คุณธรรมผู้นำ
คุณธรรมสำหรับผู้นำ
พระครูอาทรธรรมานุวัตร ผอ.ศูนย์บริการวิชาการ, ปธ.๔,B.A,M.A(Phillo.)
มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ในธรรมิกสูตรว่า "เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้าโคนำฝูงไปคด โคทั้งหมดก็ว่ายคดไปตามฉันใดในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนที่เหลือ ถ้าผู้นำไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นทุกข์" "เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฝากอยู่ ถ้าโคนำฝูงไปตรง โคทั้งหมดย่อมว่ายตรงไปตามฉันใดในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนที่เหลือก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง ถ้าผู้นำตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นสุข"
จากพระพุทธภาษิตบทนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้นำนี้สำคัญอย่างที่สุด เพราะถ้ามีผู้นำไม่ดี ไม่ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว บรรดาผู้ตามทั้งหลาย ก็จะไม่ได้รับความเป็นธรรม และก็จะตามไปอย่างไร้คุณธรรมอีกด้วย ตรงกันข้าม ถ้าผู้นำดี เพราะมีคุณธรรม บรรดาผู้ตามมา นอกจากจะได้รับความร่มเย็น เพราะร่มศีลร่มธรรมแล้ว ยังจะต้องประพฤติศีลประพฤติธรรมตามต่อไปอีกด้วย เพื่อความแจ่มชัดในเรื่องนี้ จะได้นำหัวข้อต่างๆ มาเรียงลำดับตามความสำคัญ ดังต่อไปนี้:-
๑.ความหมายของคำว่า "ผู้นำ" คืออะไร
๒.ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้นำได้
๓.ผู้นำมีทั้งหมดกี่ประเภท
๔.ประโยชน์ของผู้นำตรงและโทษของผู้นำคด
๕.คุณธรรมสำหรับผู้นำตรง
ข้อที่หนึ่ง วามหมายของคำว่า "ผู้นำ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้เพียงว่า หัวหน้า มีคำที่ใช้ได้เหมือนๆ กัน เช่น คำว่า นายก ผู้บัญชาการ ประธาน เป็นต้น คำเหล่านี้พัฒนาออกมาในรูปภาษาไทย เมื่อจะใช้เป็นทางการยังมีข้อบังคับว่าจะใช้ในกรณีไหน กับบุคคลประเภทใด เป็นรายละเอียดติดตามมาเยอะแยะ เพื่อความกระชับในเรื่องนี้ จึงขอใช้เพียงคำว่า ผู้นำ เท่านั้น
ข้อที่สอง ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้นำได้ ในวีณาถูนชาดก พระโพธิสัตว์กล่าวไว้ว่า "คนพาล เป็นผู้นำไม่ได้ (พาโล อปริณายโก)"
นี้แสดงว่า จะเป็นผู้นำเขา เราต้องเป็นคนดี มีคำกลอนประกอบดังต่อไปนี้
"จะเป็นหัวหน้า ต้องมีคุณธรรม
จะเป็นผู้นำ ต้องมีคุณวุฒิ
จะเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ต้องมีความกล้าหาญ
จะเป็นประธาน ต้องเชี่ยวชาญความดี
จะเป็นนายกทั้งที ต้องดีทั้งนอกทั้งใน"
ดังนั้น ถึงแม้ทุกคนอยากจะเป็นผู้นำ แต่ว่าผู้นำ มิได้เป็นได้ทุกคนเสมอไป
จากพระพุทธภาษิตบทนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้นำนี้สำคัญอย่างที่สุด เพราะถ้ามีผู้นำไม่ดี ไม่ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว บรรดาผู้ตามทั้งหลาย ก็จะไม่ได้รับความเป็นธรรม และก็จะตามไปอย่างไร้คุณธรรมอีกด้วย ตรงกันข้าม ถ้าผู้นำดี เพราะมีคุณธรรม บรรดาผู้ตามมา นอกจากจะได้รับความร่มเย็น เพราะร่มศีลร่มธรรมแล้ว ยังจะต้องประพฤติศีลประพฤติธรรมตามต่อไปอีกด้วย เพื่อความแจ่มชัดในเรื่องนี้ จะได้นำหัวข้อต่างๆ มาเรียงลำดับตามความสำคัญ ดังต่อไปนี้:-
๑.ความหมายของคำว่า "ผู้นำ" คืออะไร
๒.ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้นำได้
๓.ผู้นำมีทั้งหมดกี่ประเภท
๔.ประโยชน์ของผู้นำตรงและโทษของผู้นำคด
๕.คุณธรรมสำหรับผู้นำตรง
ข้อที่หนึ่ง วามหมายของคำว่า "ผู้นำ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้เพียงว่า หัวหน้า มีคำที่ใช้ได้เหมือนๆ กัน เช่น คำว่า นายก ผู้บัญชาการ ประธาน เป็นต้น คำเหล่านี้พัฒนาออกมาในรูปภาษาไทย เมื่อจะใช้เป็นทางการยังมีข้อบังคับว่าจะใช้ในกรณีไหน กับบุคคลประเภทใด เป็นรายละเอียดติดตามมาเยอะแยะ เพื่อความกระชับในเรื่องนี้ จึงขอใช้เพียงคำว่า ผู้นำ เท่านั้น
ข้อที่สอง ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้นำได้ ในวีณาถูนชาดก พระโพธิสัตว์กล่าวไว้ว่า "คนพาล เป็นผู้นำไม่ได้ (พาโล อปริณายโก)"
นี้แสดงว่า จะเป็นผู้นำเขา เราต้องเป็นคนดี มีคำกลอนประกอบดังต่อไปนี้
"จะเป็นหัวหน้า ต้องมีคุณธรรม
จะเป็นผู้นำ ต้องมีคุณวุฒิ
จะเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ต้องมีความกล้าหาญ
จะเป็นประธาน ต้องเชี่ยวชาญความดี
จะเป็นนายกทั้งที ต้องดีทั้งนอกทั้งใน"
ดังนั้น ถึงแม้ทุกคนอยากจะเป็นผู้นำ แต่ว่าผู้นำ มิได้เป็นได้ทุกคนเสมอไป
เอกสารประกอบคำบรรยายของ รศ.ดร. ประกอบ คุณารักษ์ ได้บอกคุณสมบัติ ๑๐ ประการ สำหรับผู้นำ ไว้ว่า:-
๑.เขาจะต้องยอมทนรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ ไม่มีใครในตำแหน่งผู้บริหารที่หลีกเลี่ยงให้พ้นจากการวิพากษ์วิจารณ์ หรือ
การตำหนิติเตียนไปได้ เขาจะต้องเรียนรู้ที่จะคัดเลือกเอาคำวิจารณ์ที่เป็นการสร้างสรรค์ เป็นการแนะนำตักเตือน ซึ่งเขาจะสามารถ
เรียนรู้และรับเอาได้และรู้ว่าคำวิจารณ์อันไหนที่ชั่วร้ายและพึงละเลยไม่นำพาต่อมันเสีย
๒.เขาจะต้องเรียนรู้จักการที่จะยืนหยัด เพื่อผจญความทุกข์ยากทั้งปวง สรรพสิ่งมักจะไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นอยู่เสมอไป
หรอก ความล้มเหลวมักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ผู้นำที่ดีต้องรู้พยายามเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น ต้องฟาดฟัน ไม่ยอมท้อถอย
๓.เขาต้องมีความสามารถในการแจกจ่ายอำนาจหน้าที่ในความรับผิดชอบ ผู้นำที่ดีต้องรู้จักยอมยกอำนาจให้กับผู้อื่นบ้าง และ
มีความไว้วางใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชาของตน
๔.ผู้นำ จะต้องทำการวินิจฉัยสั่งการ (ตัดสินใจ) ผู้ใดที่ไม่มีความสามารถในคุณสมบัติด้านนี้ (เช่นโลเล ไม่แน่นอน ขี้สงสาร
ไม่รู้จักตัดสินใจอย่างไรดี จึงตัดสินใจไม่ได้) ก็ไม่ควรจะเป็นผู้นำของใครทั้งสิ้น
๕.ผู้นำ จะต้องไม่มีอคติทั้งปวง บางคนวิจารณ์คำว่า "อคติ" ว่าเป็นสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือยที่มีคนเพียงบางคนเท่านั้นที่จะมีคุณ
สมบัติข้อนี้
๖.ผู้นำ ต้องรู้จักสรรเสริญชมเชยผู้อื่น ต้องแชร์เครดิตและให้เครดิตแก่บุคคลอื่นด้วยหากเขาต้องการจะเอาชื่อเอาหน้าหรือ
รับสมอ้างว่า ทุกอย่างตนเองเป็นผู้กระทำทั้งสิ้นแล้วเขาก็ย่อมจะก่อให้เกิดความยุ่งยากลำบากใจ เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ในกลุ่มผู้อยู่
ใต้บังคับบัญชาของเขา
๗.ผู้นำ จะต้องสามารถทำใจให้มีสมาธิดีได้ แม้ในขณะที่สถานการณ์วิกฤตอย่างที่สุด เขาต้องมีใจคอมั่นคง หนักแน่น เพื่อ
คงไว้ซึ่งความมีสติรอบคอบ อันจะช่วยในการตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง เขาจะต้องยืนหยัด คอตั้ง อกผายไหล่ผึ่งได้ ในขณะที่คนอื่น
เขายอมสยบกันหมดแล้ว
๘.ผู้นำที่ดี เมื่อทำผิดแล้วต้องยอมรับผิด โดยดุษณี
๙.ผู้นำ ต้องไม่พยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบและโยนความผิดให้แก่คนอื่น เขาต้องเป็นเหมือนนายพล โรเบอร์ต อี ลี
ผู้นำฝ่ายใต้ในสงครามกลางเมืองสหรัฐ ผู้ซึ่งยอมรับผิดชอบในความผิดพลาดของลูกน้องของเขา
๑๐. ผู้นำที่ดีต้องเจริญเติบโต มีความก้าวหน้า การหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่ใช่การเป็นผู้นำที่ดี
ในเอกสารนี้ รวมความว่า คนดี ความดี ทำดี ถือว่าเป็นคุณสมบัติของผู้นำ ถ้าอยากเป็นผู้นำ ก็ต้องทำความดี มีกฎอยู่ว่าความดี คนดี ทำง่าย ความดี คนชั่ว ทำยาก.
ข้อที่สาม ผู้นำมีกี่ประเภท เมื่อว่าโดยละเอียดมีมากมายเหลือเกิน แต่โดยภาพรวมแล้วผู้นำมีอยู่เพียง ๒ ประเภท คือ ผู้นำตรงและผู้นำคด
คำว่า ตรง ท่านให้ความหมายไว้ว่า เที่ยง ไม่เอียง ไม่คดและไม่โกง ทั้งต่อตนเอง ต่อบุคคลอื่น ต่อหน้าที่ ต่อเวลา และต่อคุณความดี
ตรงต่อตนเอง หมายความว่า คนเราเกิดมาต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกันหมด เมื่อรู้ว่าตนรักสุข สิ่งไหนเป็นทุกข์ เช่น บรรดาอบายมุขทั้งหลาย ก็อย่าไปข้องแวะ ต้องตรงต่อตนเอง โดยประพฤติตามพระพุทธศาสนสุภาษิตบทว่า "จงเตือนตนด้วยตนเองถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรเอาตนไปทำชั่ว" นี้เรียกว่าตรงต่อตนเอง
ตรงต่อผู้อื่น หมายความว่า เราอยู่ในสังคม อย่างไรเสียก็จะอยู่คนเดียวโดดๆ ไม่ได้ อย่างน้อยๆ ก็ต้องอยู่กับบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย พี่น้อง เพื่อนพ้อง บุตรธิดา ภรรยาบริวาร เป็นต้น บรรดาท่านเหล่านี้ต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกับเรา แล้วจะทำอย่างไรมีทางทำได้ คือ รักษาตนให้ตั้งอยู่ในคุณความดีด้วยความระมัดระวัง ดังคำกลอนภาษิตว่า
"อยู่คนเดียว ให้ระวัง ยั้งความคิด
อยู่ร่วมมิตร ให้ระวัง ยั้งคำขาน
อยู่ร่วมราช ให้ระวัง ราชการ
อยู่ร่วมพาล ให้ระวัง ทุกอย่างไป"
เมื่อตนเองมีกรอบของตน ในการปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ตามฐานะนี้เรียกว่า ตรงต่อบุคคลอื่น
ตรงต่อหน้าที่ หมายความว่า ทุกคนเกิดมาต้องมีหน้าที่ติดตัวมาเสมอ ในพระพุทธศาสนา ท่านแบ่งหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน ตัวอย่างในเรื่องทิศ ๖ ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้าบุตรธิดาพึงบำรุงเลี้ยงบิดามารดา ด้วยสถาน ๕ คือ
๑.ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว ต้องเลี้ยงท่านตอบ
๒.ทำกิจของมารดาบิดา
๓.ดำรงวงศ์สกุลไว้
๔.ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก
๕.เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศไปให้ท่าน
มารดา-บิดา เมื่อได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตร-ธิดา ด้วยสถาน ๕ เช่นกัน คือ
๑.ห้ามมิให้ทำความชั่ว
๒.ให้ตั้งอยู่แต่ในความดี
๓.ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔.หาภรรยาหรือสามี ที่เหมาะสมให้
๕.มอบทรัพย์สมบัติให้ตามสมัย
ส่วนอีก ๕ ทิศ คือ
๑.ทักขิณทิส ทิศเบื้องขวา อาจารย์
๒.ปัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหลัง บุตร - ธิดา สามี - ภรรยา
๓.อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย มิตร - สหาย
๔.เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องต่ำ บ่าว - ไพร่
๕. อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์
ท่านแจกแจงหน้าที่ไว้อย่างชัดเจนครบถ้วน เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ดังนั้น จึงต้องตรงต่อหน้าที่เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ดังมีพุทธศาสนสุภาษิตว่า "กมฺมํ วิชฺชา จ ธมฺโม จ สีลํ ชีวิตมุตฺตมํ" แปลว่า ชีวิตจะอุดมสมบูรณ์ ต้องประกอบด้วย หน้าที่การงานมีความรู้ มีความดี และมีศีล ในพุทธศาสนาสุภาษิตบทนี้ บอกว่า หน้าที่การงานอันดับหนึ่ง ความรู้และศีลธรรมเป็นส่วนประกอบที่เกื้อหนุนตามมา เมื่อคนทุกคนเกิดมีหน้าที่ติดตามตัวมาด้วย จึงควรรู้ว่าตนเอง บัดนี้มีหน้าที่อะไรอยู่ แล้วปฏิบัติหน้าที่นั้นๆอย่างเต็มความสามารถ นี้เรียกว่า ตรงต่อหน้าที่
ตรงต่อเวลา หมายความว่า เป็นกาลัญญุตาบุคคล คือ เป็นบุคคลตรงต่อกำหนดกาล เรื่องเวลาหรือกำหนดกาลนี้ มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะผู้มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้ทันตามกำหนดกาลที่ท่านกำหนดไว้แล้ว เช่น พิธีกร วิทยากร เจ้าหน้าที่บริกรหรือแม้ส่วนอื่นๆ เช่น ท่านผู้เป็นประธานในพิธี เป็นต้น จะต้องศึกษาเอกสารให้ชัดเจน ดูวันและเวลาให้ถี่ถ้วนดูสถานที่ให้ละเอียดจะต้องไปสู่สถานที่โดยวิธีใดและไปถึงก่อนเวลา เพื่องานทุกอย่างจะได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่ในทางตรงกันข้ามผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติตามเวลาที่กำหนด งานทุกอย่างก็จะชะงัก บางทีเกิดผลเสียหายร้ายแรง จนถึงกับในหน่วยงานนั้นๆ อาจถูกตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวน พิจารณาความผิดพลาด อีกอย่างหนึ่ง โทษของความไม่ตรงต่อหน้าที่เห็นได้ชัด เช่น ครูอาจารย์ ผู้สอนหนังสือ นักพูด นักปกฐกถา วิทยากร ท่านเหล่านี้ต้องเป็นคนตรงต่อเวลาที่เขากำหนดให้ ยิ่งไปถวายความรู้ให้กับพระสงฆ์ เมื่อถึงกำหนดเวลา ๑๑.๐๐ น. ต้องจบถ้าไม่จบ เนื้อความที่เลิศหรูอร่อยเหาะที่ผ่านๆ มาทั้งหมด จะจืดลงไปทันที เพราะถึงเวลาที่พระเจ้าพระสงฆ์ จะไปพิจารณาภัตตาหารเพลแล้ว และเป็นภัตตาหารมื้อสุดท้ายของวันนั้นเสียด้วย ดังนั้น ความเป็นกาลัญญุตา คือรู้จักกาลนี้ จึงสำคัญ เป็นคุณธรรมของสัตบุรุษและเป็นเสน่ห์ของผู้นำ
ตรงต่อคุณความดี ข้อนี้สำคัญสุดยอด เพราะว่าความดีคือความถูกต้องไม่ผิดพลาดได้แก่พฤติกรรมที่ทำไปแล้วอำนวยประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและทั้งแก่ผู้อื่น ต้นตอของความดีอยู่ที่ไหน มีสูตรว่า คนดีบวกกับกุศลธรรม มีผลออกมาเป็นความดี อย่างมีคำโบราณท่านว่า "คนดี ต้องดีสาม งามสี่ คงที่แปด"
ดีสาม ได้แก่ กายสุจริต ๓ งามสี่ได้แก่ วจีสุจริต ๔ คงที่แปด หมายถึง ไม่หวั่นไหวในเมื่อโลกธรรม ๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามาครอบงำ นี้จะเห็นว่า คนดีบวกกับกุศลธรรมจะกลายเป็นดีสาม งามสี่ คงที่แปด
คนทั่วๆ ไป จะให้ตรงต่อความดีเองนั้น ท่านว่ายาก อย่างน้อยๆ คนนั้นจะต้องเป็นธัมมัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่าสิ่งนี้เป็นเหตุแห่งความสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งความทุกข์ และอัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่นรู้จักว่า สุขเกิดเพราะเป็นผลมาจากเหตุอันนี้ ทุกข์เกิดเพราะเป็นผลมาจากเหตุอันนี้เป็นต้น
ทำอย่างไรตนเอง จึงจะมีคุณสมบัติดังว่า มีพุทธศาสนสุภาษิตมาในคันธาชาดกว่า "ถ้าขาดพุทธิปัญญา และมิได้ศึกษาระเบียบวินัย คนทั้งหลาย ก็ย่อมจะดำเนินชิวิตเหมือนกระบือบอดในกลางป่า" สรุปว่า ถ้าอยากมีคุณสมบัติอย่างนี้ ต้องศึกษาเล่าเรียนเพราะทางพระพุทธศาสนา ท่านให้ความหมายของคำว่า สิกขาหรือศึกษา ซึ่งแปลว่า เครื่องมือสำหรับพิจารณาตนเอง ดังคำกลอนว่า
"ตนเตือนตนของตนให้พ้นผิด
ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
ตนเตือนตนเตือนไม่ได้ใครจะเตือน
ตนแชเชือนแล้วใครจะช่วยให้ป่วยการ"
ต้องศึกษาเล่าเรียนให้รอบรู้ทั้งดีและชั่ว จนละชั่วมาประพฤติดี ให้เป็นวิถีชีวิตอย่างนี้ เรียกว่า ตรงต่อคุณความดี
ข้อที่สี่ ประโยชน์ของผู้นำตรง และ โทษของผู้นำคด
ประโยชน์ คือ ความสำเร็จ ความเจริญ และความสุข แต่ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้ว่า "ผลที่ได้ตามต้องการ, สิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ, ผลดีตามที่คิดมุ่งหมายไว้ (ทั้งส่วนตนและส่วนรวม)"
ประโยชน์ คือผลที่ได้ตามต้องการ หมายความว่า ผู้นำตรง ถ้าจะทำอะไร จะต้องมีคุณธรรม ดังคำกลอนว่า "รักมากบากบั่น หมั่นคิด พินิจเหตุ" เป็นเครื่องรองรับ เพราะคุณธรรมนี้เป็นเครื่องประกันความสำเร็จ และต้องสำเร็จได้ตามปรารถนาไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์ส่วนสาธารณะ
ประโยชน์ คือสิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ ได้แก่ความเจริญ ผู้นำตรงต้องนำไปสู่ความเจริญ เพราะมีธรรมเป็นเครื่องเจริญประกันอยู่ ดังมีคำกลอนว่า "ผู้นำตรง ต้องนำ-คบคนดี- มีธรรมะ-ละข้อผิด- กอปรกิจงาม" ธรรมสี่ประการนี้ ตรงต่อความเจริญอย่างแน่นอน ทั้งส่วนตนและส่วนสาธารณะ
ประโยชน์ คือ ผลดี ตามที่คิดมุ่งหมายไว้ ได้แก่ความสุข ฆารวาสหรือผู้ครองเรือนก็ปรารถนาความสุขไปอย่างหนึ่ง ส่วนบรรพชิตหรือนักบวชก็ปรารถนาสุขไปอีกอย่าง
ฆราวาส ถ้าได้ผู้นำตรงก็จะต้องประสบสุขที่ปรารถนา สุขที่ปรารถนาของฆราวาส มีคำกลอนว่า "มีใช้ ได้กิน สิ้นหนี้งานดี เพราะไร้โทษ"
ส่วนบรรพชิต ปรารถนาสุขคือ อยากคบสมาคมกับท่านที่เป็นสัตบุรุษหรือบัณฑิต อยากฟังเทศน์ฟังธรรมของท่าน และอยากปฏิบัติตามธรรมที่ท่านเทศน์และท่านปฏิบัติ เพราะหวังในประโยชน์ ดังคำกลอนที่ว่า
"คบคนพาล พาลพาไปหาผิด
คบบัณฑิต ฑิตพาไปหาผล
พาขัดนอกวาจากาย ถึงในกมล
ทำให้ตนพึ่งตนได้ พ้นภัยพาล"
ทั้งหมดนี้คือประโยชน์ของผู้นำ ส่วนโทษของผู้นำคด มีนัยตรงกันข้ามจากที่อธิบายมา
ข้อที่ห้า คุณธรรมสำหรับผู้นำที่ดี คุณธรรมคือข้อวัตรปฏิบัติ ข้อวัตรปฏิบัติสำหรับผู้นำท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ให้หลักการไว้มากมาย เช่น รศ. ดร. ประกอบ คุณารักษ์ ให้ชนิดของผู้นำว่า
ผู้นำ มี ๔ แบบ
๑. ผู้นำแบบ สั่งงาน (DIRECTING STYLE)
๒. ผู้นำแบบ สอนงาน (COACHING STYLE)
๓. ผู้นำแบบ ปรึกษางาน (PARTICIPATING STYLE)
๔. ผู้นำแบบ มอบงาน (DELEGATION STYLE)
แต่ละแบบมีข้อปฏิบัติปลีกย่อยอีกมากมาย และสรุปลงว่า การเป็นผู้นำที่ดี ย่อมรู้จักใช้วิธีการนำในรูปแบบต่างๆ ให้คล่องแคล่ว ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คนที่เป็นผู้นำก็คือ คนที่รู้จักเรียนรู้ และฝึกฝนตนเองโดยไม่หยุดยั้งนั่นเอง ในพระพุทธศาสนา ท่านมีคุณธรรมสำหรับผู้นำไว้มากมายหลายระดับเช่นกัน แต่คุณธรรมสุดยอดของคุณธรรม สำหรับสุดยอดของผู้นำ มีคุณธรรมสำหรับปฏิบัติเพียง ๑๐ ข้อ คือ การให้ปัน มั่นในศีล ยินดีสละ หน้าที่ตรง คงความอ่อน ถ่ายถอนกิเลสระงับเหตุเฉียวฉุน มีสมดุลทั่วไป ใจอดกายทน ชี้ผลดุลยธรรม
ข้อที่หนึ่ง ทานคือการให้ปัน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของ บำรุงเลี้ยงช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะด้วย
ข้อที่สอง คือ ถือมั่นในศีลได้แก่ มั่นในความประพฤติดีงาม เช่นการสำรวมกาย วาจา โดยมีกรอบคือสุจริตเป็นแนวปฏิบัติเพื่อรักษาเกียรติคุณของผู้นำ และผู้นำควรเป็นตัวอย่างทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เมื่อมีศีลย่อมเป็นที่เคารพนับถือของผู้ตาม
ข้อที่สาม บริจาค คือความยินดีสละ สละอะไร ในข้อนี้มุ่งไปที่การสละความสุขสำราญส่วนตัว ตลอดจนแม้กระทั่งสละชีวิตเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ได้รับความยุติธรรมและความสันติสุข
ข้อที่สี่ อาชชวะ คือความมีหน้าที่ตรง มีความหมายชัดเจนอยู่แล้ว ผู้นำที่ดีต้องมีหน้าที่คือ ธรรมะ ดังหลวงพ่อพุทธทาส ท่านพูดอยู่บ่อยๆ ว่า "หน้าที่คือธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่" เมื่อถือว่าหน้าที่เป็นธรรมะ ก็เท่ากับว่ามีหน้าที่ตรงต่อความดี การตรงต่อความดี ก็เท่ากับว่ายินดีในธรรมะ การยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ข้อที่ห้า มัททวะ คือ คงความอ่อนโยน ความอ่อนโยนได้แก่ความเป็นคนมีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่งจองหอง-หยาบคาย-กระด้าง ถือตัวว่าเป็นผู้นำโดยหลงประเด็นไปประพฤติตามทุภาษิตบทว่า "ผู้นำต้องมี มาตร วาทโม้ โชว์รวย สวยเพราะยา มาเพราะนายได้เพราะญาติ" ดังนี้เป็นต้นไปจะต้องมีความงามสง่าที่เกิดจากน้ำใจและเกิดจากท่วงทีที่สุภาพนุ่มนวล ละมุน ละไม เกิดมีได้
เพราะการสั่งสมอบรมมาเป็นอย่างดี
ข้อที่หก ตบะ คือเครื่องถ่ายถอนกิเลส ตบะแปลว่าเผาจนร้อน เผาอะไร เผากิเลสตัณหาของตน กิเลสตัณหาเช่น ความโลภ -โกรธ - หลง สิ่งเหล่านี้มันมีอยู่แล้วในตัวของทุกคน ผู้นำที่ดีต้องรู้จักการถ่ายถอนกิเลส ไม่ให้กิเลสเข้ามาครอบงำย่ำยีในจิตได้ ตั้งแต่ระดับธรรมดา ระดับกลาง และระดับสูง ระดับธรรมดาคือความโลภ ต้องเผาด้วยทาน ระดับกลางคือความโกรธ ต้องเผาด้วยศีล ระดับสูงคือความหลง ต้องเผาด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ถ่ายถอนกิเลส
ข้อที่เจ็ด อักโกธะ ไม่โกรธ คือระงับเหตุเฉียวฉุน ความเฉียวฉุนเกิดมาจากอะไร ต้องค้นหาเหตุต้นตอนี้ก่อน ในตัณหชาดกกล่าวไว้ว่า "ความโกรธ เกิดจากความไม่อดทน" เมื่อรู้อย่างนี้จะเอาชนะหรือดับความโกรธอย่างไร มีพุทธศาสนสุภาษิตในธรรมบทบอกไว้ว่า "จงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ" และในโกธนาสูตรบอกไว้ว่า "พึงดับความโกรธด้วยปัญญา" เมื่อรู้ความโกรธเกิดจากอะไร จะชนะหรือดับความโกรธด้วยวิธีอะไร ก็จงทำตามโดยวิธีนั้น นี้เรียกว่า ระงับเหตุเฉียวฉุน
ข้อที่แปด อวิหิงสา คือสมดุลทั่วไป ได้แก่ความไม่เบียดเบียน บีบคั้น กดขี่ ผู้ใต้บังคับบัญชา คำว่าสมดุลทั่วไป ต้องมีเกณฑ์และกรอบเป็นมาตรวัด เช่นต้องมีความกรุณาเป็นเกณฑ์มีความไม่อาฆาตแค้นเป็นกรอบ เมื่อตั้งเกณฑ์และกรอบไว้อย่างนี้ ถึงบทจะลงโทษหรือยกย่องผู้ใต้บังคับบัญชา ก็ทำได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่มีนอกไม่มีใน ไม่มีเขาไม่มีเรา เรียกว่า สมดุลทั่วไป
ข้อที่เก้า ขันติ คือความอดทน ได้แก่ใจอดกายทน ต่อหน้าที่ที่ได้ตรากตรำ เมื่อเป็นผู้นำถึงจะลำบากน่าเหนื่อยหน่ายเพียงไรก็ไม่ท้อถอย ถึงจะมีคู่แข่ง ยั่วยุเย้ยหยัน ด้วยถ้อยคำ เสียดสี ถากถางสักปานใด ก็ไม่หมดกำลังใจ จะต้องนำผู้ใต้บังคับบัญชา บำเพ็ญกรณียกิจต่อไปโดยไม่ยอมละทิ้งหน้าที่โดยเด็ดขาด ความอดทนที่สูงสุดของผู้บังคับบัญชา คืออดทนต่อคำตำหนิของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ดังมีพุทธศาสนสุภาษิตในชาดกว่า "อดทนถ้อยคำของผู้สูงกว่าได้ ก็เพราะกลัว อดทนถ้อยคำของคนที่เสมอกันได้ ก็เพราะสู้กันไม่ได้ แต่ผู้ใดอดทนถ้อยคำของคนต่ำกว่าได้ สัตบุรุษกล่าวความอดทนของผู้นั้นว่าเป็นความอดทนที่สูงสุด"
ข้อที่สิบ อวิโรธนะ แปลว่า ความไม่คลาดธรรม ความคงที่ในธรรม คือชี้ผลดุลยธรรม ผู้นำจะต้องไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหวเพราะถ้อยคำดีร้าย เพราะลาภสักการะ เพราะยศถาบรรดาศักดิ์ หรือเพราะอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอันขาด จะต้องสถิตมั่นอยู่ในยุติธรรม เนติธรรม และดุลยธรรม นี้เรียกว่า ยินดีในธรรม ยินดีในธรรม ย่อมชนะยินดีทั้งปวง ดังมีพุทธศาสนสุภาษิตในธรรมบทว่าไว้ว่า "สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง"
ธรรมทั้งสิบประการนี้ เรียกว่า สุดยอดคุณธรรม สำหรับสุดยอดของผู้นำ ถ้าผู้นำต้องการความเป็นสุดยอด โดยไม่หลงประเด็นไปในคำทุภาษิตที่เขาถากถางไว้ว่า "เป็นผู้นำเพราะระบบ เครือญาติ ฉลาดฮั้ว มั่วนิ่ม ทิ่มข้างหลัง ดังคนเดียว เบี้ยวจนเคย" ควรจะมีธรรม ๑๐ ประการ ไว้เป็นเครื่องมือ
เรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดมี ๕ หัวข้อคือ
๑.ความหมายของคำว่า "ผู้นำ" คืออะไร
๒.ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้นำได้
๓.ผู้นำมีทั้งหมดกี่ประเภท
๔.ประโยชน์ของผู้นำตรงและประเภทของผู้นำคด
๕.คุณธรรมสำหรับผู้นำ
สรุปว่า ผู้นำคือหัวหน้า ที่ทำงานผ่านคนอื่นๆ โดยวิธีการ "กำหนดเป้า บอกเล่าโครงการ แบ่งงานให้ดี มากมีอุปกรณ์ ขั้นตอนแจ่มชัด ตามวัดผลิตผล แล้วนิพนธ์ให้เป็นสูตร" เพื่อผู้นำสมัยต่อไปจะได้ถือเป็นแบบอย่าง
อย่างไรก็ตาม ผู้นำก็มีทั้งผู้นำตรงและผู้นำคด ผู้นำคด เพราะไม่มีคุณธรรมเป็นเครื่องประพฤติ ผู้นำตรงนั้น จะต้องมีคุณธรรมคุณธรรมเองก็มีมากมายหลายข้อ แต่ที่นับว่าเป็นธรรมขั้นสุด
ยอดของผู้นำคือ ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการได้แก่ การให้ปัน มั่นในศีล ยินดีสละ หน้าที่ตรง คงความอ่อน ถ่ายถอนกิเลสไม่ก่อเหตุเฉียวฉุน สมดุลทั่วไป ใจอดกายทน ชี้ผลดุลยธรรม
โดยเฉพาะ ธรรมทั้งสิบข้อนี้ ยอดของผู้นำจะต้องนำไปไปประพฤติปฏิบัติให้ยิ่งกว่าชีวิตดังพุทธศาสนสุภาษิตในมหาสุต-โสมชาดกว่า "พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต แต่พึงสละทั้งทรัพย์ อวัยวะ และแม้ชีวิตเพื่อรักษาธรรม"
๑.เขาจะต้องยอมทนรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ ไม่มีใครในตำแหน่งผู้บริหารที่หลีกเลี่ยงให้พ้นจากการวิพากษ์วิจารณ์ หรือ
การตำหนิติเตียนไปได้ เขาจะต้องเรียนรู้ที่จะคัดเลือกเอาคำวิจารณ์ที่เป็นการสร้างสรรค์ เป็นการแนะนำตักเตือน ซึ่งเขาจะสามารถ
เรียนรู้และรับเอาได้และรู้ว่าคำวิจารณ์อันไหนที่ชั่วร้ายและพึงละเลยไม่นำพาต่อมันเสีย
๒.เขาจะต้องเรียนรู้จักการที่จะยืนหยัด เพื่อผจญความทุกข์ยากทั้งปวง สรรพสิ่งมักจะไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นอยู่เสมอไป
หรอก ความล้มเหลวมักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ผู้นำที่ดีต้องรู้พยายามเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น ต้องฟาดฟัน ไม่ยอมท้อถอย
๓.เขาต้องมีความสามารถในการแจกจ่ายอำนาจหน้าที่ในความรับผิดชอบ ผู้นำที่ดีต้องรู้จักยอมยกอำนาจให้กับผู้อื่นบ้าง และ
มีความไว้วางใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชาของตน
๔.ผู้นำ จะต้องทำการวินิจฉัยสั่งการ (ตัดสินใจ) ผู้ใดที่ไม่มีความสามารถในคุณสมบัติด้านนี้ (เช่นโลเล ไม่แน่นอน ขี้สงสาร
ไม่รู้จักตัดสินใจอย่างไรดี จึงตัดสินใจไม่ได้) ก็ไม่ควรจะเป็นผู้นำของใครทั้งสิ้น
๕.ผู้นำ จะต้องไม่มีอคติทั้งปวง บางคนวิจารณ์คำว่า "อคติ" ว่าเป็นสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือยที่มีคนเพียงบางคนเท่านั้นที่จะมีคุณ
สมบัติข้อนี้
๖.ผู้นำ ต้องรู้จักสรรเสริญชมเชยผู้อื่น ต้องแชร์เครดิตและให้เครดิตแก่บุคคลอื่นด้วยหากเขาต้องการจะเอาชื่อเอาหน้าหรือ
รับสมอ้างว่า ทุกอย่างตนเองเป็นผู้กระทำทั้งสิ้นแล้วเขาก็ย่อมจะก่อให้เกิดความยุ่งยากลำบากใจ เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ในกลุ่มผู้อยู่
ใต้บังคับบัญชาของเขา
๗.ผู้นำ จะต้องสามารถทำใจให้มีสมาธิดีได้ แม้ในขณะที่สถานการณ์วิกฤตอย่างที่สุด เขาต้องมีใจคอมั่นคง หนักแน่น เพื่อ
คงไว้ซึ่งความมีสติรอบคอบ อันจะช่วยในการตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง เขาจะต้องยืนหยัด คอตั้ง อกผายไหล่ผึ่งได้ ในขณะที่คนอื่น
เขายอมสยบกันหมดแล้ว
๘.ผู้นำที่ดี เมื่อทำผิดแล้วต้องยอมรับผิด โดยดุษณี
๙.ผู้นำ ต้องไม่พยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบและโยนความผิดให้แก่คนอื่น เขาต้องเป็นเหมือนนายพล โรเบอร์ต อี ลี
ผู้นำฝ่ายใต้ในสงครามกลางเมืองสหรัฐ ผู้ซึ่งยอมรับผิดชอบในความผิดพลาดของลูกน้องของเขา
๑๐. ผู้นำที่ดีต้องเจริญเติบโต มีความก้าวหน้า การหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่ใช่การเป็นผู้นำที่ดี
ในเอกสารนี้ รวมความว่า คนดี ความดี ทำดี ถือว่าเป็นคุณสมบัติของผู้นำ ถ้าอยากเป็นผู้นำ ก็ต้องทำความดี มีกฎอยู่ว่าความดี คนดี ทำง่าย ความดี คนชั่ว ทำยาก.
ข้อที่สาม ผู้นำมีกี่ประเภท เมื่อว่าโดยละเอียดมีมากมายเหลือเกิน แต่โดยภาพรวมแล้วผู้นำมีอยู่เพียง ๒ ประเภท คือ ผู้นำตรงและผู้นำคด
คำว่า ตรง ท่านให้ความหมายไว้ว่า เที่ยง ไม่เอียง ไม่คดและไม่โกง ทั้งต่อตนเอง ต่อบุคคลอื่น ต่อหน้าที่ ต่อเวลา และต่อคุณความดี
ตรงต่อตนเอง หมายความว่า คนเราเกิดมาต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกันหมด เมื่อรู้ว่าตนรักสุข สิ่งไหนเป็นทุกข์ เช่น บรรดาอบายมุขทั้งหลาย ก็อย่าไปข้องแวะ ต้องตรงต่อตนเอง โดยประพฤติตามพระพุทธศาสนสุภาษิตบทว่า "จงเตือนตนด้วยตนเองถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรเอาตนไปทำชั่ว" นี้เรียกว่าตรงต่อตนเอง
ตรงต่อผู้อื่น หมายความว่า เราอยู่ในสังคม อย่างไรเสียก็จะอยู่คนเดียวโดดๆ ไม่ได้ อย่างน้อยๆ ก็ต้องอยู่กับบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย พี่น้อง เพื่อนพ้อง บุตรธิดา ภรรยาบริวาร เป็นต้น บรรดาท่านเหล่านี้ต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกับเรา แล้วจะทำอย่างไรมีทางทำได้ คือ รักษาตนให้ตั้งอยู่ในคุณความดีด้วยความระมัดระวัง ดังคำกลอนภาษิตว่า
"อยู่คนเดียว ให้ระวัง ยั้งความคิด
อยู่ร่วมมิตร ให้ระวัง ยั้งคำขาน
อยู่ร่วมราช ให้ระวัง ราชการ
อยู่ร่วมพาล ให้ระวัง ทุกอย่างไป"
เมื่อตนเองมีกรอบของตน ในการปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ตามฐานะนี้เรียกว่า ตรงต่อบุคคลอื่น
ตรงต่อหน้าที่ หมายความว่า ทุกคนเกิดมาต้องมีหน้าที่ติดตัวมาเสมอ ในพระพุทธศาสนา ท่านแบ่งหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน ตัวอย่างในเรื่องทิศ ๖ ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้าบุตรธิดาพึงบำรุงเลี้ยงบิดามารดา ด้วยสถาน ๕ คือ
๑.ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว ต้องเลี้ยงท่านตอบ
๒.ทำกิจของมารดาบิดา
๓.ดำรงวงศ์สกุลไว้
๔.ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก
๕.เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศไปให้ท่าน
มารดา-บิดา เมื่อได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตร-ธิดา ด้วยสถาน ๕ เช่นกัน คือ
๑.ห้ามมิให้ทำความชั่ว
๒.ให้ตั้งอยู่แต่ในความดี
๓.ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔.หาภรรยาหรือสามี ที่เหมาะสมให้
๕.มอบทรัพย์สมบัติให้ตามสมัย
ส่วนอีก ๕ ทิศ คือ
๑.ทักขิณทิส ทิศเบื้องขวา อาจารย์
๒.ปัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหลัง บุตร - ธิดา สามี - ภรรยา
๓.อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย มิตร - สหาย
๔.เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องต่ำ บ่าว - ไพร่
๕. อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์
ท่านแจกแจงหน้าที่ไว้อย่างชัดเจนครบถ้วน เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ดังนั้น จึงต้องตรงต่อหน้าที่เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ดังมีพุทธศาสนสุภาษิตว่า "กมฺมํ วิชฺชา จ ธมฺโม จ สีลํ ชีวิตมุตฺตมํ" แปลว่า ชีวิตจะอุดมสมบูรณ์ ต้องประกอบด้วย หน้าที่การงานมีความรู้ มีความดี และมีศีล ในพุทธศาสนาสุภาษิตบทนี้ บอกว่า หน้าที่การงานอันดับหนึ่ง ความรู้และศีลธรรมเป็นส่วนประกอบที่เกื้อหนุนตามมา เมื่อคนทุกคนเกิดมีหน้าที่ติดตามตัวมาด้วย จึงควรรู้ว่าตนเอง บัดนี้มีหน้าที่อะไรอยู่ แล้วปฏิบัติหน้าที่นั้นๆอย่างเต็มความสามารถ นี้เรียกว่า ตรงต่อหน้าที่
ตรงต่อเวลา หมายความว่า เป็นกาลัญญุตาบุคคล คือ เป็นบุคคลตรงต่อกำหนดกาล เรื่องเวลาหรือกำหนดกาลนี้ มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะผู้มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้ทันตามกำหนดกาลที่ท่านกำหนดไว้แล้ว เช่น พิธีกร วิทยากร เจ้าหน้าที่บริกรหรือแม้ส่วนอื่นๆ เช่น ท่านผู้เป็นประธานในพิธี เป็นต้น จะต้องศึกษาเอกสารให้ชัดเจน ดูวันและเวลาให้ถี่ถ้วนดูสถานที่ให้ละเอียดจะต้องไปสู่สถานที่โดยวิธีใดและไปถึงก่อนเวลา เพื่องานทุกอย่างจะได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่ในทางตรงกันข้ามผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติตามเวลาที่กำหนด งานทุกอย่างก็จะชะงัก บางทีเกิดผลเสียหายร้ายแรง จนถึงกับในหน่วยงานนั้นๆ อาจถูกตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวน พิจารณาความผิดพลาด อีกอย่างหนึ่ง โทษของความไม่ตรงต่อหน้าที่เห็นได้ชัด เช่น ครูอาจารย์ ผู้สอนหนังสือ นักพูด นักปกฐกถา วิทยากร ท่านเหล่านี้ต้องเป็นคนตรงต่อเวลาที่เขากำหนดให้ ยิ่งไปถวายความรู้ให้กับพระสงฆ์ เมื่อถึงกำหนดเวลา ๑๑.๐๐ น. ต้องจบถ้าไม่จบ เนื้อความที่เลิศหรูอร่อยเหาะที่ผ่านๆ มาทั้งหมด จะจืดลงไปทันที เพราะถึงเวลาที่พระเจ้าพระสงฆ์ จะไปพิจารณาภัตตาหารเพลแล้ว และเป็นภัตตาหารมื้อสุดท้ายของวันนั้นเสียด้วย ดังนั้น ความเป็นกาลัญญุตา คือรู้จักกาลนี้ จึงสำคัญ เป็นคุณธรรมของสัตบุรุษและเป็นเสน่ห์ของผู้นำ
ตรงต่อคุณความดี ข้อนี้สำคัญสุดยอด เพราะว่าความดีคือความถูกต้องไม่ผิดพลาดได้แก่พฤติกรรมที่ทำไปแล้วอำนวยประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและทั้งแก่ผู้อื่น ต้นตอของความดีอยู่ที่ไหน มีสูตรว่า คนดีบวกกับกุศลธรรม มีผลออกมาเป็นความดี อย่างมีคำโบราณท่านว่า "คนดี ต้องดีสาม งามสี่ คงที่แปด"
ดีสาม ได้แก่ กายสุจริต ๓ งามสี่ได้แก่ วจีสุจริต ๔ คงที่แปด หมายถึง ไม่หวั่นไหวในเมื่อโลกธรรม ๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามาครอบงำ นี้จะเห็นว่า คนดีบวกกับกุศลธรรมจะกลายเป็นดีสาม งามสี่ คงที่แปด
คนทั่วๆ ไป จะให้ตรงต่อความดีเองนั้น ท่านว่ายาก อย่างน้อยๆ คนนั้นจะต้องเป็นธัมมัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่าสิ่งนี้เป็นเหตุแห่งความสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งความทุกข์ และอัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่นรู้จักว่า สุขเกิดเพราะเป็นผลมาจากเหตุอันนี้ ทุกข์เกิดเพราะเป็นผลมาจากเหตุอันนี้เป็นต้น
ทำอย่างไรตนเอง จึงจะมีคุณสมบัติดังว่า มีพุทธศาสนสุภาษิตมาในคันธาชาดกว่า "ถ้าขาดพุทธิปัญญา และมิได้ศึกษาระเบียบวินัย คนทั้งหลาย ก็ย่อมจะดำเนินชิวิตเหมือนกระบือบอดในกลางป่า" สรุปว่า ถ้าอยากมีคุณสมบัติอย่างนี้ ต้องศึกษาเล่าเรียนเพราะทางพระพุทธศาสนา ท่านให้ความหมายของคำว่า สิกขาหรือศึกษา ซึ่งแปลว่า เครื่องมือสำหรับพิจารณาตนเอง ดังคำกลอนว่า
"ตนเตือนตนของตนให้พ้นผิด
ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
ตนเตือนตนเตือนไม่ได้ใครจะเตือน
ตนแชเชือนแล้วใครจะช่วยให้ป่วยการ"
ต้องศึกษาเล่าเรียนให้รอบรู้ทั้งดีและชั่ว จนละชั่วมาประพฤติดี ให้เป็นวิถีชีวิตอย่างนี้ เรียกว่า ตรงต่อคุณความดี
ข้อที่สี่ ประโยชน์ของผู้นำตรง และ โทษของผู้นำคด
ประโยชน์ คือ ความสำเร็จ ความเจริญ และความสุข แต่ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้ว่า "ผลที่ได้ตามต้องการ, สิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ, ผลดีตามที่คิดมุ่งหมายไว้ (ทั้งส่วนตนและส่วนรวม)"
ประโยชน์ คือผลที่ได้ตามต้องการ หมายความว่า ผู้นำตรง ถ้าจะทำอะไร จะต้องมีคุณธรรม ดังคำกลอนว่า "รักมากบากบั่น หมั่นคิด พินิจเหตุ" เป็นเครื่องรองรับ เพราะคุณธรรมนี้เป็นเครื่องประกันความสำเร็จ และต้องสำเร็จได้ตามปรารถนาไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์ส่วนสาธารณะ
ประโยชน์ คือสิ่งที่เป็นผลดีหรือเป็นคุณ ได้แก่ความเจริญ ผู้นำตรงต้องนำไปสู่ความเจริญ เพราะมีธรรมเป็นเครื่องเจริญประกันอยู่ ดังมีคำกลอนว่า "ผู้นำตรง ต้องนำ-คบคนดี- มีธรรมะ-ละข้อผิด- กอปรกิจงาม" ธรรมสี่ประการนี้ ตรงต่อความเจริญอย่างแน่นอน ทั้งส่วนตนและส่วนสาธารณะ
ประโยชน์ คือ ผลดี ตามที่คิดมุ่งหมายไว้ ได้แก่ความสุข ฆารวาสหรือผู้ครองเรือนก็ปรารถนาความสุขไปอย่างหนึ่ง ส่วนบรรพชิตหรือนักบวชก็ปรารถนาสุขไปอีกอย่าง
ฆราวาส ถ้าได้ผู้นำตรงก็จะต้องประสบสุขที่ปรารถนา สุขที่ปรารถนาของฆราวาส มีคำกลอนว่า "มีใช้ ได้กิน สิ้นหนี้งานดี เพราะไร้โทษ"
ส่วนบรรพชิต ปรารถนาสุขคือ อยากคบสมาคมกับท่านที่เป็นสัตบุรุษหรือบัณฑิต อยากฟังเทศน์ฟังธรรมของท่าน และอยากปฏิบัติตามธรรมที่ท่านเทศน์และท่านปฏิบัติ เพราะหวังในประโยชน์ ดังคำกลอนที่ว่า
"คบคนพาล พาลพาไปหาผิด
คบบัณฑิต ฑิตพาไปหาผล
พาขัดนอกวาจากาย ถึงในกมล
ทำให้ตนพึ่งตนได้ พ้นภัยพาล"
ทั้งหมดนี้คือประโยชน์ของผู้นำ ส่วนโทษของผู้นำคด มีนัยตรงกันข้ามจากที่อธิบายมา
ข้อที่ห้า คุณธรรมสำหรับผู้นำที่ดี คุณธรรมคือข้อวัตรปฏิบัติ ข้อวัตรปฏิบัติสำหรับผู้นำท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ให้หลักการไว้มากมาย เช่น รศ. ดร. ประกอบ คุณารักษ์ ให้ชนิดของผู้นำว่า
ผู้นำ มี ๔ แบบ
๑. ผู้นำแบบ สั่งงาน (DIRECTING STYLE)
๒. ผู้นำแบบ สอนงาน (COACHING STYLE)
๓. ผู้นำแบบ ปรึกษางาน (PARTICIPATING STYLE)
๔. ผู้นำแบบ มอบงาน (DELEGATION STYLE)
แต่ละแบบมีข้อปฏิบัติปลีกย่อยอีกมากมาย และสรุปลงว่า การเป็นผู้นำที่ดี ย่อมรู้จักใช้วิธีการนำในรูปแบบต่างๆ ให้คล่องแคล่ว ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คนที่เป็นผู้นำก็คือ คนที่รู้จักเรียนรู้ และฝึกฝนตนเองโดยไม่หยุดยั้งนั่นเอง ในพระพุทธศาสนา ท่านมีคุณธรรมสำหรับผู้นำไว้มากมายหลายระดับเช่นกัน แต่คุณธรรมสุดยอดของคุณธรรม สำหรับสุดยอดของผู้นำ มีคุณธรรมสำหรับปฏิบัติเพียง ๑๐ ข้อ คือ การให้ปัน มั่นในศีล ยินดีสละ หน้าที่ตรง คงความอ่อน ถ่ายถอนกิเลสระงับเหตุเฉียวฉุน มีสมดุลทั่วไป ใจอดกายทน ชี้ผลดุลยธรรม
ข้อที่หนึ่ง ทานคือการให้ปัน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของ บำรุงเลี้ยงช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะด้วย
ข้อที่สอง คือ ถือมั่นในศีลได้แก่ มั่นในความประพฤติดีงาม เช่นการสำรวมกาย วาจา โดยมีกรอบคือสุจริตเป็นแนวปฏิบัติเพื่อรักษาเกียรติคุณของผู้นำ และผู้นำควรเป็นตัวอย่างทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เมื่อมีศีลย่อมเป็นที่เคารพนับถือของผู้ตาม
ข้อที่สาม บริจาค คือความยินดีสละ สละอะไร ในข้อนี้มุ่งไปที่การสละความสุขสำราญส่วนตัว ตลอดจนแม้กระทั่งสละชีวิตเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ได้รับความยุติธรรมและความสันติสุข
ข้อที่สี่ อาชชวะ คือความมีหน้าที่ตรง มีความหมายชัดเจนอยู่แล้ว ผู้นำที่ดีต้องมีหน้าที่คือ ธรรมะ ดังหลวงพ่อพุทธทาส ท่านพูดอยู่บ่อยๆ ว่า "หน้าที่คือธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่" เมื่อถือว่าหน้าที่เป็นธรรมะ ก็เท่ากับว่ามีหน้าที่ตรงต่อความดี การตรงต่อความดี ก็เท่ากับว่ายินดีในธรรมะ การยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ข้อที่ห้า มัททวะ คือ คงความอ่อนโยน ความอ่อนโยนได้แก่ความเป็นคนมีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่งจองหอง-หยาบคาย-กระด้าง ถือตัวว่าเป็นผู้นำโดยหลงประเด็นไปประพฤติตามทุภาษิตบทว่า "ผู้นำต้องมี มาตร วาทโม้ โชว์รวย สวยเพราะยา มาเพราะนายได้เพราะญาติ" ดังนี้เป็นต้นไปจะต้องมีความงามสง่าที่เกิดจากน้ำใจและเกิดจากท่วงทีที่สุภาพนุ่มนวล ละมุน ละไม เกิดมีได้
เพราะการสั่งสมอบรมมาเป็นอย่างดี
ข้อที่หก ตบะ คือเครื่องถ่ายถอนกิเลส ตบะแปลว่าเผาจนร้อน เผาอะไร เผากิเลสตัณหาของตน กิเลสตัณหาเช่น ความโลภ -โกรธ - หลง สิ่งเหล่านี้มันมีอยู่แล้วในตัวของทุกคน ผู้นำที่ดีต้องรู้จักการถ่ายถอนกิเลส ไม่ให้กิเลสเข้ามาครอบงำย่ำยีในจิตได้ ตั้งแต่ระดับธรรมดา ระดับกลาง และระดับสูง ระดับธรรมดาคือความโลภ ต้องเผาด้วยทาน ระดับกลางคือความโกรธ ต้องเผาด้วยศีล ระดับสูงคือความหลง ต้องเผาด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ถ่ายถอนกิเลส
ข้อที่เจ็ด อักโกธะ ไม่โกรธ คือระงับเหตุเฉียวฉุน ความเฉียวฉุนเกิดมาจากอะไร ต้องค้นหาเหตุต้นตอนี้ก่อน ในตัณหชาดกกล่าวไว้ว่า "ความโกรธ เกิดจากความไม่อดทน" เมื่อรู้อย่างนี้จะเอาชนะหรือดับความโกรธอย่างไร มีพุทธศาสนสุภาษิตในธรรมบทบอกไว้ว่า "จงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ" และในโกธนาสูตรบอกไว้ว่า "พึงดับความโกรธด้วยปัญญา" เมื่อรู้ความโกรธเกิดจากอะไร จะชนะหรือดับความโกรธด้วยวิธีอะไร ก็จงทำตามโดยวิธีนั้น นี้เรียกว่า ระงับเหตุเฉียวฉุน
ข้อที่แปด อวิหิงสา คือสมดุลทั่วไป ได้แก่ความไม่เบียดเบียน บีบคั้น กดขี่ ผู้ใต้บังคับบัญชา คำว่าสมดุลทั่วไป ต้องมีเกณฑ์และกรอบเป็นมาตรวัด เช่นต้องมีความกรุณาเป็นเกณฑ์มีความไม่อาฆาตแค้นเป็นกรอบ เมื่อตั้งเกณฑ์และกรอบไว้อย่างนี้ ถึงบทจะลงโทษหรือยกย่องผู้ใต้บังคับบัญชา ก็ทำได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่มีนอกไม่มีใน ไม่มีเขาไม่มีเรา เรียกว่า สมดุลทั่วไป
ข้อที่เก้า ขันติ คือความอดทน ได้แก่ใจอดกายทน ต่อหน้าที่ที่ได้ตรากตรำ เมื่อเป็นผู้นำถึงจะลำบากน่าเหนื่อยหน่ายเพียงไรก็ไม่ท้อถอย ถึงจะมีคู่แข่ง ยั่วยุเย้ยหยัน ด้วยถ้อยคำ เสียดสี ถากถางสักปานใด ก็ไม่หมดกำลังใจ จะต้องนำผู้ใต้บังคับบัญชา บำเพ็ญกรณียกิจต่อไปโดยไม่ยอมละทิ้งหน้าที่โดยเด็ดขาด ความอดทนที่สูงสุดของผู้บังคับบัญชา คืออดทนต่อคำตำหนิของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ดังมีพุทธศาสนสุภาษิตในชาดกว่า "อดทนถ้อยคำของผู้สูงกว่าได้ ก็เพราะกลัว อดทนถ้อยคำของคนที่เสมอกันได้ ก็เพราะสู้กันไม่ได้ แต่ผู้ใดอดทนถ้อยคำของคนต่ำกว่าได้ สัตบุรุษกล่าวความอดทนของผู้นั้นว่าเป็นความอดทนที่สูงสุด"
ข้อที่สิบ อวิโรธนะ แปลว่า ความไม่คลาดธรรม ความคงที่ในธรรม คือชี้ผลดุลยธรรม ผู้นำจะต้องไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหวเพราะถ้อยคำดีร้าย เพราะลาภสักการะ เพราะยศถาบรรดาศักดิ์ หรือเพราะอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอันขาด จะต้องสถิตมั่นอยู่ในยุติธรรม เนติธรรม และดุลยธรรม นี้เรียกว่า ยินดีในธรรม ยินดีในธรรม ย่อมชนะยินดีทั้งปวง ดังมีพุทธศาสนสุภาษิตในธรรมบทว่าไว้ว่า "สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง"
ธรรมทั้งสิบประการนี้ เรียกว่า สุดยอดคุณธรรม สำหรับสุดยอดของผู้นำ ถ้าผู้นำต้องการความเป็นสุดยอด โดยไม่หลงประเด็นไปในคำทุภาษิตที่เขาถากถางไว้ว่า "เป็นผู้นำเพราะระบบ เครือญาติ ฉลาดฮั้ว มั่วนิ่ม ทิ่มข้างหลัง ดังคนเดียว เบี้ยวจนเคย" ควรจะมีธรรม ๑๐ ประการ ไว้เป็นเครื่องมือ
เรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดมี ๕ หัวข้อคือ
๑.ความหมายของคำว่า "ผู้นำ" คืออะไร
๒.ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้นำได้
๓.ผู้นำมีทั้งหมดกี่ประเภท
๔.ประโยชน์ของผู้นำตรงและประเภทของผู้นำคด
๕.คุณธรรมสำหรับผู้นำ
สรุปว่า ผู้นำคือหัวหน้า ที่ทำงานผ่านคนอื่นๆ โดยวิธีการ "กำหนดเป้า บอกเล่าโครงการ แบ่งงานให้ดี มากมีอุปกรณ์ ขั้นตอนแจ่มชัด ตามวัดผลิตผล แล้วนิพนธ์ให้เป็นสูตร" เพื่อผู้นำสมัยต่อไปจะได้ถือเป็นแบบอย่าง
อย่างไรก็ตาม ผู้นำก็มีทั้งผู้นำตรงและผู้นำคด ผู้นำคด เพราะไม่มีคุณธรรมเป็นเครื่องประพฤติ ผู้นำตรงนั้น จะต้องมีคุณธรรมคุณธรรมเองก็มีมากมายหลายข้อ แต่ที่นับว่าเป็นธรรมขั้นสุด
ยอดของผู้นำคือ ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการได้แก่ การให้ปัน มั่นในศีล ยินดีสละ หน้าที่ตรง คงความอ่อน ถ่ายถอนกิเลสไม่ก่อเหตุเฉียวฉุน สมดุลทั่วไป ใจอดกายทน ชี้ผลดุลยธรรม
โดยเฉพาะ ธรรมทั้งสิบข้อนี้ ยอดของผู้นำจะต้องนำไปไปประพฤติปฏิบัติให้ยิ่งกว่าชีวิตดังพุทธศาสนสุภาษิตในมหาสุต-โสมชาดกว่า "พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต แต่พึงสละทั้งทรัพย์ อวัยวะ และแม้ชีวิตเพื่อรักษาธรรม"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น