ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism)
สารัตถนิยม (Essentialism) มาจากภาษาละตินว่า Essentia หมายถึง สาระ หรือ เนื้อหาที่เป็นหลัก เป็นแก่น เป็นสิ่งสำคัญปรัชญาสารัตถนิยม ในทางการศึกษา คือ ปรัชญาที่ยึดเนื้อหา (Subject Matter) เป็นหลักสำคัญของการศึกษา และเนื้อหาที่สำคัญนั้นก็ต้องเน้นเนื้อหาที่ได้มาจากมรดกทางวัฒนธรรม ที่ควรได้รับการถ่ายทอดต่อไป
สารัตถนิยม เป็นการหล่อหลอมความคิด ของจิตนิยม (Idealism) และ สัจนิยม (Realism) มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น สาระนิยม สารวาส ลัทธิจิตนิยม หรือ คตินิยม (Idealism)เชื่อว่า ความเป็นจริง (Reality) เป็นความนึกคิด (Mind) และเป็นจิตรภาพ (Idea) หรือ แบบ (From) ที่มีอยู่ในจินตนาการของเรา โลกแห่งความเป็นจริงอันสูงสุด (Ultimate reality) จึงเป็นโลกแห่งจินตนาการ (A world of mind) จากพื้นฐานความจริงนี้ จึงเชื่อต่อไปว่า การล่วงรู้ความจริงได้ต้องอาศัยจิต (Mind) อาศัยปัญญา(Intellect) เพื่อเข้าถึงความเป็นจริงที่มีอยู่ในจิตรภาพ(Idea) คือ เราใช้ปัญญาและความคิดในการรับรู้ความจริงเมื่อปัญญาล่วงรู้สิ่งที่เป็นจริงแล้วก็หมายถึงเรามี“ความรู้” Plato เป็นบิดาแห่งปรัชญาสาขาจิตนิยม ที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดและตรงกับปรัชญาจิตนิยมใหม่ ในทัศนะของ Kant ซึ่งเห็นว่า การรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. การรับรู้ (Percepts) คือ การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ มาโดยผัสสะ
2. การเข้าใจ หรือสัญชาน (Concept) คือ ความนึกคิดที่เกิดขึ้นในจิตของเรา ความเข้าใจนั้นต้องอาศัยการรับรู้ในการป้อนข้อมูลต่าง ๆจากผัสสะ
ลัทธิสัจนิยม หรือวัตถุนิยม (Realism)
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism)
สารัตถนิยม (Essentialism) มาจากภาษาละตินว่า Essentia หมายถึง สาระ หรือ เนื้อหาที่เป็นหลัก เป็นแก่น เป็นสิ่งสำคัญปรัชญาสารัตถนิยม ในทางการศึกษา คือ ปรัชญาที่ยึดเนื้อหา (Subject Matter) เป็นหลักสำคัญของการศึกษา และเนื้อหาที่สำคัญนั้นก็ต้องเน้นเนื้อหาที่ได้มาจากมรดกทางวัฒนธรรม ที่ควรได้รับการถ่ายทอดต่อไป
สารัตถนิยม เป็นการหล่อหลอมความคิด ของจิตนิยม (Idealism) และ สัจนิยม (Realism) มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น สาระนิยม สารวาส ลัทธิจิตนิยม หรือ คตินิยม (Idealism)เชื่อว่า ความเป็นจริง (Reality) เป็นความนึกคิด (Mind) และเป็นจิตรภาพ (Idea) หรือ แบบ (From) ที่มีอยู่ในจินตนาการของเรา โลกแห่งความเป็นจริงอันสูงสุด (Ultimate reality) จึงเป็นโลกแห่งจินตนาการ (A world of mind) จากพื้นฐานความจริงนี้ จึงเชื่อต่อไปว่า การล่วงรู้ความจริงได้ต้องอาศัยจิต (Mind) อาศัยปัญญา(Intellect) เพื่อเข้าถึงความเป็นจริงที่มีอยู่ในจิตรภาพ(Idea) คือ เราใช้ปัญญาและความคิดในการรับรู้ความจริงเมื่อปัญญาล่วงรู้สิ่งที่เป็นจริงแล้วก็หมายถึงเรามี“ความรู้” Plato เป็นบิดาแห่งปรัชญาสาขาจิตนิยม ที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดและตรงกับปรัชญาจิตนิยมใหม่ ในทัศนะของ Kant ซึ่งเห็นว่า การรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. การรับรู้ (Percepts) คือ การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ มาโดยผัสสะ
2. การเข้าใจ หรือสัญชาน (Concept) คือ ความนึกคิดที่เกิดขึ้นในจิตของเรา ความเข้าใจนั้นต้องอาศัยการรับรู้ในการป้อนข้อมูลต่าง ๆจากผัสสะ
ลัทธิสัจนิยม หรือวัตถุนิยม (Realism)
เชื่อว่าโลกแห่งความเป็นจริงคือโลกแห่งวัตถุ คือ สิ่งทั้งหลายที่เห็นตามธรรมชาตินั้นเป็นจริงในตัวของมันเองไม่ขึ้นอยู่กับจิต และโลกแห่งวัตถุนี้จะเป็นโลกที่เปิดเผยความจริงและความรู้ให้แก่เรา ด้วยเหตุนี้การค้นหาความรู้ของวัตถุนิยมจึงอาศัยการเฝ้าสังเกตอย่างมีระเบียบAristotle ศิษย์เอกของ Plato เป็นบิดาของ ลัทธิสัจนิยม
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม เกิดขึ้นจากปัญญาชนรวมตัวกันอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการสารัตถนิยมเพื่อความก้าวหน้าของการศึกษาอเมริกัน” ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ.1930 สารัตถนิยม มีพื้นฐานความคิดเป็นแบบอนุรักษ์นิยม (Conservativism) ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ J.R. White กล่าวคือ เป็นความพยายามศึกษา ทำความเข้าใจและรักษาระเบียบกฎเกณฑ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติมากกว่าที่จะคิดเปลี่ยนแปลง สารัตถนิยม คัดค้านความเชื่อของปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม ซึ่งเสนอแนะให้กำจัดการเรียนการสอนแบบเก่า ที่เน้นการท่องจำและอำนาจของครู ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย และเรียกร้องให้นักการศึกษา และประชาชนมาสนใจวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
นักการศึกษาคนสำคัญ
1. William C. Bagley (1874 – 1946)
2. Frederick S. Breed (1876 – 1952)
3. Herman H. Horne (1874 – 1946)
4. Isaac L. Kandel
5. Tomas Briggs
William C. Bagley และคณะกรรมการสารัตถนิยม เพื่อความก้าวหน้าของการศึกษาอเมริกัน ได้ร่วมกันเผยแพร่แนวคิดอย่างเข้มแข็งในเรื่อง หน้าที่ของการศึกษา คือ ปกป้องประชาธิปไตย ผดุงไว้ซึ่งเสรีภาพทางศาสนาทางการพูด การเขียน และการสมาคม โดยต้องผลิตพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีความรู้พื้นฐานที่ดีสารัตถนิยมได้รับความสนใจมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
หลักการสำคัญตามแนวคิดของปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม
ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม เกิดขึ้นจากปัญญาชนรวมตัวกันอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการสารัตถนิยมเพื่อความก้าวหน้าของการศึกษาอเมริกัน” ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ.1930 สารัตถนิยม มีพื้นฐานความคิดเป็นแบบอนุรักษ์นิยม (Conservativism) ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ J.R. White กล่าวคือ เป็นความพยายามศึกษา ทำความเข้าใจและรักษาระเบียบกฎเกณฑ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติมากกว่าที่จะคิดเปลี่ยนแปลง สารัตถนิยม คัดค้านความเชื่อของปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม ซึ่งเสนอแนะให้กำจัดการเรียนการสอนแบบเก่า ที่เน้นการท่องจำและอำนาจของครู ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย และเรียกร้องให้นักการศึกษา และประชาชนมาสนใจวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
นักการศึกษาคนสำคัญ
1. William C. Bagley (1874 – 1946)
2. Frederick S. Breed (1876 – 1952)
3. Herman H. Horne (1874 – 1946)
4. Isaac L. Kandel
5. Tomas Briggs
William C. Bagley และคณะกรรมการสารัตถนิยม เพื่อความก้าวหน้าของการศึกษาอเมริกัน ได้ร่วมกันเผยแพร่แนวคิดอย่างเข้มแข็งในเรื่อง หน้าที่ของการศึกษา คือ ปกป้องประชาธิปไตย ผดุงไว้ซึ่งเสรีภาพทางศาสนาทางการพูด การเขียน และการสมาคม โดยต้องผลิตพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีความรู้พื้นฐานที่ดีสารัตถนิยมได้รับความสนใจมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
หลักการสำคัญตามแนวคิดของปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม
- การเรียนรู้ เกิดขึ้นได้จากการทำงานหนักและนำไปประยุกต์ใช้ได้ ความมีระเบียบวินัย เคร่งครัดเป็นสิ่งสำคัญ ปลูกฝั่งให้เด็กเกิดความมานะ พยายาม ต้องอุทิศตนเพื่อจุดหมายปลายทางในอนาคต
- การริเริ่มทางการศึกษา ควรเริ่มต้นที่ครู ครูเป็นผู้นำในการเรียน และสร้างพัฒนาการให้กับเด็ก ทำหน้าที่เชื่อมโยงโลกของผู้ใหญ่กับโลกของเด็กเข้าด้วยกัน
- หัวใจสำคัญของการศึกษา คือ การเรียนรู้เนื้อหาวิชามาเชื่อมโยงกัน การศึกษาช่วยให้เอกัตบุคคลตระหนักในศักยภาพของตน ความรู้และประสบการณ์ที่เป็นมรดกตกทอดเป็นสิ่งที่ดีงามและถูกต้อง เน้นความสำคัญของ “ประสบการณ์ของเชื้อชาติ”
- โรงเรียนควรรักษาวิธีการดั้งเดิมที่ใช้ระเบียบวินัยและการอบรมจิตใจเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การสอนเด็กให้เกิดการเรียนรู้ ควรสอนให้เข้าใจในสาระสำคัญ แม้ว่าจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก
แนวคิดทางการศึกษาของสารัตถนิยม
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา
- ให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหา สาระ (Essential subject – matter) อันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม โดยการรักษาและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง
- ให้การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในเรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของสังคมในอดีต
- ธำรงรักษาสิ่งที่ดีงามต่าง ๆ ในอดีตเอาไว้
- มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย มีปัญญา และรักษาอุดมคติอันดีงามของสังคมไว้
หลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหา (Subject – matter Oriented) เป็นหลักสำคัญ โดยยึดประสบการณ์ของเชื้อชาติ หรือมรดกทางวัฒนธรรมเป็นหลัก ได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระบบต่อเนื่องตามขั้นตอนความยากง่าย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน วิชาพื้นฐาน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ตรรกวิทยา ศิลปะ ดนตรี ภาษาและวรรณคดี โดยมีการผสมผสานกันเพื่อช่วยเพิ่มทักษะในการอ่าน การเขียน การคิดและจินตนาการให้ตัวผู้เรียน
หลักสูตรจะต้องสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
กระบวนการเรียนการสอน
เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหา (Subject – matter Oriented) เป็นหลักสำคัญ โดยยึดประสบการณ์ของเชื้อชาติ หรือมรดกทางวัฒนธรรมเป็นหลัก ได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระบบต่อเนื่องตามขั้นตอนความยากง่าย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน วิชาพื้นฐาน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ตรรกวิทยา ศิลปะ ดนตรี ภาษาและวรรณคดี โดยมีการผสมผสานกันเพื่อช่วยเพิ่มทักษะในการอ่าน การเขียน การคิดและจินตนาการให้ตัวผู้เรียน
หลักสูตรจะต้องสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
กระบวนการเรียนการสอน
- การเรียนการสอนจะเน้นการบรรยายเป็นหลัก โดยมีศิลปะของการถ่ายทอดความรู้เป็นสำคัญ
- มีหลักการอบรมจิตใจ และถ่ายทอดค่านิยมเพื่อสร้างนิสัยที่ดีงามให้เกิดแก่ผู้เรียน
- กระบวนการเรียนการสอนจะมี “ครู” เป็นผู้มีบทบาทสำคัญเป็นศูนย์กลาง
- การเรียนการสอนคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ และจุดหมายของผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ผู้สอน
- ผู้สอนหรือครู ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ดี มีความประพฤติดี มีศีลธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นศูนย์กลางของห้องเรียน
- ผู้สอนควรต้องเป็นผู้มีทักษะ เทคนิควิธี ที่จะโน้มน้าวให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการเรียนรู้
- ผู้สอนต้องเสริมสร้างความสนใจและเป้าหมายในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
- ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในอันที่จะกำหนด หรือตัดสินใจในกิจกรรมทางการเรียนรู้
ผู้เรียน
- ผู้เรียนเป็นผู้รับ ผู้ฟัง และทำความเข้าใจในเนื้อหาต่าง ๆ ที่ครูกำหนด
- ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ เป็นผู้สืบทอดค่านิยม และมรดกทางวัฒนธรรมไว้และถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังต่อไป
- ผู้เรียนต้องเป็นผู้ที่มีความพยายาม อดทน และเป็นผู้มีระเบียบวินัย
โรงเรียน
- มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสงวน รักษา และประเมินคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม
- ทำหน้าที่ฝึกฝน อบรมทางปัญญาให้แก่เยาวชน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เข้าใจเรื่องราวหรือมรดกทางสังคม
- เป็นสถาบันเพื่อความมั่นคง ความเป็นระเบียบของสังคมแต่ไม่เป็นผู้นำของสังคม
- ช่วยสงวนรักษาความดีงาม คุณค่า และวัฒนธรรมของสังคมให้ประณีต สมบูรณ์ขึ้นและถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่รับช่วงต่อไป
- ให้ผู้เรียนรู้กฎเกณฑ์ ระเบียบ ประเพณีและวัฒนธรรมของสังคม
ผู้บริหาร
- มีลักษณะแบบรวมอำนาจ คือ ผู้บริหารตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว
- มีลักษณะยึดกฎระเบียบ ยึดกฎหมายเป็นสำคัญ
- มีลักษณะยึดแบบอย่าง ยึดมาตรฐาน ยึดระเบียบวินัย
- มีการบริหารจัดการเรื่องการเรียนรู้ไปในทางเดียวกัน คือระบบบริหารเป็นแบบสั่งงาน (Bureaucratic Model)
การวัดผลประเมินผล
- เชื่อว่าความรู้ที่แท้จริงอยู่ภายนอกตัวผู้เรียน สามารถรับรู้ด้วยจิต
- การได้มาซึ่งความรู้นั้นเป็นการรับมาโดยกระบวนการถ่ายทอด จดจำ
- ใช้วิธีการทดสอบความจำในเนื้อหาวิชาที่ได้เรียนมา
- ประเมินผู้เรียนทางด้านทฤษฎี(วิชาการ)เป็นสำคัญ
สรุปแนวคิดปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม
- มุ่งเพื่ออนุรักษ์ และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยให้แก่คนรุ่นหลัง
- หลักสูตรประกอบด้วยเนื้อหาสาระ การฝึกฝนทักษะ ค่านิยม ความเชื่อ และความรู้พื้นฐานของสังคม
- ผู้สอนเป็นผู้กำหนดตัดสิน คัดเลือกสิ่งที่เห็นว่าผู้เรียนควรจะเรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้รับ ผู้ฟัง ฝึกฝนตนเองให้เกิดความเข้าใจ และเชี่ยวชาญในสิ่งที่เรียน
- การเรียนการสอนใช้วิธีการเรียนรู้จากครูและตำรา
- เน้นการบรรยาย ซักถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหามากกว่าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism)คำว่า “นิรันตร” หรือ Perennial หมายถึง สิ่งที่คงที่ ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดรปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม เชื่อว่าการศึกษาควรจะได้สอนสิ่งซึ่งเป็นนิรันดรไม่เปลี่ยนแปลง มีคุณค่าไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด ได้แก่ คุณค่าของเหตุผลและคุณค่าของศาสนา อันเป็นหลักสำคัญของปรัชญานิรันตรนิยม
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม แบ่งแนวการศึกษาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ- ลักษณะของปรัชญาทั่วไปที่เน้นหนักในเรื่องของเหตุผล สติปัญญา ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยตรง
- ลักษณะของปรัชญาทั่วไปที่เกี่ยวพันกับศาสนาโดยตรง เป็นแนวคิดของกลุ่มศาสนานิกาย คาธอลิค ที่สัมพันธ์เรื่องศาสนาเข้ากับเหตุผล
ความเป็นมา
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาพื้นฐานกลุ่มวัตถุนิยมเชิงเหตุผล (Rational Realism) หรือบางที่เรียกกันว่าเป็นพวกโทมัสนิยมใหม่ (Neo – Thomism)
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม มีจุดมุ่งหมายให้การศึกษาเป็นพาหะนำมนุษย์ไปสู่อดีตที่มีระเบียบ มีความมั่นคง มีจริยธรรม และความยุติธรรม ซึ้งเป็นปรัชญาที่มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ แต่เพิ่งได้รับการรื้อฟื้นจัดระบบใหม่เมื่อประมาณ 40 -50 ปี นิรันตรนิยมมีจุดมุ่งหมายให้การศึกษาเป็นพาหะนำมนุษย์ไปสู่อดีตนั้น เพราะเชื่อมั่นว่าแก่นของความคิดและวัฒนธรรมของสมัยโบราณและสมัยกลางของยุโรป เป็นสิ่งที่ดีงามไม่เสื่อมคลายและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในปัจจุบันและทุกประเทศ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รากฐานมาจากสมัยกรีกโบราณ แนวคิดมาจากนักปรัชญา 2 คนคือ Plato และ Aristitle
เพลโต กล่าวว่าโลกที่เราอยู่นี้ไม่ใช่โลกที่แท้จริง ดังนั้นความรู้ที่ได้จากโลกนี้จึงเป็นความรู้ที่เป็นจริงสูงสุดไม่ได้ ความรู้อยู่ที่จิตมนุษย์ในการเข้าใจความจริงสูงสุดได้ ความจริงสูงสุด คือ มโนมติ (Ideas) อริสโตเติล เห็นว่าทุกสิ่งอย่างในโลกมี 2 ส่วน คือ รูปและสาระและมีความเป็นนิรันดร์ ทั้งเพลโตและอริสโตเติล เห็นตรงกันว่าจิตหรือปัญญาของมนุษย์เข้าถึงความจริงแท้สูงสุดได้ และความรู้ได้มาจากเหตุผลมากกว่าจากประสาทสัมผัส
รากฐานจากยุโรปสมัยกลางศตวรรษที่ 13 ผู้นำศาสนาสอนให้คนเชื่อตามคัมภีร์ ไบเบิลและให้ปฏิเสธความรู้จากประสบการณ์ นักปรัชญาอีกกลุ่ม เชื่อว่าความรู้มาจากประสบการณ์และการสังเกตและการทดลอง ไม่ใช่มาจากจิตของพระผู้เป็นเจ้า
แนวคิดจากปรัชญาถดถอยนิยม มี 2 กลุ่มแนวคิด คือ- กลุ่มนักเหตุผลนิยม (Rationalists) ซึ่งยึดมั่นในปรัชญา เพลโตและอริสโตเติล คือมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีปัญญา ผู้นำกลุ่มนี้ คือ Robert M. Hutchins Mortimer Adler และ Sir Richard Livingstone
- กลุ่มนักโทมัสนิยม ที่นิยมปรัชญาของ เซนต์โทมัส อาควินัส และนำมาปรับปรุงให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน ผู้นำส่วนใหญ่เป็นชาวคาธอลิก เช่น จ้าคส์ มาริตัง (Jagues Maritain) เอเตียน กิลซอง (Etienne Gilson) และคุณพ่อวิลเลี่ยม เอฟ คันนิงแฮม (William F. Cunningham)
นักการศึกษาคนสำคัญ
1. Robert M. Hutchins เป็นผู้นำกลุ่มนิรันตรนิยม
2. Mortemer J. Adler
3. String Fellow Barr
4. Mark Van Doran
5. Scott Buchanan
6. Sir Richard Livinfstone
หลักการสำคัญตามแนวคิดของปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม- แม้ว่าสภาพแวดล้อมจะแตกต่างต่างกันออกไป แต่ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมจะเหมือนกันในทุกแห่งหน ดังนั้น การจัดการศึกษาให้แก่มนุษย์ควรจะเป็นแบบเดียวกันหมดทุกคน
- ความมีเหตุผลเป็นคุณลักษณะอันสูงสุดของมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องใช้ความมีเหตุผลเป็นเครื่องควบคุมสัญชาตญาณตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นอำนาจฝ่ายต่ำของตน เพื่อจะได้บรรลุจุดหมายของชีวิตที่ได้เลือกสรรแล้ว
- หน้าที่ของการศึกษา คือ การแสวงหาความรู้ในเรื่องของความเป็นจริงอันเป็นนิรันดร
- การศึกษามิใช่เป็นการเลียนแบบอย่างชีวิต แต่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต
- นักเรียนควรจะได้เรียนวิชาพื้นฐานบางวิชา เพื่อให้เข้าใจและคุ้นเคยกับสิ่งที่คงทน ถาวรของโลก
- นักเรียนควรจะได้ศึกษางานนิพนธ์ที่สำคัญ ๆ ทางวรรณคดี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผลงานที่บรรดาปรัชญาและผู้ทรงความรู้ทั้งหลายในยุคที่ผ่านมาได้ถ่ายทอดความรู้ ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่เอาไว้
แนวคิดทางการศึกษาของปรัชญานิรันตรนิยม
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา- จุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ คือ เพื่อปลดปล่อยมนุษย์จากความไม่รู้
- ช่วยพัฒนาพลังทางเหตุผล(ปัญญา) ศีลธรรม และจิตใจ คือ ต้องให้ความรู้กว้างพอในการนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นความรู้ที่เป็นความเข้าใจแนวคิดรวบยอดและทฤษฎี
การคิดเชิงทฤษฎี และการคิดเชิงการผลิต การคิดเชิงทฤษฎี เป็นการฝึกใช้เหตุผลขั้นสูง เพื่อให้ได้ความรู้ที่แท้จริง การคิดเชิงการผลิต เป็นการคิดที่ช่วยนำการกระทำ (การรู้เพื่อทำ)
หลักสูตร- มุ่งให้ความรู้ที่เป็นนิรันดร์แก่ผู้เรียน และช่วยให้นำความรู้อื่นมาเชื่อมโยงประสานเป็นภาพรวม และนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกสถานการณ์
- เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้รู้จักกับผลงานอันล้ำค่าของนักปรัชญา เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดี ซึ่งผู้เรียนต้องใช้ปัญญาระดับสูงในการคิดและวิเคราะห์
- วิชาชีพต่าง ๆ ไม่นำมารวมไว้ในหลักสูตร เพราะเป็นวิชาที่สอนเทคนิค การกระทำ เป็นการเน้นทักษะมากกว่าทฤษฎี
กระบวนการเรียนการสอน- ผู้สอนต้องมีความเป็นเลิศ ต้องมีความรอบรู้ ใฝ่รู้
- ผู้สอนต้องเน้นความเป็นเลิศในการสอน ต้องบังคับให้เรียนอย่างหนัก
- ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนได้เรียนไปตามความสามารถทางสติปัญญาและเอกัตภาพมนุษย์ มีองค์ประกอบเป็นสาระเหมือนกัน แต่ปริมาณไม่เท่ากัน
ผู้สอน- เป็นผู้มีความรู้ และจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน
- เป็นผู้สร้างบรรยากาศในการเรียน
- เป็นผู้เสนอความรู้ ข้อคิด เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และพัฒนาความคิดและสติปัญญาของผู้เรียน
- เป็นผู้มีความคิดกว้างไกล มีความสามารถในการอภิปราย ให้เหตุผล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- เป็นผู้มีบทบาทและอำนาจสำคัญ
ผู้เรียน- เป็นผู้มีสติปัญญา มีศักยภาพอยู่ในตัวเอง
- การเรียนรู้หรือสติปัญญาจะเกิดได้จากการฝึกฝน
- ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนอย่างมากเท่า ๆ กัน หรือมากกว่าครู และเป็นลักษณะอภิปรายแลกเปลี่ยนกับครูภายใต้การแนะนำของครู
- ผู้เรียนมีความสนใจใคร่เรียนรู้
ผู้บริหาร- จะยึดหลักของเหตุผล ตามกฎเกณฑ์หรือระเบียบ
- ให้การบริการภายใต้บรรยากาศของความเป็นอิสระในสถาบันการศึกษา
- มีเสรีภาพทางวิชาการ เอื้อต่อการอภิปราย
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้เหตุผลหรือรับฟังเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลเพียงพอ
- ใช้เหตุผลในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง และให้โอกาสที่จะเสนอความเห็น ตัดสินใจในการดำเนินงานของสถาบัน
- มีการบริหารในรูปแบบของคณะกรรมการ แต่การทำงานของคณะกรรมการเป็นการทำงานเพื่อให้ได้เหตุผลที่ดีและเหมาะสมยิ่ง จะไม่ใช่ลักษณะเสียงข้างมาก แต่จะใช้เหตุผลปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมเป็นปรัชญาที่ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ยิ่ง เพราะเชื่อว่ามนุษย์มิใช่วัตถุแต่มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึก มีความต้องการ องค์ประกอบที่สำคัญของลัทธินี้ก็ คือ “ความมีเสรีภาพ ความรู้สึกรับผิดชอบและการเลือกตัดสินใจ”
ความเป็นมา
สาเหตุที่เกิดปรัชญาลัทธินี้ขึ้นมาก็เนื่องจากความรู้สึกสูญเสียตัวเองไปจากระบบสังคมปัจจุบัน การศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายความเป็นมนุษย์ด้วยการสร้างกรอบของสังคมที่จำกัดเสรีภาพของมนุษย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในแต่ละวันเราต้องทำหน้าที่ไปตามกรอบของสังคมที่ วางไว้จนไม่ค่อยจะมี เสรีภาพเป็นของตัวเองเลย
ฟรีด์ริค นิตเซ่ (Friedrich Nietzsche 1844-1900)
นักปรัชญาชาวเยอรมัน ผู้มีอิทธิพลต่อความคิดของนักอัตถิภาวนิยมมากผู้หนึ่ง จึงได้เสนอให้มนุษย์ออกมาจากกรอบของสังคมอย่างทรนง เขาเห็นว่าการเดินตามประเพณีเป็นวิธีการเลี่ยงความรับผิดชอบของคนขี้ขลาดและอ่อนแอนิตเช่ ได้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 พวก คือ- พวกยึดถือธรรมะแบบนาย (Master Morality) คือ พวกที่เข้มแข็งมั่นใจตนเอง เป็นตัวของตัวเองทั้งในด้านของความคิดและการปฏิบัติ พวกนี้จะยึดถืออุดมการณ์ และปฏิบัติการภายหลังได้คิดตรึกตรอง แล้วจะไม่ยอมเชื่อใครง่าย ๆ หากไร้เหตุผล
- พวกยึดถือธรรมะแบบทาส (Slave Morality) คือ พวกที่ไม่กล้าเป็นตัวของตัวเองเพราะไม่มั่นใจในการตัดสินใจของตัวเอง จึงมอบตัวเองให้กับหลักการที่คาดว่าจะช่วยคุ้มครองหรือให้ความปลอดภัยแก่ตนได้ พวกนี้จะอ้างหลักการอันเป็นที่ยอมรับของสังคมเพื่อความสบายใจ
นิตเช่ ได้พยายามชักจูงใจให้มนุษย์เดินทางไปสู่การยึดถือธรรมะแบบนาย บุคคลที่มีบทบาทหลายท่านในการเผยแพร่แนวคิดทางลัทธิปรัชญาอัตถิภาวนิยม คือ
โซเรน เคอกกิการ์ด (Soren Kierkegaard 1813-1855) ซึ่งมีความเห็นในทำนองเดียวกัน และมีความคิดต่อต้านกับศาสนาคริสต์และปรัชญาของเฮเกล เคอกกิการ์ด ที่พยายามสร้างชีวิตใหม่ให้แก่คำสอนของคริสต์
ผู้นำปรัชญาอัตถิภาวนิยมในยุคของเรา คือ
1. มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger)
2. ยังปอล ชาร์ตร์ (Jean-Paul Sartre)
3. คาร์ล จัสเปอร์ (Karl Jusper)
4. เมอริช เมอเล ปองเต (Maurice Merlear-Ponty)
5. กาเบรียล มาร์เชล (Gabriel Marchel)
6. ปอล ทิลลิช (Paul Tillich)
7. มาร์ติน บูเบอร์ (Martin Buber)
ในด้านการศึกษา ได้มีผู้ประยุกต์แนวคิดนี้ไปใช้กับ การศึกษาโดยนำไปทดลองปฏิบัติในโรงเรียนต่างๆ เช่นโรงเรียนสาธิต โรงเรียน Summer Hill ในอังกฤษของ A.S. Neill
ความหมายของปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม
อัตถิภาวนิยม มาจากภาษามคธ อัต = ความเป็นอยู่ + ภาวะ = สภาพความมีอยู่ (Existense) ซึ่งนักปรัชญาไทยแปลว่า ภาววาท หรืออัตตนิยม ซึ่งหมายถึง เรื่องที่กล่าว ความมีอยู่ของตนเอง ของมนุษย์ทั้งสิ้นอัตถิภาวนิยม มาจากภาษามคธ อัต = ความเป็นอยู่ + ภาวะ = สภาพความมีอยู่ (Existense) ซึ่งนักปรัชญาไทยแปลว่า ภาววาท หรืออัตตนิยม ซึ่งหมายถึง เรื่องที่กล่าว ความมีอยู่ของตนเอง ของมนุษย์ทั้งสิ้น และเมื่อเลือกกระทำหรือตัดสินใจแล้วก็ต้องรับผิดชอบในการเลือกกระทำหรือตัดสินใจนั้น ๆ ด้วย ดังนั้นจึงอาจจะกล่าวได้ว่า ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมนี้ “เป็นแนวทางที่นำไปสู่การหลุดพ้นจากกรอบแห่งวัฒนธรรมของสังคม”
แนวคิดพื้นฐาน
นักปรัชญาอัตถิภาวนิยมที่มีคนรู้จักกันมากและมีอิทธิพลมากที่สุด คือ ฌอง ปอล ชาร์ต (Jean Paul Sartre) ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเขาให้ความเห็นเกี่ยวกับลัทธินี้ไว้พอสรุปได้ดังนี้- มนุษย์ คือ เสรีภาพ สภาพความเป็นมนุษย์และเสรีภาพเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ กฎเกณฑ์ หรือข้อห้ามต่างๆใน สังคมโดยตัวของมันเองไม่มีอำนาจอะไรที่มากีดกันเสรีภาพของมนุษย์ มนุษย์มีสิทธิที่จะเลือกรับหรือปฏิเสธก็ได้
- มนุษย์เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ชีวิตของแต่ละคนจึงไม่มีพระเจ้า หรือพระพรหมเป็นผู้กำหนด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชีวิตจะมีความหมายเช่นไร อยู่ที่การตัดสินใจหรือการตั้งกฎเกณฑ์ของมนุษย์เอง
- ไม่มีสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นภายในตัวหรือนอกตัวมนุษย์ ที่จะปั้นมนุษย์ได้ เช่น ความดี ชั่ว ถ้าหากขาดการยินยอมของมนุษย์สิ่งดังกล่าวนั้น ได้แก่ อารมณ์ สัญชาตญาณ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
- เชื่อว่าทุกคนมีอดีต อดีตเปลี่ยนแปลงไม่ได้ มนุษย์ไม่เป็นทาสของอดีต ปัจจุบันเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด ดังนั้นมนุษย์จึงไม่ควรทำลายชีวิตปัจจุบัน เพื่ออดีต เพราะถือว่ามนุษย์เป็นผู้เลือกอดีต
- มนุษย์จะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยบางครั้งความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงทำให้คนไม่ต้องการเสรีภาพ
- ความเชื่อพื้นฐานของลัทธิปรัชญาอัตถิภาวนิยมนี้ให้ความสำคัญกับเสรีภาพของมนุษย์โดยถือว่ามนุษย์เป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะเลือกตัดสินใจ พร้อมกันนั้นก็ต้องรับผิดชอบในเสรีภาพที่เลือก จึงจะถือว่าเป็นบุคคลที่มีค่าเนื่องจากสิ่งที่ผ่านมาแล้ว คือ อดีตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นสิ่งที่เลือกในปัจจุบันย่อมไม่มีค่าในอนาคต
ความหมายของการศึกษา
การศึกษาคือการส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนรู้จักพิจารณา ตัดสินใจตามสภาพและเจตจำนงที่มีความหมายต่อการดำรงชีวิตของตนเองอย่างแท้จริงโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกสรรคุณธรรมค่านิยมได้อย่างเสรี พร้อมกันนั้นก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองด้วย หรืออาจกล่าวอย่างสรุปได้ว่าการศึกษาคือกระบวนการที่ส่งเสริมให้มนุษย์เป็นมนุษย์ นั่นคือมีอิสระที่จะเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนเอง ด้วยตนเองและรับผิดชอบต่อการตัดสินใจเลือกนั้น
โรงเรียนหมู่บ้านเด็กตามแนวคิด ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม
การจัดการศึกษาในโรงเรียนหมู่บ้านเด็กมีความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีเสรีภาพอย่างเต็มที่โดยไม่ก้าวก่ายเสรีภาพของผู้อื่นมุ่งให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองในการกำหนดความเป็นอยู่ของตนเองให้ได้มากที่สุด มุ่งให้ผู้เรียนเติบโตด้วยความสุข เรียนรู้ชีวิตและสังคมอย่างมีความสุข มุ่งให้เด็กรู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่
การจัดการสิ่งแวดล้อมจึงมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กจะเรียนรู้และดูดซับประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจากสิ่งแวดล้อม มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น
ผู้สอน- ครูจะต้องให้เสรีภาพแก่นักเรียนอย่างเต็มที่ ครูเป็นเสมือนพ่อแม่มากกว่าเป็นครูผู้มีอำนาจ เป็นผู้ให้ความรัก ความอบอุ่น เลี้ยงดู และปฏิบัติต่อเด็กเสมือนเป็นลูกของตนเอง คอยให้คำปรึกษาหารือ แก้ปัญหาส่วนตัวตามความต้องการของเด็กอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องทั้งในภาวะปกติและเจ็บป่วย
- ครูจะต้องเอาใจใส่จัดการเรียนการสอนให้เกิดความสนุกสนาน และคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน ทั้งด้านสติปัญญา และอารมณ์ ครูจะต้องช่วยสร้างความพร้อมด้านอารมณ์ ความรู้สึกของเด็กให้เกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ หรือเกิดความสนใจและต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง และครูต้องพัฒนาการสอนของตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
- ครูต้องเป็นผู้เข้าใจเด็ก รู้จิตรู้ใจเด็ก และรู้ปัญหาของเด็กแต่ละคนอย่างแท้จริงเพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจปัญหาและรักษาตนเอง โดยครูจะต้องมีพรสวรรค์พอที่จะรู้ว่าควรอยู่ห่างหรือใกล้ชิดในระยะเวลาที่เหมาะสม และใจกว้างพอที่จะให้เด็กมีเสรีภาพเสมอภาคกับตนได้
- ครูของโรงเรียนหมู่บ้านเด็กจะต้องมีแนวคิด ความเชื่อในหลักการและความมุ่งหมายของโรงเรียนเป็นอย่างดี และต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเพียงพอ เพราะลักษณะการทำงานจะต้องร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และยอมรับกันและกันอย่างแท้จริง ครูจะต้องทำงานให้เด็กมีความสุข ดังนั้นครูจึงต้องมีความสุขในการทำงาน
- ครูต้องไม่เผด็จการ หรือบังคับให้เด็กทำในสิ่งที่ไม่อยากทำจนกว่าเด็กจะอยากกระทำเองโดยไม่มีการบังคับ
ผู้เรียน- เด็กทุกคนใช้เสรีภาพได้อย่างเต็มที่โดยไม่ละเมิดสิทธิส่วนตัวของผู้อื่นและส่วนรวม ทุกคนมีเสรีภาพอย่างเต็มที่และทัดเทียมกัน มีการปกครองตนเองในรูปแบบของการประชุมสภาโรงเรียน เด็กได้เรียนรู้ชีวิตจากการดำรงชีวิต ไม่ใช่วิชาเกี่ยวกับชีวิตการปกครองตนเองแบบประชาธิปไตย
- เด็กทุกคนมีเสรีภาพที่จะเรียนหรือไม่เรียนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมหรือความต้องการของเด็กเอง ไม่มีการบังคับ เด็กที่ยังไม่เข้าห้องเรียนจะเลือกเล่นหรือทำกิจกรรมที่เขาสนใจก็ได้ตามความสมัครใจ
- เด็กมีโอกาสที่จะเลือกเรียน หรือจะทำกิจกรรมอื่นตามความสนใจ หรือจะเลือกอยู่กับครูที่ตนเองมีความพอใจเป็นพิเศษได้ตามความต้องการ
หลักสูตร- เน้นทั้งด้านวิชาการควบคู่กับวิชาชีพ เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง คือ เมื่อจบการศึกษาแล้วต้องประกอบอาชีพได้ โดยเฉพาะเกษตรกรรมหรือเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นได้เช่นกัน
- ภาคเช้าเรียนวิชากลุ่มทักษะ และ สปช. ภาคบ่ายเรียนวิชาชีพ หรือกิจกรรมอื่นๆโดยให้โอกาสผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ส่วนวิชาชีพเลือกเรียนได้ไม่เกิน 3 วิชาในแต่ละภาคเรียน
- เนื้อหาวิชาภาษาไทยฝึกให้นักเรียนฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะการเขียนและจับประเด็นอภิปรายในเรื่องต่างๆ
- จัดให้มีกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ ไว้ให้นักเรียนเลือกตามความสนใจ เช่น กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ ได้แก่ วิชางานประดิษฐ์ งานเกษตร งานบ้าน งานช่าง เป็นต้น และกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ได้แก่ ศิลปศึกษา พลศึกษา ดนตรี การแสดงละคร เป็นต้น
การประเมินผล
จากความเชื่อที่ว่าเด็กมีความแตกต่างกันในด้านการเรียนรู้ ฉะนั้น การวัดผลประเมินผลก็เพื่อ- สำรวจพัฒนาการของเด็กแต่ละคนว่าสามารถเรียนรู้ในเรื่องใดผ่านบ้างและควรเน้นหรือทบทวนเรื่องใดเป็นพิเศษบ้าง
- เพื่อหาข้อบกพร่องของครูผู้สอน เพื่อจะได้ปรับปรุงการจัดการสอนให้เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กให้มากที่สุด มิใช่วัดผลประเมินผลเพื่อหาข้อบกพร่องของเด็กฝ่ายเดียว
- เพื่อเปลี่ยนกลุ่มหรือเลื่อนกลุ่มการเรียนของเด็ก ซึ่งมีอยู่ตลอดปีเป็นการเลื่อนกลุ่มสำหรับเด็กที่มีความสามารถที่จะเรียนในกลุ่มที่ระดับสูงขึ้น
- การวัดผลนั้น ครูจะต้องทำให้เด็กเกิดการยอมรับในความสามารถของตนเองและของผู้อื่น เพราะโดยธรรมชาติแล้วเด็กจะมีความถนัด หรือความสามารถที่แตกต่างกัน การที่จะให้ทุกคนได้ดีในสิ่งเดียวกันจึงเป็นเรื่องที่ขัดกับความเป็นจริง และเป็นการสร้างปมให้เกิดขึ้นกับเด็ก ดังนั้น การเรียนจะต้องไม่เป็นลักษณะการแข่งขันว่าใครเก่งใครอ่อน แต่ควรให้เด็กแข่งขันกับตัวเอง
- ครูต้องหาความเด่นหรือความสามารถของเด็กแต่ละคน และทำให้คนอื่นเห็นและเปิดโอกาสให้เด็กเหล่านั้นแนะนำช่วยเหลือกันเองในเรื่องที่แต่ละคนทำไม่ได้
- ความสำเร็จของเด็กในโรงเรียนหมู่บ้านเด็กที่มีผู้กล่าวถึง คือ ความกล้าทำ กล้าสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก และรับผิดชอบต่อตนเองได้ดี ช่วยเหลือตนเองในสิ่งที่ทำได้และกล้ายอมรับความผิดที่ตนได้กระทำโดยไม่ปิดบัง เป็นต้นปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม
ปฏิรูป หรือ Reconstruct หมายถึง การบูรณะหรือการสร้างขึ้นใหม่ ปฏิรูปนิยมจึงมุ่งการปฏิรูปสังคม ขึ้นมาใหม่ เพราะถือว่าสังคมในปัจจุบันมีปัญหา ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และศิลปวัฒนธรรมเป็นเหตุต้องแก้ปัญหาอยู่เรื่อย ๆ จึงต้องหาทางสร้างค่านิยมและแบบแผนของสังคมขึ้นใหม่
ความเป็นมา
ผู้นำของปฏิรูปนิยมเริ่มจาก จอห์น ดุย (John Dewey)ตั้งแต่ ค.ศ.1920 เสนอแนวคิดเพื่อปฏิรูปสังคม แต่มิได้มีบทบาทมากนัก เพิ่งได้รับความนิยมในปี ค.ศ.1930ขณะที่สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาด้านภาวะเศรษฐกิจการเมือง และสังคมตกต่ำอย่างมาก ปัญหาคนว่างงานเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม จึงได้เกิดกลุ่มนักคิดแนวหน้า นำโดย จอห์น เอส เค้าทส์, ฮาโรลด์ รักก์ หาทางแก้ปัญหา โดยใช้ การศึกษาเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เลิกล้มระบบเก่าให้หมด หันไปมุ่งสร้างระบบสังคมขึ้นมาใหม่แบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น ค.ศ.1950 ที โอดอร์ บราเมลด์ เป็นผู้ทำให้ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เสนอปรัชญาการศึกษาเพื่อปฏิรูปสังคมในหนังสือหลายเล่ม ทำให้บราเมลด์ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม
แนวคิดพื้นฐาน
ปฏิรูปนิยมมีพื้นฐานมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม ผสมผสานกับปรัชญาพิพัฒนาการ แนวคิดที่ ผสมผสานทำให้ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมเน้นการศึกษาเพื่อสังคมเป็นสำคัญ คือผู้เรียนไม่ได้มุ่งพัฒนาตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อนำความรู้พัฒนาสังคมให้ดีขึ้น ได้ชื่อว่า “แนวทางแห่งการปฏิรูปเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมา”
ความหมายของการศึกษา
ปฏิรูปนิยม เชื่อว่า การศึกษาคือการจัดประสบการณ์ ที่ส่งเสริมให้นำความรู้ มาช่วยแก้ปัญหาสังคมและสร้างสรรค์สังคมใหม่ เชื่อว่า การศึกษามีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออก
ธรรมชาติของมนุษย์
ธรรมชาติของมนุษย์ในปฏิรูปนิยมคือ มีความสามารถที่จะสร้างจุดมุ่งหมายให้กับชีวิตอย่างชาญฉลาด สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมของ ตนเองดีขึ้น เป็นผู้กำหนดอนาคตตนเอง
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา- มุ่งให้การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาสังคม
- มุ่งให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม เพื่อฝึกการทำงานร่วมกัน
- มุ่งให้ผู้เรียนค้นหาวิธีการแก้ปัญหา เตรียมตัวเพื่ออนาคต
กระบวนการเรียนการสอน
เน้นให้ผู้เรียนสำรวจความสนใจความต้องการของตนเอง สนองความสนใจด้วยการค้นคว้า การอภิปรายและแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสังคมวิธีการเรียนการสอนเป็นวิธีการแก้ปัญหาของสังคมโดยตรงอาศัยวิธีแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการแบบโครงการ วิธีการของปรัชญา และวิธีการทางประวัติศาสตร์
สถาบันการศึกษา
สถาบันการศึกษาต้องสนใจในเรื่องอนาคต นำทางให้ผู้เรียนพบสังคมใหม่ให้ผู้เรียนพร้อมที่จะวางแผนให้กับสังคมใหม่ และทำงาน ร่วมกับสมาชิกอื่น ๆ ในสังคมเพื่อจุดหมายร่วมกันสร้างบรรยากาศแห่งประชาธิปไตย รับฟังความคิดเห็น คนส่วนใหญ่ และนำไปปฏิบัติสถาบันมีหน้าที่ผลิตเด็กให้สามารถช่วยแก้ปัญหาและสร้างสังคมใหม่ที่มีความเท่าเทียม ความยุติธรรมในสังคม
ผู้บริหาร
ต้องมีความคิดกว้างไกล เป็นนักปฏิรูป ชอบการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และลงมือปฏิบัติเนินงานในฐานะผู้นำสร้างระเบียบสังคมใหม่ที่ดีให้เกิดขึ้น เพื่อความเหมาะสมกับค่านิยมและวัฒนธรรม ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป
ผู้สอน ครูต้องเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตยและนำไปสอนแก่ผู้เรียนต้องเป็นผู้บุกเบิก นักแก้ปัญหา สนใจเรื่องสังคมและปัญหาสังคมอย่างกว้างขวางเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น และคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ในการพัฒนาสังคม ช่วยแก้ไขปัญหาสังคม
ผู้เรียน เป็นผู้ได้รับการปลูกฝังให้มีความสำนึกในหน้าที่ พร้อมปฏิบัติทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมได้รับการฝึกฝนให้รู้จักเทคนิค และวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาสังคมตามแนวทางประชาธิปไตย โดยครูและนักเรียนร่วมมือกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เรียนต้องเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกัน เพื่อการวางแผนปฏิรูปสังคมในอนาคต
วิธีสอน ควรสร้างบรรยากาศของการมีอิสระ มิใช่ด้วยการบังคับ เสนอแนะวิธีแก้ปัญหา การจัดตารางสอนควรมีการยืดหยุ่น ศึกษาโดยการค้นคว้าและอภิปรายเป็นหลัก ให้ผู้เรียนรู้จักวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับอนาคต การสอนของครูกับผู้เรียนจึงควรทำงานร่วมกัน วางแผน แก้ปัญหา เช่น วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการวางโครงการ หรือวิธีแก้ปัญหา
หลักสูตร เน้นสังคมเป็นหลัก ผู้เรียนต้องเข้าใจสภาพของสังคมดีพอ และมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาสังคม เช่น ความยากจน การจราจร ยาเสพติด
ควรจัดการศึกษา อุตสาหกรรม สื่อสารมวลชน การขนส่ง การอนามัย และสาธารณสุข นิเวศน์วิทยา และวิชาทั่วไป เช่น วรรณคดี ดนตรี ศิลปะ ฟิสิกส์ เคมี สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หลักสูตรในลัทธินี้ให้ความสำคัญแก่วิชาที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสังคมเป็นอย่างดีปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)
พิพัฒนาการ หรือ Progressive หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง การจัดการศึกษาต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง จึงได้เชื่อว่า “แนวทางแห่งความมีอิสระเสรีที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง วัฒนธรรมและสังคม”
ความเป็นมา
พิพัฒนาการนิยมเกิดขึ้นเพื่อต่อต้านแนวคิดและวิธีการศึกษาแบบเดิมที่เน้นแต่เนื้อหา สอนแต่ท่องจำ ไม่คำนึงถึงความสนใจของเด็ก และพัฒนาเด็กแต่เพียงสติปัญญาเท่านั้น ทำให้ผู้เรียนขาดความ ริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มีความมั่นใจในตนเอง อีกอย่างหนึ่งเพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ความนิยมในประชาธิปไตยและพัฒนาการใหม่ ๆ ทางจิตวิทยาการเรียนรู้จัง จ๊าค รุสโซ, จอห์น เฮนรี่, เปสตาลอสซี่, เฟรด เดอริค ฟรอเบล เป็นผู้มีแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมเป็นพวกแรก ของยุโรป ค.ศ. 1870 ฟรานซีส ดับเบิลยู ปาร์คเกอร์ ได้เสนอให้มีการปฏิรูประบบโรงเรียนขึ้นใหม่ แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมา จอห์น ดุย ทำการทดลองเพิ่มเติมจนทั่วโลกได้รู้จักปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยมของเขา มีนักการศึกษาร่วมอยู่ด้วย วิลเลียม เอช คิลแพททริค, จอห์น ไซล์ค และเฮนรี่ บาร์นาร์ด สหรัฐอเมริกาจัดตั้งสมาคมการศึกษาพิพัฒนาการขึ้นในปี ค.ศ.1919 ได้จัดทำหลักสูตรการศึกษาเพื่อชีวิต (The Life-Centered Curriculum) ขึ้นใช้ในโรงเรียนอย่างกว้างขวาง
จอห์น ดุย ได้ยกย่องปาร์คเกอร์ ว่าเป็นบิดาของปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ก่อตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง(ราว ค.ศ.1920) และ นำมาใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในยุคปัจจุบัน สำหรับวงการศึกษาไทยได้ต้อนรับปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม(แบบก้าวหน้า)อย่างกระตือรือร้น โดยรู้จักกันในนามว่า “การศึกษาแผนใหม่“
แนวคิดพื้นฐาน
พิพัฒนาการนิยม มีแนวคิดเช่นเดียวกับปรัชญาปฏิบัตินิยม เชื่อว่าชีวิตเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอตามกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบที่มีอิทธิพลสูงสุดในการกำหนดรูปแบบของวัฒนธรรมและสังคม คือ การค้นคว้า ทดลอง และประสบการณ์ของมนุษย์ที่ได้เห็นประจักษ์ เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้กำหนดอนาคตโชคชะตาของตนเอง มนุษย์ควรจะนั้นความสำคัญและคุณค่าของแต่ละบุคคลให้มาก ดังนั้น การศึกษาในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมจะต้องเปลี่ยนแปรสภาพไปด้วยเมื่อถึงความจำเป็นการศึกษาไม่ใช่สอนให้คนยึดมั่นในความจริง หรือถูกกำหนดไว้ตายตัว หากจะต้องหาทางปรับปรุงการศึกษาเพื่อจะเป็นแนวทางนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอความหมายของการศึกษา
พิพัฒนาการนิยมเชื่อว่าการศึกษาคือชีวิตไม่ใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ก็โดยการลงมือกระทำ จริง ๆ ที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์กับผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอนจึงมุ่งการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน สามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
ความมุ่งหมายของการศึกษา- จุดมุ่งหมายการศึกษาในปรัชญาการศึกษา พิพัฒนาการนิยม สรุปได้ว่า
- มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน
- มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวเองเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข
- มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัด ความสนใจ และตามความสามารถของผู้เรียน
- ส่งเสริมประชาธิปไตยทั้งในและนอกห้องเรียน
- มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
- มุ่งให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการดำรงชีวิตเป็นหมู่คณะ และรู้จักปกครองตนเอง
ธรรมชาติของมนุษย์
เชื่อว่ามนุษย์เป็นคนดีมาแต่กำเนิด มนุษย์ไม่ได้โง่หรือฉลาดมาแต่กำเนิด มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความว่างเปล่า ความฉลาดหรืออุปนิสัยอื่น ๆ มนุษย์มาได้รับภายหลังและจากประสบการณ์ทั้งสิ้น มนุษย์มีอิสระเสรี มิได้อยู่ใต้การลิขิตของผู้ใด มีศักยภาพ ที่จะพัฒนาตัวเองให้ดี
ญาณวิทยา
เชื่อว่าความรู้ที่ตายตัวแน่นอนอันเป็นความจริงสูงสุดนั้นไม่มี ความรู้มีวิวัฒนาการอยู่เสมอ ความรู้มีหน้าที่ช่วยมนุษย์แก้ปัญหา และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด ความรู้ต้องนำไปใช้ได้ผลจริง ๆ
กระบวนการของการศึกษา • ถือว่าประสบการณ์และการทดลองมีความสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ และการเรียนรู้เป็นเรื่องของการกระทำ (Doing) มากกว่ารู้ (Knowing) และจะต้องให้ผู้เรียนได้รู้จักที่จะแก้ไขปัญหาของตนเองและสังคมได้ และจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคลด้วย
สถาบันการศึกษา เชื่อว่าสถาบันการศึกษา คือ แบบจำลองที่ดีงามของชีวิตและสังคม โดยจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และการดำเนินชีวิตจริง แต่ต้องเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน เพื่อผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาชีวิตและสังคมได้ดีขึ้น สถาบันการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความร่วมมือกันสร้างบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสันติสุข
ผู้บริหาร- ผู้บริหารจะเป็นผู้ดำเนินงานไปตามข้อตกลงหรือมติของคณะกรรมการของสถาบันการศึกษา
- ผู้บริหารจะต้องเป็นนักประชาธิปไตยให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมในการบริหารงาน
บทบาทหน้าที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
เชื่อว่าผู้สอนและผู้เรียนร่วมมือกันในการเรียนรู้ และเน้นการทำงานในรูปของประชาธิปไตย ความเสมอภาค และผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมที่สนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน พร้อมทั้งยังคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
ผู้สอน- จะต้องมีบุคลิกที่ดี เห็นอกเห็นใจและเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กได้ดี
- บทบาทที่สำคัญของผู้สอน คือ จะต้องเป็นผู้กระตุ้น ให้ผู้เรียนได้สนใจด้วยตนเอง ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยตนเอง
- บทบาทของผู้สอนไม่ใช่เป็นผู้ใช้อำนาจหรือออกคำสั่ง แต่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะแนวทางให้กับผู้เรียน
ผู้เรียน
ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียนมาก ถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง หรือลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by Doing) ผู้เรียนมีอิสระที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง
วิธีสอน
มุ่งให้ผู้เรียนรวมกลุ่มทำกิจกรรม ใช้วิธีการสอนแบบ “แก้ปัญหา“ นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง เห็นความสำคัญของงานที่มีต่อตนเอง ต่อสังคม การสอนจึงเน้นในเรื่องการสาธิต การอภิปราย การค้นคว้า การรายงาน การประชุม การวางแผน ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความสามารถอย่างแท้จริง และได้รับประสบการณ์จริงด้วยตนเอง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ศักยภาพของผู้เรียน ระวังไม่ให้เด็กเรียนอ่อนเกิดปมด้อย
หลักสูตร หลักสูตรแบบประสบการณ์หรือหลักสูตรแบบกิจกรรม เน้นการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข หลักสูตรเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม เนื้อหาของหลักสูตรจะต้องไม่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า หลักสูตรที่ดีต้องมุ่งไปที่การเรียนรู้ทุกชนิดที่จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาในทุกด้าน
การวัดและการประเมินผล เชื่อว่าความรู้เป็นเพียงเครื่องมือที่จะช่วยมนุษย์ในการแก้ปัญหาเท่านั้น การที่จะได้มาซึ่งความรู้ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ การวัดผลและประเมินผลจะต้องดูว่าเนื้อหาวิชาเหล่านั้นสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้มากน้อยเพียงใดพุทธปรัชญา (Buddhism)พุทธปรัชญาการศึกษา มาจากคำว่า Buddhishic Philosophy of Education ซึ่งได้แนวคิดมาจากพระพุทธศาสนา (Buddhism) จากพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธจ้า และปรัชญาการศึกษาอื่นๆ การศึกษาในพุทธปรัชญา คือ การศึกษาเพื่อให้เข้าใจความจริง เข้าใจความหมายของชีวิต ทั้งดำรงชีวิตให้สอดคล้องสัมพันธ์กับความจริง
พุทธปรัชญา ได้นำหลักเหตุและผลไปวิเคราะห์และอธิบายความจริงและความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายในโลก ได้ชี้แนะให้ทราบว่าอะไรคือความเป็นเลิศ หรือความดีที่พึ่งปรารถนาในชีวิต และจะศึกษาปฏิบัติให้เป็นผลได้อย่างไร
พุทธปรัชญา หมายถึง ความรู้อันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วหรือพุทธธรรม
ความเป็นมาของพุทธปรัชญา
พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และได้หล่อหลอมเป็นวิถีดำเนินชีวิตของคนไทย จึงเห็นควรให้พุทธปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาการศึกษาที่มีพื้นฐานอยู่บนความเป็นไทย ผู้รู้ที่สนับสนุนให้พิจารณาปรัชญาการศึกษาไทยบนพื้นฐานของพุทธปรัชญา เช่น ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ท่านพุทธทาสภิกขุ พระเทพเวที พระราชวรมุนี สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และเอกวิทย์ ณ ถลาง เป็นต้น พระพุทธเจ้าชี้ให้เห็นถึงความจริงหรือสัจธรรมในหลักไตรลักษณ์ ซึ่งได้แก่- อนิจจัง คือ ความเป็นของไม่เที่ยง
- ทุกขัง คือ ความเป็นทุกข์
- อนัตตา คือ ความเป็นของไม่ใช่ตน
โลกและชีวิตเป็นอนิจจังไม่มีอะไรแน่นอน มนุษย์จึงไม่ควรติดอยู่กับวัตถุหรือมุ่งแสวงหาแต่ความสุขทางวัตถุ เพราะชีวิตแท้จริงแล้วเป็นทุกข์ เพราะประกอบด้วยสิ่งต่างๆ อันเป็นของไม่เที่ยง คือ ขันธ์ 5 ได้แก่- รูป คือ ร่างกาย รวมทั้งคุณสมบัติและพฤติกรรมทั้งปวง
- เวทนา คือ อารมณ์ทุกข์และสุขของมนุษย์
- สัญญา คือ การเรียนรู้ ความจำ
- สังขาร คือ องค์ประกอบทางจิตที่คอยปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว ได้แก่ เจตคติ ค่านิยม ความตั้งใจ ความสนใจ ซึ้งประกอบกันขึ้นเป็นแรงขับให้มีการกระทำ
- วิญญาณ คือ การรับรู้เกิดจากประสาทสัมผัสโดยตรง
มนุษย์เป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตนที่แท้จริงที่เห็นว่าเป็นตัวตนอยู่นี้ก็เพราะว่าองค์ประกอบทั้ง 5 มารวมกันอยู่ในกระแสแห่งการเกิดดับ ซึ่งเป็นไปตามหลักปฏิจสมุปบาท คือ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกฎเหตุและผลหรือเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์
พุทธปรัชญาการศึกษา คือ การพัฒนาขันธ์ 5 เพื่อให้ความโง่เขลาของผู้เรียนลดน้อยลงและหมดไปในที่สุด และให้อยู่ในสังคมอย่างเป็นคนเก่ง คนดี และคนมีความสุขในโลกปัจจุบันและอนาคต
ความมุ่งหมายของการศึกษาตามแนวพุทธปรัชญาของศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี มี 4 ประการ
ความมุ่งหมายเกี่ยวกับตัวผู้เรียน
การศึกษาจะต้องมุ่งพัฒนาโลภ โกรธ หลง ให้ลดลงและพัฒนาความรู้ ความจำ นิสัย และอื่นๆ ในทางที่เหมาะสม
ความมุ่งหมายเกี่ยวกับสังคม
การศึกษาต้องช่วยพัฒนาสังคมให้ร่มเย็นเป็นสุข เนื่องจากวังคมไทยเป็นสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาซึ่งถ้าเข้าใจพุทธปรัชญาในไตรลักษณ์ อิทธิบาท 4 แล้วก็จะเข้าใจสังคมได้ดีขึ้นและไม่ตกใจไปกับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
อิทธิบาท 4 คือ สิ่งซึ่งมีคุณธรรมให้บรรลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ประกอบด้วย- ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
- วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
- จิตตะ ความเอาใจใส่ ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
- วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ความมุ่งหมายเกี่ยวกับลักษณะของการเรียนรู้
การศึกษาพัฒนาวิธีคิด และการใช้เหตุผลในตัวผู้เรียนเพื่อให้สามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างผู้มีปัญญาความมุ่งหมายเกี่ยวกับความร่มเย็นของชีวิตมนุษย์ทั่วไป
การศึกษาต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เกิดความร่มเย็นแก่ชีวิตในสังคม
นโยบายการศึกษาตามแนวพุทธปรัชญาของศาสตราจารย์สาโรช บัว- การจัดการศึกษาเพื่อนสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นนโยบายประชาธิปไตย เพราะพุทธปรัชญาเป็นปรัชญาประชาธิปไตย เช่นพระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า บุคคลแต่ละคนไม่เหมือนกันเปรียบเสมือนดอกบัว 4 เหล่า
- การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการแบ่งปัน
- การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
วิธีสอนแม่บทสำหรับโรงเรียน ต้องใช้วิธีการแห่งปัญญา คือ สอนตามหลักอริยสัจ สี่ ซึ่งตรงกับวิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์
อริยสัจสี่- ทุกข์ คือ ความทุกข์ของมนุษย์เองที่เกิดขึ้นในชีวิต
- สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรืออยาก ที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง
- นิโรธ คือ ความดับทุกข์
- มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์มี 8 ประการ คือ
1. สัมมาทิฐิ คือ การคิดชอบ ความเห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ คือ การทำใจชอบ ดำริชอบ
3. สัมมาวาจา คือ กล่าวชอบ
4. สัมมากัมมันตะ คือ การงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ คือ อาชีพในทางที่ชอบ
6. สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ
7. สัมมาสติ คือ ตั้งสติชอบ
8. สัมมาสมาธิ คือ ความเพ่งอารมณ์ชอบ
ขั้นของอริยสัจสี่
1. ขั้นทุกข์ ชีวิตนี้เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง
2. ขั้นสมุทัย สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา
3. ขั้นนิโรธ การดับทุกข์
4. ขั้นมรรค หนทางดับทุกข์
ขั้นของวิธีการแห่งปัญญา (วิทยาศาสตร์)
1. การกำหนดปัญหา
2. การตั้งสมมุติฐาน
3. การทดลองและเก็บข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
พุทธปัญญาการศึกษาตามแนวคิดของท่านพุทธทาสภิกขุ
จุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ- เพื่อดับทุกข์ทั้งปวงให้หมดสิ้น คือทุกข์ที่เกิดจากกิเลสเพราะการศึกษาในพุทธศาสนา หมายถึง การสามารถทำให้บุคคลเอาชนะโลกนี้ทั้งหมด (ไม่ต้องการลาภยศทางวัตถุใดๆ) เอาชนะโลกอื่นทั้งหมด (ไม่ต้องการไปเกิดในชาติอื่น) และทำให้อยู่เหนือโลกทั้งปวง (ดับกิเลสโดยสิ้นเชิงไม่เกิดในโลกไหนอีกต่อไป)
- เพื่อส่งเสริมศีลธรรมทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของมนุษย์ คือ สร้างความถูกต้องเพื่อความก้าวหน้าทั้งทางวัตถุและจิตใจ ต้องชี้ให้เห็นถึงความสุข 2 อย่างคือ ความสุขทางกาย ซึ่งยิ่งเสพยิ่งต้องการมากและทำความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น กับความสุขทางจิต ซึ่งยิ่งแสวงหาเท่าไรยิ่งทำความร่มเย็นให้มากเท่านั้น
- เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม คือขจัดความเห็นแก่ตัวและร่วมมือกันเสริมสร้างสันติสุขในชุมชนและในโลก โดยให้จุดมุ่งหมายทั้ง 3 ข้อนี้ ไปใช้ในการจัดการศึกษาในโรงเรียน พร้อมทั้งยึดหลักพุทธศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา ทัตถศึกษา
หน้าที่ของการศึกษาและหน้าที่ครู มี 2 ประการ คือ- หน้าที่ในการถ่ายทอดศิลปวิทยา ได้แก่ วิชาชีพตลอดจนมรดกทางวัฒนธรรม ทางวิชาการ ซึ้งหมายถึงถ่ายทอดให้นักเรียนได้รู้จริง มีความใฝ่รู้ที่จะค้นคว้าให้รู้มากขึ้น มีการเพิ่มพูนหรือทำให้งามขึ้นและนำไปประกอบอาชีพได้ หรือสร้างความเป็นเลิศทั้งด้านสติปัญญาและเลิศในประโยชน์ของสังคมประเทศชาติ
- หน้าที่ในการชี้แนะให้รู้จักการดำเนินชีวิตที่ดีงามถูกต้อง และการฝึกฝนพัฒนาตนให้สมบูรณ์ เช่น การทำให้คนมีแรงจูงใจที่ถูกต้อง (ฉันทะ) ในการศึกษา การสร้างจิตสำนึกในการศึกษาโรงเรียนวิถีพุทธ
วิถีพุทธ หมายถึง แนวทางดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบชาวพุทธ โดยมีหลักธรรมที่เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นวิถีชีวิตแบบพุทธ นั่นคือ มรรคมีองค์แปด สรุปลงในไตรสิกขาได้
สัมมาทิฐิ – ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ – ความดำริชอบ
สัมมาวาจา – วาจาชอบ
สัมมากัมมันตะ – การกระทำชอบ
สัมมาอาชีวะ – เลี้ยงชีพชอบ
สัมมาวายามะ – พยายามชอบ สั
มมาสติ – ระลึกชอบ สั
มมาสมาธิ - ตั้งจิตชอบ
โรงเรียนวิถีพุทธ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยภาวนา 4 คือ พัฒนาการทางกาย สังคม จิต และปัญญา
โรงเรียนจัดพัฒนาผู้เรียนตามหลักพุทธธรรมอย่างบูรณาการส่งเสริมให้เกิดปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ คือ1. การอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้รู้ มีสื่อที่ดี
2. เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสูตรที่ดี
3. มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ พิจารณาหาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี
4. ความสามารถที่จะนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้องตามหลักธรรม
โยนิโสมนสิการ
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยุตฺโต) ให้ความหมายว่า การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือการพิจารณาความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยหรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบซึ้งจะมีเกิดอวิชชาปละตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี
สาระสำคัญของพุทธปรัชญาการศึกษา
ความมุ่งหมายของการศึกษา- เพื่อพัฒนาร่างกายและจิตใจของผู้เรียนให้สมบูรณ์
- เพื่อให้เข้าใจอุดมการณ์สังคมที่ผู้เรียนในฐานะเป็นพลเมืองดี
- เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของผู้เรียนไปสู่การคิดที่ถูกต้อง
- เพื่อพัฒนาศีลธรรมและจริยธรรมของผู้เรียนให้มีความสัมพันธ์อย่างสงบระหว่างสมาชิกของสังคมและโลก
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและเจตคติในกลุ่มสาระตามหลักสูตร และระดับชั้นเรียนตามความต้องการของแต่ละบุคคล และความแตกต่างระหว่างบุคคล
สถานศึกษา สถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามพุทธปรัชญาการศึกษา เชื่อว่าผู้เรียนทุกคนพร้อมที่จะเป็นคนเก่ง คนดี และคนมีความสุขทุกช่วงชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นสถานศึกษาต้องมีจุดมุ่งหมายดังนี้- เตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนทุกคนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขในทุกช่วงชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต
- จัดสิ่งแวดล้อมและอาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อและสอดคล้องต่อการพัฒนาร่างกายและจิตใจของผู้เรียนทุกคน
- ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแบ่งปัน และการมีส่วนร่วมภายในสถานศึกษาและในสังคมภายนอกสถานศึกษา
- ส่งเสริมการเรียนรู้ ทักษะ และเจตคติกลุ่มสาระต่างๆ ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
- ส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคลในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
หลักสูตร
จุดมุ่งหมายที่สำคัญของหลักสูตร คือ การพัฒนาขันธ์ 5 คือ- เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีร่างกาย สุขภาพ พลานามัยที่แข็งแรง สมบูรณ์ สมส่วนคล่องแคล่วว่องไว มีพัฒนาการทางด้านร่างกายตามวัยและได้มาตรฐานสากล
- เพื่อพัฒนาผู้เรียนในด้านความรู้สึกโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีพัฒนาการไปตามลำดับขั้น
- เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีสติปัญญา ความรู้ และความสามารถ และการเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตนเอง สังคมและโลก และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขในปัจจุบันและอนาคต
- เพื่อพัฒนาแรงขับและคุณสมบัติทางจิตใจของผู้เรียน ได้แก่ อารมณ์ เจตคติ คุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม
- เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีจิตสำนึกทั้งในทางกาย ทางวาจา และทางใจ (การคิด)
เนื้อหาของหลักสูตร- มีเนื้อหาวิชาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาด้านร่างกาย ได้แก่ วิชาคหกรรมศาสตร์ วิชาพลานามัย วิชาสุขศึกษา เป็นต้น
- ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างและฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรง เช่นวิชาพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ เป็นต้น
- ควรมีเนื้อหาด้านการพัฒนาความรู้สึกนึกคิด ได้แก่ วรรณคดี ภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา ชีววิทยา และนิเวศวิทยา เป็นต้น
- ควรมีเนื้อหาด้านการพัฒนาความคิดและการใช้สมอง ได้แก่ วิชาวรรณคดี คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี เป็นต้น
- ควรมีเนื้อหาด้านการพัฒนาอารมณ์ เจตคติ คุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี เป็นต้น 6. ควรมีเนื้อหาด้านการพัฒนาจิตสำนึกและการใช้เหตุผลทั้งทางกาย ทางวาจา และทางจิตใจ ได้แก่ วิชาศีลธรรม จริยธรรม และสุนทรียภาพ สังคมศึกษา สังคมวิทยา สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติศึกษา เป็นต้น
การเรียนการสอน
วิธีการสอนต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและสภาพของผู้เรียน ดังนั้นจะยึดหลักปฏิบัติตามอริยสัจสี่ และมรรคแปด ดังนี้- ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข
- ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยวิธีการแก้ปัญหาและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งวิธีการเรียนเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
- คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
- จัดสภาพภายในห้องเรียนและบริเวณสถานศึกษาและสภาพแวดล้อมภายนอกให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และการเรียนด้วยตัวเอง ส่งเสริมการมีวินัยในตนเองและการมีสมาธิของผู้เรียนแต่ละคนและการเรียนเป็นกลุ่มในบางครั้งตามความเหมาะสม เพื่อส่งเสริมการเป็นคนดีในหมู่คณะ รู้จักแบ่งปัน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมซึ้งส่งผลต่อการเป็นพลเมืองดีของชาติ รู้จักเสียสละ แบ่งปัน การให้ และการมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตยต่อไป
- ให้ความสำคัญกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล และต้องส่งเสริมเด็กเรียนเก่งให้เจริญงอกงามทั้งความรู้สึกและสติปัญญา
- คิดหาวิธีสอน และกิจกรรมและประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน และสอดคล้องกับสื่อและเนื้อหา ความรู้และทักษะของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
ผู้สอน - ครู- เป็นผู้ให้วิทยาการ (สิปปทายก) ได้แก่ การให้ความรู้ทางวิชาการและการประกอบอาชีพแก่ผู้เรียน รวมถึงต้องหมั่นค้นคว้าและหาความรู้
- มีหน้าที่ชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง (กัลยาณมิตร) คือสอนให้รู้จักคิด มองความหมายของสิ่งต่างๆ อย่างถูกต้อง รู้ตักแสดงออกอย่างมีเหตุผล มีความรับผิดชอบและรู้จักดำเนินชีวิตที่ดี
ผู้เรียน- เป็นผู้ที่มีความเคารพและศรัทธาต่อครู
- เป็นผู้รับฟังคำแนะนำของครู
- เป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีวุฒิภาวะ รู้จักใช้เหตุผลและคุณธรรมในการตัดสินใจ
การวัดและประเมินผล- โดยวัดผลจากการกระทำของนักเรียน ด้วยการสังเกตพฤติกรรม
- ด้วยการประพฤติปฏิบัติตนของนักเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น