ปั้นคนให้กล้า
ปั้นคนให้กล้า ด้วยหลัก 3 Ts
คนทุกคนสามารถเป็นคนกล้าได้ทั้งนั้น เพียงแค่กลัวให้น้อยลงอีกนิด กล้าหาญให้มากขึ้นอีกหน่อย เริ่มจากหลัก 3 Ts ได้แก่ Try, Trust, Tell เพื่อให้พนักงานสามารถรับผิดชอบงานที่ยากขึ้นได้ สามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น และเริ่มที่จะพูดแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องสำคัญๆ ได้ โดยผู้จัดการหรือผู้บริหารต้องเป็นคนเริ่มต้นกระตุ้นให้พนักงานเกิดความกล้า 3 ประการดังนี้
กล้าที่จะลอง(Try)
หากคุณต้องการให้พนักงานของคุณก้าวขึ้นไปอยู่หัวแถว คุณต้องกระตุ้นให้พวกเขากล้าที่จะลอง กล้าที่จะคิด นำเสนอสิ่งแปลกใหม่ และลงมือทำ กระตุ้นให้พนักงานของคุณได้เป็นผู้นำในการทำสิ่งใหม่ ๆ หรือพยายามที่จะเป็นที่หนึ่งให้ได้ เพื่อให้พวกเขาเปิดรับความท้าทายใหม่ ๆ ได้ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ อยู่เสมอ และ ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น แม้เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย แต่ก็ดีกว่าไม่กล้าที่จะลอง วิธีการที่จะช่วยให้พนักงานกล้าที่จะลองมี 3 ประการดังนี้
- ย้ำเตือนว่าสิ่งใดเป็นความเสี่ยงและสิ่งใดที่ไม่เสี่ยง โดยปกติแล้วความเสี่ยงจากการไม่ลงมือทำน่ากลัวกว่าความเสี่ยงจากการลงมือทำเสียอีก เมื่อพนักงานได้รับมอบหมายให้ทำงานที่ยาก ให้เน้นย้ำกับพวกเขาถึงอันตรายที่เกิดจากการไม่กล้ายอมรับความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตัวพนักงานเอง ผลกระทบต่อการพัฒนาในสายอาชีพ หรือที่แย่ที่สุด คือ ผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่งาน
- ดึงจุดแข็งของพนักงานออกมา ดึงจุดแข็งและความสามารถที่พนักงานมีอยู่ออกมาใช้เมื่อพนักงานได้รับมอบหมายงานหรือโปรเจ็กต์ใหม่สุดหิน ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะกล้าลองถึงแม้ว่าพวกเขาจะยังมีประสบการณ์ในการทำงานยาก ๆ ไม่มากนักก็ตาม
- ให้งานที่พนักงานได้มีโอกาสพิสูจน์ตนเอง เตรียมงานที่ท้าทายที่จะทำให้พนักงานได้พิสูจน์ตนเองเอาไว้ บทพิสูจน์นี้จะเป็นที่มาของพลังและแรงจูงใจในการ
ทำงานอย่างกล้าหาญ
กล้าที่จะเชื่อ (Trust)
หากคุณต้องการให้พนักงานมอบความไว้วางใจให้กับผู้อื่น สอนให้พวกเขากล้าที่จะเชื่อใจผู้อื่น ซึ่งจะทำให้พนักงานสามารถปล่อยวางจากการพยายามควบคุมสถานการณ์ หรือพยายามเอาชนะสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง แล้วมอบความไว้วางใจให้คนอื่นรอบ ๆ ตัวเป็นคนจัดการเรื่องนั้นแทน เพื่อให้พวกเขาเปิดรับการเปลี่ยนแปลง และไม่เสียเวลาไปกับความระแวงแคลงใจ คุณสามารถใช้วิธีการสร้างความกล้าที่จะเชื่อได้ดังนี้
- ความเชื่อใจต้องมาก่อน อย่าพยายามที่จะสร้างความเชื่อใจด้วยการแลกเปลี่ยน “ผมจะเชื่อคุณถ้าคุณเชื่อผมก่อน” ซึ่งมักจะจบด้วยการที่ไม่มีใครเชื่อใครในที่สุด
ดังนั้นจึงต้องกล้าที่จะเชื่อใจในตัวเขาก่อนที่จะเรียกร้องให้เขาเชื่อใจในตัวเรา - สร้าง“ความเชื่อใจในทันที” ความเชื่อใจสามารถสร้างได้อย่างรวดเร็วในเงื่อนไขที่เหมาะสม สร้างสภาพแวดล้อมแห่งความเชื่อใจ โดยการกำหนดกฎพื้นฐานสำหรับพนักงาน เช่น ในการรักษาความเชื่อมั่น การเคารพผู้อื่น และความเป็นมืออาชีพตัวจริง
- สร้างบรรทัดฐาน ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักพนักงานแต่ละคน รู้ว่าเขาเป็นใคร เขาทำอะไรที่มีคุณค่าบ้าง และหาบรรทัดฐานให้พบถึงสิ่งที่ควรเชื่อ โดยการขอให้พนักงานของคุณแต่ละคนเติมข้อความต่อไปนี้ให้สมบูรณ์ : ฉันจะเชื่อใจคุณต่อเมื่อ...................................
กล้าที่จะพูด (Tell)
หากคุณต้องการให้พนักงานของคุณพูดสิ่งที่อยู่ในใจออกมา ต้องกระตุ้นให้พนักงานกล้าที่จะพูด ซึ่งจะทำให้พนักงานได้มีส่วนร่วมกับคนอื่น ๆ อย่างเปิดเผยและมั่นใจ
ให้พนักงานได้ยกประเด็นที่จัดการได้ยากขึ้นมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอคำแนะนำภายในทีม ซึ่งวิธีที่จะช่วยให้พนักงานกล้าที่จะพูดได้แก่
ให้พนักงานได้ยกประเด็นที่จัดการได้ยากขึ้นมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอคำแนะนำภายในทีม ซึ่งวิธีที่จะช่วยให้พนักงานกล้าที่จะพูดได้แก่
- กระตุ้นด้วยความแม่นยำ เพื่อให้คุณสามารถกระตุ้นให้พนักงานการกล้าพูดอย่างได้ผลต้องอาศัยความคิดไตร่ตรองและความแม่นยำพอสมควร โดยการถามพวกเขาเพื่อให้ทราบสิ่งที่เขาต้องการจะพูดและสิ่งที่เขาคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
- ตอบสนองอย่างรวดเร็ว เมื่อพนักงานรวบรวมความกล้าที่จะพูด คุณต้องพร้อมที่จะรับฟังเขาด้วย หากคุณกลับปิดหูไม่สนใจรับฟังเขา ย่อมทำให้พนักงานรู้สึกท้อถอย ดังนั้นจงเคารพและส่งเสริมความกล้าที่จะพูด โดยรับฟังพนักงานและตอบสนองสิ่งที่เขาพูดโดยไม่รอช้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น