วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

100 แนวข้อสอบผู้บริหารสถานศึกษา ชุดที่ 20

1901.คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ..รัฐมนตรีซึ่ง นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน . ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี .ปลัดกระทรวงกลาโหม.. ปลักระทรวงการคลัง..ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ..ปลัดกระทรวงมหาดไทย.ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการ และกรรมการที่เหลือ ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
2. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
3. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
4.ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
5. ปลัดกระทรวงยุติธรรม และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 (ปลัดกระทรวงยุติธรรม ไม่มี)
1902.ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่สั่งเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณาได้ ต้องระวางโทษ  ตามข้อใด
1.จำคุกไม่เกิน  3  เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.จำคุกไม่เกิน  3  เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.จำคุกไม่เกิน  3  เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4.จำคุกไม่เกิน  1  เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1903.ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนด  การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ ต้องระวางโทษ ตามข้อใด
1.จำคุกไม่เกิน  3  ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.จำคุกไม่เกิน  1  ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.จำคุกไม่เกิน  3  ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4.จำคุกไม่เกิน  1  ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1904.นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2558  นโยบายทั่วไปข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง 
1.การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
          2.การพัฒนาและปฏิรูปการศึกษา
          3.การสร้างโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย
          4.การพัฒนาระบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตรทางการศึกษา
          5.การส่งเสริมและยกสถานะของครูซึ่งเป็นบุคลากรหลักในระบบการศึกษา
1905.การพัฒนาและปฏิรูปการศึกษา ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2558  นโยบายทั่วไปข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง 
          1.จะต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม  การกระจายอำนาจ และความต้องการของทุกภาคส่วนในสังคม
          2.มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
          3.จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน   (แนวนโยบายของคณะรัฐมนตรี)
          4.ให้เป็นไปตามกระบวนการของ สภาปฏิรูปแห่งชาติและ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และแนวนโยบายของคณะรัฐมนตรี
1906.ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับผู้เรียนแต่ละคนโดยมีกรรมการไม่น้อยกว่า ๓ คนซึ่งประกอบด้วย..
ยกเว้นข้อใด
1. ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้แทน
2. บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลคนพิการ
3 ครูประจำชั้น หรือครูแนะแนว หรือครูพิการการศึกษาพิเศษ
4.ครูที่รับผิดชอบงานด้านการศึกษาพิเศษที่ผู้บริหารสถานศึกษามอบหมาย เป็น.กรรมการและเลขานุการ
5.ไม่มีข้อยกเว้น
1907.กระบวนการจัดทำ..แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล .อย่างน้อยต้องประกอบด้วย  ตามข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
          1.จัดประเมินระดับความสามารถและความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน
เป็นรายบุคคล
          2.กำหนดเป้าหมายระยะยาวไม่เกิน  1-2  ปี เป้าหมายระยะสั้น หรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  (  ระยะ 1 ปี )
          3.ประเมินความต้องการจำเป็นของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ในด้านสิ่งอำนวย
ความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
          4.กำหนดกระบวนการเรียนรู้และปัจจัยที่มีความต้องการจำเป็นทางการศึกษา
          5.กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
1908.คณะกรรมการจัดทำ..แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ประชุมเพื่อจัดทำแผน.แล้วนำแผนไปสู่การปฏิบัติ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนรวมทั้งจัดประชุมเพื่อประเมิน ทบทวน และปรับแผน พร้อมจัดทำรายงานผลปีละกี่...ครั้ง
          1.ปีละ 1ครั้ง
          2.อย่างน้อยปีละ  1  ครั้ง
          3.ปีละ 2  ครั้ง
          4. ไม่น้อยกว่าปีละ 2   ครั้ง
1909.หลักเกณฑ์และวิธีการ..จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน..ในการส่งต่อผู้เรียนที่จบการศึกษาแต่ละระดับ หรือย้ายสถานศึกษา..ให้สถานศึกษานำส่งองค์ประกอบข้อมูลดังนี้ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการศึกษาต่อไป  ยกเว้นข้อใด
          1.แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
2. รายงานผลการประเมิน การดำเนินการตามแผน
3. แฟ้มประวัติและแฟ้มสะสมผลการเรียนของผู้เรียน
4.แฟ้มประวัติและแฟ้มสะสมผลงานดีเด่นของผู้เรียน
5. ไม่มีข้อยกเว้น
1910.องค์ประกอบ..จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
1. ข้อมูลด้านการแพทย์ หรือ ด้านสุขภาพ และ  ข้อมูลด้านการศึกษา
2. การกำหนดแนวทางการศึกษา และการวางแผนการจัดการศึกษาพิเศษ
3.ความต้องการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
4. คณะกรรมการจัดทำแผน และคณะกรรมการประเมิน นิเทศติดตาม เป็นพิเศษ
5. ความเห็นของ บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือ ผู้เรียน
1911.การจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น..ให้สถานศึกษากำหนด การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งมีแนวทางในการจัดทำสาระท้องถิ่น   ข้อใดดำเนินการเป็นอันดับแรก
          1. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนและนักเรียน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการจัดทำสาระท้องถิ่น
2. วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อทราบจุดเน้นหรือประเด็นปัญหาสำคัญที่โรงเรียนให้ความสำคัญหรือกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียน
3.ศึกษากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่ สพท. พัฒนาสระที่กำหนดไว้
4. ดำเนินการจัดทำสาระท้องถิ่นในลักษณะ จัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมและปรับกิจกรรมการเรียนการสอน หรือจัดกิจกรรมเสริม หรือบูรณาการ
1912.การสร้างและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดทำสาระท้องถิ่น ถ้าสถานศึกษาจะดำเนินการ..การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จะต้องดำเนินการตามแนวทางใดเป็นอันดับแรก
          1.จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ  ความถนัด ของผู้เรียน
          2.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามสาระและหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยวิเคราะห์หลักสูตรและเนื้อหาสาระและ มาตรฐานการเรียนรู้
          3.จัดบรรยากาศ  สิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้
          4.ส่งเสริมให้ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
 (การวิจัยในชั้นเรียน)
          5.ต้องส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนา วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง
1913.สถานศึกษาได้..จัดให้มีการนิเทศการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยเป็นการนิเทศที่ร่วมมือช่วยเหลือกันเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกันของบุคลากรภายในสถานศึกษา ให้การนิเทศเป็นไปตามแบบใด
          1.แบบกัลยาณมิตร
2. นิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
3. นิเทศแบบแนะนำสั่งสอน
4. ถูกทั้ง 1 และ 2
5. ถูกทั้ง 1 – 2 และ 3
1914. การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานใช้หลักการของ Backward Design  ขั้นตอนแรกคือ ข้อใด
1.การกำหนดมาตรฐานเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้
          2.กำหนดร่องรอยหลักฐานอะไรที่ให้นักเรียนปฏิบัติแล้วสามารถสะท้อนความสามารถของผู้เรียนตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานนั้น
          3.วางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสิ่งที่กำหนดให้นักเรียนปฏิบัติ
          4. ย้อนดูร่องรอยเดิมจากผลงานหรือชิ้นงานของนักเรียน 
1915.การออกแบบถอยหลังกลับหรือ Backward Design ที่นำมาใช้ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน. กระบวนการออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนนั้น.ต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน 3 ขั้นตอนขั้นตอนแรก คือข้อใด
           1. มาตรฐานการเรียนรู้ต้องการให้นักเรียนรู้อะไร และสามารถทำอะไรได้
           2 .อะไรคือร่องรอยหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนรู้และสามารถทำได้ตามที่มาตรฐานกำหนด
3. จัดกิจกรรมอย่างไรจึงจะสนับสนุนให้นักเรียนมีความรู้ที่ฝังแน่นตามที่มาตรฐานกำหนดไว้
4.ผลงานนักเรียนและชิ้นงาน ที่โดดเด่น เพื่อนำมาเป็นแบบอย่าง
1916.สถานศึกษาดำเนินการเกี่ยวกับ..งานทะเบียน เพื่อเป็นไปตามขั้นตอน ข้อใดเป็นการดำเนินการอันดับแรก
1.  ดำเนินการลงทะเบียน กรอกข้อมูลประวัติของนักเรียนในทะเบียนตามระเบียบ
2.  ออกเลขประจำตัวให้กับนักเรียนใหม่ทุกคน
3. รับมอบตัวนักเรียนและดำเนินงานเรื่องการย้ายเข้าและย้ายออกของนักเรียน
ในช่วงระหว่างปีการศึกษา
4.  สำรวจรายชื่อนักเรียนทุกระดับชั้น และจัดทำรายชื่อให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
5.  การจัดทำรายงานข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจำนวนนักเรียน
1917.สถานศึกษาร่วมกับครูและบุคลากรเพื่อ ต้อง..การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล  จะต้องดำเนินการตามข้อใดเป็นอันดับแรก
1. ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา รับการอบรมพัฒนาการจัดสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติถูกต้อง
2 ต้องจัดสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับผลการเรียนที่คาดหวัง(มาตรฐานชั้นปี) สาระการเรียนรู้  กิจกรรมการเรียนรู้  และสภาพผู้เรียน
3. ต้องนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสร้างเครื่องมือ และใช้เป็นเครื่องมือวัดผลและประเมินผล
4. พัฒนา ปรับปรุงให้มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อนามาใช้
1918.การตัดสินและอนุมัติผลการเรียนผ่านช่วงชั้น..ใคร..ตรวจสอบข้อมูลผลการเรียนของผู้เรียนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์การจบช่วงชั้นของสถานศึกษา
          1. ฝ่ายวัดและประเมินผล
          2. นายทะเบียนของสถานศึกษา
          3. ครูประจำวิชา
          4. ครูที่ปรึกษา
          5.ผู้อำนวยการสถานศึกษา
1919.ท่านเป็น..ผู้บริหารสถานศึกษาจะออกคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดทำเอกสารรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.3) ประกอบด้วย.ข้อใดถูกต้อง..
1. ผู้ร่าง  ผู้เขียน  ผู้ทาน  ผู้ตรวจ  และมีนายทะเบียนเป็นหัวหน้า
          2. ผู้เขียน  ผู้ทาน  ผู้ตรวจ  และมีนายทะเบียนเป็นหัวหน้า
          3. ผู้ทาน  ผู้ตรวจ  ผู้หมวด  และมีนายทะเบียนเป็น ผู้รับรอง
          4.ผู้เขียน    ผู้ตรวจ   ผู้การ  และมีนายทะเบียนเป็นหัวหน้า
1920.คำขวัญวันเด็กประจำปี 2558 ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า  คสช.  ความว่า.ตามข้อใดถูกต้อง
          1.   คุณธรรม นำความรู้   สู่อนาคต
          2.ความรู้  คู่คุณธรรม  นำสู่อนาคต
          3.นำความรู้ คู่คุณธรรม  สู่อนาคต
          4.ความรู้  คู่คุณธรรม  สู่อนาคต
1921.เมื่อมีผู้มายื่นขอให้สถานศึกษาออกใบสุทธิและใบรับรองที่ขอรับเมื่อพ้นกำหนด
10 ปี ให้ผู้บริหารสถานศึกษาตรวจสอบว่า จบการศึกษาตามหลักสูตรดังกล่าวจริงหรือไม่ แล้วจึงออก ใบสุทธิหรือใบรับรองได้ โดยปฏิบัติราชการแทน  ใคร ตามกฎหมาย.
1.เลขาธิการ  กพฐ.
2. ผอ สพท.
3. อ.ก.ค.ศ  เขตพื้นที่การศึกษา
4. ผู้อำนวยการสถานศึกษาคนเดิม
1922.เมื่อมีผู้มายื่นขอให้สถานศึกษาออกใบสุทธิหรือหนังสือรับรองความรู้ในกรณี
ที่เอกสารเดิมเกิดการสูญหายหรือเสียหายให้สถานศึกษาดำเนินการ ตามลำดับดังนี้
ข้อใดถูกต้อง
          1.ให้ผู้ขอแจ้งความถึงเหตุแห่งการสูญหายหรือเสียหายต่อเจ้าพนักงานตำรวจ
เพื่อลงบันทึกประจำวัน
 2. ยื่นคำร้องพร้อมแนบเอกสารการแจ้งความต่อสถานศึกษา
 3.สถานศึกษาตรวจหลักฐานทางทะเบียนที่เกี่ยวข้อง
4.ออกใบแทนใบสุทธิหรือหนังสือรับรองความรู้
5. ลงบันทึกในหมายเหตุประจำวันของสถานศึกษาไว้เป็นหลักฐาน
6. จัดทำทะเบียนการออกหนังสือรับรองความรู้
1. 1-2-4-3-6-5
2.2-3-1-5-4-6
3.2-3-5-1-4-6
4.1-2-3-4-5-6
1923.สถานศึกษาต้องมีการ..การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้  เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่านเป็นผู้บริหารจะดำเนินการตามขั้นตอนใด..ที่เป็นสำคัญอันดับแรก
1.ประสานความร่วมมือ วางแผนกับสถานศึกษาอื่น 
2. จัดทำเอกสารรวบรวมเผยแพร่แหล่งเรียนรู้แก่ ครู บุคลากร ครอบครัว องค์กรหน่วยงาน สถานศึกษาอื่น ๆ  
3. มีส่วนร่วมในการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน รวมทั้งพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้
4.  สำรวจแหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพทั้งในและนอกสถานศึกษา  
1924.งบบุคลากร หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคลภาครัฐ ได้แก่รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน  ตามข้อใดถูกต้อง
1. ค่าจ้างประจำ
2. ค่าจ้างชั่วคราว
3. ค่าตอบแทนพนักงานราชการ
4.ถูกทั้ง  1 และ 2
5. ถูกทั้ง 1 – 2 และ 3

1925.งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะตามข้อใด ถูกต้อง
1.ค่าตอบแทน
2.ค่าใช้สอย  และ ค่าวัสดุ
3. ค่าสาธารณะและประโยชน์
4. ถูกทั้ง  1 และ 2
5. ถูกทั้ง 1 – 2 และ 3
1926. “การพัสดุหมายความว่า      ยกเว้นข้อใด กล่าวผิด
1.การจัดทำเอง
2.การซื้อเอง
3. การจ้าง  ..การจ้างที่ปรึกษา  
4.การจ้างออกแบบและควบคุมงาน
5. การแลกเปลี่ยน  และ การเช่า
1927.  ครอบครัวของสมาชิก ช... หมายถึง บุคคลตามลำดับ ดังนี้ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
2.บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  . บุตรบุญธรรม
3.บุตรนอกสมรสที่บิดารับรองแล้ว และผู้อุปการะสมาชิก ช..
4. ผู้อยู่ในอุปการะอย่างบุตรของสมาชิก ช...
5.ถูกต้องทุกข้อที่กล่าวมา
1928.การจัดการเรียนรู้  ให้มีคุณภาพ  ขั้นตอนสำคัญอันดับแรก คือ
          1.การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้
          2.การออกแบบการเรียนรู้
          3.การวิจัยและแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
          4.การวางแผนจัดการเรียนรู้
          5.การรายงานผลการเรียนรู้
1928.ผู้บริหารสถานศึกษาร่วมกับครูและบุคลากรทางการศึกษา การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ข้อใดต่อไปนี้มีระดับคุณภาพดีที่สุด
1. มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเป็นอย่างดี
          2. ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนด้วยครูประจำขั้นหรือครูที่ปรึกษา
          3 .การดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเป็นที่ยอมรับในสถานศึกษา
และชุมชน
          4.ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกภาคเรียน
1920.ผู้บริหารสถานศึกษาร่วมกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ..การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามข้อใดมีระดับคุณภาพดีที่สุด
          1. มีการสำรวจแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
           2.จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
           3. มีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในการจัดการเรียนรู้
          4.จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
1921.การให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนเพื่อให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ ท่านเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จะทำตามข้อใด
1. เห็นความสำคัญของการให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน
2. ร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครองและชุมชน
3. ประสานความร่วมมือกับชุมชนได้อย่างเหมาะสม
4.มองเห็นสำคัญกับชุมชนและผู้ปกครองตลอดจนผู้นำหมู่บ้าน
 1922.การนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ข้อใดต่อไปนี้ที่ผู้บริหารจะต้องดำเนินการเพื่อให้มีระดับคุณภาพที่ดี
          1. เห็นความสำคัญของการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
          2 .นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
          3 .นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
          4.รู้จักคิดและ รู้จักทำว่าจะนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ
1923. ให้มีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม และเมื่อผ่านการประเมินทุก    
ครั้งจนครบสองปีแล้วและเห็นว่าควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ก็ให้รายงานส่งไปที่ใด 
          1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
 2. .... เขตพื้นที่การศึกษา
3.ผอ. สพท
4. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5...
1924. ที่ สพฐ.นำมาใช้ ต้องเริ่มต้นตามข้อใดก่อนถ้าต้องการเอาชนะอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลง ในทฤษฏีการบริหารการเปลี่ยนแปลง       
1. มีจุดแข็งที่แน่นอน
         
2 หาแนวทางที่เป็นไปได้
         
3.  . มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
         
4. ขจัดแรงต่อต้านอย่างสร้างสรรค์
1925.ประเภทของคนพิการ มีกี่ประเภท
1. 2 ประเภท  หญิง และชาย
2. 9 ประเภท
          3. 6 ประเภท
          4. 2 แบบ  9  ประเภท
1926.ไม่เป็นประเภทคนพิการ (หลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.. 2552)
1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
          2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
          3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือ การเคลื่อนไหว หรือ สุขภาพ
5.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการรับรู้    (ทางการเรียนรู้)
1927. ข้อใดไม่เป็นประเภทคนพิการ (หลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.. 2552)
1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
3.บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์
3. บุคคลออทิสติก
4. บุคคลพิการซ้ำซ้อน ( ที่ถูกคือ..บุคคลพิการซ้อน )
1928.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนถึงตาบอดสนิท ซึ่งแบ่งเป็นกี่ ประเภท.
1. 3 ประเภท.
2. 2. ประเภท.
3. 4 ประเภท.
4. 9 ประเภท.
1929.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนถึงตาบอดสนิท ซึ่งแบ่งเป็นประเภท ข้อใดถูกต้อง
1. คนตาบอด และ คนเห็นเลือนราง
2.คนเห็นเลือนราง  และ คนตาเดี่ยว
3 คนตาเดียว และ ตาปอดสี
4. ตาอิน กับ ตานา
5. ถูกทั้ง 1 และ 2
1930. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับ หูตึงน้อยจนถึงหูหนวก ซึ่งแบ่งเป็น กี่ ประเภท
1. 3 ประเภท
2. 2 ประเภท
3. 8 ประเภท
4. 4 ประเภท
1931.บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้แก่ บุคคลที่มีความจำกัดอย่างชัดเจนในการปฏิบัติตน (Functioning) ในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญร่วมกับความจำกัดของทักษะการปรับตัวอีกอย่างน้อย กี่ทักษะ
1. 2 ทักษะ
2. 3 ทักษะ
3. 4 ทักษะ
4. 5 ทักษะ
1932.บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้แก่ บุคคลที่มีความจำกัดอย่างชัดเจนในการปฏิบัติตน (Functioning) ในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญ ร่วมกับความจำกัด ของทักษะการปรับตัวซึ่ง จะแสดงอาการดังกล่าว  ก่อนอายุกี่...ปี
1. 16 ปี
2. 15 ปี
3. 17 ปี
4. 18 ปี
1933.คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการใครเป็นประธาน
          1.เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
          3.ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
          4.ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนองค์การคนพิการ
1934.คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการใครเป็นรองประธานคนที่ 2
          1.เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
          3.ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
          4.ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนองค์การคนพิการ
          5. 4.ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนองค์การคนพิการที่จำเป็นพิเศษ
1935. คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการได้บริหารดำเนินการเกี่ยวกับการลงทุน การหาประโยชน์และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของใคร
          1.เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          2.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
          3. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ
          4. รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
          5.กระทรวงการคลัง
1936.ข้อใดกล่าวผิด  ในระดับการปฏิบัติ
          1. การนับเวลาการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มสองปีให้นับวันเข้าปฏิบัติราชการวันแรกเป็นวันเริ่มต้นและนับระยะเวลาสิ้นสุดตามปีปฏิทิน
          2. กรณีลาคลอดบุตร ลาป่วย ซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานเป็นระยะเวลาเกินกว่าเก้าสิบวัน ไม่ให้นับระยะเวลาที่เกินเก้าสิบวันดังกล่าวรวมเป็นเวลาการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
3.  การประเมินผลสรุปทุก 3 เดือน ตลอดระยะเวลา  2  ปี รวม 8 ครั้ง โดยใช้แบบประเมินเดียวกัน
4. เกณฑ์การประเมินครูผู้ช่วยต้องได้คะแนนการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 4 อย่างต่ำร้อยละ 50 สำหรับการประเมินครั้งที่ 5 ถึงครั้งที่ 8   ต้องเป็นการประเมินร้อยละ 60 จึงจะถือเป็นเกณฑ์การประเมินแต่ละครั้ง
5. ไม่มีข้อใดกล่าวผิด
1937.คำขวัญวันครู  พ.ศ.  2558  ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1. เกียรติครูยิ่งใหญ่  น้อมใจบูชา  เลิศล้ำคุณค่า  ศรัทธาคุณครู
2.เกียรติยิ่งใหญ่ของครู  บูชาน้อมรับ  เลิศล้ำยิ่งนัก รักศรัทธาพระคุณครู
3.เกียรติครูยิ่งใหญ่  น้อมใจบูชา  เลิศล้ำมูลค่า   ศรัทธาพระคุณ
4.เกียรติครูยิ่งใหญ่ น้อมใจบูชา เลิศล้ำคุณค่า ศรัทธาพระคุณ
1938.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีผลผลิตข้อใดกล่าวผิด
1.ผู้จบการศึกษาก่อนประถมศึกษา
2.ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ  และ.ผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
3..เด็กพิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาสมรรถภาพ
4..เด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.ผู้ที่มีความสามารถพิเศษได้รับการการศึกษาเป็นพิเศษ
1939.ขั้นตอนการดำเนินการทางวินัย   ขั้นตอนแรก
          1. การตั้งเรื่องกล่าวหา
          2. การแจ้งข้อกล่าวหา
          3. การสอบสวน
4. ถูกทั้ง 1 และ 2 แล้วแต่กรณี
1940. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องอยู่ในเกณฑ์ ...ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการหกเดือน โดยมีวันลาไม่เกิน  23 วันแต่ไม่รวมวันลา ดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
1. ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์
2. ลาคลอดบุตรไม่เกิน  90 วัน  และ ลาพักผ่อน
3. ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกิน  60  วันทำการ
4.ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่  
5.  ไม่มีข้อยกเว้น

1941.การยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการให้ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออก กี่วัน
1. ภายใน   30 วัน
2.ไม่น้อยกว่า  30 วัน
3.ไม่น้อยกว่า  60 วัน
4.ไม่น้อยกว่า  90 วัน
1942.ช่วงเวลารอบปีการศึกษาหนึ่ง ถือว่าวันที่ 16 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มต้นปีการศึกษา และวันที่ สิ้นปีการศึกษา  ตามข้อใด
          1. 15 พฤษภาคมของปีถัดไป
          2.31.มีนาคมของไปถัดไป
          3.1 เมษายน ของปีถัดไป
          4. 28 หรือ 29  กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
1943. สถานศึกษามีการชักธงชาติขึ้นและลงตามเวลาในแต่ละวัน โดยกำหนด
เวลาชักธงชาติขึ้นและลงดังต่อไปนี้  ข้อใดกล่าวผิด
1. ในวันเปิดเรียน ชักขึ้นเวลาเข้าเรียน และชักลงเวลา 18.00 .
2. ในวันปิดเรียน ชักขึ้นเวลา 08.00 . และชักลงเวลา 18.00 .
3.สถานศึกษาใดมีความจำเป็นไม่อาจจะชักธงชาติขึ้นและลงตามเวลาที่กำหนด ได้ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสม
4. การลดธงครึ่งเสา เมื่อธงถึงยอดเสาแล้วจึงลดลงมาโดยเร็วให้อยู่ในระดับความสูง 2 ใน 3 และเมื่อจะลดธงลงให้ชักขึ้นโดยเร็วจนถึงยอดเสาก่อนจึงลดลง
5. ไม่มีข้อใดกล่าวผิด
1944.ผู้ทำหน้าที่กำกับการสอบต้องให้ความสำคัญที่ข้อใดเป็นอันดับแรก 
1. ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการสอบ  
2. กำกับการสอบ ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่อธิบายคำถามใด ๆ ในข้อสอบแก่ผู้เข้าสอบ
3. ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนแก่ผู้เข้าสอบ  
4. ผู้กำกับการสอบ ไม่ประมาทเลินเล่อหรือจงใจ ละเว้นหรือรู้เห็นแล้วไม่ปฏิบัติตามหน้าที่
1945.โรงเรียนต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียนและผู้ปกครอง โดยมีสาระสำคัญ  อันดับแรก ตามข้อใด
1. พัฒนาระบบงานแนะแนวที่จะช่วยเหลือดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล ครูทุกคนมีบทบาทในการแนะแนว รู้จักและเข้าใจผู้เรียน  
2. สำรวจ เฝ้าระวัง และติดตามนักเรียนที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด เพื่อจัดกิจกรรมในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
3. แจ้งให้ผู้ปกครองของนักเรียนที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดทราบถึงพฤติกรรมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
4. จัดให้มีมาตรการส่งเสริมความปลอดภัย ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงโดยมีแผนงาน  ผู้รับผิดชอบ  และ การติดตามตรวจสอบ
5. สนับสนุนให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการส่งเสริมความประพฤติและความปลอดภัยของนักเรียน
1946.ดังคำกล่าวที่ว่าของใคร.. “อยากรู้ว่าตัวครูเป็นฉันใด จงดูได้จากศิษย์ที่สอนมา   
1. ..ปิ่น มาลากุล
2.หม่อมหลวงปนัดดา   ดิศกุล
3.หม่อมหลวงบัว    กิติยากร
4.ไม่มีข้อถูก
1947.เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ แผนการจัดสรรทรัพยากรและแนวทางการพัฒนาการบริหาร และการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทุกระบบ และทุกระดับ จะเสนอ เพื่อพิจารณาให้ใคร..เห็นชอบ
          1.คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 
          2. เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
          3.คณะรัฐมนตรี
          4.รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
          5. สภาการศึกษา
1948. .คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการได้บริหารดำเนินการเกี่ยวกับการลงทุน การหาประโยชน์และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่ ใคร...กำหนด
1.เลขาธิการ กพฐ.
2.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
3 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
4. รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
5.กระทรวงการคลัง
1949.ข้อใดกล่าวผิด
1.การเรียนร่วมหมายความว่า การจัดให้คนพิการได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาทั่วไปทุกระดับและหลากหลายรูปแบบ  
          2. สถานศึกษาเฉพาะความพิการหมายความว่า สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ ทั้งในลักษณะอยู่ประจำ ไป กลับ และรับบริการที่บ้าน
          3.ศูนย์การศึกษาพิเศษหมายความว่า สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต และจัดการศึกษาอบรมแก่ผู้ดูแลคนพิการ ครู บุคลากรและชุมชน  
          4.ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการหมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการโดยเฉพาะ 
          5.ไม่มีข้อใดกล่าวผิด

1950.คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาดังนี้ ยกเว้นข้อใด
          1. ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต
          2.เลือกบริการทางการศึกษา  สถานศึกษา  ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น
          3. ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา
4.การจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความสามารถพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล
1951.ให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม สถานศึกษา เอกชนการกุศลที่จัดการการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานได้รับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากใคร..
1. รัฐ
2. กระทรวง
3. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
4.กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
1952.ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งโดยให้สอดคล้องกับข้อใด.. ดังนี้
          1.โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนทุกระดับ
          2. สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ
          3.โดยให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถพิเศษของคนพิการ
          4.โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ
1953.ประเภทของคนพิการ มีดังต่อไปนี้ ยกเว้น ข้อใด
1.  บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
2.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
3.บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรม และ อารมณ์   (  ต้องใช้ว่า  หรือ อารม)
4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
5.ไม่มีมีข้อยกเว้น
1954.ใคร..อนุมัติโครงการหรือแผนงานที่จะใช้เงินกองทุนในส่วนที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน
1.เลขาธิการ กพฐ.
2.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
3 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
4. รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
5.กระทรวงการคลัง
1955.มีอำนาจหน้าที่ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ให้มีองค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
1.เลขาธิการ กพฐ.
2.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
3 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
4. รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
5. ก.ค.ศ
1956.เสนอความเห็นและให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดหลักสูตรการกำหนดมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา  การประเมินและการทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ..อำนาจหน้าที่ ของใคร.
1.เลขาธิการ กพฐ.
2.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
3 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
4. รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
 5. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1957.ให้หน่วยงานใด มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการเรียนร่วม การนิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
          1.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
          2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
          3.สำนักงาน  ก.ค.ศ
          4.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1958.กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการใน สพฐ.เพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง โดยกองทุน  ประกอบด้วย ตามข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
                   1.เงินรายได้ที่ได้จากการขายสลากหรือการจัดกิจกรรม   ( ออกฉลาก )
                   2.ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
                   3. เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้
                   4.รายได้บางส่วนจากภาษีของสินค้าและบริการที่เป็นสาเหตุแห่งความพิการตามที่กฎหมายกำหนด
1959.คณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย เลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน  และ กรรมการ ตาม ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
1. ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ  ผู้แทน สกอ .  
2.ผู้แทนกระทรวงการคลัง.. ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข
3. ผู้แทนสำนักงบประมาณ .และ ผู้แทน สอศ.
4..ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ    
5.ผู้แทนอธิบดีกรมสุขภาพจิต
1960.อำนาจหน้าที่ของใคร..พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบที่ ใคร..กำหนด
          1.คณะกรรมการบริหารกองทุน ..  กระทรวงการคลัง
          2.กระทรวงการคลัง  ..คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
          3.กระทรวงการคลัง..คณะกรรมการบริหารกองทุน
          4. คณะกรรมการบริหารกองทุน..คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
          5. เลขาธิการ  กพฐ.   ..คณะกรรมการบริหารกองทุน
1961.การรับเงิน. การจ่ายเงิน .การเก็บรักษาเงินกองทุน.. และการตัดหนี้เป็นสูญให้เป็นไปตามระเบียบที่ใคร..กำหนด..โดยความเห็นชอบของ ใคร..
          1.คณะกรรมการบริหารกองทุน..คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
          2. กระทรวงการคลัง  ..คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
          3.คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ..กระทรวงการคลัง
          4.คณะกรรมการบริหารกองทุนเลขาธิการ  สพฐ.
1962. ข้อใดกล่าวผิด
          1.ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี
          2.ให้ สตง.เป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปีแล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
          3. การเก็บรักษาเงินกองทุน และการตัดหนี้เป็นสูญให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ กำหนดโดยความเห็นชอบของ.กระทรวงการคลัง
          4.คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่..พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
          5. ไม่มีข้อใดกล่าวผิด
1963. การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ..2546  ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใด และจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่ใคร..กำหนด ตาม...ข้อเสนอแนะของ  ก...
          1. นายกรัฐมนตรี
          2.คณะรัฐมนตรี
          3.รัฐมนตรี
          4. รัฐสภา
1964.ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ..2546  ..ส่วนราชการหมายความว่า ตามข้อใดบัญญัติไว้ถูกต้อง
1. ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วย การปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการ  กรม  กอง  และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1965.ให้ ใคร....รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ..2546  
          1. นายกรัฐมนตรี
          2.คณะรัฐมนตรี
          3.รัฐมนตรี
          4. รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
1965.พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ..2546  หมวด 1  ข้อใดบัญญัติไว้ถูกต้อง
          1. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
          2. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
          3.การบริการภาครัฐและกิจการบ้านเมืองที่ดี
          4.บทเบ็ดเตล็ด
 1966.การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งได้แก่การบริหารราชการเพื่อบรรลุ
เป้าหมาย ตามข้อใดบัญญัติไว้.. ตามข้อใดกล่าวผิด
1. เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชน
2.เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
 5. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
1967.การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง ข้อใด
1.การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมาย
2.การปฏิบัติราชการตามระเบียบ
3.การปฏิบัติราชการตามสถานการณ์
4.การปฏิบัติราชการตามความจำเป็น
1968.ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้อง
ดำเนินการโดยยึดถือว่าให้..ตามข้อใดที่จะได้รับการบริการจากรัฐ  
          1.ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
          2.หน่วยงานส่วนราชการ
          3. รัฐและเอกชน
          4. สถานที่ประกอบการและหน่วยงาน
1968.การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตาม
 ตามข้อใด และต้อง สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
          1.การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
          2.การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมาย
          3.ประโยชน์สูงสุดของประเทศ
          4. ถูกทั้ง 1 และ 2
          5. ถูกทั้ง 1 -2 และ 3
1967.ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการก่อนเริ่มดำเนินการจะต้องทำตามขั้นตอนใดก่อน
1.ต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน
2.ต้องกำหนดขั้นตอนการดำเนินการ
3. ต้องดำเนินการตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนก่อนปฏิบัติ
4. กำหนดวัตถุประสงค์
1967.ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และให้แจ้งให้ใคร.. ทราบด้วย   ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1. นายกรัฐมนตรี
          2.คณะรัฐมนตรี
          3.รัฐมนตรี
          4. รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
          5. ก...
1968.การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องดำเนินการตามข้อใด
( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
1. จัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
2. ต้องกำหนดขั้นตอนการดำเนินการ
3. ต้องดำเนินการตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนก่อนปฏิบัติ
4. กำหนดวัตถุประสงค์
1969.การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ต้องให้ความสำคัญกับ ข้อใด   ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
1. เป้าหมายของภารกิจ
2. ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ  
3.ตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
4.ถูกทั้ง 1 และ 2
5. ถูกทั้ง 1-2 และ 3
1970.ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติ
ตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ใคร.กำหนด
          1. นายกรัฐมนตรี
          2.คณะรัฐมนตรี
          3.รัฐมนตรี
          4.  ปลัดกระทรวง
          5. ก...
1971.ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผล
กระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของใคร.ที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
          1.คณะรัฐมนตรี
          2.รัฐมนตรี
          3.  ปลัดกระทรวง
          4. ก...
          5. ส่วนราชการ
1972.ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกัน เพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ใคร..กำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการ
          1.ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
          2. สำนักงาน  ก.ค.ศ.
          3.ปลัดกระทรวง
          4. ก...
1973.ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้องค์การมีลักษณะตามข้อใด  ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1.เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
          2. องค์การมีบุคลากรที่มีความรับผิดชอบ
          3.เป็นองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลง
          4.เป็นองค์การมีการปรับเปลี่ยน
1974.เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก... อาจ เสนอต่อใคร...เพื่อ กำหนดมาตรการ กำกับการปฏิบัติราชการ
 ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1.ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
          2. คณะรัฐมนตรี
          3.ปลัดกระทรวง
          4. ก...
1974.ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของใคร.. ตามข้อใดถูกต้อง
          1.ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
          2. คณะรัฐมนตรี
          3. กระทรวง   ทบวง  กรม
          4. ก...
1975.ใคร..ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว. ยกเว้นข้อใด
          1.สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
2.สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
3.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4. สำนักงบประมาณ
5. ถูกทุกข้อไม่มียกเว้น
1976. เมื่อ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี..สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน  เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในกี่..วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
          1. ภายใน  120  วัน
          2.ภายใน  90  วัน
          3.ภายใน  60  วัน
          4.ภายใน  180  วัน
1977. เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้ ใคร..ร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ
          1.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ สำนักงบประมาณ
2.สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
4. สำนักงบประมาณ และ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
1978.ใคร..ให้ความเห็นชอบ แผนนิติบัญญัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ แล้วให้มีผลผูกพันส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น   ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
1.      รัฐสภา
2.      คณะรัฐมนตรี
3.      ประธานรัฐสภา
4.      คสช.
1979.  ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีโดยให้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน
รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้เสนอต่อใคร..เพื่อให้ความเห็นชอบ  ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1. รัฐมนตรี
          2. คณะรัฐมนตรี
          3.ปลัดกระทรวง
          4. ก...
1980.เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีเสนอต่อใคร.. ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1. รัฐมนตรี
          2. คณะรัฐมนตรี
          3.ปลัดกระทรวง
          4. ก...
1981.ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ใคร..กำหนด  ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1.กรมบัญชีกลาง
          2.สำนักงบประมาณ
          3.กระทรวงการคลัง
          4.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1982.ให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความ
รับผิดชอบของส่วนราชการนั้นตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนด และรายงานให้ใคร..ทราบ  ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
1.      สำนักงบประมาณ
2.      กรมบัญชีกลาง  
3.      ..
4.ถูกทั้ง 1 และ 2
5.ถูกทั้ง 1 – 2 และ 3
1983.ในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใดสูงกว่า
รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะประเภทและคุณภาพเดียวกัน ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำแผนการลดรายจ่าย ดังกล่าวเสนอต่อใคร..ทราบ และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายใน.15 วันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้
1.      สำนักงบประมาณ
2.      กรมบัญชีกลาง  
3.      ..
4. คณะรัฐมนตรี
5.ถูกทั้ง 1 – 2 และ 3
1984.ให้ใคร..ร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่ เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก
          1.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงบประมาณ
2.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
3. สำนักงบประมาณ และ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
4.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1985.ในการปฏิบัติภารกิจใด หากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุญาต  อนุมัติ หรือความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ อนุญาต อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบดังกล่าว แจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอทราบภายใน
กี่ .วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ  ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
1.      ภายใน   30  วัน
2.      ภายใน   15  วัน
3.      ภายใน   7  วัน
4.       โดยเร็ว
1986.  ส่วนราชการใดที่มีอำนาจ อนุญาต อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ
ถ้ามิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ.หากเกิดความเสียหายใดขึ้นให้ถือว่าเป็นการกระทำตามข้อใด...เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความล่าช้านั้นมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของตน
( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1.ข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าส่วนราชการนั้นประมาทเลินเล่อ
อย่างร้ายแรง
          3.ผิดวินัยร้ายแง
          3.ไม่รักษาผลประโยชน์ ของประชาชน
          4.ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
1987.ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาใดๆ ให้เป็นหน้าที่ของ กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบในปัญหานั้นๆ จะต้องพิจารณาวินิจฉัย  ตามข้อใด    ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1.พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว
          2.พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยมิชักช้า
          3. พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยพลัน
          4.พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดทันที่
1988.ในการพิจารณาเรื่องใดๆ เมื่อคณะกรรมการมีมติเป็นประการใดแล้ว ให้มติของคณะกรรมการผูกพันส่วนราชการซึ่งมีผู้แทน ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย  แม้ว่าในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนั้นผู้แทนของส่วนราชการที่เป็นกรรมการจะมิได้เข้าร่วม  แต่ถ้ามีความเห็นแตกต่างกันสองฝ่าย ให้ดำเนินการตามข้อใด
( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
1.      ให้บันทึกความเห็นของกรรมการฝ่ายข้างน้อยไว้ให้ปรากฏ
ในเรื่องนั้นด้วย
2.ให้บันทึกความเห็นของกรรมการทั้งสองฝ่าย ไว้ให้ปรากฏ
ในเรื่องนั้นด้วย
3.ให้บันทึกแย้งของกรรมการฝ่ายข้างน้อยและข้างมากไว้ให้ปรากฏ
ในเรื่องนั้นด้วย
4.ให้บันทึกความเห็นของกรรมการฝ่ายข้างมากไว้ให้ปรากฏ
ในเรื่องนั้นด้วย
1989.การสั่งราชการโดยปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่ง
ราชการด้วยวาจาก็ได้.แต่ผู้รับคำสั่งนั้นจะต้องดำเนินการตามข้อใด
( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
1.บันทึกคำสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเมื่อได้ปฏิบัติราชการตามคำสั่งดังกล่าวแล้วให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบ  
2.ปฏิบัติราชการตามคำสั่งดังกล่าวแล้วให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบ  
3.ปฏิบัติราชการตามคำสั่งทันที
4.ไม่ปฏิบัติราชการตามคำสั่ง เพราะเป็นการสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
1990.เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจดังกล่าวต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน  ให้ส่วนราชการจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องใดดังนี้ยกเว้น   ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
1.การอนุญาต
2. การอนุมัติการปฏิบัติราชการ
3. การดำเนินการอื่นใดของผู้ดำรงตำแหน่งใดให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง
4. ไม่มีข้อยกเว้น
1991. ให้เป็นหน้าที่ ของใคร..ที่จะต้องจัดพิมพ์รายละเอียดของเอกสารหลักฐานที่ประชาชนจะต้องจัดหามาในการ ขออนุมัติหรือขออนุญาต ในแต่ละเรื่องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการร่วม และให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมที่จะต้องแจ้งให้ประชาชนที่มาติดต่อได้ทราบในครั้งแรกที่มาติดต่อ..
 ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1.พนักงานเจ้าหน้าที่
          2.ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
          3. เจ้าหน้าทีของรัฐ
          4. เจ้าหน้าที่ ธุรการของส่วนราชการนั้น
1992.ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็น หรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยคำนึงถึงเรื่องใด  
( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
1. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน
2. นโยบายของคณะรัฐมนตรี
3. กำลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่นประกอบกัน
          4. ถูกทั้ง 1 และ 2
          5. ถูกทั้ง 1 - 3  และ 2
1993.ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็น หรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่  .กำหนดเวลาในการจัดให้มีการทบทวนตาม ให้เป็นไปตามที่ ใคร..กำหนด.( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1. รัฐมนตรี
          2. คณะรัฐมนตรี
          3.ปลัดกระทรวง
          4. ก...
1994.ในกรณีที่ส่วนราชการเห็นควรยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงภารกิจ ให้ส่วน
ราชการดำเนินการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และอัตรากำลัง ของส่วนราชการให้สอดคล้องกัน และเสนอ ใคร...พิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อไป
( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1. รัฐมนตรี
          2. คณะรัฐมนตรี
          3.ปลัดกระทรวง
          4. ก...
1995.ในกรณีที่มีการยุบ เลิก โอน  ห้ามมิให้จัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกัน ดังกล่าวขึ้นอีก ..เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และมีเหตุผลจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ   และโดยได้รับความเห็นชอบจาก..ใคร ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
1. รัฐมนตรี
          2. คณะรัฐมนตรี
          3.ปลัดกระทรวง
          4. ก...
1996.ส่วนราชการมีหน้าที่สำรวจหรือจัดให้มี.กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศขึ้นใหม่ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาวการณ์หรือสอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงเรื่องใด ดังนี้
( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
1.ความสะดวกรวดเร็วและลดภาระของประชาชนเป็นสำคัญ
2. ประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงานได้สะดวก รวดเร็ว
3. ความถูกต้อง
4. การบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม
1997. ถ้าเห็นว่า กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใด ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแนะต่อใคร.เพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกโดยเร็ว ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1. ปลัดกระทรวง
          2.ส่วนราชการ
          3.  ก...
          4.  คณะรัฐมนตรี
1998.ถ้าเห็นว่า กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน.ในกรณีที่ส่วนราชการที่ได้รับการเสนอแนะและไม่เห็นชอบด้วยกับคำเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เสนอเรื่องเพื่อพิจารณาวินิจฉัย  ต่อใคร..
 ( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1. ปลัดกระทรวง
          2 รัฐมนตรี
          3.  ก...
          4.  คณะรัฐมนตรี
1999. เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน หรือจากส่วนราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ที่จะต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบ ตามข้อใด..
( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1.ไม่เกิน 7 วัน
          2.ภายใน  15 วัน
          3.ภายใน  7 วัน
          4.ไม่เกิน 15 วัน
          5. ทันที
2000.เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อ
กับส่วนราชการทุกแห่ง ให้ใคร..จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
( บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  2546 )
          1.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
          2. กระทรวงมหาดไทย
          3. รัฐ
          4.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอบคุณ  ผอ.สมบัติ  พันธ์โพธิ์คา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น