วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ลูกน้องจบสูงกว่า

ลูกน้องจบสูงกว่า


ทำอย่างไรเมื่อลูกน้องจบสูงกว่าhttp://men.mthai.com/work/job-question/327.html
เรียน อาจารย์วิชัย
ตอนนี้หนูค่อนข้างเครียดพอสมควรค่ะอาจารย์ หนูเป็นหัวหน้างานจบ ป.ตรี แต่ลูกน้องถึง 2 คนเรียนต่อแล้วจบโทกันทั้งคู่เลยค่ะ แล้วก็รู้สึกว่าเจ้านายเค้าค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับลูกน้องมากกว่าหนูแล้วล่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการให้งานโดยไม่ผ่านหนูก็ดี เรียกขึ้นไปคุยเป็นการส่วนตัวบ้าง หนูควรจะเรียนต่อดีมั๊ยคะ แต่หนูก็ติดภาระเรื่องลูกด้วยสิคะ เครียดจังค่ะ
อาจารย์อยากให้หนูมีสติด้วยการหยุดคิดวนเวียนเรื่องเหล่านี้แล้วหันมาพัฒนาหนทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวหนูเอง ให้มองประเด็นว่าหากสมมติไปเรียนปริญญาโทกลับมาแล้วทุกอย่างจะดีขึ้นไหม และค่านิยมในการทำงานที่บริษัทของหนูจะดูเรื่องผลงานหรือการเรียนสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ถ้าคำตอบของทั้งสองข้อคือการเรียนปริญญาโท ค่อยหาวิธีการไปเรียนให้สำเร็จแม้จะต้องมีภาระเรื่องลูกก็ตาม แต่หากว่าเป็นเรื่องของการทำงาน อยากจะให้เน้นไปที่การปรับปรุงการทำงานจะดีกว่าเพราะอาจารย์เคยเห็นคนเสียเวลาไปเรียนกลับมาแล้วเหตุการณ์กลับยิ่งเลวร้ายเพราะคาดหวังว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องดีขึ้นหลังเรียนจบกลับมา แต่กลับไม่ดีขึ้นแต่อย่างไร หนูเองรู้ดีที่สุด อาจารย์เองก็เห็นหลายคนมีลูกมากกว่าหนึ่งคนแต่ก็กลับไปเรียนต่อแบบนอกเวลาจนจบปริญญาโทซึ่งน่าชมเชยทีเดียวครับ ทางเลือกนี้หนูรู้ดีที่สุด บางคนต้องเก็บหอมรอมริบกู้หนี้ยืมสินไปเรียนก็ยังมีครับ กรณีของหนูจะดูง่ายกว่านั้นอีก อาจารย์เอาใจช่วย คืบหน้าเขียนมาคุยกันอีกนะ เอาเวลาที่จะเครียดมาหาทางพัฒนาผลงานตนเองทั้งด้านการทำงานหรือการเรียนจะดีกว่ามานั่งกลุ้มนะหนูดร.วิชัย http://www.vichaisalesacademy.com
สวัสดีครับ ผมไปประชุม ต่างประเทศและต่างจังหวัดเพิ่งกลับมา ก็ทราบเรื่องจาก ดร. วิชัยว่า คำถามนี้ จี๊ดมาก สำหรับสังคมปัจจุบันครับ ดร. วิชัย ถามว่า กรณีอย่างนี้ ผมเห็นเหมือนหรือแตกต่างจากแกหรือเปล่า?
1. หัวหน้าจบตรี คุมลูกน้องจบโท สมควรมั้ย?
    ผมคิดว่า เรื่องนี้ ไม่ใช่ปัญหาเลยครับ ผมเห็นอาสัวที่จบ ป.4 ยังมีลูกน้อง ป.โท เยอะแยะ ปัญหาก็คือว่า การทำงานและประสบการณ์ของคุณนั้นเพียงพอ แน่นพอมีหลักการที่จะให้คน ป.โท เชื่อมั่นใจความสามารถของคุณหรือเปล่า
    ซึ่งปัญหาที่พบบ่อย คือ ความรู้ที่ "ก้าวทันโลก" เพราะหลักสูตร ป.โท ก็คงสอนหลักการใหม่ๆให้ ถ้าคุณไม่เปิดใจรับฟังวิธีการใหม่ๆจากลูกน้อง ป.โท หรือไม่ได้ศึกษาหาอ่านเพิ่มเติม ผมเกรงว่า จะเหลื่อมล้ำทางความรู้ความคิดได้ครับ
2. มอบงานข้ามหัวกัน
    เรื่องนี้ เป็นปัญหากันบ่อยๆ ผมคิดว่า คุณควรพูดเปิดใจกับหัวหน้าของคุณเสียก่อน ว่ารู้สึกเหมือนสูญเสียขอบเขตการควบคุมลูกน้อง อาจจะอ้างถึงการติดตามงาน ซึ่งทำให้คุณติดตามงานต่างๆไม่ได้ครบถ้วนเพราะไม่รู้ว่าสั่งอะไรกันไปบ้าง บางทีหัวหน้าคุณอาจจะไม่ได้ตั้งใจ
    หากหัวหน้าของคุณแสดงความตั้งใจที่จะดูแล ป.โท เกินตัวคุณ ผมคิดว่า คงเป็นการ "บีบ" คั้นทางอ้อมเหมือนกัน ขอแนะนำให้เชื่อมั่นในความสามารถของคุณเอง อย่าเพิ่งเครียดจนเกินไป ยิ่งเครียดจะยิ่งแย่ ทำงานพลาดไปกันใหญ่ ให้ดูก่อนว่า ลูกน้องคุณทำอะไรได้บ้าง หัวหน้าคุณต้องการอะไรบ้าง ถึงจะ ป.โท ก็เถอะ ใช่ว่าจะทำได้ทุกอย่างครับ และดูศักยภาพว่าตัวคุณเด่นหรือด้อยกว่าลูกน้องในจุดไหน หากรู้สึกว่าตัวเรา มีความคิด ความรู้ ล้าหลังกว่า และทำงานได้ไม่ดีเท่า ก็คงแนะนำว่าให้เปิดใจรับความคิดเห็นใหม่ หาความรู้จากหนังสือนิตยสาร การอบรมระยะสั้น หรือจะเรียนโทก็ได้ แล้วแต่ความคุ้มค่าทีุ่คุณเห็น
3. เรียนโทดีมั้ย มีลูกแล้วเรียนโทได้มั้ย?
    การมีลูก เรียนโท ทำงานไปด้วย สามอย่างในเวลาเดียวกัน ผมเห็นว่า "นรก" รอตรงหน้าคุณแล้วล่ะมันคงจะวุ่นวายน่าดู แต่ถ้าผลสุดท้ายของการเรียนโท ทำให้คุณ มีทางเลือกที่ดีกว่า และอาจจะทำให้อำนาจหน้าที่ ความน่าเชื่อถือมากขึ้น ปลายทางคือ "สวรรค์" ที่น่าไปนะครับ
    แต่ถ้าเกิดว่า คุณอยู่สถานการณ์ที่โดน "บีบ" จริง การเด็กใหม่ ป.โท แล้วก็นั่งเครียดโดยไม่หาทางหนีที่ไล่ไว้ ผมคิดว่า มันคือ "นรก" ที่ยิ่งเลวร้ายไปเรื่อยๆ
     สำหรับการทำงานแล้ว เมื่อคุณอายุมากขึ้นเรื่อยๆ คุณจะพบว่า ทางเลือกคุณมีน้อยลง เพราะคุณต้องสมัครตำแหน่งสูง เงินเดือนสูง และถ้ายิ่งไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้ดีกรี  ยิ่งทำให้คุณมีทางเลือกน้อยลง ไม่ต่างอะไรกับ "ของตาย" ประจำบริษัท
   "Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever
ใช้ชีวิตดังว่าคุณจะตายพรุ่งนี้ (พอดี พอเพียง) และจงเรียนรู้ดังว่า คุณไม่มีวันตาย (เรียนรู้ให้มากๆ) 
เป็นคำกล่าวของ มหาตมะ คานธี
    ขอให้คุณได้ค้นพบคำตอบของคุณเองนะครับ  (สรุปแล้ว ส่วนใหญ่ ผมเห็นตรงกันกับ ดร. วิชัย ครับ แต่เสนอแนวคิด เชิงทางหนีที่ไล่ วิธีคิดภายในองค์กร คิดแบบหัวหน้า คิดแบบลูกน้องก็แล้วกันครับ) 
http://men.mthai.com/work/job-question/327.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น