วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

85ชำแหละ รธน.57



รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
……………………………………………………………………
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ให้ไว้เป็นปีที่เท่าใด ของรัชกาลปัจจุบัน
ก. ปีที่ 65                 ข. ปีที่ 66                   ค. ปีที่ 69                 ง. ปีที่ 86
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ประกาศใช้เมื่อใด
          ก. วันที่ 22  พฤษภาคม 2557                      ข. วันที่ 22  กรกฎาคม 2557
          ค. วันที่ 21  สิงหาคม 2557                         . วันที่ 24  สิงหาคม 2557
3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
ก. ประธาน สปช. เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ        
ข. ประธาน สนช. เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ                  
            ค. หัวหน้า คสช. เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ
          ง. นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ
4. การกําหนดแนวทางการแก้ปัญหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กําหนดไว้กี่ระยะ
ก. 1 ระยะ                 ข. 2 ระยะ                 ค. 3 ระยะ                ง. 4 ระยะ
5. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้เข้ายึดและควบคุมอํานาจการปกครองประเทศ และให้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นความในหมวดใด
ก. หมวด 1               ข. หมวด 2               ค. หมวด 3               ง. หมวด 4
6. ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งเดียวจะแบ่งแยกมิได้ อยู่ในมาตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
ก. มาตรา 1              ข. มาตรา 2               ค. มาตรา 3               ง. มาตรา 4
7. หมวดบทบัญญัติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่เท่าใด
ก. 1/2557                ข. 2/2557                ค. 10/2557               ง. 11/2557
8. อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
ก. คสช.          ข. พระมหากษัตริย์      ค. หัวหน้า คสช.         ง. ปวงชนชาวไทย


9. พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นตามข้อต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
ก. สภาผู้แทนราษฎร   ข. ศาล                    ค. คณะรัฐมนตรี ง. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
10. การจัดสภาขึ้นทําหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและให้มีคณะรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินนั้น
เป็นระยะที่เท่าใด ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
ก. ระยะที่ 1               ข. ระยะที่ 2              ค. ระยะที่ 3               ง. ระยะที่ 4
11. การใช้อํานาจสกัดการใช้กําลังและการนําอาวุธมาใช้คุกคามประชาชน ยุติความหวาดระแวง และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง เป็นระยะที่เท่าใด ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
ก. ระยะเฉพาะหน้า              ข. ระยะที่ 2               ค. ระยะที่ 3               ง. ระยะที่ 4
12. “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค ย่อมได้รับการคุ้มครอง” อยู่ในมาตราใดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
ก. มาตรา 4              ข. มาตรา 5               ค. มาตรา 6               ง. มาตรา 7
13. เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับกรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นตามสิ่งใด
          ก. คําสั่งคณะรัฐมนตรี
ข. คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ค. คําสั่งศาล
ง. ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
14. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยเกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้ใครเป็น ผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ก. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ข. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ                ง. นายกรัฐมนตรี
15. เมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นนอกวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา หรือศาลปกครองสูงสุด จะขอให้ใครวินิจฉัยชี้ขาด
ก. ศาลรัฐธรรมนูญ                        ข. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ          
ข. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ                 ง. คณะรัฐมนตรี
16. สภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนเท่าใด
ก. ไม่เกิน 200 คน       ข. 220 คน      ค. ไม่เกิน 220 คน       ง. ไม่เกิน 250 คน
17. สมาชิกสภานิติบัญญัติ ต้องเป็นบุคคลตามข้อใด
ก. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด                                           ข. มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี
ค. เคยดํารงทางการเมืองในระยะสองปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้ง       ง. ข้อ ก.และข้อ ข.
18. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
ข. สภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยยี่สิบคน
ค. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พระมหากษัตริย์แต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติโดยการเกิด
ง. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะดํารงตําแหน่ง สปช.หรือคณะรัฐมนตรีในขณะเดียวกันมิได้
19. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ก. เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่น้อยกว่าสามปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง
          ข. เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับกฎหมายพนันในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก
          ค. เคยถูกไล่ออก ปลดออกจากราชการเพราะทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
          ง. เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
20. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ ให้ใครเป็นผู้วินิจฉัย
          ก. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ        ข. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          ค. หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ       ง. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
21. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานและรองประธานสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติตามมติของหน่วยงานใด
ก. หัวหน้าคณะรักษาแห่งชาติ             ข. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ                   
ค. ศาลรัฐธรรมนูญ                          ง. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ      
22. ใครเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานและ
รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ก. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ        ข. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ                    ค. นายกรัฐมนตรี                                      ง. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
23. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ใดกระทําการอันเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของการเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนเท่าใด มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพ
ก. ไม่น้อยกว่า 20 คน                                ข. ไม่น้อยกว่า 25 คน
ค. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมด      ง. ไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งหมด
24. ตามรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 พระมหากษัตริย์
ทรงตราพระราชบัญญัติโดยคําแนะนําและยินยอมของใคร
ก. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ           ข. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ                         ง. สภาปฏิรูปแห่งชาติ

25. ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้โดยองค์คณะบุคคลต่างๆ  ยกเว้นข้อใด
          ก. คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ      ข. คณะรัฐมนตรี
          ค. สมาชิก สนช.ไ ม่น้อยกว่า 25 คน                ง. สภาปฏิรูปแห่งชาติ
26. ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ใครเป็นผู้วินิจฉัย
ก. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ           ข. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ    
ค. ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ                      ง. คณะรัฐมนตรี
27. ใครเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ        
          ก. คณะรัฐมนตรี                                     ข. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ                           ง. สภาปฏิรูปแห่งชาติ
28. ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาตินายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าภายในกี่วัน
          ก. 15 วัน                  ข. 20 วัน                  ค. 30 วัน                  ง. 90 วัน
29. ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อสมาชิกตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับเรื่องใด
          ก. ปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน                                   ข. ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
          ค. ปัญหาความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน       ง. ถูกทุกข้อ
30. สมาชิกจำนวนเท่าใดที่จะเสนอชื่อขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรี
          ก. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด          ข.ไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งหมด
          ค. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมด  ง. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของสมาชิกทั้งหมด
31. ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดๆในทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด จะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผู้นั้นในทางใดมิได้  เว้นแต่ข้อใด
          ก. กรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาตามคำสั่ง สนช.
          ข. ผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติทางวิทยุหรือโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          ค. บุคคลที่ประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริง
          ง. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดสดทางวิทยุหรือโทรทัศน์ และถ้อยคำนั้นไปปรากฏนอกบริเวณสภานิติบัญญัติแห่งชาติและมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญา
32. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของคณะรัฐมนตรี  
          ก. บริหารราชการแผ่นดิน                            ข. ดำเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่างๆ
          ค. ส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์       ง. ป้องกันปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
33. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พ.ศ. 2557
          ก. ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินคณะรัฐมนตรีเห็นควรจะฟังความเห็นของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้มีการอภิปรายทั่วไป แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะลงมติในปัญหาอภิปรายไม่ได้
          ข. นายรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความคิดเห็นในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
            ค. การแต่งคณะรัฐมนตรีและการให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงนามสนองพระบรมราชการโองการ
          ง. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามที่ประธาน สนช.ถวายคำแนะนำตามมติของสภา สนช.ที่เสนอโดย คสช.
34. ใครเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชการโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
          ก. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ           ข. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          ค. ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ                      ง. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
35. ใครเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชการโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
          ก. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ           ข. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          ค. ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ                      ง. นายรัฐมนตรี
36. นายรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีผู้ใดขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง
          ก. มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี
            ข. เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          ค. ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองมากกว่าสามปีก่อนได้รับแต่งตั้ง
          ง. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
37. เมื่อมีกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเมื่อมีความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราที่ต้องพิจารณาโดยด่วน พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตรากฎหมายใดใช้บังคับ
          ก. พระราชบัญญัติ       ข.พระราชกำหนด      ค. พระราชกฤษฎีกา     ง. กฎอัยการศึกษา
38. เมื่อประกาศใช้กฎหมายตามข้อ 37 แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกฎหมายดังกล่าวต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป
          ก. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา                 ข. ประกาศในการประชุมคณะรัฐมนตรี
          ค. ประกาศทางโทรทัศน์                              ง. ประกาศทางสื่อวิทยุหรือหนังสือพิมพ์
39. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการตรากฎหมายใดเพื่อพระราชทานอภัยโทษ
          ก. พระราชบัญญัติ       ข.พระราชกำหนด        ค. พระราชกฤษฎีกา   ง. กฎอัยการศึกษา
40. คณะรัฐมนตรีจะขอให้หน่วยงานใดวินิจฉัยเมื่อมีปัญหาว่าสัญญาใดเป็นหนังสือเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือสัญญาที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
          ก. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ           ข. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          ค. ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ                      ง. ศาลรัฐธรรมนูญ
41. ให้หน่วยงานตามข้อ 40 วินิจฉัยให้เสร็จภายในกี่วัน
          ก. 15 วัน                  ข. 20 วัน                  ค. 30 วัน                    ง. 60 วัน
42. หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้มีการเป็นไปตามสัญญา หรือกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายกี่วัน
          ก. 15 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง                      ข. 20 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง           
ค. 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง                       ง. 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
43. สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิบัติในด้านต่างๆ 11 ด้าน ยกเว้นข้อใด
          ก. การศึกษา    ข. ทหาร         ค. การปกครองท้องถิ่น            ง. สื่อสารมวลชน
44. สภาปฏิรูปแห่งชาติประกอบสมาชิกจำนวนกี่คน
ก. ไม่เกิน 200 คน       ข. 220 คน      ค. ไม่เกิน 220 คน       ง. ไม่เกิน 250 คน
45. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
            ก. อายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี               
ข. ผู้มีเชื้อชาติไทย
          ค. เคยถูกไล่ออก ปลดออกจากราชการเพราะทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
          ง. เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
46. ใครเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และประธานและ
รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ก. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ        ข. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ                    ค. นายกรัฐมนตรี                                      ง. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
47. ใครมีหน้าที่ดำเนินการคัดเลือกบุคคลที่สมควรเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ก. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ            ข. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ                 ค. นายกรัฐมนตรี                                      ง. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
48. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
          ก. ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่างๆทั้ง 11 ด้าน
          ข. เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ
          ค. พิจารณาเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ
          ง. พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น
49. สภาปฎิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่างๆ ต้องเสนอต่อหน่วยงานต่างๆ  ตามข้อใด
            ก. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
          ข. คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ศาลรัฐธรรมนูญ
          ค. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ศาลรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
          ง. ศาลรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
50. สภาปฎิรูปแห่งชาติมีต้องเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญภายในกี่วันนับแต่วันที่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรก
          ก. 15 วัน                  ข. 20 วัน                  ค. 30 วัน                    ง. 60 วัน
51. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการแต่งตั้งกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ
          ก. สภาปฏิรูปเสนอ จำนวน 20 คน        ข. สนช. เสนอ จำนวน 5 คน
          ค. คณะรัฐมนตรีเสนอจำนวน 5 คน        ง. คสช. เสนอทั้งหมด 36 คน
52. ใครเป็นคนแต่งตั้งกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ
ก. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ            ข. สภาปฏิรูปแห่งชาติ          
ค. นายกรัฐมนตรี                                      ง. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
53. ต้องแต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญต้องดำเนินการภายในกี่วันนับแต่วันประชุมครั้งแรก
          ก. 15 วัน                  ข. 20 วัน                  ค. 30 วัน                    ง. 60 วัน
54. เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามให้กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในกี่ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งร่างรัฐธรรมนูญ
          ก. ภายใน 1 ปี           ข. ภายใน 2 ปี             ค. ภายใน 3 ปี           ง. ภายใน 5 ปี
55. กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญจะต้องดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในกี่วัน
          ก. 60 วัน                  ข. 90 วัน                  ค. 120 วัน                  ง. 180 วัน
56. คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญจะต้องดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมเรื่องต่างๆกี่หัวข้อ
          ก. 9 เรื่อง                 ข. 10 เรื่อง                ค. 11 เรื่อง                ง. 12 เรื่อง
57. คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญจะต้องดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมเรื่องต่างๆต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
          ก. กลไกลที่ประสิทธิภาพในการป้องกัน ตรวจสอบและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
          ข. กลไกลที่ประสิทธิภาพในการสร้างสร้างความเข้มแข็งของหลักนิติธรรมและคุณธรรม
            ค. กลไกลที่ประสิทธิภาพในการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
          ง. กลไกลที่ประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า
58. เมื่อคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญส่งร่างรัฐธรรมนูญให้คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้เสนอความเห็นหรือแก้ไขเพิ่ม จะต้องดำเนินการภายในกี่วัน
          ก. 15 วัน                  ข. 20 วัน                  ค. 30 วัน                    ง. 60 วัน
59. คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบภายในกี่วัน
          ก. 15 วัน                  ข. 20 วัน                  ค. 30 วัน                    ง. 60 วัน
60. เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ใครเป็นนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในกี่วัน
ก. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ภายใน 15 วัน
ข. ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ             ภายใน 15 วัน
ค. นายกรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน                            
ง. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายใน 30 วัน
61. คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีจำนวนทั้งหมดกี่คน
          ก. ไม่เกิน 6 คน          ข. ไม่เกิน 9 คน          ค. ไม่เกิน 12 คน         ง. ไม่เกิน 15 คน
62. ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นคณะรักษาสงบแห่งชาติต่อไปและมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นไปตามรัฐรัฐธรรมนูญมาตราใด
          ก. 40                      ข. 42                       ค. 44                      ง. 46
63. ในระหว่างไม่มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติใครทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาหรือรัฐสภา
          ก. นายรัฐมนตรี                                       ข. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
          ค. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ          ง. ผู้บัญชาการทหารบก
64. การให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 806 แห่ง ที่กำลังจะครบวาระตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2558 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2558 อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ใดของ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
ก.      44                        ข. 45                      ค. 46                      ง. 47  
65. ในกรณีที่เห็นเป็นการจำเป็นและสมควร คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะมีมติร่วมกันให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ก็ได้ โดยหน่วยงานใดให้ความเห็นชอบ
          ก. สภาปฏิรูปแห่งชาติ                                ข. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
          ค. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ                    ง. คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ
66. ใครเป็นผู้นำรัฐธรรมนูญที่แก้เพิ่มเติมตามข้อ 65 ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในกี่วัน
ก. ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ   ภายใน 15 วัน
ข. นายกรัฐมนตรี ภายใน 15 วัน                                              
ก. ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ   ภายใน 30 วัน
ง. นายกรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน                             
67. พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ ตอบแทนอื่นของผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญบางตำแหน่ง พ.. ๒๕๕๗ บังคับใช้เมื่อใด
          ก. วันที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา
            ข. วันถัดจากวันที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา
ค. วันถัดจากวันที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา 30 วัน
ง. ตั้งแต่วันเข้ายึดอำนาจของ คสช.
68. ผู้ดำรงตำแหน่งใดได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเป็นรายเดือน เท่ากัน
          ก. หน.คสช. ประธาน สนช. และประธาน สปช.
          ข. คสช.  รองประธาน สนช. และรองประธาน สปช.
            ค. คสช.และประธาน สปช.
          ง. คสช. สนช.และ สปช
69. เงินเพิ่มของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติสูงสุดเท่าไร
          ก. 75,590 บาท          ข. 71,230 บาท          ค. 50,000 บาท          ง.42.330 บาท
70. ให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ๆ ละเท่าไร
          ก. 1,000 บาท            ข. 1,500 บาท            ค. 3,000 บาท            ง. 6,000 บาท
71. ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ๆ ละเท่าไร
ก. 3,000 บาท            ข. 6,000 บาท            ค. 9,000 บาท             ง. 13,500 บาท
72. กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมิได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ๆ ละเท่าไร
ก. 3,000 บาท            ข. 6,000 บาท            ค. 9,000 บาท             ง. 13,500 บาท
73. ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมิได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ๆ ละเท่าไร
ก. 3,000 บาท            ข. 6,000 บาท            ค. 9,000 บาท            ง. 13,500 บาท
74. ให้กรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและกรรมาธิการของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ๆ ละ เท่าไร         
ก. 1,000 บาท            ข. 1,500 บาท            ค. 3,000 บาท            ง. 6,000 บาท
75. ให้อนุกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อนุกรรมาธิการของสภาปฏิรูปแห่งชาติ และอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ๆ ละเท่าไร
ก. 800 บาท              ข. 1,000 บาท            ค. 1,500 บาท            ง. 3,000 บาท

76. ให้ผู้ช่วยเลขานุการคนหนึ่งในคณะกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ
และในกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ครั้งๆ ละเท่าไร
ก. 800 บาท              ข. 1,000 บาท            ค. 1,500 บาท            ง. 3,000 บาท
77. ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติมีสิทธิได้รับค่าพาหนะในการ
เดินทางเช่นเดียวกับใคร
ก.      สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร              ข. สมาชิกวุฒิสภา
ข.      ผู้นำฝ่ายค้าน                            ง. ถูกทุกข้อ
78. ให้กรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมาธิการของสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องเดินทางไปราชการภายในราชอาณาจักร นอกจังหวัดอันเป็นที่ตั้งอาคารรัฐสภาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามมติของคณะกรรมาธิการ ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งใด
ก. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  
ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
ง. ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
79. ให้อนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องเดินทางไปราชการภายในราชอาณาจักร นอกจังหวัด
อันเป็นที่ตั้งอาคารรัฐสภาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามมติของคณะกรรมาธิการ ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งใด
ก. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  
ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
ง. ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
80. การเดินทางไปราชการต่างประเทศของผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งใด
          ก. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ        ข. ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
          ค. นายกรัฐมนตรี                            ง. ถูกทุกข้อ
81. การเดินทางไปราชการต่างประเทศของผู้ใด ได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเท่ากับรองนายกรัฐมนตรี
          ก. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ           ข. รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
          ค. รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ   ง. ถูกทุกข้อ

82. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้รับสิทธิค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งใด
ก. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา         
ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
ง. ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
83. การเบิกเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่ม และค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ดำรงตำแหน่งใด
กล่าวไม่ถูกต้อง
ก.     คณะรักษาความสงบแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ข.      คณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ให้เบิกจ่ายจากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ค.      สภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ให้เบิกจ่ายจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ง.       สภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้เบิกจ่ายจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
84. พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญบางตำแหน่ง พ.. 2557 ตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตราใด
          ก. มาตรา 40            ข. มาตรา 44              ค. มาตรา 46             ง.มาตรา 48
85. ใครเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่น
ของผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญบางตำแหน่ง พ.. ๒๕๕๗
ก.      นายกรัฐมนตรี                         ข. ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ข.      ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ           ง. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
…………………………………………………………………………………

ขอให้ท่านโชคดีในการสอบ และบรรลุเป้าหมายตามความปรารถนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น