วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

pisa คืออะไร

pisa คืออะไร
PISA คืออะไร ประเมินใคร ???
        Programme for International Student Assessment หรือ PISA เป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิก ที่ดำเนินการโดย Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจระบบการศึกษาของนานาประเทศว่าได้เตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิต และการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่ โดย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนที่จะใช้ความรู้และทักษะเพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริง มากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน โดยจัดให้มีการทดสอบสมรรถนะเด็กนักเรียนวัย 15 ปี จากโรงเรียนทุกสังกัด ได้แก่
• โรงเรียนในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
• โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
• โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
• โรงเรียนในสังกัดสำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น
• โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
• วิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
โดยเริ่มดำเนินโครงการ ตั้งแต่ ปี 2000 ทุกประเทศจะใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน และมีการกำหนดพื้นที่ ขนาดโรงเรียนในการสอบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดย PISA มีการประเมินสมรรถนะที่เรียกว่า Literacy ใน 3 ด้าน คือ การอ่าน (Reading Literacy) คณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy)
PISA ประเมินอะไร ในการประเมินผลนักเรียนจะวัดความรู้ทั้ง 3 ด้าน ในแต่ละทักษะ ไม่ได้เน้นเรื่องของการอ่านออกเขียนได้ การคิดเลขเป็น แต่ สิ่งที่ PISA เน้นคือความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของโจทย์ที่ซับซ้อนได้ แต่จะเน้นหนักในด้านใดด้านหนึ่งในการประเมินแต่ละระยะ กล่าวคือ
1) การประเมินผลระยะที่ 1 (PISA 2000 และ PISA 2009) เน้นด้านการอ่าน (มีน้ำหนักข้อสอบด้านการอ่าน 60% และที่เหลือเป็นด้าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%) 2)
การประเมินผลระยะที่ 2 (PISA 2003 และ PISA 2012) เน้นด้านคณิตศาสตร์ (น้ำหนักข้อสอบด้านคณิตศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%) 3)
การประเมินผลระยะที่ 3 (PISA 2006 และ PISA 2015) เน้นด้านวิทยาศาสตร์ (น้ำหนักข้อสอบด้านวิทยาศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและคณิตศาสตร์อย่างละ 20%)
และ การสอบ PISA ในปี พ.ศ. 2555 (PISA 2012) จะเน้นความสามารถด้าน คณิตศาสตร์ ซึ่งจะมีจำนวนคิดเป็นร้อยละ 60 ของข้อสอบทั้งหมด ส่วนความสามารถด้านการอ่าน และวิทยาศาสตร์ จะมีอย่างละประมาณร้อยละ 20 ของข้อสอบทั้งหมด
หลักสำคัญของ PISA คือการประเมิน การรู้เรื่อง (Literacy) ซึ่งเน้นที่ ความรู้และทักษะที่จำเป็น เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลง เพราะถือว่านักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจากโรงเรียน แต่การศึกษาต้องให้ “ฐานราก” ที่มั่นคง เพื่อให้เป็นผู้เรียนสามารถรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง PISA ถือว่าวิชาที่เป็นตัวแทนของการวาง “ฐานราก” ได้แก่ การอ่าน คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ เท่านั้น
_________
การรู้เรื่องการอ่าน (Reading literacy) มีความหมายมากกว่าการอ่านหนังสือและเข้าใจความหมายของคำ แต่ยังรวมไปถึง ความสามารถติดตามความหมาย การคิดย้อนกลับและสะท้อนว่าเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการเขียน เข้าใจว่าเขียนสำหรับให้ใครอ่าน (หรือผู้เขียนต้องการส่งข่าวสารให้ใคร) ให้รู้ว่าผู้เขียนใช้ภาษาอย่างไรในการนำข่าวสารไปสู่ผู้อ่าน และอิทธิพลที่มีต่อผู้อ่าน และรวมถึงความสามารถในการตีความจากโครงสร้างของเรื่องหรือจากลักษณะเด่นของ การเขียน (เช่น การให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมา เปรียบเทียบ ชมเชย หรือประชดประชัน ฯลฯ) การรู้เรื่องด้านการอ่านนี้ แสดงว่ามีความรู้และศักยภาพที่จะมีส่วนในการสร้างสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematics literacy) มีความหมายมากกว่าการคิดเลขและการทำโจทย์ การรู้จักรูปคณิตศาสตร์ หรือการจัดการข้อมูล แต่หมายรวมถึงรู้ขอบเขตและข้อจำกัดของแนวคิดคณิตศาสตร์ สามารถติดตามและประเมินข้อโต้แย้งเชิงคณิตศาสตร์ เสนอปัญหาเชิงคณิตศาสตร์ เลือกวิธีการนำเสนอสถานการณ์เชิงคณิตศาสตร์ และสามารถตัดสินปัญหาบนพื้นฐานของคณิตศาสตร์ เพื่อแสดงว่าเป็นประชากรที่มีความคิดสร้างสรรค์และรอบคอบ
การรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ตามความหมายของ PISA หมายถึงการรู้กระบวนการ (Process) การรู้แนวคิดและสาระเนื้อหา (Concepts and Content) และรู้จักการใช้ความรู้วิทยาศาสตร์เพื่อที่จะสามารถเข้าใจเรื่องราวที่เกิด ขึ้นในสังคม ในสื่อมวลชน และตัดสินใจประเด็นของโลกที่เกี่ยวข้องกับตัวเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต
แบบทดสอบ ของ PISA เป็นข้อสอบที่นักเรียนต้องเขียนตอบ ข้อสอบไม่ถามเนื้อหาสาระตามหลักสูตร แต่จะให้ข้อความที่นักเรียนต้องอ่าน คิดวิเคราะห์ แล้วตอบคำถาม บางข้อจะมีจะมีคำตอบเป็นตัวเลือก แต่คำถามส่วนใหญ่เป็นคำถามเปิด นักเรียนต้องสะท้อนความคิดของตนเองออกมาเป็นคำตอบ มากกว่าการพูดซ้ำในสิ่งที่ได้อ่านหรือเพียงแต่ถ่ายเทเอาสิ่งที่เคยรับรู้ออก มาเท่านั้น การให้คะแนนคำถามประเภทนี้จะขึ้นกับการใช้เหตุผลของการตอบ คำตอบที่ไม่เหมือนกันอาจได้คะแนนเต็มเหมือนกันได้ ถ้าหากเหตุผลที่ให้สอดคล้องหรือให้คำอธิบายได้สมเหตุสมผล
นี่คือกรอบความคิดใหม่ของการวัดและประเมินผลที่เกิดจากการศึกษา ทั้งในแนวคิดด้านผลที่ต้องการใช้เป็นตัวบอกประสิทธิภาพของการศึกษา ทั้งวิธีการเขียนและตรวจข้อสอบที่ไม่เหมือนวิธีปฏิบัติอยู่โดยทั่วไปที่ข้อ สอบต้องมีคำตอบเดียว และถามเพื่อให้นักเรียนคายเอาความรู้ที่อัดไว้ออกมา โดยไม่ต้องใส่ความคิด การแปลความหรือความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ขอเพียงให้มีเนื้อหาวิชามาตอบก็เพียงพอแล้ว
ผล การประเมินจาก PISA 2000 ถึง PISA 2009 พบว่า นักเรียนไทยกลุ่มอายุ 15 ปี มีผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ ต่อเนื่องถึง 4 ครั้ง และเนื่องจากผลการสอบ PISA ได้ถูกนำไปใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการจัดลำดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการพิจารณาความน่าลงทุน ทำให้นานาชาติมองว่า ไทยยังเป็นประเทศด้อยคุณภาพการศึกษา หมายความว่า ศักยภาพของคนไทยต่ำกว่านานาชาติ โดยเฉพาะ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่ผ่านมาประเทศไทยมีผลสอบ PISA ต่ำกว่าประเทศสิงคโปร์มาก และในปี 2012 นี้จะมีประเทศเวียดนาม และมาเลเซียเข้าร่วมการสอบด้วย ดังนั้น หากคะแนนการสอบ PISA ในปีนี้ของไทยยังไม่ดีขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ศักยภาพการแข่งขันของประเทศในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้อยลง อีกด้วย
การพัฒนาคุณภาพเยาวชนของประเทศไทยเพื่อ ให้มีสมรรถนะพื้นฐานสำคัญ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนในระยะยาว ซึ่งผลการสอบ PISA ไม่เพียงสำคัญต่อภาพลักษณ์ของประเทศ เพราะเป้าหมายแท้จริงแล้ว ผลการสอบ PISA ช่วยให้เราทราบว่า คุณภาพของเยาวชนไทยที่จะเป็นอนาคตของชาตินั้นมีความรู้ ทักษะ พร้อมที่จะแข่งขันกับนานาชาติ และมีชีวิตอยู่ในโลกได้อย่างมีความสุขหรือไม่ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ใช้คะแนนการสอบ PISA มาเป็นตัวบ่งชี้ข้อหนึ่งของความสำเร็จของการจัดการศึกษา คือ “ภายในปี พ.ศ.2561 ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ (ผลทดสอบ PISA)”และ เรา ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษา ก็ควรจะตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และร่วมกันนำลักษณะข้อสอบของ PISA มาใช้เป็นเครื่องมือ/สื่อในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้มีสมรรถนะพื้นฐานสำคัญเพียงพอที่จะแข่งขันกับประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกได้.
ถ้าเทียบการออกข้อสอบของ O-NET และการออกข้อสอบของ PISA ต่างกันมาก ซึ่งข้อสอบO-NETยังเป็นข้อสอบที่อยู่ในศตวรรษที่ 20 ขณะที่การสอบประเมินผลในระดับนานาชาติเป็นข้อสอบที่ก้าวมาอยู่ในยุคศตวรรษ ที่ 21 แล้ว ผลการสอบล่าสุด เด็กนักเรียนเซี่ยงไฮ้ของจีนเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก ตามด้วยเกาหลี ฮ่องกง-จีน จีนไทเป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ที่ล้วนมีคะแนนอยู่ในกลุ่ม 5 หรือ 10 ประเทศแรก ทุกวิชา ส่วนนักเรียนไทย แสดงผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติทุกวิชา และมีแนวโน้มลดต่ำลงทุกวิชาเมื่อเทียบกับการประเมินครั้งแรก (PISA 2000) โดยผลการประเมิน PISA นี้ไม่เพียงแต่เป็นกระจกที่สะท้อนให้เราเห็นได้ว่าความสามารถของเด็กนัก เรียนใน ประเทศของตนเองนั้นเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ยังเป็นตัวที่บ่งชี้เรื่องการเรียนการสอนแบบไหนที่เด็กนักเรียนกำลังได้ รับ – มิติได้การศึกษา ร่วมถึงการสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องการพัฒนาและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของ ประเทศต่อไปอีกด้วย  "O-NET ไทยล้าหลัง 1ศตวรรษ เมื่อเทียบกับ PISA"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น