บริหารเจ้านาย
คุณหมอกระแส ชนะวงศ์ สอน “การบริหารผู้บังคับบัญชา”
การบริหารผู้บังคับบัญชาทั้ง 10 ประการนี้ หากเราปฏิบัติได้ จะทำให้บทบาทการแสดงของเรา ซึ่งเปรียบดังละครตัวหนึ่งในโลกกว้างใบนี้แสดงบทบาทแห่งความสำเร็จในทุกบทที่ได้รับมอบหมายให้โลดแล่นอยู่บนเวที ......
การบริหารผู้บังคับบัญชาทั้ง 10 ประการนี้ หากเราปฏิบัติได้ จะทำให้บทบาทการแสดงของเรา ซึ่งเปรียบดังละครตัวหนึ่งในโลกกว้างใบนี้แสดงบทบาทแห่งความสำเร็จในทุกบทที่ได้รับมอบหมายให้โลดแล่นอยู่บนเวที ......
1. ฟังให้เป็น จับประเด็นให้ได้ :
การฟังผู้บังคับบัญชาอย่าฟังแค่ตามมารยาท แต่ฟังแล้วต้องจับประเด็นให้ได้ ไม่ว่าท่านจะพูดอ้อมค้อมอย่างไร สมมติผู้บังคับบัญชาเป็นผู้หญิง ซึ่งมีความละเอียดอ่อนมาก ท่านอาจจะกำลังแพ้ท้อง แต่อาจจะไม่พูดตรงว่าอยากให้เราไปซื้อมาขามหวานให้กิน แต่อาจจะพูดไปว่า “ที่เพชรบูรณ์ หรือที่ไหนนะที่มีมะขามอร่อย” .....
คนเป็นผู้นำจะมีจินตนาการมากมาย อาจเหมือนคุนฟุ้งซ่านด้วยซ้ำ แต่ถ้าเราหัดฟังให้เป็น และสามารถจับประเด็นได้ เราจะสามารถเตรียมงานนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาได้
2.พูดให้เป็น มีประเด็นให้คิด:
ต้องพูดให้สั้นและตรงประเด็นเพราะเราเป็นลูกน้อง ไม่มีสิทธิ์พูดยาวอ้อมค้อมไปมา วิธีพูดจะต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะถ้าผู้บังคับบัญชาเตรียมตัวไม่ดีพอ อาจเป็นการสร้างความรำคาญใจ และทำให้บรรยากาศการทำงานเสีย
3.ต้องมีศิลปะการทูต :
หากนักการพูดพูด “Yes” ขอให้คิดว่าค่อนข้างดี แม้อาจจะไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
แต่ถ้าหากนักการฑูตคนนั้นพูด “N0” แสดงว่าคนๆ นั้นไม่ใช่นักการฑูตที่ดี
ดังนั้น หากเราเป็นลูกน้อง ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับเจ้านาย เพราะผู้บังคับบัญชาอาจมีเรื่องต้องคิดต้องทำมาก คิดอาจจะเกินบ้าง ขาดบ้าง เราต้องดูจังหวะแห่งการปฏิเสธให้เหมาะสม
4.ต้องไม่เป็นคนมีปัญหา :
คนทุกคนล้วนมีประโยชน์ คำพังเพยบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “รกคนดีกว่ารกหญ้า” เราต้องรู้จักหาทางทำในสิ่งที่บังเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายเพราะทุกคนมีธรรมชาติที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ หากได้รับการชมเชยจะทำให้ทำงานได้มากขึ้น
5.ต้องรู้จักเสริมภาพพจน์ผู้บังคับบัญชา :
หากเราให้เครดิตยกย่องชมเชยแก่ผู้บังคับบัญชา อย่ากลัวว่าเราจะไม่ได้หน้า เพราะเครดิตทั้งหลายที่ให้แก่ผู้บังคับบัญชานั้น ย่อมล้นกลับมาหาเราเอง
6.มองงานในแง่บวก มองโลกในแง่ดี :
“There is always problem in every answer” ทุกคำตอบล้วนมีปัญหา งานทุกอย่างอาจมีปัญหาขัดข้อง แต่ขอให้เรามองโลกในแง่ดี มองในแง่บวก ถ้าได้ตัดสินใจร่วมกันแล้ว ต้องร่วมกันทำอย่างจริงจัง คนที่ไม่อยากทำงาน คือคนที่มีเค้าแห่งความไม่สำเร็จอยู่ในใจ
7.ไม่ต้องทำงานเกินเวลาค่ำ แต่จงทำงานเช้าก่อนเวลา :
การทำงานแต่เช้าก่อนเวลา แสดงถึงความกระตือรือร้นกระชุ่มกระชวย เสียสละ และร่างกายก็ยังสดชื่น แต่การทำงานเกินเวลาจนค่ำอาจแสดงถึงยังทำงานไม่เสร็จ หรือเรายังไม่ได้ทำอะไรอีกหลายอย่าง
8.จงรักษาคำมั่นสัญญา :
หากได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับผู้บังคับบัญชาว่างานจะแล้วเสร็จภายใน 5 วันก็ต้องทำให้เสร็จ ถ้าไม่เสร็จ ต้องรีบบอกผู้บังคับบัญชาให้ทราบสาเหตุ มิฉะนั้นจะแสดงว่าเราไม่จริงจังกับงาน อย่างปล่อยให้งานค้างเติ่ง พอผู้บังคับบัญชาถามทีก็สะดุ้งที เพราะไม่มีคำตอบ ได้แต่ขอโทษ การขอโทษเรื่องเดิมบ่อยๆ ไม่ใช่สิ่งที่นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน
9.ต้องรู้จักจุดอ่อนผู้บังคับบัญชา :
การศึกษาจุดอ่อนผู้บังคับบัญชา เพื่อไม่ให้จุดใต้ตำตอ ไปสร้างเรื่องให้เจ้านาย เกิดความรู้สึกเป็นปมด้อย อันจะกระทบถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างเรากับเจ้านาย
“ท่านครับ ใครๆ ก็ชมท่าน แต่ถ้าหากท่านไปเรียนรามคำแหงเอาความรู้เพิ่มเติมเสียหน่อยก็จะดีนะครับ”
“ท่านครับ ท่านดีไปทุกอย่างเลยครับ แต่ลูกชายคนเล็กท่านไม่ไหวเลย ถ้าท่านพัฒนาอบรมลูกท่านได้ ผมว่าท่านจะมีชื่อเสียงมากนะครับ”
ก่อนที่เจ้านายจะมีชื่อเสียง ลูกน้องที่บังอาจนำเสนอ อาจจะได้ยินเสียงที่ไม่พึงปรารถนาจากเจ้านายเสียก่อน
10.อย่าใกล้ชิดผู้บังคับัญชาจนเกินไป :
มีคนขยายความว่า “ผู้บังคับบัญชาเหมือนดังพระอาทิตย์” เข้าใกล้เกินไปก็ถูกแผดเผาจนร้อน ห่างเกินไปก็ขาดแสงสว่างจนมือมิด
หากเราเข้าใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้บังคับบัญชาจนเกินไป เราจะขาดความเคารพเกรงใจ “เราก็จะทำในสิ่งที่ไม่ควรทำและไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ” ทำให้งานต้องเสียหาย ขณะเดียวกันเพื่อนร่วมงานอาจจะอิจฉาริษยาหากเราได้ดี ก็จะว่าเป็นเพราะใกล้ชิดเจ้านาย ทั้งที่โดยข้อเท็จจริง เราอาจจะดีเองเก่งเองก็ได้
[จากหนังสือ : เคล็ดลับสู่ความสำเร็จของหมอแมกไซไซ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.กระแส ชนะวงศ์]
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/325327
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น