มีการจัดรวบรวมสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนเป็นระบบ
ง. ผู้เรียนใช้แหล่งเรียนรู้ในเว็บไซต์ที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม
4. พ.ร.บ.การศึกษาชาติ 2542ได้กล่าวถึงเรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไว้ในหมวดใด
ก. หมวด 6
ข. หมวด 7
ค. หมวด 8
ง. หมวด 9
5. ข้อใดไม่ใช่แนวทางปฏิบัติการจัดให้มีแหล่งข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาระดับโรงเรียน
ก. จัดให้มีสถานที่เพื่อเป็นศูนย์สารสนเทศ
ข. จัดให้มีวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น ตู้สำหรับจัดเก็บแฟ้มข้อมูลสารสนเทศ
ค. จัดแสดงสารสนเทศที่สำคัญ ๆ แต่ละรอบปีเช่น ตารางแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ง. จัดห้องเก็บสไลด์หรือแผ่นใสเพื่อไว้เผยแพร่ให้หน่วยงานอื่น

การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
1. ข้อใดกล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูประบบราชการได้ถูกต้อง
     ก. ความล่าช้า
     ข. ความไม่มีประสิทธิภาพ
     ค. การไม่ยืดหยุ่น
     ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
2. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของประสิทธิภาพ (Efficiency) ถูกต้องที่สุด
     ก. ผลผลิตเพิ่มขึ้นและปัจจัยเพิ่มขึ้น
     ข. ผลผลิตที่ได้เท่าเดิมแต่ปัจจัยนำเข้าลดลง
     ค. ผลผลิตลดลงแต่ปัจจัยนำเข้าเพิ่มขึ้น
     ง. ผลผลิตเท่าเดิมแต่ปัจจัยเพิ่มขึ้น
3. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของผลสัมฤทธิ์ได้ถูกต้อง
     ก. ผลสัมฤทธิ์ (Result) = ปัจจัยนำเข้า (Input) + ผลผลิต (Output)
     ข. ผลสัมฤทธิ์ (Result) = ปัจจัยนำเข้า (Input) - ผลผลิต (Output)
     ค. ผลสัมฤทธิ์ (Result) = ผลผลิต (Output) + ผลลัพธ์ (Outcomes)
     ง. ผลสัมฤทธิ์ (Result) = ผลผลิต (Output) - ผลลัพธ์ (Outcomes)
4. ข้อใดกล่าวถึงการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ถูกต้องน้อยที่สุด
     ก. การบริหารที่มุ่งผลผลิตและผลลัพธ์
     ข. การบริหารที่มีตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
     ค. การบริหารที่ทุกคนในองค์การมีส่วนร่วมกันทำงาน
     ง. การบริหารที่ยึดกฎระเบียบในการดำเนินงาน
5. ข้อใดกล่าวถึงความหมายปัจจัยหลักความสำเร็จ (CSFs Critical Success Factor) ไม่ถูกต้อง
     ก. สิ่งที่องค์การต้องดำเนินการเพื่อให้งานสำเร็จ
     ข. ที่องค์การต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ขององค์การ
     ค. สิ่งที่องค์การต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์
     ง. สิ่งที่องค์การต้องดำเนินการเพื่อรองรับการประเมินภายนอก
6. การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI) ที่ดีต้องมีลักษณะเฉพาะเจาะจงและชัดเจน
    ตรงกับหลักการ SMART ข้อใด
     ก. Specific
     ข. Measurable
     ค. Achievable
     ง. Realistic
7. ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (KPI) มีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลักความสำเร็จ (CSFs)
    ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
     ก. KPI ใช้วัดความก้าวหน้าการปฏิบัติงานตาม CSFs
     ข. KPI ใช้ประเมินกระบวนการ CSFs
     ค. KPI ใช้จำแนกขนาดของ CSFs
     ง. KPI ใช้วัดความสามารถของ CSFs
8. “ครูสามารถจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อได้” จากข้อความนี้ท่านว่าสัมพันธ์กับข้อใด
     ก. ปัจจัยหลักความสำเร็จ
     ข. พันธกิจ
     ค. ตัวชี้วัดผลผลิต
     ง. ตัวชี้วัดผลลัพธ์
9. การวัดผลการปฏิบัติงาน (Performance Measurement) สิ่งที่จะต้องนำไปเปรียบเทียบ
    ท่านคิดว่าข้อใดถูกต้องที่สุด
     ก. ปัจจัยนำเข้า
     ข. เป้าหมาย
     ค. กระบวนการ
     ง. วิสัยทัศน์
10. ข้อใดกล่าวถึงการประเมินโครงการได้ถูกต้องที่สุด
      ก. ความงดงาม
      ข. ความละเอียด ซับซ้อน
      ค. ความทันสมัย
      ง. ความคุ้มค่า
11. การตรวจสอบผลการปฏิบัติงานตามหลักการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ข้อใดกล่าวถูกต้อง
      ก. เน้นกระบวนการทำงาน
      ข. เน้นผลสัมฤทธิ์
      ค. เน้นปัจจัยนำเข้า
      ง. เน้นความถูกต้องตามระเบียบราชการ
12. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์การติดตามผลการปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง
      ก. เพิ่มความสำคัญของผู้บังคับบัญชา
      ข. ปรับปรุงการกำหนดนโยบายการทำงาน
      ค. ช่วยให้มองเห็นภาพรวมการทำงานทั้งระบบ
      ง. สร้างขวัญกำลังกับผู้เกี่ยวข้อง
13. ข้อใดกล่าวถึงกระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ขององค์การได้ถูกต้องที่สุด
      ก. การจัดทำแผนกลยุทธ์เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง
      ข. การจัดทำแผนกลยุทธ์ทุกคนในองค์การต้องมีส่วนรวม
      ค. การจัดทำสอนกลยุทธ์ในองค์การขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องดำเนินการ
      ง. การจัดทำแผนกลยุทธ์ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์เป็นผู้รับผิดชอบจัดทำ
14. “ร้อยละของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีการศึกษา 2554
       ที่เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา” ข้อความนี้กล่าวถึงตัวชี้วัดตามข้อใด
      ก. ตัวชี้วัดปัจจัยนำเข้า
      ข. ตัวชี้วัดผลผลิต
      ค. ตัวชี้วัดผลลัพธ์
      ง. ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ
15. หลักเกณฑ์ในการเลือกวิธีการเก็บข้อมูล ผู้เกี่ยวข้องควรพิจารณาข้อใดน้อยที่สุด
      ก. ความเป็นไปได้
      ข. ความสะดวก
      ค. ความน่าเชื่อถือ
      ง. ต้นทุนในการดำเนินการ
          ## ไม่แน่ใจ
16. ข้อใดกล่าวถึงตัวชี้วัดได้ถูกต้อง
      ก. จำนวนตัวชี้วัดจะต้องมีจำนวนมาก
      ข. จำนวนตัวชี้วัดจะต้องมีเท่าที่จำเป็นที่สอดคล้องกับสิ่งที่จะวัด
      ค. จำนวนตัวชี้วัดต้องสอดคล้องกับผู้รับผิดชอบโครงการ
      ง. ถูกทุกข้อ
17. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะขององค์การที่ใช้ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ได้ถูกต้อง
      ก. มีพันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน
      ข. การพิจารณางบประมาณยึดผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก
      ค. มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจให้ผู้เกี่ยวข้อง
      ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
18. การวิเคราะห์ภารกิจและผลผลิตหลักของสถานศึกษาท่านคิดว่าคำตอบข้อใด
      เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด
      ก. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
      ข. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
      ค. นโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ
      ง. ถูกทุกข้อ
19. ข้อโดกล่าวถึงลักษณะเด่นของ “เป้าประสงค์” ได้ถูกต้อง
      ก. เป็นผลผลิต
      ข. เป็นผลลัพธ์
      ค. เป็นกระบวนการ
      ง. เป็นปัจจัยนำเข้า
20. การเขียนโครงการที่สอดคล้องกับหลักการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ข้อใดเป็นลักษณะเด่นที่สุด
      ก. มีการระบุเป้าหมายโครงการชัดเจน
      ข. มีการระบุผลผลิตและผลลัพธ์
      ค. มีการระบุงบประมาณชัดเจน
      ง. มีการระบุกลยุทธ์การดำเนินงานชัดเจน

การจัดการความรู้
นำเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาเพื่อการอื่นใด  คำตอบที่พบได้จากการศึกษาวิเคราะห์ว่าน่าจะใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ผู้บริหารท่านใดคิดว่าอาจจะไม่ถูกต้อง  สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่เว็บบอร์ด  ขอขอบคุณ

แบบทดสอบก่อนเรียน Pre - test

1. ข้อใดไม่ใช่ประเด็นที่เกี่ยวข้องของความหมายของการจัดการความรู้
     ก. เป็นกลยุทธ์การบริหารจัดการ
     ข. เป็นผลให้การดำเนินขององค์กรดีขึ้น
     ค. เป็นแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     ง. เป็นระบบและมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
2. ทุกข้อเป็นองค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ ยกเว้นข้อใด
     ก. คน
     ข. เทคโนโลยี
     ค. กระบวนการจัดการความรู้
     ง. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้
3. ทุกข้อเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge) ยกเว้นข้อใด
     ก. วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในชั้นเรียน
     ข. แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     ค. ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     ง. หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. ความรู้ที่ฝังลึกในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) ตรงกับข้อใด
     ก. หลักการในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ด้วย Backward Design
     ข. แนวคิดในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ด้วย Backward Design
     ค. วิธีการปฏิบัติจริงในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ด้วย Backward Design
     ง. ขั้นตอนการปฏิบัติในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ด้วย Backward Design
5. จากวงจรของการจัดการความรู้ สิ่งแรกที่องค์กรต้องปฏิบัติคือข้อใด
     ก. การกำหนดเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่องค์กรต้องการ
     ข. การสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจในสิ่งที่องค์กรทำ
     ค. การให้ความรู้แก่บุคลากรเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ
     ง. การจัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์กร
6. การสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กร ตรงกับข้อใด
     ก. การจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม
     ข. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล
     ค. กระบวนการและเครื่องมือ
     ง. การสื่อสาร
7. เครื่องมือในข้อใด ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึกในตัวบุคคล
     ก. Web board
     ข. บอร์ดประชาสัมพันธ์
     ค. เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
     ง. เรื่องเล่าเร้าพลัง (Story Telling)
8. ข้อใดเป็นขั้นตอนการปรับปรุงรูปแบบ เนื้อหาเอกสารหรือองค์ความรู้ให้สมบูรณ์
     ก. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
     ข. การสร้างและแสวงหาความรู้
     ค. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
     ง. การเข้าถึงความรู้
9. ข้อใดเป็นขั้นตอนการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาและปรับปรุงองค์กร
     ก. การสร้างและแสวงหาความรู้
     ข. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
     ค. การบ่งชี้ความรู้
     ง. การเรียนรู้
10. ข้อใดเป็นส่วนที่แสดงถึงส่วนหัวปลา ตามโมเดลปลาทู
      ก. การใช้เทคโนโลยีนำความรู้ที่เด่นชัด (Explicit Knowledge) ไปเผยแพร่
      ข. การกำหนดความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
      ค. การจัดทำเป็นชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : CoP)
      ง. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเรื่องเล่าเร้าพลัง
11. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยเอื้อที่ทำให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ
      ก. การมีทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจนขององค์กร
      ข. การมีบุคลากรที่มีความสามารถ
      ค. การมีโครงสร้างพื้นฐาน
      ง. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร
12. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
      ก. เทคโนโลยีช่วยในการติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยงคนเข้าด้วยกัน
      ข. เทคโนโลยีช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้กับคนในองค์กร
      ค. เทคโนโลยีช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
      ง. เทคโนโลยีช่วยให้องค์กรมีความทันสมัย
13. ข้อใดเป็นปัจจัยเอื้อที่สำคัญที่สุด
      ก. การวัดผล
      ข. โครงสร้างพื้นฐาน
      ค. วัฒนธรรมองค์กร
      ง. กลยุทธ์ขององค์กร
14. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการใช้เรื่องเล่าเร้าพลังในการจัดการความรู้
      ก. เพื่อเชื่อมโยงความรู้และนวัตกรรม
      ข. เพื่อสร้างชุมชนแนวใหม่ปฏิบัติ
      ค. เพื่อจับความรู้ฝังลึก
      ง. เพื่อพัฒนาองค์กร
15. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการเล่าเรื่องที่ดี
      ก. เรื่องเล่าเป็นเรื่องจริง
      ข. เรื่องเล่าสอดคล้องกับต้องการของตนเอง
      ค. มีลีลาการเล่าที่ทำให้เกิดพลังการขับเคลื่อน
      ง. เรื่องที่เล่า ครบจบภายในเวลาประมาณ 2-3 นาที
16. ผู้มีบทบาทเป็นผู้สร้างบรรยากาศที่ดีที่จะนำไปสู่การแบ่งปันความรู้ ตรงกับข้อใด
      ก. คุณอำนวยหรือผู้ดำเนินการกลุ่ม
      ข. หัวหน้าทีมและผู้ดำเนินการกลุ่ม
      ค. คุณเอื้อหรือหัวหน้าทีม
      ง. คุณลิขิตหรือผู้จดบันทึก
17. ผู้มีบทบาทช่วยตั้งคำถาม เพื่อให้ความรู้ฝังลึกได้ถูกสกัดออกมา ตรงกับข้อใด
      ก. คุณอำนวยหรือผู้ดำเนินการในกลุ่ม
      ข. หัวหน้าทีมและผู้ดำเนินการในกลุ่ม
      ค. คุณกิจหรือบุคคลที่เป็นเจ้าของเรื่อง
      ง. คุณเอื้อหรือหัวหน้าทีม
18. ทุกข้อเป็นแก่นความรู้ ยกเว้นข้อใด
      ก. เป็นความรู้เชิงทฤษฎี
      ข. เป็นขุมความรู้ที่นำมาจัดหมวดหมู่
      ค. เป็นขุมความรู้ที่สกัดได้จากเรื่องเล่า
      ง. เป็นชุดความรู้ชุดหนึ่งสำหรับใช้ทำงานใดงานหนึ่ง
19. ทุกข้อเป็นลักษณะของขุมความรู้ที่ดี ยกเว้นข้อใด
      ก. เป็นวิธีปฏิบัติ
      ข. เป็นประโยคที่ขึ้นต้นด้วยกิริยา
      ค. เป็นถ้อยคำที่ผู้เขียนบัญญัติขึ้น
      ง. เป็นข้อความที่สื่อความเข้าใจได้โดยทั่วไป
20. ข้อใดเป็นบันทึกขุมความรู้ที่มีวิธีปฏิบัติไม่ถูกต้อง จากเรื่อง การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
      ก. เรียนรู้จากชุดฝึกที่ตรงกับความสามารถของนักเรียน
      ข. เรียนรู้ที่สนองความสนใจของนักเรียน
      ค. เอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคล
      ง. ต้องสอนให้มาก สอนต่อเนื่อง

แบบทดสอบหลังเรียน Post-test
1. ความหมายของการจัดการความรู้ตรงกับข้อใดมากที่สุด
     ก. กระบวนการจัดการความรู้ที่มีอยู่หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
     ข. กลยุทธ์การบริหารจัดการข้อมูลที่เป็นความรู้ให้เป็นระเบียบครบถ้วน
     ค. วิธีการจัดการข้อมูลที่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคลกรในองค์กรทุกคน
     ง. การยกระดับความรู้ขององค์กร
2. องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ตรงกับข้อใด
     ก. เทคโนโลยี กระบวนการจัดการความรู้ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้
     ข. กระบวนการจัดการความรู้ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ คน
     ค. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ คน เทคโนโลยี
     ง. คน เทคโนโลยี กระบวนการจัดการความรู้
3. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ตรงกับข้อใด
     ก. การใช้การบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วม
     ข. ทฤษฎีการบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วม
     ค. ประสบการณ์การบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วม
     ง. การปฏิบัติจริงในการบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วม
4. ความรู้ในข้อใดที่เป็นความรู้ที่ฝังลึกในตัวบุคคล (Tacit Knowledge)
     ก. ทฤษฎีการประเมินผู้เรียนที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง
     ข. หลักการการประเมินผู้เรียนที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง
     ค. แนวทางการประเมินผู้เรียนที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง
     ง. ประสบการณ์ในการประเมินผู้เรียนที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง
5. สิ่งที่จะช่วยบอกถึงสถานะของกระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กรคือข้อใด
     ก. การจัดการเปลี่ยนแปลง
     ข. การยกย่องชมเชย
     ค. การวัดผล
     ง. การเรียนรู้
6. ข้อใดเป็นเสมือนแกนหลักของการจัดการความรู้
     ก. การวัดผล
     ข. การสื่อสาร
     ค. กระบวนการและเครื่องมือ
     ง. การจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม
7. การจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรในองค์กร ถือเป็นการดำเนินงานในข้อใด
     ก. การจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม
     ข. กระบวนการและเครื่องมือ
     ค. การวัดผล
     . การเรียนรู้
8. กระบวนการจัดการความรู้มีขั้นตอนที่สำคัญกี่ขั้นตอน
     ก. 6 ขั้นตอน
     ข. 7 ขั้นตอน
     ค. 8 ขั้นตอน
     ง. 9 ขั้นตอน
9. กระบวนการใดที่เป็นการใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากที่สุด
     ก. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
     ข. การสร้างและแสวงหาความรู้
     ค. การเข้าถึงความรู้
     ง. การเรียนรู้
10. ข้อใดเป็นส่วนที่แสดงถึงส่วนหางปลา ตามโมเดลปลาทู
      ก. การใช้เทคโนโลยีนำความรู้ที่เด่นชัด (Explicit Knowledge) ไปเผยแพร่
      ข. การกำหนดความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
      ค. การจัดทำเป็นชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : CoP)
      ง. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเรื่องเล่าเร้าพลัง
11. การจัดสถานที่ให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือเป็นการดำเนินงานในข้อใด
      ก. วัฒนธรรมองค์กร
      ข. โครงสร้างพื้นฐาน
      ค. การสร้างบรรยากาศ
      ง. การสื่อสารภายในองค์กร
12. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
      ก. เทคโนโลยีช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ
      ข. เทคโนโลยีช่วยให้คนค้นหาความรู้ได้สะดวก
      ค. เทคโนโลยีช่วยให้คนเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
      ง. เทคโนโลยีช่วยให้ข้อมูลความรู้จัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ
13. ข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์กร
      ก. โครงสร้างพื้นฐาน
      ข. วัฒนธรรมองค์กร
      ค. กลยุทธ์ขององค์กร
      ง. การวัดผล
14. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการใช้เรื่องเล่าเร้าพลังในการจัดการความรู้
      ก. เพื่อให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
      ข. เพื่อสร้างชุมชนแนวใหม่ปฏิบัติ
      ค. เพื่อจับความรู้ฝังลึก
      ง. เพื่อพัฒนาตน
15. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการเล่าเรื่องที่ดี
      ก. เรื่องเล่าเป็นเรื่องสมมุติขึ้น
      ข. เรื่องเล่าสอดคล้องกับหัวปลาของกลุ่ม
      ค. มีลีลาการเล่าที่ทำให้เกิดพลังการขับเคลื่อน
      ง. เรื่องที่เล่า ครบจบภายในเวลาประมาณ 2-3 นาที
16. ผู้มีบทบาททำให้สมาชิกในกลุ่มได้เล่าเรื่องกันทุกคน
      ก. หัวหน้าทีมและผู้ดำเนินการในกลุ่ม
      ข. คุณอำนวยหรือผู้ดำเนินการในกลุ่ม
      ค. คุณเอื้อหรือหัวหน้าทีม
      ง. คุณลิขิตหรือผู้จดบันทึก
17. ผู้ทำหน้าที่เล่าเรื่องด้วยการบอกความสำเร็จของตนเองตามหัวปลาที่กำหนดไว้ ตรงกับข้อใด
      ก. คุณเอื้อหรือหัวหน้าทีม
      ข. คุณอำนวยหรือผู้ดำเนินการกลุ่ม
      ค. หัวหน้าทีมและผู้ดำเนินการกลุ่ม
      ง. คุณกิจหรือบุคคลที่เป็นเจ้าของเรื่อง
18. ทุกข้อเกี่ยวข้องกับแก่นความรู้ ยกเว้นข้อใด
      ก. เป็นความรู้เชิงปฏิบัติ
      ข. เป็นขุมความรู้ที่นำมาจัดหมวดหมู่
      ค. เป็นขุมความรู้ที่สกัดจากบทความทางวิชาการ
      ง. เป็นชุดความรู้ชุดหนึ่งสำหรับใช้ทำงานใดงานหนึ่ง
19. ทุกข้อเป็นลักษณะของขุมความรู้ ยกเว้นข้อใด
      ก. เป็นวิธีการปฏิบัติ
      ข. เป็นประโยคที่ขึ้นต้นด้วยกิริยา
      ค. เป็นภาษาวิชาการที่ต้องอธิบายความหมาย
      ง. เป็นข้อความที่สื่อความเข้าใจได้โดยทั่วไป
20. ข้อใดเป็นบันทึกขุมความรู้ที่มีวิธีปฏิบัติไม่ถูกต้อง จากเรื่อง การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
      ก. เอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคล
      ข. ต้องสอนเต็มเวลา เต็มหลักสูตร
      ค. เรียนรู้ที่สนองความสนใจของนักเรียน
      ง. เรียนรู้จากชุดฝึกที่ตรงกับความสามารถของนักเรียน

หลักสูตร การพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานและสมรรถนะหลักสำหรับผู้บริหาร

นำเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาเพื่อการอื่นใด คำตอบที่พบได้จากการศึกษาวิเคราะห์ว่าน่าจะใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ผู้บริหารท่านใดคิดว่าอาจจะไม่ถูกต้อง สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่เว็บบอร์ด  ขอขอบคุณ

แบบทดสอบหลังเรียน post - test
1. ข้อต่อไปนี้เป็นความสำคัญของสมรรถนะที่มีต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล ยกเว้นข้อใด
    ก. เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสามารถของบุคลากรในองค์กรอย่างมีระบบต่อเนื่อง
    ข. ช่วยให้เกิดการแข่งขันระหว่างบุคลากรในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
    ค. เป็นมาตรฐานการแสดงพฤติกรรมที่ดีในการทำงานของบุคลากร
    ง. สามารถนำไปใช้ในการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

2. ข้อใดเป็นเหตุผลความจำเป็นที่สำคัญที่สุดในการนำสมรรถนะมาใช้ในหน่วยราชการ
    ก. เพื่อให้ข้าราชการมีความรู้ มีทักษะ ตามทันเทคโนโลยีและนวัตกรรม ใหม่ ๆ
        การบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่
    ข. เพื่อให้ทันสมัยเทียบเคียงกับหน่วยงานเอกชนที่นำสมรรถนะมาใช้แล้ว
    ค. เป็นเครื่องมือที่ชี้นำแนวทางการพัฒนาทั้งในระดับบุคคลและองค์กรได้
    ง. เพื่อให้การบริหารบุคลากรขององค์การดำเนินไปอย่างมีทิศทางและเพื่อพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการและ
        ประสิทธิผลของหน่วยงานภาครัฐ

3. หน่วยงานในข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้นำหลักการของสมรรถนะมาใช้
    ก. บริหารบุคลากรโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาองค์กร
    ข. พัฒนาบุคลากรโดยเน้นที่การประกันคุณภาพการฝึกอบรมเป็นสำคัญ
    ค. สรรหาและแต่งตั้งบุคลากรโดยพิจารณาจากการมีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และ พฤติกรรมที่ตรงกับความ
        ต้องการของตำแหน่งนั้น ๆ
    ง. มีการพัฒนาเส้นทางอาชีพ เพื่อให้บุคลากรมีเส้นทางความก้าวหน้าในสายงานที่ชัดเจน

4. กฎ ระเบียบต่าง ๆ ต่อไปนี้เกี่ยวข้องในการนำสมรรถนะมาใช้ในระบบราชการ ยกเว้นข้อใด
    ก. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
    ข. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
    ค. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
    ง. พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
        พ.ศ. 2547

5. การบริหารงานบุคคลเรื่องใดบ้างที่จำเป็นต้องใช้ "สมรรถนะ" เป็นเครื่องมือช่วยในการ
    กำหนดจุดมุ่งหมายและแนวทางดำเนินการ
    ก. การฝึกอบรม
    ข. การจัดการผลการปฏิบัติงาน
    ค. การสืบทอดตำแหน่ง
    ง. ถูกทุกข้อ

6. ข้อใดกล่าวได้อย่างชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับสมรรถนะ
    ก. สมรรถนะเป็นทักษะ ความรู้และ ความสามารถ หรือพฤติกรรมของบุคลากร ที่จำเป็น
        ในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง
    ข. คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ทำให้ บุคลากรในองค์กรปฏิบัติงานได้ผลงานโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ
    ค. ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กัน
    ง. สมรรถนะเป็นสิ่งที่ติดตัวมาและไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป

7. คุณลักษณะของบุคคลในต่อไปนี้ข้อใดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลและสามารถพัฒนา
    ได้ยากที่สุด
    ก. แรงจูงใจ
    ข. แนวคิดของตนเอง
    ค. ลักษณะนิสัย
    ง. ค่านิยม

8. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด
    ก. บุคคลที่มีสมรรถนะถือว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้และทักษะที่ดี
    ข. บุคคลที่มีแรงจูงใจและทัศนคติที่ดีต่องานเป็นบุคคลที่มีสมรรถนะดี
    ค. บุคคลที่มีสมรรถนะดีย่อมมีความรู้ ทักษะและแรงจูงใจที่ดีต่อการปฏิบัติงาน
    ง. บุคคลที่มีสมรรถนะดีจะมุ่งเน้นที่การใช้ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอื่นๆ เพื่อช่วยให้เกิดผลสำเร็จที่ดีเลิศ

9. โปรดเรียงลำดับระดับของขีดความสามารถต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
    1. นำความรู้ใหม่ ๆ ในสายอาชีพมาปรับใช้เพื่อปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานของตนเองให้มี
        ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    2. กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้และติดตามความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานอยู่เสมอ
    3. มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงของเรื่องต่าง ๆ และสามารถสรุปประเด็นสำคัญของเรื่อง
        ดังกล่าวได้
    4. สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ที่หลากหลาย
        ก. 2 1 4 3
        ข. 1 2 4 3
        ค. 3 1 2 4
        ง. 1 3 2 4

10. ข้อใดกล่าวได้อย่างถูกต้อง
       ก. องค์กรที่มีลักษณะงาน เดียวกันจะใช้ Core Competency เหมือนกัน
       ข. Core Competency ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
       ค. Managerial Competency จะมีได้เฉพาะในระดับบริหารเท่านั้น
       ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

11. ในการขอเลื่อนวิทยฐานะสำหรับผู้บริหารตามหลักเกณฑ์ของ ก.ค.ศ. ท่านในฐานะผู้บริหาร
      จะต้องผ่านหลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติด้านใดบ้าง
       ก. ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
       ข. ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน
       ค. ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
       ง. ถูกทุกข้อ

12. ตัวบ่งชี้ของสมรรถนะข้อใดไม่เข้าพวก
      ก. ความถูกต้อง
      ข. เกิดความพึงพอใจ
      ค. คิดริเริ่มสร้างสรรค์
      ง. มุ่งมั่นพัฒนาต่อเนื่อง

13. การศึกษาค้นคว้า หาความรู้ ติดตามองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในวงวิชาการและวิชาชีพ
      เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน คือสมรรถนะใด
      ก. การพัฒนาตนเอง
      ข. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
      ค. การบริการที่ดี
      ง. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร

14. ข้อใดเป็นตัวบ่งชี้ของสมรรถนะที่แตกต่างจากข้ออื่น
      ก. ทันสมัยทันเหตุการณ์เป็นปัจจุบัน
      ข. เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกคนทุกฝ่าย
      ค. เกิดจากกระบวนการคิดเชิงระบบ
      ง. สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเป็นจริงด้วยเหตุและผล

15. การประเมินสมรรถนะสำหรับผู้บริหารวิทยฐานะเชี่ยวชาญจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินด้าน
      คุณภาพการปฏิบัติงานอย่างไร
      ก. ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
      ข. ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75
      ค. ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80
      ง. ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 85

16. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะต่อไปนี้ข้อใดสามารถโน้มน้าวให้ผู้อื่นเห็นด้วย ยอมรับคล้อยตาม
      เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร
      ก. นำเสนอข้อมูลสารสนเทศด้านแนวคิด หลักวิชาการเพื่อให้ผู้อื่นคล้อยตาม
      ข. บุคลิกภาพดีทั้งด้านการแต่งกาย กริยาท่าทาง การพูด การเขียน
      ค. จัดกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนอผลงานสร้างสรรค์
          ในด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ
      ง. ถูกทุกข้อ

17. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการเลือกสมรรถนะที่จะพัฒนา
      ก. ควรพัฒนาสมรรถนะที่ต้องการพร้อม ๆ กันทุกด้าน
      ข. ควรพิจารณาหลักสูตรการพัฒนาให้สอดคล้องกับสมรรถนะที่ต้องการ
      ค. ควรเลือกสมรรถนะที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นลำดับแรก
      ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

18. “ความคิดเชิงระบบในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน”ถือเป็นตัวบ่งชี้ของสมรรถนะใด
      ก. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
      ข. การวิเคราะห์และสังเคราะห์
      ค. การมีวิสัยทัศน์
      ง. การทำงานเป็นทีม

19. ความสามารถในการให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือปัญหาให้แก่เพื่อนร่วมงานและ
      ผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง รวมทั้งส่งเสริม
      สนับสนุนและให้โอกาสเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ คือสมรรถนะใด
      ก. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
      ข. การบริการที่ดี
      ค. การทำงานเป็นทีม
      ง. การวิเคราะห์และสังเคราะห์

20. แนวทางการพัฒนาตนเองข้อใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาสมรรถนะ
      การมุ่งผลสัมฤทธิ์
      ก. พัฒนางานที่ได้รับมอบหมายครบทุกรายการและปรากฏผลงานที่มีคุณภาพ
      ข. นำข้อวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้องมาปรับปรุงหรือพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น
      ค. นำผลงานที่เกิดขึ้นแสดงต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่เกี่ยวข้อง
      ง. ถูกทุกข้อ

21. “มีการทดลองวิธีการหรือจัดทำคู่มือประกอบการพัฒนางานใหม่ๆ โดยมีการจัดทำ
       รายงานการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และมีการเผยแพร่ในวงกว้าง”
       เป็นเกณฑ์การประเมินในสมรรถนะใด
      ก. การพัฒนาตนเอง
      ข. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
      ค. การวิเคราะห์และสังเคราะห์
      ง. การมีวิสัยทัศน์

22. ผลข้อใดจะเกิดขึ้นหากไม่มีการประเมินสมรรถนะบุคคล
      ก. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การจะไม่อยู่ในระดับสูงเท่าที่ควร
      ข. องค์กรจะด้อยความสามารถในการบริหารเชิงรุก และการพัฒนาในระยะยาว
      ค. องค์กรด้อยความสามารถในการปรับตัว เพื่อแข่งขันกับองค์กรอื่นๆหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของ
          สังคมสิ่งแวดล้อม
      ง. ถูกทุกข้อ

23. การประเมินที่ดีควรมีลักษณะต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
      ก. มีวัตถุประสงค์ในการประเมินอย่างชัดเจน
      ข. เป็นกระบวนการที่สามารถวัดประเมินได้
      ค. ประเมินอย่างเป็นระบบ
      ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

24. การประเมินรูปแบบใดที่มุ่งประเมินพฤติกรรมหลักที่คาดหวังและได้รับความนิยมใน
      การใช้ประเมินสมรรถนะ
      ก. BARS
      ข. Self-Boss Assessment
      ค. 360 Evaluation
      ง. Interview

25. ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการนำสมรรถนะมาใช้ ได้แก่
      ก. การประเมินสมรรถนะถูกมองว่าเป็นเรื่องยากและไม่ได้รับความสำคัญจากฝ่ายบริหาร
      ข. ไม่ได้นำข้อมูลสมรรถนะมาใช้ในการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง หรือเลื่อนตำแหน่งอย่างจริงจัง
      ค. การประเมินบุคคลไม่ได้ใช้ข้อมูลและเหตุผลเชิงวิชาการแต่ใช้ความรู้สึกของผู้ประเมินเป็นหลัก
      ง. ถูกทุกข้อ

การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
นำเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาเพื่อการอื่นใด คำตอบที่พบได้จากการศึกษาวิเคราะห์ว่าน่าจะใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ผู้บริหารท่านใดคิดว่าอาจจะไม่ถูกต้อง สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่เว็บบอร์ด  ขอขอบคุณ
1. ข้อใดเป็นความหมายของการประเมินตามสภาพจริง
     ก. การประเมินจากภาระงานและกิจกรรมที่ผู้เรียนสนใจ
     ข. การประเมินที่เน้นการตอบข้อสอบและการปฏิบัติจริง
     ค. การประเมินจากทักษะพื้นฐานในการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง
     ง. การประเมินจากภาระงานและกิจกรรมที่สอดคล้องกับชีวิตจริงในแบบบูรณาการ

2. ลักษณะสำคัญของการประเมินตามสภาพจริงคือข้อใด
     ก. การประเมินความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ในชิวิตประจำวัน
     ข. ประเมินความคิด ความสามารถในการปฏิบัติงานและผลงานที่สร้างขึ้นตามมาตรฐานการเรียนรู้
     ค. ประเมินความสามารถของผู้เรียนเพื่อค้นหาจุดเด่นในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
         ให้เต็มศักยภาพของตนเอง
     ง. ประเมินวิธีคิด การวางแผน การปฏิบัติงานและผลงานที่ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดตามความสนใจของตนเอง

3. การประเมินผลสำเร็จในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ให้ข้อมูลตรงกับสภาพที่แท้จริงของผู้เรียนคือวิธีใด
     ก. การประเมินทักษะการปฏิบัติงาน
     ข. การตรวจผลงานที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการเรียนรู้
     ค. การสะท้อนตนเองเพื่อตรวจสอบกระบวนการทำงาน
     ง. การสัมภาษณ์ผู้เรียนถึงเหตุผล ความคิดและความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการเรียน

4. “อธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนฤดูกาลได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล”
     จัดเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ด้านใด
     ก. ด้านความรู้
     ข. ด้านกระบวนการ
     ค. ด้านจิตพิสัย
     ง. เป็นได้ทั้งด้านความรู้และกระบวนการ

5. “เขียนบทความเพื่อแนะนำการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพได้” มาตรฐานการเรียนรู้นี้ดีหรือไม่เพราะเหตุใด
     ก. ไม่ดี เพราะวัดและและประเมินได้ยาก
     ข. ไม่ดี เพราะไม่สามารถวัดโดยการสังเกตได้
     ค. ดี เพราะสามารถวัดและประเมินได้โดยใช้ข้อสอบ
     ง. ดี เพราะสามารถวัดและประเมินได้จากการตรวจผลงาน

6. องค์ประกอบของแบบประเมินตามสภาพจริง ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือข้อใด
     ก. เกณฑ์การประเมิน และคะแนนแต่ละเกณฑ์
     ข. เกณฑ์การประเมิน และคำอธิบายระดับคุณภาพของแต่ละเกณฑ์
     ค. คำอธิบายระดับคุณภาพของเกณฑ์การประเมิน และน้ำหนักคะแนนของเกณฑ์การประเมิน
     ง. คะแนนและน้ำหนักคะแนนของแต่ละเกณฑ์

7. ข้อใดกล่าวถึงภาระงานตามสภาพจริงได้ถูกต้อง
     ก. เป็นภาระงานที่ใช้ได้ทั้งการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้
     ข. เป็นภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ทั้งความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงาน
     ค. เป็นภาระงานที่ใช้ประเมินทั้งกระบวนการปฏิบัติงานและผลงานของผู้เรียน
     ง. ถูกทุกข้อ

8. การกำหนดให้นักเรียนทำกิจกรรมใดที่ได้ผลการประเมินน่าเชื่อถือที่สุด
     ก. เสนอผลงานที่ได้การสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์
     ข. อธิบายขั้นตอนการสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
     ค. สาธิตการสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์ให้ครูและเพื่อนดู
     ง. เขียนแผนภาพแสดงขั้นตอนการสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

9. ครูให้ วิทย์ธวัช นำเสนอข่าวหนังสือพิมพ์โดยการอ่านให้เพื่อนในชั้นฟัง
    ควรใช้วิธีการใดที่เหมาะสมที่สุดในการประเมิน
     ก. ให้นักเรียนในชั้นสรุปสาระสำคัญของข่าวที่ได้ฟัง
     ข. ครูสังเกตและใช้แบบประเมินทักษะการอ่านไปพร้อม ๆกัน
     ค. ครูบันทึกวีดิทัศน์แล้วให้นักเรียนในชั้นรวมทั้งครูคนอื่นเปิดดูแล้วช่วยประเมิน
     ง. ครูและนักเรียนในชั้นสังเกตแล้วช่วยกันประเมินสรุปความสามารถในการอ่านโดยการอภิปรายร่วมกัน

10. ข้อใดครอบคลุมลักษณะที่ดีของเกณฑ์การประเมิน
       ก. มีความชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย
       ข. มีความชัดเจน เข้าใจง่าย สังเกตได้
       ค. ระบุพฤติกรรมที่ชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย
       ง. ระบุพฤติกรรมที่สังเกตได้ชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย

11. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์การประเมิน
       ก. กำหนดจำนวนเกณฑ์เท่าที่จำเป็น
       ข. ต้องประเมินให้ครบทุกกิจกรรม
       ค. ต้องแจ้งเกณฑ์ในการประเมินให้ทราบก่อนปฏิบัติงาน
       ง. กำหนดเกณฑ์การประเมินให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

12. เกณฑ์การประเมินที่สอดคล้องกับภาระงานควรมีลักษณะอย่างไร
       ก. สามารถยืดหยุ่นและใช้ได้กับทุกสถานการณ์
       ข. ใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
       ค. มีการกำหนดคำอธิบายในการให้คะแนนไว้อย่างชัดเจน
       ง. เป็นข้อความที่ระบุพฤติกรรมการปฏิบัติที่สามารถสังเกตได้

13. หากแบบประเมินตามสภาพจริงมีเพียงคำบอกระดับคุณภาพ แต่ไม่มีการอธิบายเกณฑ์การให้คะแนน
      จะมีผลอย่างไร
       ก. การตรวจผลงานทำได้ช้า ไม่สะดวก
       ข. ผลการวิเคราะห์มีความแม่นยำ ถูกต้อง
       ค. ยากต่อการจัดประเภทของผลงานได้ตามคุณภาพจริง
       ง. ผู้ตรวจสามารถให้คะแนนได้อย่างยืดหยุ่นตามสภาพจริง

14. “การใช้เกณฑ์การประเมินโดยวิเคราะห์ผลงานของผู้เรียนที่สามารถอธิบายระดับคุณภาพของผลงาน
        ขึ้นมาก่อนว่าควรพิจารณาประเด็นใดบ้างแล้วจึงอธิบายระดับความสำเร็จในแต่ละประเด็น”
        เป็นคำอธิบายเกณฑ์การให้คะแนนแบบใด
       ก. แบบภาพรวม
       ข. แบบการให้คะแนนตามองค์ประกอบย่อย
       ค. เป็นได้ทั้งสองแบบ
       ง. ไม่ใช่ทั้งสองแบบ

15. จากชุดคำอธิบายเกณฑ์การให้คะแนนดังต่อไปนี้ ควรเป็นการประเมินในหัวข้อใด
              คะแนน 1เนื้อหาสาระส่วนใหญ่ไม่ตรงประเด็น
              คะแนน 2 เนื้อหาสาระบางส่วนไม่ตรงประเด็น
              คะแนน 3 เนื้อหาสาระทั้งหมดตรงประเด็น
       ก. ความตรงกับวัตถุประสงค์
       ข. ความตรงของเนื้อหาสาระ
       ค. ความตรงเชิงโครงสร้าง
       ง. ไม่มีข้อถูก

16. ผลงานในแฟ้มแสดงผลการเรียนรู้ สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งใดบ้าง
               1) องค์ความรู้ในวิชาที่เรียน และแนวทางหรือวิธีการคิดที่ใช้ในการศึกษาเรื่องเหล่านั้น
               2) แนวทางในการประยุกต์ใช้ความรู้ ที่จะนำไปใช้ในการหาความรู้เพิ่มเติม
               3) การแสดงออกถึงความคิดหรือความสามารถต่างๆ เช่น การตัดสินใจ
               4) ผลงานที่ผู้เรียนได้ประดิษฐ์ คิดค้น หรือกิจกรรมการทดลอง
       ก. ข้อ 1) และ 2) ถูกต้อง
       ข. ข้อ 1) และ 3) ถูกต้อง
       ค. ข้อ 1), 2) และ 3) ถูกต้อง
       ง. ข้อ 1), 2), 3) และ 4) ถูกต้อง

17. ข้อใดเป็นการประเมินแฟ้มผลการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจัดทำขึ้นที่ดีที่สุด
       ก. การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน ให้ผู้สอนเป็นผู้ประเมินเท่านั้น
       ข. การประเมินพัฒนาการของผู้เรียน สามารถทำได้โดยตัวผู้เรียนเอง เพื่อน ผู้สอน และผู้ปกครอง
       ค. การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน พิจารณาจากผลการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนเท่านั้น
       ง. การประเมินพัฒนาการของผู้เรียน พิจารณาจากผลงานชิ้นที่ดีที่สุดในแฟ้มผลการจัดการเรียนรู้เท่านั้น

18. สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นสิ่งแรกก่อนที่ผู้สอนและผู้เรียนตัดสินใจร่วมกันแล้วว่าจะจัดทำแฟ้มแสดงผลการเรียนรู้ คือข้อใด
       ก. การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
       ข. การพิจารณาความพร้อมของผู้เรียนในการทำแฟ้มแสดงผลการเรียนรู้
       ค. การศึกษาเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและรายวิชาที่สอน
       ง. การพิจารณาว่าผลงานจากเรื่องที่เรียนเหมาะแก่การจัดทำแฟ้มแสดงผลการเรียนรู้หรือไม่

19. ข้อใดที่ไม่ใช่ประโยชน์ที่แท้จริงที่จะเกิดกับผู้เรียน ในขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน
      การเรียนรู้
       ก. ผู้เรียนได้รู้จุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง
       ข. ผู้เรียนได้รับการตัดสินผลการเรียนในรายวิชา
       ค. ผู้เรียนสามารถใช้ประกอบในการเข้าศึกษาต่อ หรือสมัครงาน
       ง. ผู้เรียนสามารถใช้ในการวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง

20. ข้อใดถือเป็นเอกสารในแฟ้มสะสมผลงานการเรียนรู้ที่เหมาะสม
       ก. บันทึกข้อความ
       ข. เกียรติบัตร
       ค. ภาพถ่าย
       ง. ทุกข้อรวมกัน


ขอบคุณที่มา : http://www.weerapong.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น