จิตสร้างสรรค์
จิตแห่งการสร้างสรรค์' สร้างนวัตกรรมนำไปสู่ความสำเร็จ
ในช่วงยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ บรรดากองทัพนักคิดทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักจิตวิทยา นักสังคมวิทยา และนักประสาทวิทยา ต่างให้ความสนใจไปที่ “ความคิดสร้างสรรค์” และ “การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์” โดยมีความพยายามที่จะค้นคว้าเพื่อหาที่มาของความคิดสร้างสรรค์ว่ามีต้นกำเนิดจากสิ่งใด
แต่อย่างไรก็ดีมีสิ่งหนึ่งที่นักวิชาการต่างๆ เห็นพ้องต้องกันคือ ความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างฉับพลันเหมือนกับปาฏิหาริย์ แต่จากการวิจัยพบว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเกิดมาจากการเชื่อมโยงภายในของเส้นประสาทในระบบประสาท
Edward De Bono หนึ่งในนักคิดคนสำคัญเจ้าของผลงานหนังสือ “Lateral Thinking (1967)” และ “Six Thinking Hats (1985)” ที่ได้รับเผยแพร่อย่างกว้างขวาง และได้รับการนำมาใช้ในองค์กรชั้นนำของโลกมากมาย อาทิ Siemens, Bosch, 3M หรือ Nokia ได้เสนอแนวทางในการคิดแบบใหม่ที่เรียกว่า การคิดทางข้าง (Lateral Thinking)
การคิดทางข้างเป็นวิธีการคิด และการแก้ปัญหาที่แตกต่างไปจากกรอบวิธีการคิดแบบเดิมๆ โดยเน้นให้เราใช้จินตนาการทุกชนิด รวมไปถึงสิ่งที่เราคิดว่าไม่สามารถที่จะทำมันได้ หรือดูน่าขบขัน มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา
ซึ่งวิธีการ “คิดข้างทางของ” De Bono สอดคล้องกับแนวคิด จิตแห่งการสร้างสรรค์(Creating Mind) ซึ่งเป็น 1 ใน 5 จิต ที่ Howard Gardner ระบุไว้ในหนังสือ “Five Minds for the Future” ว่า...
การที่เราจะสามารถยืนหยัดอยู่ในโลกอนาคตได้อย่างมีความสุขทั้งในด้านการดำเนินชีวิต และในด้านการทำงานนั้น เราจะต้องปรับตัวเองให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ด้วยการพัฒนากระบวนการรับรู้และกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ควบคู่ไปกับการพัฒนาและขัดเกลาในด้านจิตใจทั้ง 5 ด้าน อันประกอบไปด้วย
จิตแห่งวิทยาการ (Disciplined Mind) จิตแห่งการสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) จิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind) จิตแห่งความเคารพ (Respectful Mind) และจิตแห่งคุณธรรม (Ethical Mind)
ซึ่ง จิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind) ตามแนวคิดของ Gardner นั้นหมายถึง “การมีกระบวนการทางความคิดในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ และหลุดออกจากกรอบวิธีการคิดแบบเดิมๆ”
การมี “จิตแห่งการสร้างสรรค์” สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและสร้างความแตกต่าง (Change and Differentiation) จากสิ่งเดิมหรือแนวทางเดิมที่มีอยู่ ด้วยการเปิดรับทั้งจากภายในและภายนอก (Inside Out and Outside In)
ในขณะเดียวกัน “จิตแห่งการสร้างสรรค์” ยังสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากเป็นการมองปัญหาในมุมที่แตกต่างซึ่งอาจทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด โดยผลงานความคิดสร้างสรรค์จำนวนมากนั้น เกิดขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหา อาทิ การประดิษฐ์หลอดไฟของ โธมัส อัลวา เอดิสัน เป็นต้น
นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาด้วย “ความคิดสร้างสรรค์” ได้กลายเป็นหลักสูตรที่ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศสิงคโปร์ จนทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่ประสพความสำเร็จมากทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในปัจจุบัน
นอกจากนี้ De Bono ยังย้ำอยู่เสมอว่า“ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่พรสวรรค์แต่เป็นทักษะที่สามารถสร้างและพัฒนาได้ด้วยเทคนิคต่างๆ” ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของนักวิชาการในหลายสาขาข้างต้นที่ออกมายืนยันแล้วว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญและไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างฉับพลันเหมือนกับปาฏิหาริย์
แม้หลายคนจะแย้งว่าความคิดสร้างสรรค์อาจจะไม่เกิดขึ้นเลยในสายอาชีพที่อิงอยู่กับทฤษฏีอย่างตายตัว อย่าง บัญชี วิศวกรรม หรืองานด้านกฎหมาย แต่หากพิจารณาให้ดีแล้วผู้ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติภายใต้กรอบวิชาชีพนั้นๆได้ ก็จะได้รับผลตอบแทนและการยกย่อง แม้บางครั้งจะหลังจากที่พวกเขาล่วงลับไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น กาลิเลโอ กาลิเลอี หรือแวนโก๊ะ เป็นต้น
ดังนั้นการที่ชาติหรือบุคคลจะสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้ จึงต้องมี “จิตแห่งการสร้างสรรค์” ประกอบรวมอยู่ในตัวของบุคคลนั้น ซึ่งความคิดสร้างสรรค์จะเป็นการช่วยขยายมุมมองใหม่ๆ ทางความคิด และแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างครอบคลุม และถูกต้อง
ซึ่งแนวคิดด้านการพัฒนาจิตใจทั้ง 5 ด้าน ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานแนวคิดในการขับเคลื่อนและการพัฒนาประเทศในยุคสังคมหลังฐานความรู้ กับแนวคิดของ Howard Gardner นั้น เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทาง “สำนักงาน ก.พ.” มุ่งหวังว่าจะเป็นแนวทางในการที่จะช่วยบ่มเพาะ และสร้างแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ให้กับบุคลากรภายในประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริม “จิตแห่งการสร้างสรรค์” ให้เกิดขึ้นกับบุคลากรภายชาติ ถือเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่ “สำนักงาน ก.พ.” ต้องการให้เกิดการปลูกฝังแนวคิดนี้ ให้กับทุนมนุษย์ของคนในชาติ ภายใต้ “โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะด้านการจัดการทุนมนุษย์” เพื่อยกระดับความสามารถของบุคลากร นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เกิดความยั่งยืน
แต่อย่างไรก็ดีมีสิ่งหนึ่งที่นักวิชาการต่างๆ เห็นพ้องต้องกันคือ ความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างฉับพลันเหมือนกับปาฏิหาริย์ แต่จากการวิจัยพบว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเกิดมาจากการเชื่อมโยงภายในของเส้นประสาทในระบบประสาท
Edward De Bono หนึ่งในนักคิดคนสำคัญเจ้าของผลงานหนังสือ “Lateral Thinking (1967)” และ “Six Thinking Hats (1985)” ที่ได้รับเผยแพร่อย่างกว้างขวาง และได้รับการนำมาใช้ในองค์กรชั้นนำของโลกมากมาย อาทิ Siemens, Bosch, 3M หรือ Nokia ได้เสนอแนวทางในการคิดแบบใหม่ที่เรียกว่า การคิดทางข้าง (Lateral Thinking)
การคิดทางข้างเป็นวิธีการคิด และการแก้ปัญหาที่แตกต่างไปจากกรอบวิธีการคิดแบบเดิมๆ โดยเน้นให้เราใช้จินตนาการทุกชนิด รวมไปถึงสิ่งที่เราคิดว่าไม่สามารถที่จะทำมันได้ หรือดูน่าขบขัน มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา
ซึ่งวิธีการ “คิดข้างทางของ” De Bono สอดคล้องกับแนวคิด จิตแห่งการสร้างสรรค์(Creating Mind) ซึ่งเป็น 1 ใน 5 จิต ที่ Howard Gardner ระบุไว้ในหนังสือ “Five Minds for the Future” ว่า...
การที่เราจะสามารถยืนหยัดอยู่ในโลกอนาคตได้อย่างมีความสุขทั้งในด้านการดำเนินชีวิต และในด้านการทำงานนั้น เราจะต้องปรับตัวเองให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ด้วยการพัฒนากระบวนการรับรู้และกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ควบคู่ไปกับการพัฒนาและขัดเกลาในด้านจิตใจทั้ง 5 ด้าน อันประกอบไปด้วย
จิตแห่งวิทยาการ (Disciplined Mind) จิตแห่งการสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) จิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind) จิตแห่งความเคารพ (Respectful Mind) และจิตแห่งคุณธรรม (Ethical Mind)
ซึ่ง จิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind) ตามแนวคิดของ Gardner นั้นหมายถึง “การมีกระบวนการทางความคิดในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ และหลุดออกจากกรอบวิธีการคิดแบบเดิมๆ”
การมี “จิตแห่งการสร้างสรรค์” สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและสร้างความแตกต่าง (Change and Differentiation) จากสิ่งเดิมหรือแนวทางเดิมที่มีอยู่ ด้วยการเปิดรับทั้งจากภายในและภายนอก (Inside Out and Outside In)
ในขณะเดียวกัน “จิตแห่งการสร้างสรรค์” ยังสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากเป็นการมองปัญหาในมุมที่แตกต่างซึ่งอาจทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด โดยผลงานความคิดสร้างสรรค์จำนวนมากนั้น เกิดขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหา อาทิ การประดิษฐ์หลอดไฟของ โธมัส อัลวา เอดิสัน เป็นต้น
นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาด้วย “ความคิดสร้างสรรค์” ได้กลายเป็นหลักสูตรที่ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศสิงคโปร์ จนทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่ประสพความสำเร็จมากทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในปัจจุบัน
นอกจากนี้ De Bono ยังย้ำอยู่เสมอว่า“ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่พรสวรรค์แต่เป็นทักษะที่สามารถสร้างและพัฒนาได้ด้วยเทคนิคต่างๆ” ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของนักวิชาการในหลายสาขาข้างต้นที่ออกมายืนยันแล้วว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญและไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างฉับพลันเหมือนกับปาฏิหาริย์
แม้หลายคนจะแย้งว่าความคิดสร้างสรรค์อาจจะไม่เกิดขึ้นเลยในสายอาชีพที่อิงอยู่กับทฤษฏีอย่างตายตัว อย่าง บัญชี วิศวกรรม หรืองานด้านกฎหมาย แต่หากพิจารณาให้ดีแล้วผู้ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติภายใต้กรอบวิชาชีพนั้นๆได้ ก็จะได้รับผลตอบแทนและการยกย่อง แม้บางครั้งจะหลังจากที่พวกเขาล่วงลับไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น กาลิเลโอ กาลิเลอี หรือแวนโก๊ะ เป็นต้น
ดังนั้นการที่ชาติหรือบุคคลจะสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้ จึงต้องมี “จิตแห่งการสร้างสรรค์” ประกอบรวมอยู่ในตัวของบุคคลนั้น ซึ่งความคิดสร้างสรรค์จะเป็นการช่วยขยายมุมมองใหม่ๆ ทางความคิด และแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างครอบคลุม และถูกต้อง
ซึ่งแนวคิดด้านการพัฒนาจิตใจทั้ง 5 ด้าน ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานแนวคิดในการขับเคลื่อนและการพัฒนาประเทศในยุคสังคมหลังฐานความรู้ กับแนวคิดของ Howard Gardner นั้น เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทาง “สำนักงาน ก.พ.” มุ่งหวังว่าจะเป็นแนวทางในการที่จะช่วยบ่มเพาะ และสร้างแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ให้กับบุคลากรภายในประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเสริม “จิตแห่งการสร้างสรรค์” ให้เกิดขึ้นกับบุคลากรภายชาติ ถือเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่ “สำนักงาน ก.พ.” ต้องการให้เกิดการปลูกฝังแนวคิดนี้ ให้กับทุนมนุษย์ของคนในชาติ ภายใต้ “โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะด้านการจัดการทุนมนุษย์” เพื่อยกระดับความสามารถของบุคลากร นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เกิดความยั่งยืน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น