วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน

ระบบดูแลช่วยเหลือ นร.
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. ความหมายของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
                ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน  พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจนโดยมีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการดังกล่าว  และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองหรือบุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
                การดูแลช่วยเหลือ  หมายรวมถึง  การส่งเสริม  การป้องกัน  และการแก้ไขปัญหาโดยวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูที่ปรึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และปลอดภัยจากสารเสพติด(หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา,2546)
                สรุป การดูแลช่วยเหลือนักเรียน หมายถึง การกระทำที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริม พัฒนาให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  และมีคุณภาพ  ตามที่สังคมต้องการ
2. การบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
                ในปีการศึกษา 2548 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดกรอบและแนวทาง การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ  เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 175 เขตและสถานศึกษาทั่วประเทศ นำไปกำหนดกรอบและแนวทางระดับเขตและสถานศึกษาให้สอดคล้องกันต่อไป  สำหรับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 2 ได้กำหนดไว้ใน
กลยุทธ์ที่ 2 การปฏิรูปการเรียนรู้สู่การใช้ความรู้เป็นฐานในการดำรงชีพ  โครงการที่ 2 พัฒนาการจัดการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้  มีตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย คือนักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 โดยมีอัตราการหนีเรียน ขาดเรียน ไม่เกินร้อยละ 5 อัตราการทะเลาะวิวาทของนักเรียนไม่เกินร้อยละ 3 อัตราการออกกลางคัน มีพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม การเกิดอุบัติเหตุ การเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่เกินร้อยละ 1(สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 2,2548) และนโยบายรัฐบาลปัจจุบัน ยังได้กำหนดไว้ในข้อ 2 พัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ ในด้านเด็กและเยาวชนรัฐบาลได้จัดหน่วยเคลื่อนที่ที่เข้าถึงตัวเด็กเรียกว่า คาราวานเสริมสร้างเด็ก มีหน้าที่สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาให้มีความรู้และจริยธรรม เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิด  ให้ความสำคัญแก่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ครอบครัวที่อบอุ่น และสถานศึกษาที่ใส่ใจดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิด ด้วยการปลูกฝังคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ ความรู้ที่ทันโลก และคุณค่า
ที่ดีของวัฒนธรรมไทย สร้างความเข้าใจให้แก่พ่อแม่ ถึงวิธีการดูแลช่วยเหลือบุตรที่ถูกต้อง (นโยบายรัฐบาล,2548)
                สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ ได้กำหนดเครื่องมือในการประเมินคุณภาพระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและเพื่อให้โรงเรียนทราบจุดตั้งของการพัฒนาโครงการและที่สำคัญการประเมินจะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาคือหน่วยประเมินของ สมศ. ฝ่ายประเมินของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนา เป็นแนวทางการส่งเสริมการประเมินคุณภาพสถานศึกษา ทั้งหมด 12 องค์ประกอบ ส่วนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้ถูกกำหนดให้เป็นระบบหลัก ในองค์ประกอบที่ 9 มี 4 ข้อกำหนด ที่สถานศึกษาจะต้องบริหารจัดการให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่ สมศ.กำหนดจึงจะผ่านการประเมินภายนอก ดังนี้
                ข้อกำหนดที่ 1 มีการรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลและจัดกลุ่มผู้เรียนตามสภาพปัญหา
                ข้อกำหนดที่ 2 มีการวิเคราะห์ปัญหา และแก้ไขสถานการณ์ ตลอดจนช่วยเหลือและประสานความร่วมมือกับฝ่ายต่าง
                ข้อกำหนดที่ 3 มีการพัฒนาทักษะชีวิตที่เชื่อมโยงกับวิถีของชีวิต
                ข้อกำหนดที่ 4 ร่วมมือและส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรัก ความเข้าใจ เอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอนบุตรหลานและเป็นแบบอย่างที่ดี(สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้,2546)
                กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหนือนักเรียน  โดยครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการปฏิบัติงานมีองค์ประกอบสำคัญ  5  ประการ  คือ
  1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
  2. การคัดกรองนักเรียน
  3. การส่งเสริมนักเรียน
  4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
  5. การส่งต่อ

                                                         
กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ที่แสดงในแผนภูมิเป็นความรับผิดชอบของครูที่ปรึกษาตลอดกระบวนการ  โดยมีการประสานงานหรือรับการสนับสนุนจากผู้บริหาร  ครูที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงผู้ปกครอง  ซึ่งมีวิธีการและเครื่องมือตัวอย่างสรุปได้  ดังนี้
กระบวนการดำเนินงาน
วิธีการ
เครื่องมือ
1.  การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
     1.1  ด้านความสามารถ
            -  การเรียน
            -  ความสามารถอื่น ๆ
     1.2  ด้านสุขภาพ
            -  ร่างกาย
            -  จิตใจ 
            -  พฤติกรรม
     1.3  ด้านครอบครัว
            -  เศรษฐกิจ
            -  การคุ้มครองนักเรียน
    1.4  ด้านอื่น ๆ
ศึกษาข้อมูลจากการใช้
1)  ระเบียนสะสม
2)  แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก             
     (SDQ)
3)  อื่น ๆ
     -  แบบประเมินความฉลาดทาง       อารมณ์  (E.Q.)
     -  แบบสัมภาษณ์นักเรียน
     -  แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน
     -  แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง
        และเยี่ยมบ้านนักเรียน
                     ฯลฯ

1)  ระเบียนสะสม
2)  แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก 
     (SDQ)  หรือ
3)  อื่น ๆ  เช่น
      -  แบบประเมินความฉลาด         ทางอารมณ์  (E.Q.)
     -  แบบสัมภาษณ์นักเรียน
     -  แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง      และเยี่ยมบ้านนักเรียน
     -  แบบบันทึกการตรวจสุขภาพ    ด้วยตนเอง ฯลฯ
2.  การคัดกรองนักเรียน
     2.1  กลุ่มปกติ
     2.2  กลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา
ดำเนินการต่อไปนี้
1)  วิเคราะห์ข้อมูลจาก
      1.1  ระเบียนสะสม
      1.2  แบบประเมินพฤติกรรม
             เด็ก  (SDQ)
1.3    แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
2)  คัดกรองนักเรียนตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน

1)  เกณฑ์การคัดกรองนักเรียน
2)  แบบสรุปผลการคัดกรองและ  ช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล
3)  แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนเป็นห้อง

กระบวนการดำเนินงาน
วิธีการ
เครื่องมือ
3.  การส่งเสริมนักเรียน
(สำหรับนักเรียนทุกกลุ่ม)
ดำเนินการต่อไปนี้
1)  จัดกิจกรรมโฮมรูม(Homeroom)
2)  จัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน     (Classroom   meeting)  หรือ
3)  จัดกิจกรรมอื่น ๆ  ที่ครูพิจารณาว่าเหมาะสมในการส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณภาพมากขึ้น

1)  แนวทางการจัดกิจกรรม     
     โฮมรูมของโรงเรียน
2)  แนวทางการจัดกิจกรรมประชุมผู้ปกคอรงชั้นเรียนของโรงเรียน
3)  แบบบันทึก/สรุปประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโฮมรูมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนอื่น ๆ
4.  การป้องกันและแก้ไข
    ปัญหา  (จำเป็นอย่าง
    มากสำหรับนักเรียน  
    กลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา)
ดำเนินการต่อไปนี้
1)  ให้การศึกษาเบื้องต้น
2)  ประสานงานกับครูและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ  เพื่อการจัดกิจกรรมสำหรับการป้องกัน     และช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของนักเรียน  คือ
2.1)    กิจกรรมในห้องเรียน
2.2)    กิจกรรมเสริมหลักสูตร
2.3)    กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
2.4)    กิจกรรมซ่อมเสริม
2.5)    กิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง

1)  แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน  5  กิจกรรม
2)  แบบบันทึกสรุปผลการคัดกรองและช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล
3)  แบบบันทึกรายงานผลการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

กระบวนการดำเนินงาน
วิธีการ
เครื่องมือ
5.  การส่งต่อ
     5.1  ส่งต่อภายใน
     5.2  ส่งต่อภายนอก
ดำเนินการต่อไปนี้
1)  บันทึกการส่งนักเรียนไปยังครู
     ที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือ 
     นักเรียนต่อไป  เช่น  ครูแนะ
     แนว  ครูปกครอง  ครูประจำ
     วิชา  ครูพยาบาล  เป็นต้น  ซึ่ง
     เป็นการส่งต่อภายใน
2)  บันทึกการส่งนักเรียนไปยัง
     ผู้เชี่ยวชาญภายนอกโดยครู
     แนะแนวหรือฝ่ายปกครองเป็น
     ผู้ดำเนินการ  ซึ่งเป็นการส่งต่อ 
     ภายนอก

1)  แบบบันทึกการส่งต่อของโรงเรียน
2)  แบบรายงานแจ้งผลการช่วยเหลือ 
     นักเรียน

หมายเหตุ     โรงเรียนสามารถพิจารณาเลือกใช้วิธีการ  และเครื่องมืออื่น ๆ  เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุเพื่อ        การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามความสามารถเหมาะสมของสภาพโรงเรียน

รายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
                ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  เป็นกระบวนการดำเนินงานที่มีองค์ประกอบสำคัญ  5  ประการ  ดังที่กล่าวมา  คือ
  1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
  2. การคัดกรองนักเรียน
  3. การส่งเสริมนักเรียน
  4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
  5. การส่งต่อ
แต่ละองค์ประกอบของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังกล่าว  มีความสำคัญมีวิธีการและ
เครื่องมือที่แตกต่างกันไป  แต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันซึ่งเอื้อให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ  (หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา,2546)
                สรุป  การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะในสังคมปัจจุบันมีสื่อและเทคโนโลยีที่ชวนให้นักเรียนหลงใหลในรูปลักษณ์  ซึ่งนำไปสู่การเสียการเรียน เพราะโรงเรียนเป็นสถานบันหนึ่งที่มีหน้าที่สร้างเยาวชนของชาติให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อให้เยาวชนมีคุณภาพนำไปสู่การพัฒนาชาติให้เจริญทัดเทียมกับอารยประเทศได้ การที่จะได้เยาวชนที่มีคุณภาพนั้นทุกคนที่มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้บริหาร หัวหน้าระดับ ครูที่ปรึกษา ผู้ปกครองจะต้องช่วยกันอย่างจริงจัง
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
1.  ความสำคัญ
                ด้วยความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนที่มีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกันหล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ  ทั้งด้านบวกและด้านลบ  ดังนั้นการรู้จักข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ  ที่จะช่วยให้ครูที่ปรึกษามีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น  สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการคัดกรองนักเรียน  เป็นประโยชน์ในการส่งเสริม  การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกทาง  ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์มิใช่การใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดาโดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหานักเรียน  ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดต่อการช่วยเหลือนักเรียนหรือเกิดได้น้อยที่สุด

2.  ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน
                ครูที่ปรึกษาควรมีข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนอย่างน้อย  3  ด้านใหญ่ ๆ  คือ
  1. ด้านความสามารถ  แยกเป็น
1.1    ด้านการเรียน
1.2    ด้านความสามารถอื่น  ๆ
  1. ด้านสุขภาพ  แยกเป็น
2.1    ด้านร่างกาย
2.2    ด้านจิตใจ – พฤติกรรม
  1. ด้านครอบครัว  แยกเป็น
3.1    ด้านเศรษฐกิจ
3.2    ด้านการคุ้มครองนักเรียน
4.  ด้านอื่น ๆ  ที่ครูพบเพิ่มเติมซึ่งมีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนที่ควรทราบ

ข้อมูลนักเรียน
รายละเอียดข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบ
1.  ด้านความสามารถ
     1.1  ด้านการเรียน


     1.2  ด้านความสามารถอื่น ๆ

-  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละวิชา
-  ผลการเรียนเฉลี่ยในแต่ละภาคเรียน
-  พฤติกรรมการเรียนในห้องเรียนที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน  เช่น 
   ไม่ตั้งใจเรียน  ขาดเรียน  เป็นต้น
-     ฯลฯ
-  บทบาทหน้าที่พิเศษในโรงเรียน
-  ความสามารถพิเศษ
-  การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง  ๆ  ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
-       ฯลฯ
2.  ด้านสุขภาพ
     2.1  ด้านร่างกาย


     2.2  ด้านจิตใจ - พฤติกรรม

-  ส่วนสูง  น้ำหนัก
-  โรคประจำตัว  ความบกพร่องทางร่างกาย  เช่น  การได้ยิน  การมองเห็น
-     ฯลฯ
-  อารมณ์ซึมเศร้า/วิตกกังวล
-  ความประพฤติ
-  พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง/สมาธิสั้น
-  บุคลิกภาพเก็บตัว/ขี้อาย
-     ฯลฯ
3.  ด้านครอบครัว
     3.1  ด้านเศรษฐกิจ

-  รายได้ของบิดา  มารดา/ผู้ปกครอง
-  อาชีพของผู้ปกครอง
-  ค่าใช้จ่ายที่นักเรียนได้รับในการมาโรงเรียน
-     ฯลฯ

ข้อมูลนักเรียน
รายละเอียดข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบ
3.2  ด้านการคุ้มครองนักเรียน
-  จำนวนพี่น้อง/บุคคลในครอบครัว
-  สถานภาพของบิดา  มารดา
-  บุคคลที่ดูแลรับผิดชอบนักเรียน
-  ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว
-  ลักษณะที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
-  ความเจ็บป่วยของคนในครอบครัว  หรือการใช้สารเสพติด  การติดสุรา 
    การพนัน  เป็นต้น
-       ฯลฯ

3.  วิธีการและเครื่องมือในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
                ครูที่ปรึกษาควรใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่คอบคลุมทั้งด้านความสามารถ  ด้านสุขภาพ  และด้านครอบครัว  ที่สำคัญ  คือ
1)      ระเบียนสะสม
2)      แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก  (SDQ)
3)      วิธีการและเครื่องมืออื่น ๆ  เช่น  การสัมภาษณ์นักเรียน  การศึกษาจากแฟ้มสะสมผลงาน  การเยี่ยมบ้าน  การศึกษาข้อมูลจากแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วนตนเองซึ่งจัดทำโดยกรมอนามัย  เป็นต้น

1)  ระเบียนสะสม
                ระเบียนสะสม  เป็นเครื่องมือในรูปแบบของเอกสารเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียน  โดยนักเรียนเป็นผู้กรอกข้อมูล  และครูที่ปรึกษานำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษา  พิจารณาทำความรู้จักนักเรียนเบื้องต้น  หากข้อมูลไม่เพียงพอ  หรือมีข้อสังเกตบางประการ  ก็ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยวิธีการ         ต่าง ๆ  เช่น  การสอบถามจากนักเรียนโดยตรง  การสอบถามจากครูอื่น ๆ  หรือเพื่อน ๆ  ของนักเรียน  เป็นต้น  รวมทั้งการใช้เครื่องมือทดสอบต่าง ๆ  หากครูที่ปรึกษาดำเนินการได้
                รูปแบบและรายละเอียดในระเบียนสะสมของแต่ละโรงเรียน  มีความแตกต่างกันได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละโรงเรียนแต่อย่างน้อยควรครอบคลุมข้อมูลทั้งด้านการเรียนด้านสุขภาพและด้านครอบครัว 
                ระเบียนสะสม  เป็นข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน  จึงต้องเป็นความลับและเก็บไว้อย่างดีมิให้ผู้ที่ไม้เกี่ยวข้องหรือเด็กอื่น ๆ  มารื้อค้นได้  หากเป็นไปได้ควรเก็บไว้กับครูที่ปรึกษาและมีผู้เก็บระเบียบสะสมไว้ให้เรียบร้อย
ระเบียนสะสม  ควรเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง  อย่างน้อย  3  ปีการศึกษา  หรือ  6  ปีการศึกษา  และส่งต่อระเบียนไปยังครูที่ปรึกษาคนใหม่ในปีการศึกษาต่อไป  หรือการจัดครูที่ปรึกษาตามดูแลนักเรียนอย่างต่อเนื่อง  จนจบมัธยมศึกษาในแต่ละตอน  หรือจนจบ  6  ปีการศึกษาก็ได้

2)  แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก  (SDQ)  (โรงเรียนอาจนำเครื่องมืออื่นมาใช้แทนก็ได้)
                แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก  ไม่ได้เป็นแบบวัดหรือแบบทดสอบ  แต่เป็นเครื่องมือสำหรับการคัดกรองนักเรียนด้านพฤติกรรม  การปรับตัว  ที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับสภาพกับสภาพจิตใจซึ่งจะช่วยให้ครูที่ปรึกษามีแนวการพิจารณานักเรียนด้านสุขภาพจิตมากขึ้น
                แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก  เป็นเครื่องมือที่กรมสุขภาพจิตเป็นเป็นผู้จัดทำขั้น  โดยพัฒนาจาก  The  Strengths  and  Difficulties  Questionnaire  (SDQ)  ประเทศเยอรมนี  ซึ่งใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบยุโรป  เพราะมีความเที่ยงและความตรงจำนวนข้อไม่มากนัก  คณะผู้จัดทำของกรมสุขภาพจิต  โดย  แพทย์หญิง  พรรณพิมล  หล่อตระกูล  เป็นหัวหน้าคณะได้ทำการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ค่าความเที่ยงและ  ความตรงของแบบประเมิน  และหาเกณฑ์มาตรฐาน  (Norm)  ของเด็กไทย
                แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก  มี  3  ชุด  คือ
-          ชุดที่ครูเป็นผู้ประเมินเด็ก
-          ชุดที่พ่อแม่  ผู้ปกครอง  เป็นผู้ประเมินเด็ก
-          ชุดที่เด็กประเมินตนเอง
ทั้ง  3  ชุด  มีเนื้อหาและจำนวนข้อ  25  ข้อ  เท่ากัน  ทางโรงเรียนอาจเลือกใช้ชุดที่นักเรียน
ประเมินตนเองชุดเดียว  หรือใช้ควบคู่กับชุดที่ครูเป็นผู้ประเมินเพื่อความแม่นตรงยิ่งขึ้นโดยระยะเวลาที่ประเมินไม่ควรห่างจากนักเรียนประเมินตนเองเกิน  1  เดือน  ซึ่งหากเป็นไปได้ควรใช้แบบประเมินทั้ง  3  ชุด  พร้อมกัน  เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของผลที่ออกมา

3)  วิธีการและเครื่องมืออื่น ๆ
                ในกรณีที่ข้อมูลของนักเรียนจากระเบียนสะสมและแบบประเมินพฤติกรรมเด็กไม่พอเพียงหรือเกิดกรณีที่จำเป็นต้องมีข้อมูลที่เพิ่มเติมอีก  ครูที่ปรึกษาก็อาจใช้วิธีการและเครื่องมืออื่น ๆ  เพิ่มเติม  เช่น การสังเกตพฤติกรรมอื่น ๆ  ในห้องเรียน  การสัมภาษณ์และการเยี่ยมบ้านนักเรียน  เป็นต้น(หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา,2546)
                สรุป  การรู้จักรนักเรียนเป็นรายบุคคลคือการที่ครูทุกคนที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนจะต้องทำความรู้จักรกับนักเรียนที่ตนเองรับผิดชอบในทุกทกด้านโดยการศึกษาข้อของเด็กจากลหายที่เช่น ระเบียนสะสม  เยี่ยมบ้าน สังเกต สัมภาษณ์ เป็นต้น

การคัดกรองนักเรียน
1.  ความสำคัญ
                การคัดกรองนักเรียน  เป็นการพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวนักเรียน  เพื่อการจัดกลุ่มนักเรียนเป็น  2  กลุ่ม  คือ
                1.  กลุ่มปกติ  คือ  นักเรียนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ  ตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียนแล้ว  อยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มปกติ
                2.  กลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา  คือ  นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหาตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน  ซึ่งโรงเรียนต้องให้ความช่วยเหลือ  ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาตามแต่กรณี
                การจัดกลุ่มนักเรียนนี้  มีประโยชน์ต่อครูที่ปรึกษาในการหาวิธีการเพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างถูกต้อง  โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับปัญหาของนักเรียนยิ่งขึ้น  และมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา  เพราะมีข้อมูลของนักเรียนในด้านต่าง ๆ  ซึ่งหากครูที่ปรึกษาไม่ได้คัดกรองนักเรียนเพื่อการจัดกลุ่มแล้ว  ความชัดเจนในเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาของนักเรียนจะมีน้อยลง  มีผลต่อความรวดเร็วในการช่วยเหลือ  ซึ่งบางกรณีจำเป็นต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน
                ผลการคัดกรองนักเรียน  ครูที่ปรึกษาจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ทำให้นักเรียนรับรู้ได้ว่าตนถูกจัดกลุ่มอยู่ในกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา    ซึ่งมีความแตกต่างจากกลุ่มปกติโดยเฉพาะนักเรียนวัยรุ่นที่มีความไวต่อการรับรู้  (sensitive)  แม้ว่านักเรียนจะรู้ตัวดีว่า  ขณะนี้ตนมีพฤติกรรมอย่างไรหรือประสบกับปัญหาใดก็ตามและเพื่อเป็นการป้องกันการล้อเลียนในหมู่เพื่อนอีกด้วย  ดังนั้น  ครูที่ปรึกษาต้องเก็บผลการคัดกรองนักเรียนเป็นความลับ  นอกจากนี้ครูที่ปรึกษามีการประสานงานกับผู้ปกครองเพื่อการช่วยเหลือนักเรียน  ก็ควรระมัดระวังการสื่อสารที่ทำให้ผู้ปกครองเกิดความรู้สึกว่า  บุตรหลานของตนถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ผิดปกติแตกต่างจากเพื่อนนักเรียนอื่น ๆ  ซึ่งอาจมีผลเสียต่อนักเรียนในภายหลังได้
2.  แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการคัดกรองนักเรียน
                การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการคัดกรองนักเรียนนั้น  ให้อยู่ในดุลยพินิจของครูที่ปรึกษาและยึดถือเกณฑ์การคัดกรองนักเรียนของโรงเรียนเป็นหลักด้วย  ดั้งนั้น  โรงเรียนจึงควรมีการประชุมครูเพื่อการพิจารณาเกณฑ์การจัดกลุ่มนักเรียนร่วมกัน  เพื่อให้มีมาตรฐานหรือแนวทางการคัดกรองนักเรียนที่เหมือนกัน  เป็นที่ยอมรับของครูในโรงเรียน  รวมทั้งให้มีการกำหนดเกณฑ์ว่าความรุนแรงหรือความถี่ของพฤติกรรมเท่าใดจึงจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา
                สำหรับประเด็นการพิจารณาเพื่อจัดทำเกณฑ์การคัดกรองและแหล่งข้อมูลเพื่อคัดกรองนักเรียนแต่ละด้าน  มีตัวอย่างตามตารางดังต่อไปนี้

ข้อมูลนักเรียน
ตัวอย่างประเด็นการพิจารณา
แหล่งข้อมูล
1.  ด้านความสามารถ
     1.1  ด้านการเรียน







1.2  ด้านความสามารถอื่น ๆ



1)  ผลการเรียนที่ได้  และความเปลี่ยนแปลงของผลการเรียน
2)  ความเอาใจใส่  ความพร้อมในการเรียน
3)  ความสามารถในการเรียน
4)  ความสม่ำเสมอในการมาโรงเรียนเวลาที่มาโรงเรียน การเข้าชั้นเรียน
1)  การแสดงออกถึงความสามารถ     พิเศษที่มี
2)  ความถนัด  ความสนใจ  และ ผลงานในอดีตที่ผ่านมา
3)  บทบาทหน้าที่พิเศษในโรงเรียน
4)  การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน

-  ระเบียนสะสม
-  วิธีการอื่น ๆ  เช่น  การสังเกตพฤติกรรมนักเรียน  การได้ข้อมูลจากครูที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน  เป็นต้น



-  ระเบียนสะสม
-  วิธีการอื่น ๆ  เช่น  การได้ข้อมูลจากเพื่อนนักเรียน  แฟ้มสะสมผลงาน  พฤติกรรมที่แสดงออกของนักเรียน  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น