วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

SWOT

SWOT

การศึกษาสถานภาพสถานศึกษา
การ ศึกษาสถานภาพเป็นการศึกษาวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งนั้นๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินสภาพว่าเป็นอย่างไร และควรพัฒนาไปในทิศทางใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเป็นการสำรวจหาขีดความสามารถเพื่อใช้ในการวาง แผน  สำหรับขั้นตอนการศึกษาสถานภาพ มีดังนี้
  1. วิเคราะห์ภารกิจและผลผลิตหลัก
  2. วิเคราะห์สภาพแวดล้อม(ภายใน,ภายนอก)
  3. ประเมินสถานภาพสถานศึกษา
  4. ทิศทางของสถานศึกษา
  5. กำหนดกลยุทธ์

     
    1.    การวิเคราะห์ภารกิจและผลผลิตหลัก ภารกิจ ของสถานศึกษา (Assigned mission)  คือ  จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  ผู้ที่สำเร็จการศึกษาเป็นคนดี  คนเก่ง  และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สถานศึกษาต้องตระหนักในภารกิจหลักโดยมุ่งกำหนดเป้าหมาย  วางแผน  และดำเนินการสู่ความสำเร็จ  ซึ่งการกำหนดเป้าหมายและกิจกรรมดำเนินงานต้องคำนึงถึงกฎหมาย  นโยบาย  และความคาดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา 
ผล ผลิตหลัก (Outputs) คือ สิ่งของหรือบริการที่เป็นรูปธรรมหรือรับรู้ได้ที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้บุคคลภายนอกได้ใช้ประโยชน์ ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่รัฐบาลคาดหวังตามนโยบายของรัฐ  ซึ่งกำหนดมาจากความต้องการของประชาชนและสังคม สำหรับผลผลิตหลักของสถานศึกษา คือ  การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็กในวัยเรียน  ประกอบด้วย  ผู้จบการศึกษาก่อนประถมศึกษา  ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ  ผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย  เด็กพิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาสมรรถภาพ  และเด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่งจะเห็นว่าเด็กในวัยเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายของผลผลิตหลักและตัวชี้วัด ความสำเร็จของการจัดการศึกษา                 
2.    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)
                การ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดจุดอ่อน โอกาส อุปสรรค หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต SWOT  เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
S              ย่อมาจาก  Strengths               หมายถึง       จุดแข็ง      (ข้อได้เปรียบ)W            ย่อมาจาก  Weaknesses         หมายถึง       จุดอ่อน      (ข้อเสียเปรียบ)O             ย่อมาจาก  Opportunities        หมายถึง       โอกาส       (ปัจจัยที่จะส่งผลให้สามารถดำเนินการได้)T             ย่อมาจาก  Threats                    หมายถึง       อุปสรรค    (ปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงาน)
หลักการสำคัญของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 
หลัก การสำคัญ คือ  การวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก    ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT  จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค    การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษา ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารของสถานศึกษาทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกสถานศึกษา ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อสถานศึกษาธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่สถานศึกษามีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ของสถานศึกษาระดับสถานศึกษาที่เหมาะ สมต่อไป
ประโยชน์ของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การ วิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนิน งานของสถานศึกษาอย่างไร จุดแข็งของสถานศึกษาจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุ เป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนของสถานศึกษาจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายสถาน ศึกษา อุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายของสถาน ศึกษา  ผลจากการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมนี้  จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม
 ขั้นตอน / วิธีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การ วิเคราะห์สภาวะแวดล้อม จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้าง ด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ของสถานศึกษา ทำให้มีข้อมูล  ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งของสถานศึกษา และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนของสถานศึกษา ให้มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก สถานศึกษา โดยมีขั้นตอน  ดังนี้
การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน  (S , W)
การ ประเมินสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในสถานศึกษา ทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษาแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูล เพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสถานศึกษาด้วย
จุดแข็งของสถานศึกษา(S-Strengths)  เป็น การวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในสถานศึกษานั้นเองว่า ปัจจัยใดภายในสถานศึกษาที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นของสถานศึกษาที่สถาน ศึกษาควรนำมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งของสถานศึกษา
จุด อ่อนของสถานศึกษา(W-Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในสถานศึกษานั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในสถานศึกษาที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบของสถานศึกษาที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา
การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก  (O , T)
ภาย ใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกสถานศึกษานั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบจาก สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของ สถานศึกษา เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของ ประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ
โอกาสทางสภาพแวดล้อม(O-Opportunities)  เป็น การวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกสถานศึกษา ปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการของสถานศึกษาในระดับมหาภาค และสถานศึกษาสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้
อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม(T-Threats)  เป็น การวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกสถานศึกษาปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบในระดับ มหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งสถานศึกษาจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพสถานศึกษาให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้
ปัจจัยของสภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมภายใน (2 S - 4 M)
สภาพแวดล้อมภายนอก (STEP)

 1.
  โครงสร้างของสถานศึกษา (Structure)
 2.   ระบบบริการ                         (Services) 3.   บุคลากร                               (Man) 4.   การเงิน                                 (Money) 5.   วัสดุและอุปกรณ์                 (Material) 6.   การบริหารจัดการ                (Management)

 1.
  ด้านสังคมและวัฒนธรรม   (Socio-Cultural)
 2.  ด้านเทคโนโลยี                  (Technology) 3.  ด้านเศรษฐกิจ                    (Economics) 4.  ด้านการเมืองและกฎหมาย (Political and Legal)
วิเคราะห์  ระบุสถานการณ์จุดอ่อน (Weaknesses) – จุดแข็ง (Strengths)
วิเคราะห์  ระบุสถานการณ์โอกาส (Opportunities) – อุปสรรค (Threats)
3.    การประเมินสถานภาพ
การ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถานศึกษาทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ใน การพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานของสถานศึกษาทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการของสถานศึกษาชุมชนที่สถานศึกษาทางการศึกษาตั้งอยู่ ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็น แนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพของ สถานศึกษาทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา ดังนั้นการประเมินสถานภาพสถานศึกษาจะทำให้เราทราบว่าปัจจุบันสถานศึกษาเป็น อย่างไร  มีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นโอกาส  และอุปสรรค  มีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนในด้านใด  เพื่อที่จะเป็นข้อมูลในการจัดวางทิศทางสถานศึกษา  ในการประเมินจะใช้กระบวนการทางสถิติเป็นเครื่องมือในการประเมินและนำเสนอการ ประเมินสภาพสถานศึกษา เป็นการเลือกวิธีการทำงานอย่างมี  ทิศทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ประสบผล สำเร็จสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
การระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อม   เมื่อ ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วยการประเมินสภาพ แวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ให้นำจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ  โอกาส-อุปสรรค จากภายนอกเพื่อดูว่าสถานศึกษา กำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้สถานการณ์ เช่นนั้น สถานศึกษาควรจะทำอย่างไร โดยทั่วไป ในการวิเคราะห์ SWOT  สถานศึกษาจะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบ  ดังนี้
สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง-โอกาส)    สถานการณ์ นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด เนื่องจากสถานศึกษาค่อนข้างจะมีหลายอย่าง ดังนั้น ผู้บริหารของสถานศึกษาควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (Aggressive - Stratagy) เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่างๆ ที่เปิดมาหาประโยชน์อย่างเต็มที่
สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค)      สถานการณ์ นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากสถานศึกษากำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภาย ในหลายประการ ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดคือกลยุทธ์ การตั้งรับหรือป้องกันตัว (Defensive Strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยอุปสรรค ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้สถานศึกษาเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด
สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน-โอกาส)   สถานการณ์ สถานศึกษามีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่ หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้น ทางออกคือกลยุทธ์การพลิกตัว(Turnaround-Oriented Strategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่างๆ ให้พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่างๆที่เปิดให้
สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง-อุปสรรค)     สถานการณ์ นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวสถานศึกษามีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ ดังนั้นแทนที่จะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัว หรือขยายขอบข่ายกิจการ(diversification Strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่นๆแทน 
แบบสำรวจปัจจัยเพื่อนำมาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)
 สภาพแวดล้อมภายใน  (2S-4M)
โครงสร้าง (Structure)
จุดแข็ง
จุดอ่อน
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
ระบบบริการ (Services)
จุดแข็ง
จุดอ่อน
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
บุคลากร (Man)
จุดแข็ง
จุดอ่อน
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
การเงิน (Money)
จุดแข็ง
จุดอ่อน
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
วัสดุและอุปกรณ์ (Material)
จุดแข็ง
จุดอ่อน
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
การบริหารจัดการ (Management)
จุดแข็ง
จุดอ่อน
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
  
แบบสำรวจปัจจัยเพื่อนำมาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)
 สภาพแวดล้อมภายนอก   (STEP)
ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural)
โอกาส
อุปสรรค
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
ด้านเทคโนโลยี (Technology)
โอกาส
อุปสรรค
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
ด้านเศรษฐกิจ (Economics)
โอกาส
อุปสรรค
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
ด้านการเมืองและกฎหมาย (Political and Legal)
โอกาส
อุปสรรค
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………


ตารางการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
(SWOT Analysis)
 สภาพแวดล้อมภายใน (2S  4M )                    
รายการปัจจัย
น้ำหนัก
คะแนนเฉลี่ย
น้ำหนัก X คะแนนเฉลี่ย
สรุปผลการวิเคราะห์
จัดแข็ง
จุดอ่อน
จัดแข็ง
จุดอ่อน
S1






S2






M1






M2






M3






M4






รวม
1.00





                                                                  
สภาพแวดล้อมภายนอก ( STEP )  
รายการปัจจัย
น้ำหนัก
คะแนนเฉลี่ย
น้ำหนัก X คะแนนเฉลี่ย
สรุปผลการวิเคราะห์
จัดแข็ง
จุดอ่อน
จัดแข็ง
จุดอ่อน
S






T






E






P






รวม
1.00





จากผลการวิเคราะห์สรุปว่า   สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมภายในที่……………..…. และสภาพแวดล้อมภายนอกที่………….……… 

 4.   กำหนดทิศทาง   โดยทั่วไปจะมี 4 ลักษณะ คือ
  1. เอื้อและแข็ง         คือ       ปัจจัยภายในมีความเข้มแข็ง และปัจจัยภายนอกสร้างโอกาส เอื้อต่อการดำเนินการ
  2. เอื้อแต่อ่อน          คือ       ปัจจัยภายในมีความอ่อนแอ แต่ปัจจัยภายนอกสร้างโอกาส เอื้อต่อการดำเนินการ
  3. ไม่เอื้อแต่แข็ง      คือ       ปัจจัยภายในมีความเข้มแข็ง แต่ปัจจัยภายนอกไม่สร้างโอกาส เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการ
  4. ไม่เอื้อและอ่อน   คือ       ปัจจัยภายในมีความอ่อนแอ และปัจจัยภายนอกไม่สร้างโอกาส เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการ


5.    กำหนดกลยุทธ์   โดยทั่วไปจะมี 4 ประเภท คือ
  1. กลยุทธ์สร้างการเจริญเติบโต เป็นกลยุทธ์ที่เอื้อและแข็ง โดยขยาย กิจการหรือดำเนินงานเพิ่มเติมขึ้น
  2. กลยุทธ์ความถนัด เป็นกลยุทธ์ที่เอื้อแต่อ่อน โดยเลือกดำเนินงานเฉพาะที่มีความรู้ความชำนาญ
  3. กลยุทธ์รักษาเสถียรภาพ เป็นกลยุทธ์ที่ไม่เอื้อแต่แข็ง โดยเลือกดำเนินงานที่กำลังดำเนินงานอยู่ไม่ขยาย
  4. กลยุทธ์การตัดทอน เป็นกลยุทธ์ที่ไม่เอื้อและอ่อน โดยการทบทวนภารกิจในส่วนที่ทำประโยชน์ได้
สรุปได้ว่า  การศึกษาสถานภาพสถานศึกษาเป็นการเลือกวิธีการทำงานอย่างมีทิศทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ประสบผล สำเร็จสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การกำหนดทิศทางของสถานศึกษาช่วยให้การดำเนินงานของสถานศึกษามีความชัดเจนมาก ขึ้น ซึ่งสถานศึกษาต้องรู้สถานภาพของตนเองก่อนว่าอยู่ในสถานภาพที่ต้องปรับขยาย แก้ไข หรือพัฒนาอะไรบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น