วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทักษะของผู้บริหาร

ทักษะของผู้บริหาร
การบริหาร และ ทักษะของผู้บริหาร

ความหมายขององค์การ (Organization)
1. มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป รวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ร่วมกันทำงานในลักษณะกลุ่ม ที่มีการประสานงานกันตลอดเวลา
2. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเต็มใจเข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิกฝ่ายต่างๆ
3. มีการจัดโครงสร้าง กำหนดทิศทาง จัดระเบียบวิธีทำงาน และติดตามวัดผลสำเร็จ ของงานที่ทำอยู่เสมอ เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ในเป้าหมายที่สูงขึ้น

ลักษณะและงานขององค์การ
1. มีวัตถุประสงค์ ที่แน่นอน ให้สมาชิกยึดเป็นแนวทางในการทำงาน
2. มีการแบ่งงานกันทำ มอบหมายงานตามความรู้ความสามารถของแต่ละคน
3. มีสายบังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับสูงสุดลงมาถึงระดับล่างสุด แสดงให้เห็นว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ ใครเป็นผู้สั่งงาน ใครจะต้องรายงานใคร

ความหมายของการบริหาร (Management)
“การบริหาร คือ การทำให้งานต่างๆลุล่วงไปโดยอาศัยคนอื่นเป็นผู้ทำ”
(Peter F. Drucker ปรมาจารย์ทางการบริหารของสหรัฐอเมริกา)

ความหมายของการบริหาร แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ
1. การทำงานกับคน
- มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ดี
- มีความเป็นผู้นำ ทำงานเป็นทีม
- เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์

2. ทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
- เป้าหมายต้องสูง และสามารถทำให้สำเร็จ
- ต้องมีระบบงาน แผนงานที่ดี
- กำหนดวันเวลาที่จะทำให้ให้บรรลุเป้าหมายนั้น

3. ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
การมีประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง
- การทำงานให้บรรลุผลสำเร็จที่ต้องการ โดยใช้ทรัพยากรที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม ตรงตามข้อกำหนดในกระบวนการที่วางไว้
- เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นถ้าความสำเร็จที่เกิดขึ้น มีปริมาณหรือคุณภาพที่เท่ากัน จะต้องใช้ทรัพยากรน้อยกว่า
การประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง
- ผลงานที่ทำได้เทียบกับเป้าหมาย ถ้าทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แสดงว่าการทำงานมีประสิทธิผล

Ex:ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล
การแข่งขันกีฬาชกมวย ระหว่างฝ่ายแดงกับฝ่ายน้ำเงิน
ใน การแข่งขันยกที่ 1-3 ฝ่ายน้ำเงินวาดลวดลาย เตะซ้าย ต่อยขวา ออกลีลาดี ต่อยเข้าเป้าฝ่ายแดงตลอด ทำให้คะแนนของฝ่ายน้ำเงินพุ่งพรวดพลาด
แต่ ปรากฎว่าพอยกที่ 4 ฝ่ายแดงเกิดฮึกเหิมขึ้นมาต่อยฝ่ายน้ำเงินลงไปนอนนับ 10 แสดงว่า ฝ่ายน้ำเงินมีประสิทธิภาพในการต่อยดี แต่ฝ่ายแดงมีประสิทธิผลที่ดีกว่า เพราะผลสุดท้ายฝ่ายแดงชนะน็อค

4.ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- โลกไร้พรมแดน
- ใช้วิธีการบริหารคุณภาพ (Total Quality Management)
- รักาษสิ่งแวดล้อม
- มีจริยธรรม
EX:จริยธรรมของ Johnson & Johnson
1.เราจะยึดมั่นความรับผิดชอบต่อชุมชนที่เราอาศัยและทำงานอยู่ รวมถึงชุมชนโลกด้วยเช่นกัน
2.เราต้องเป็นพลเมืองดีที่ส่งเสริมการทำงานที่ดี สนับสนุนงานกุศลต่างๆและรับผิดชอบการจ่ายภาษีอย่างยุติธรรม
3.เราจะส่งเสริมการปรับปรุงในเรื่องต่างๆเพื่อสุขอนามัยและการศึกษาที่ดีขึ้น
4.เราจะธำรงรักษาและปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่ในสภาพที่ดี

ระดับของผู้บริหาร


ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหาร (Managerial skills)
ทักษะทางด้านเทคนิค (Technical Skill)เชี่ยวชาญ ชำนาญ สาขาวิชาเฉพาะด้าน เช่นแพทย์ วิศวกร นักบัญชี อีเลคโทรนิค

ทักษะทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Skill)ทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม สร้างแรงจูงใจ เสริมสร้างบรรยากาศ

ทักษะ ทางด้านความคิด (Conceptual Skill) ความสามารถใช้สติปัญญา ริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวางแผนเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ มองภาพรวมทั้งองค์



หน้าที่สำคัญของผู้บริหาร
1. งานในด้านผู้นำหรือหัวหน้างาน หมายถึง “ภาระหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ปฏิบัติตนเป็นผู้นำภายในองค์การ”
2. งานในด้านภารกิจหรือสิ่งที่ต้องทำ หมายถึง “การจัดระเบียบทรัพยากรต่างๆในองค์การ และการประสานกิจกรรมต่างๆเข้าด้วยกัน”
3. งานในด้านความรับผิดชอบ หมายถึง “ต้องทำให้งานต่างๆสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยการอาศัยบุคคลต่างๆในองค์การให้ช่วยกันทำให้บังเกิดผล”

ความรับผิดชอบของผู้บริหาร

ผู้ บริหารต้องใช้ทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรวัตถุให้ได้ผลงานสูงสุด (High Perfromance) และสร้างความพอใจสูงสุด (High Satisfaction) ให้กับผู้ปฏิบัติงานในองค์การ ให้ได้สินค้า และบริการเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า หรือสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า (Customer Value)
High Perfromance > High Productivity
High Satisfation > Qualty of Work Life


คุณภาพชีวิตในการทำงาน
- ค่าจ้างยุติธรรม และเหมาะสม
- สภาพแวดล้อมในที่สถานที่ทำงานถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย
- ได้รับความรู้ใหม่ๆ เกิดทักษะใหม่ๆในที่ทำงาน
- มีโอกาสก้าวหน้า และเติบโตในอาชีพ
- งานที่ทำไม่ละเมิดสิทธิส่วนตัว
- สถานที่ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
- มีความรัก ความภาคภูมิใจในงานและองค์การที่ทำ

บทบาททางการบริหาร
1. บทบาทด้านมนุษยสัมพันธ์
- เป็นประธาน หัวโขน : ตัวแทนขององค์การ
- ผู้นำ : รับผิดชอบในการจูงใจและชี้นำผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ
- ผู้ประสานงาน เชื่อมสัมพันธไมตรี : สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับองค์การภายนอก สร้างเครือข่าย ผูกมิตรกับบุคคลหรือกลุ่มต่างๆที่มีความสำคัญต่อองค์การ

2. บทบาททางด้านข้อมูลข่าวสาร
- ผู้แสวงหาข้อมูล ข่าวสารที่ทันสมัย เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาองค์การ
- ผู้กระจายข้อมูล เผยแพร่ข่าวสารที่ได้มา ทั้งจากภายนอกและภายในให้แก่พนักงานในองค์การ
- ผู้แถลงข่าว ประชาสัมพันธ์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน การปฏิบัติงาน และผลการดำเนินงานขององค์การไปสู่ภายนอก

3. บทบาทในการตัดสินใจ
- ผู้ประกอบการ : ศึกษาสภาพแวดล้อมและโอกาสทางธุรกิจ มีความตั้งใจทำงาน มุ่งมั่นให้งานประสบความสำเร็จ
- ผู้ขจัดความขัดแย้ง : รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่องค์การเผชิญอยู่
- ผู้จัดสรรทรัพยากร : รับผิดชอบในการจัดสรรทรัพยากรทุกชนิด ทั้งด้านบุคคล วัตถุ และการเงิน ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจขององค์การ
- ผู้เจรจาต่อรอง : เป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรองเรื่องสำคัญ เพื่อรักษาผลประโยชน์ที่องค์การควรได้รับ

***หน้าที่ทางการบริหาร (Management Function)
1. Planning การวางแผน  เป็นการกำหนดเป้าหมายล่วงหน้า กำหนดกลยุทธ์ และวิธีการทำงานที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้น

2. Organizing การจัดองค์การ   กำหนดภารกิจของงาน เตรียมกิจกรรมที่จะมอบหมายให้คนหรือกลุ่มคน ทำหน้าที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด รวมถึงการประสานงาน จัดทรัพยากรให้พร้อม

3. Leading การชักนำ  เป็นการกำกับดูแลบริหารงาน กระตุ้นและส่งเสริมคนให้ทำงาน จูงใจให้คนเต็มใจที่จะทำงาน ทุ่มเท และอุทิศตัวให้กับงานจนได้ผลงานตามที่ต้องการ

4. Controling การควบคุม  เป็นกระบวนการในการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน กำหนดมาตรฐาน เปรียบเทียบ ประเมินผล กำกับดูแลการทำงาน ตลอดจนสื่อสารกับผู้ปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขให้ได้งานตามเป้าหมาย

**การจัดการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
การ รู้จักนำเอาความรู้ต่างๆ (ทฤษฎีความรู้เกี่ยวกับการบริหาร) ที่มีกฏเกณฑ์แน่นอน ช่วยเป็นแนวทางมาปรับใช้ (ศิลปะ)ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่จริง เพื่อให้ได้ผลในทางปฏิบัติ ถูกต้องตามที่ต้องการมากที่สุด
หลัก การบริหาร จะช่วยเป็นแนวทาง (Guidelines) ให้นักบริหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการมีหลักเกณฑ์ ย่อมช่วยให้นักบริหารไม่ต้องไปเสียเวลาเสี่ยงทำทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่มีจุด มุ่งหมาย

การมีวิชาความรู้ เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีศิลปะหรือประสบการณ์และความชำนาญในการปรับใช้ให้ตรงกับปัญหาเพื่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใด แต่กลับจะเป็นอันตรายแก่ตนเอง”
“ การมีประสบการณ์หรือความชำนาญอย่างเดียว ไม่มีความรู้ที่เป็นวิชาการมาสนับสนุน ก็ย่อมหมายถึงการที่จะต้องล่าช้าและหยุดอยู่กับที่ เพราะทักษะบางอย่างที่เราขาดไปอาจจะอยู่ในตำราก็ได้”

จุดมุ่งหมาย ความสำคัญของการจัดการและการบริหารในปัจจุบัน


- คำนึงถึงลูกค้า สร้างความพึงพอใจสูงสุด
- ให้ความสำคัญในการทำงานเป็นทีม
- ผู้บริหาร เป็นเพียงผู้สนับสนุน เป็นหัวหน้าทีม ประสานงาน และสอนงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น