วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

UTQ-55112 ฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


UTQ-55112  ฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวนคำถาม : 20 ข้อ 15/20
  • ข้อใดกล่าวถึงหลักการเลือกสื่อประเภทสิ่งของใกล้ตัวไม่ถูกต้อง (ความรู้ความจำ)
    – ตรงกับพื้นฐานประสบการณ์เดิมของผู้เรียน หรือถ้าเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ควรเป็นสื่อที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยตรง
  • ให้พิจารณาองค์ประกอบของคำอธิบายรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ (การวิเคราะห์)
    (ก) ชื่อรายวิชา (ข) กลุ่มสาระการเรียนรู้ (ค) ระดับชั้น (ง) รหัสวิชา (จ) เวลาเรียนหรือจำนวนหน่วยกิต (ฉ) สาระสำคัญโดยสังเขป (ช) ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง (ซ) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ (ฌ) จำนวนชั่วโมงที่ใช้จัดการเรียนรู้สำหรับแต่ละหน่วย องค์ประกอบข้างต้นข้อใดที่เป็นข้อแตกต่างระหว่างคำอธิบายรายวิชากับหน่วยการ เรียนรู้
    – ฉ ซ และ ฌ
  • ข้อใดแสดงตัวอย่างการเลือกใช้สื่อแต่ละประเภทในวิชาฟิสิกส์ไม่ถูกต้อง (การนำไปใช้)
    – การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เรื่องปฏิกิริยาฟิชชันและฟิวชัน – สื่อประเภท ICT
  • จงพิจารณาขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติมต่อไปนี้ (ความรู้ความเข้าใจ)
    ก. นำผลการวิเคราะห์ตัวชี้วัดช่วงชั้นทุกข้อในระดับชั้นที่กำหนดมาจัดลำดับตามความสัมพันธ์แล้วเรียบเรียง
    ข. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อความคำอธิบายรายวิชาฟิสิกส์ แล้วนำเนื้อหาความรู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์มาจัดไว้ในกลุ่มเนื้อหาเดียวกัน
    ค. นำสาระสังเขปรายภาคมาเรียบเรียงเขียนเป็นเอกสารคำอธิบายรายวิชาฟิสิกส์พื้นฐานหรือรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม
    ง. วิเคราะห์ความคาดหวังที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ปฏิบัติได้ และมีคุณลักษณะตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้
    ข้อใดเรียงลำดับการจัดทำหลักสูตรรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติมได้ถูกต้อง
    – ง ก ค และ ข
  • ข้อใดกล่าวถึงลักษณะการประเมินตามสภาพจริงไม่ถูกต้อง (ความรู้ความจำ)
    – เป็นการประเมินโดยใช้ข้อสอบและตอนสิ้นสุดการเรียนการสอน
  • ให้พิจารณา มาตรฐาน และตัวชี้วัดต่อไปนี้ (การวิเคราะห์) ข้อใดไม่ถูกต้อง
    – แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้แก่ผู้เรียน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การทดลอง การบรรยาย และการสืบเสาะ
  • ข้อใดไม่จัดเป็นความสำคัญและประโยชน์ของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ความรู้ความจำ)
    – ช่วยให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์
  • พิจารณาทักษะสำคัญในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไปนี้ข้อใดต่างจากพวก (การวิเคราะห์)
    – การทดลอง
  • จงพิจารณาตัวชี้วัดต่อไปนี้ (การวิเคราะห์) ข้อใดแสดงการวิเคราะห์จากตัวชี้วัดไม่ถูกต้อง
    – แนวทางการจัดกิจกรรม คือ การบรรยายและการทดลอง
  • จงพิจารณามาตรฐานต่อไปนี้ (ความรู้ความเข้าใจ) ข้อใดแสดงการวิเคราะห์ตามองค์ประกอบของการเรียนรู้ที่ปรากฏในมาตรฐานได้ถูกต้อง
    – การจัดกิจกรรมต้องให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
  • ให้พิจารณาเกณฑ์การประเมินการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ภาพวาดต่อไปนี้ (การนำไปใช้) จากตารางข้างต้นสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
    ก. เครื่องมือวัดที่ใช้ให้คะแนนเป็นการประเมินทั้งด้านผลงานและกระบวนการ
    ข. ผู้เรียนที่ส่งงานจะได้คะแนนต่ำที่สุดคือ คะแนน
    ค. เกณฑ์การให้คะแนนเป็นแบบ Analytic scoring
    ง. เกณฑ์การให้คะแนนเป็นแบบ Holistic scoring
    ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    – ข และ ค
  • จงพิจารณาเหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องเรียนวิชาฟิสิกส์ต่อไปนี้ (การประเมินค่า)
    ก. เป็นรากฐานที่สำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
    ข. ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์
    ค. คิดค้นพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
    ง. เพื่อศึกษากฎและหลักการพื้นฐานทางธรรมชาติ
    ข้อใดกล่าวถึงเหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องเรียนวิชาฟิสิกส์ได้ถูกต้อง
    – ก ข ค และ ง
  • จากเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ องค์ประกอบของการเรียนรู้ใดที่ครูควรปลูกฝังให้แก่ผู้เรียนเป็นลำดับแรก (การประเมินค่า)
    – ความสนใจใฝ่รู้ในเรื่องราวทางฟิสิกส์
  • เพื่อให้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ได้ดีที่สุด ผู้สอนควรเลือกใช้สื่อประเภทใด (การประเมินค่า)
    – ไม่สามารถตัดสินได้
  • จงพิจารณาหลักการออกข้อสอบต่อไปนี้ข้อใดกล่าวถูกต้อง (ความเข้าใจ)
    – ก่อนการสร้างข้อสอบผู้สอนต้องออกแบบตารางวิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรม หรือตารางวิเคราะห์วัตถุประสงค์และพฤติกรรม
  • จากจุดมุ่งหมายการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ผู้สอนควรดำเนินการสอนด้วยวิธีการใดเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิด สามารถอธิบาย เปรียบเทียบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ คาดคะเนผลสรุปได้ (ความรู้ความเข้าใจ)
    – การใช้คำถาม
  • จงพิจารณาลักษณะของรูปแบบการเรียนการสอนต่อไปนี้ (ความรู้ความจำ) “การเรียนรู้ที่ต้องบูรณาการหลายสาขาวิชา นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยการประยุกต์ความรู้จากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการใช้โครงงานเป็นหลัก” จากข้อความข้างต้นคือ ลักษณะของรูปแบบการเรียนการสอนแบบใด
    – การใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม
  • จงพิจารณาลักษณะสำคัญที่นักเรียนต้องปฏิบัติเมื่อนักเรียนเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนในวิชาฟิสิกส์ต่อไปนี้ (การวิเคราะห์)
    ก. การประยุกต์ใช้ความรู้วิชาฟิสิกส์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ข. การสร้างชิ้นงานโดยใช้องค์ความรู้ทางฟิสิกส์
    ค. การประเมินและปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ในวิชาฟิสิกส์ ง. การวางแผนการปฏิบัติการเรียนรู้ในวิชาฟิสิกส์
    ข้อใดคือลักษณะสำคัญที่มีร่วมกันของรูปแบบการเรียนการสอนการใช้กระบวนการ สร้างความรู้เชิงกลยุทธ์ การใช้ลำดับขั้นการเรียนการสอนที่เน้นโมเดลเป็นศูนย์กลาง และการใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม
    – ก และ ง
  • ถ้ากำหนดให้ผู้สอนออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องกฎการเคลื่อนที่ ของนิวตัน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน รูปแบบดังนี้ (ความรู้ความเข้าใจ)
    ก. การใช้กระบวนการสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์ ข. การใช้ลำดับขั้นการเรียนการสอนที่เน้นโมเดลเป็นศูนย์กลาง ค. การใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม
    เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีกระบวนการในการแก้ปัญหา และสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แสดงการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ตามลำดับ ผู้สอนควรออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเรียงลำดับหรือใช้รูปแบบการ เรียนการสอนต่างๆ อย่างไร
    – ข ก และ ค ตามลำดับ
  • จงพิจารณาหลักการสำคัญในการเลือกใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ต่อไปนี้ (ความรู้ความจำ)
    ก. สื่อและแหล่งเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดเรียนรู้เฉพาะด้านความรู้เท่านั้น
    ข. สื่อที่นิยมใช้ในรายวิชาฟิสิกส์ทั้ง ประเภท มีประสิทธิภาพและข้อจำกัดไม่แตกต่างกัน
    ค. สื่อและแหล่งเรียนรู้จะต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
    ง. ก่อนใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ต้องมีการเตรียมความพร้อมของผู้สอนในการใช้สื่อ
    ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    – ค และ ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น