ประเด็นเสนอแนะสำหรับการปรับแก้ไข
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ: ประเด็นที่ ๔ การประเมินและประกันคุณภาพ
นำเสนอ คณะทำงานยกร่างฯ กมธ.การศึกษาฯ สนช
ผ่าน ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ ประธานที่ประชุมคณบดีศึกษาศาสตร์
ผ่าน ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ ประธานที่ประชุมคณบดีศึกษาศาสตร์
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์
พรหมวงศ์
ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑
นายกสมาคมเทคโนโลยีการศึกษาแห่งประเทศไทย
ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑
นายกสมาคมเทคโนโลยีการศึกษาแห่งประเทศไทย
ประเด็นที่ ๔ การประเมินและประกันคุณภาพ
สาระสำคัญ นับตั้งมี สมศ. เกิดขึ้นเมื่อ ๑๗ ปีมาแล้ว
การประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาไม่ประสบความสำเร็จตามเจตนารมย์
ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณไปมหาศาล แต่คุณภาพการศึกษาของไทยไม่พัฒนาเท่าที่ควร
จากการวิเคราะห์พบว่า สมศ.ดำเนินนโยบายการประเมินการศึกษาที่ไม่ครบวงจร
มีการแบ่งการประเมินออกเป็นบางส่วนบางช่วงทุก ๕ ปี
มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทุกระยะ ๕ ปี ในด้านการดำเนินการ สมศ.
ก็มอบอำนาจให้บริษัทเอกชนมาทำหน้าที่ประเมินระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แต่ระดับอุดมศึกษา สมศ.ดำเนินการประเมินเอง ทำให้การประเมินการศึกษาภายนอก
มิได้สนองเจตนาการประเมินคุณภาพภายนอกที่ชัดเจน
จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและผู้ดำเนินการประเมิน
ตามแนวทางการดำเนินการขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (The
International Organization for Standardization หรือ Organisation internationale de normalisation) เรียกสั้นๆ ว่า ISO (อ่านว่า ไอโซ
ไม่ใช่ ไอ-เอส-โอ เพราะไม่ใช่คำย่อ แต่เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า ISOS แปลว่า เสมอ หรือ เท่า) คือ ISO เป็นผู้กำหนดเกณฑ์และตัวบ่งชี้ และแต่งตั้งหน่วยงานภายนอกเป็น
องค์กรรับรองคุณภาพ (Certifying Body-CB) สมศ
ก็ควรดำเนินการในแบบเดียวกัย คือ กำหนดมาตรฐาน แต่สมศไม่ดำเนินการประเมินเอง
มีหน้าที่กำกับดูแล ตรวจสอบและแต่งตั้งองค์กรภายนอกเป็นผู้ประเมินคุณภาพ
โดยปราศจากการครอบงำ จากสมศ.หรือ ผู้มีอำนาจ
นอกจากนี้ การประเมินและรับรองมาตรฐานทุก ๕
ปีเป็นการเพิ่มภาระแก่สถานศึกษาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นอย่างยิ่ง
เพราะจะมีระยะเวลาที่ปลอดจากการประเมินเพียงไม่กี่ปี
ก็ต้องเตรียมการรับการประเมินรอบต่อไปอีกแล้ว เพราะการประเมินแต่ละรอบ
องค์ประกอบและตัวบ่งชึ้ก็เปลี่ยนแปลง จนมีคำกล่าวทีเล่นทีจริงว่า “เสียเวลาปลูกผักชีเป็นปี และโรยผักชีหลายเดือน” ทำให้เป็นภาระสถานศึกษาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นอย่าง
จึงควรขยายเวลาเป็นการประเมินทุก ๑๐ ปี
แนวทางปรับ พรบ. ปรับข้อความในมาตรา ๔๗ และ ๔๙
มาตรา ๔๗
ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
ระบบ หลักเกณฑ์ กลไก และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๙
ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ
มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก
และให้มีหน่วยงานประเมินคุณภาพภายนอกอิสระที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ
เพื่อทำการประเมินผลการจัดการศึกษาตามเกณฑ์ และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกที่กำหนด
เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา
โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการและแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ระบบ หลักเกณฑ์ กลไก และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้สถานศึกษาทำการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสิบปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
ที่มา โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น