วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แนวข้อสอบผู้บริหารสถานศึกษา ชุดที่ 28



แบบทดสอบ
เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (.. 2555-2559)
……………………………………………………………………
1. ข้อใดคือแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ
        ก. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
        ข. นโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่แถลงต่อ
            สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
        ค. เจตนารมณ์และนโยบาย พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        ง. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (.. 2555-2559) ประกาศให้ใช้เมื่อใด
          ก. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2559
          ข. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2559
          ค. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2559
          ง. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2559
3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 เป็นแผนระยะกี่ปี

          ก. 3 ปี            ข. 4 ปี            ค. 5 ปี            ง. 6 ปี
4. ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
          ก. พลเอกสุรยุทธ์ จุรานนท์ นายกรัฐมนตรี
          ข. นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
          ค. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
          ง. พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ประกาศในราชกิจจานุเษกเมื่อวันที่เท่าไร
          ก. วันที่ 1  ตุลาคม พ.ศ. 2554              ข. วันที่ 26  ตุลาคม พ.ศ. 2554
ค. วันที่ 1  ธันวาคม พ.ศ. 2554             ง. วันที่ 14  ธันวาคม พ.ศ. 2554
6. การพัฒนาโดยเน้น “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” เริ่มต้นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่เท่าใด
          ก. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8                     ข. แผนพัฒนาฯฉบับที่ 9              
ค. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10                   ง. แผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 
7. การอัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ เริ่มต้นที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่เท่าใด
          ก. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8                     ข. แผนพัฒนาฯฉบับที่ 9             
ค. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10                   ง. แผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 
8. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในระดับโลกที่มีผลกระทบทั้งที่เป็นโอกาสและความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศของไทย
          ก. การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบศูนย์กลางเดียว
ข. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของโลกอย่างต่อเนื่อง
ค. การก่อการร้ายสากลเป็นภัยคุกคามประชาคมโลก
ง. ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของโลกมีแนวโน้มจะเป็นปัญหาสำคัญ
9. ประเทศไทยจะเผชิญกับความเสี่ยงที่ต้องเตรียมการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศพร้อมเผชิญ
การเปลี่ยนแปลง ข้อใดไม่ความเสี่ยงที่ประเทศต้องเผชิญ
          ก. โครงสร้างประชากรที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น
ข. ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณีดั้งเดิมถูกบิดเบือน
ค. ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง
ง. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
10. การสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องสร้างและใช้ประโยชน์จากภูมิคุ้มกันประเทศ 5 ประการ ยกเว้นข้อใด
          ก. ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการและมีส่วนร่วม
ข. สังคมไทยมีค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงาม ยึดโยงคนไทยให้เป็นปึกแผ่น
ค. ด้านการบริหารจัดการการพัฒนาประเทศประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงขึ้น
ง. ภาคการเกษตรเป็นฐานรายได้หลักและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ
11. ข้อใดเป็นแนวคิดหลักของการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11
          ก. เน้นคนเป็นศูนย์กลางและบูรณาการแบบองค์รวม
          ข. เน้นคนเป็นศูนย์กลาง และปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง
          ค. เน้นคนเป็นศูนย์กลาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงและความสมดุลและบูรณาการ
          ง. เน้นคนเป็นศูนย์กลาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง และสังคมฐานความร้
12. เป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11 คือข้อใด
ก. สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
ข. สร้างสังคมเป็นธรรมและเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต
ค. พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
ง. พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ความคิดสร้างสรรค์
และภูมิปัญญา
13. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 มีพันธกิจกี่ข้อ
          ก. 4 ข้อ                             ข. 5 ข้อ          ค. 6 ข้อ          ง. 7 ข้อ

14. ข้อใดไม่ใช่ พันธกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11
ก. สร้างสังคมเป็นธรรมและเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต
ข. สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน
ค. เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
ง. พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ความคิดสร้างสรรค์
และภูมิปัญญา
15. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 มีวัตถุประสงค์กี่ข้อ
          ก. 4 ข้อ                             ข. 5 ข้อ          ค. 6 ข้อ          ง. 7 ข้อ
16. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11
ก. เพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมสันติสุข
ข. เพื่อพัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางกาย ใจสติปัญญา อารมณ์ คุณธรรม จริยธรรม
ค. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ คุณภาพ และยั่งยืน
ง. คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะดีขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรมและสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น
16. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายหลักตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11
          ก. ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นไม่ต่ำกว่า 5.0 คะแนน
ข. เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ให้มีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40.0
ค. ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขของคนไทยโดยรวมที่ไม่ได้รับผลกระทบและอยู่ระหว่าง
ร้อยละ 66 - 68
ง. เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมตามศักยภาพของประเทศให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ต่อปี
17. ข้อใดเป็นตัวชี้วัดตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11
ก. ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุข ดัชนีความสงบสุข
ข. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ
ค. คุณภาพน้ำและอากาศ ร้อยละของพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ประเทศ
ง. ถูกทุกข้อ
18. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 มียุทธศาสตร์การพัฒนากี่ข้อ
          ก. 4 ข้อ                    ข. 5 ข้อ          ค. 6 ข้อ                    ง. 7 ข้อ


19. ข้อใดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11
ก. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
ข. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
ค. ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
ง. ถูกทุกข้อ
20. การพัฒนาให้เกิดความสมดุลระหว่างมิติทางวัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ความสมดุลระหว่างความสามารถในการพึ่งตนเองกับความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก ความสมดุลระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง สอดคล้องกับข้อใด
          ก. ความมีเหตุผล           ข. ความพอประมาณ
          ค. ความมีภูมิคุ้นกัน                 ง. ความรอบรู้
21. การบริหารจัดการความเสี่ยงให้เพียงพอพร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ สอดคล้องกับข้อใด
          ก. ความมีเหตุผล           ข. ความพอประมาณ
          ค. ความมีภูมิคุ้นกัน                ง. ความรอบรู้
22. การพัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดความสมดุลและพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกโดยยึดหลักความพอเพียง ที่มีการวิเคราะห์ด้วยหลักการตามข้อใด
          ก. ความมีเหตุผล                   ข. ความพอประมาณ
          ค. ความมีภูมิคุ้นกัน                 ง. ความรอบรู้
23. แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  นำไปใช้พัฒนาในระดับใด
ก.  ระดับครอบครัว                           ข.  ระดับชุมชน
ค.  ระดับประเทศ                            ง.  ทุกระดับ
24. ข้อใดไม่ใช่การเสริมสร้างทุนสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11
ก. ทุนปัญญา                         ข. ทุนมนุษย์        
ค. ทุนสังคม                         ง. ทุนทางวัฒนธรรม
25. แนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ มีองค์ประกอบแต่ละยุทธ์ศาสตร์ 5 ประการ ยกเว้นข้อใด
ก. สถานการณ์การเปลี่ยนแปลง              .การประเมินความเสี่ยง
ค. การสร้างภูมิคุ้มกัน                         ง. พันธกิจและเป้าหมาย
26. เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ประชากรจะมีปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าใด
          ก. 10 ปี                              ข. 11 ปี                   
ค. 12   ปี                          ง. 15 ปี


27. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวชี้วัดตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11
ก. อัตราเจริญพันธุ์รวมของประชากรไทยไม่ต่ำกว่า 1.6
ข. ระดับค่าเฉลี่ยเชาว์ปัญญาของเด็กไม่ต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากลที่ระดับ 90
ค. เพิ่มสัดส่วนประชากรที่สามารถเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ได้ร้อยละ 80.0 ของประชากรทั่วประเทศ
ง. จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็น 15 คน ต่อประชากร 10,000 คน
28. ข้อใดไม่ใช่แนวทางการพัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีความรู้ทางวิชาการ และสติปัญญาทางอารมณ์
ที่เข้มแข็งสามารถศึกษาหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
ก.       พัฒนาหลักสูตรและปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน
ข.       ค้นหาเด็กที่มีอัจฉริยภาพและผู้มีความสามารถพิเศษด้านต่าง ๆ
ค.      เตรียมความพร้อมของพ่อแม่และผู้ดูแลในการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสม
ง.        เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน มีระบบ กระบวนการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพ
29. ข้อใดไม่ใช่แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้คนทุกกลุ่มทุกวัยสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และองค์ความรู้ที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ใหม่
          ก. สร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน
ข. ส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
ค. สนับสนุนการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ง. ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่หรือจังหวัดต่าง ๆมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการพัฒนาคน ชุมชน และสังคมในพื้นที่อย่างเป็นองค์รวม
30. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11ตามยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
ก. เพิ่มพื้นที่การทำเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างน้อยร้อยละ 5.0 ต่อปี
ข. เพิ่มสัดส่วนมูลค่าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 16.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ค. ครอบครัวเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองทางอาหารจากไร่นาได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 ในปี 2559
ง. เพิ่มปริมาณการผลิตพลังงานทดแทนจากพืชพลังงาน ได้แก่ เอทานอลและไบโอดีเซล ในปี 2559  ไม่น้อยกว่า 6.2  และ 3.6 ล้านลิตรต่อวัน ตามลำดับ
31. ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายเพิ่มอัตราของผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละเท่าไรต่อปี
          ก. เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ต่อปี                       ข.เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี
          ค. เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ต่อปี                      ง.เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
32. ตามยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน มีเป้าหมายเพิ่มผลผลิตพลังงานไฟฟ้า และพลังความร้อนจากชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ของเสียจากครัวเรือน วัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตร ในปี 2559 เท่าใด
          ก. ไม่น้อยกว่า 3,440 เมกะวัตต์                             ข. ไม่น้อยกว่า 3,440 เมกะวัตต์
          ค. ไม่น้อยกว่า 4,440 เมกะวัตต์                    ง. ไม่น้อยกว่า 5,440 เมกะวัตต์
33. ตามยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน มีเป้าหมายเพิ่มผลผลิตพลังงานไฟฟ้า และพลังความร้อนจากชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ของเสียจากครัวเรือน วัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรม ในปี 2559 เท่าใด
          ก. 3,564 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ                   ข. 4,564 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ
          ค. 5,564 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ                   ง. 6,564 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ
34. ตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนมีเป้าหมายกำหนดอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละเท่าไรต่อปี
ก. เฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 2.5 ต่อปี                        ข.เฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3.5 ต่อปี
          ค. เฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 4.5 ต่อปี                        ง. เฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5.5 ต่อปี
35. ตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนมีเป้าหมายกำหนดผลิตภาพการผลิตรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละเท่าไรต่อปี
ก. เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ต่อปี                       ข.เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี
          ค. เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ต่อปี                      ง.เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
36. ตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีเป้าหมายกำหนดเพิ่มสัดส่วนมูลค่าภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละเท่าไรของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ก. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 12                                  ข.ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 14
          ค. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 16                       ง.ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 18
37. ตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีเป้าหมายกำหนดเพิ่มสัดส่วนมูลค่าภาคบริการให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละเท่าไรของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ก. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40                                 ข.ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 45
          ค. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50                                ง.ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 55
38. ตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีเป้าหมายเลื่อนอันดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศโดย IMD เป็นอันดับที่เท่าใดของโลก
          ก. อันดับ 16 ของโลก                                  ข.อันดับ 18 ของโลก
ค. อันดับ 20 ของโลก                                  ง.อันดับ 24 ของโลก


39. ตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนค่าใช้จ่ายการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.0 และเพิ่มขึ้นเป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในระยะต่อไปโดยมีสัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนต่อภาครัฐเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไร
          ก. 50 : 50                 ข. 60 : 40                 ค. 70 : 30                ง. 80 : 20
40. ตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีเป้าหมายลดสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศให้ตํ่ากว่าร้อยละ 15.0 และเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางเป็นร้อยละเท่าไร
          ก. 2 %                     ข. 3 %                     ค. 4 %                     ง. 5 %
41. ตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกต่อปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าไร
          ก. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 14                              ข. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
          ค. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 18                              ง. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 19
42. ตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีเป้าหมายลดสัดส่วนการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศลงไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าไร
ก. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3                      ข. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5
          ค. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 6                                ง. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8
43. ตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีเป้าหมาย
ลดความเข้มการใช้พลังงานลงร้อยละเท่าไร
          ก. 2 %                    ข. 3 %                    ค. 4 %                     ง. 5 %
44. ตามยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม  การก้าวสู่ความเป็นโลกหลายศูนย์กลางอันเนื่องจากการขยายตัวของขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ประเทศกลุ่ม BRIC ยกเว้นประเทศใด
          ก. จีน                      ข. อินเดีย                  ค.บราซิล                   ง.สหรัฐอเมริกา
45. ตามยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม  แผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program : GMS) ยกเว้นประเทศใด
          ก. ไทย-พม่า–ลาว–กัมพูชา-เวียดนาม-อินเดีย        
ข. ไทย–พม่า–ลาว–กัมพูชา-เวียดนาม-มาเลเซีย
          ค. ไทย–พม่า–ลาว–กัมพูชา-เวียดนาม-สิงคโปร์      
ง. ไทย–พม่า–ลาว–กัมพูชา-เวียดนาม-จีน
46. ตามยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม  แผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program : GMS) ได้ตกลงความร่วมมือกี่สาขา
          ก. 5 สาขา                 ข. 9 สาขา                ค. 12 สาขา               ง. 15 สาขา
47. ตามยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตามแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ : ACMECS ได้แก่แม่น้ำอะไรบ้าง
          ก. สาละวิน – ป่าสัก - แม่น้ำโขง                      ข. สาละวิน - เจ้าพระยา - แม่น้ำโขง
          ค. แม่น้ำงึม - ป่าสัก - แม่น้ำโขง                       ง. อิระวดี – เจ้าพระยา - แม่น้ำโขง
48. ตามยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ( IMT - GT) ได้แก่ประเทศอะไรบ้าง
          ก. อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย            ข. สิงคโปร์ – มาเลเซีย – ไทย
          ค. อินเดีย - มาเลเซีย - ไทย                           ง. พม่า - มาเลเซีย - ไทย
49. การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ข้อใด
ก. ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ
ข. การศึกษา การขนส่งและวัฒนธรรม
          ค. ความมั่งคง อาหารและสังคม
          ง. การศึกษา เศรษฐกิจและสังคม
50. การเชื่อมโยงกันระหว่างอาเซียนกับกลุ่มอำนาจเดิมและกลุ่มอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ ASEAN+3 หมายถึงประเทศใด
          ก. จีน-ออสเตรเลีย-ญี่ปุ่น           ข. อินเดีย-จีน-ญี่ปุน
          ค. เกาหลีใต้-จีน-ญี่ปุ่น              ง. ออสเตรเลีย-อินเดีย-เกาหลีใต้
51. การเชื่อมโยงกันระหว่างอาเซียนกับกลุ่มอำนาจเดิมและกลุ่มอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ ASEAN+6 หมายถึงประเทศใด
          ก. จีน-ออสเตรเลีย-ญี่ปุ่น  -รัสเซีย-เกาหลีใต้-อินเดีย 
ข. อินเดีย-จีน-ญี่ปุน-นิวซีแลนด์-บราซิล-สหรัฐอเมริกา
          ค. เกาหลีใต้-จีน-ญี่ปุ่น-บราซิล-สหรัฐอเมริกา-ออสเตรีเลีย    
ง. ออสเตรเลีย-อินเดีย-เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น-นิวซีแลนด์-จีน
52. ความร่วมมือกรอบ ASEAN - US ที่เน้นประเด็นใด
          ก. ด้านความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค      ข. ความมั่นคงและเศรษฐกิจ
          ค. เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม                     ง. ความมั่นและการขนส่ง
53. กรอบ Asia - Middle East Dialogue (AMED) ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างทวีปใด
ก. เอเชีย ตะวันออกกลางและแอฟริกาใต้              ข. เอเชีย สหัฐอเมริกาและแอฟริกาเหนือ
ค. เอเชีย ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ         ง. เอเชีย ยุโรปและออสเตรเลีย
55. ตามยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีต่อมูลค่าส่งออก
รวมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละเท่าใดในปี 2559
          ก. 20 %                             ข. 30 %                   ค. 40 %                   ง. 50 %
55. ตามยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนโดยตรงของไทยในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละเท่าไร
          ก. 10 %                             ข. 15 %                   ค. 20 %                   ง. 25 %
56. ตามยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการลงทุนโดยตรงของไทยในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละเท่าไร
          ก. 10 %                            ข. 15 %                   ค. 20 %                   ง. 25 %
57. ตามยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยรักษาพื้นที่อนุรักษ์ไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าไร
          ก. 10 %                             ข. 19 %                   ค. 20 %                   ง. 29 %
58. ตามยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละเท่าไรของพื้นที่ประเทศ
          ก. 20 %                             ข. 30 %                   ค. 40 %                  ง. 50 %
59. ตามยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนไม่น้อยกว่าปีละกี่ไร่
          ก. 5,000 ไร่               ข. 8,000 ไร่               ค. 10,000 ไร่              ง. 15,000 ไร่
60. ตามยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำและ การบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ชลประทานเฉลี่ยปีละกี่ไร่
          ก. 150,000 ไร่            ข. 200,000 ไร่           ค. 250,000 ไร่            ง. 350,000 ไร่
61. ตามยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีเป้าหมาย ควบคุมคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำหลักและแม่น้ำสายสำคัญให้อยู่ในเกณฑ์ตั้งแต่พอใช้ขึ้นไปไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าใด
          ก. 50 %                             ข. 60 %                   ค. 70 %                   ง. 80 %
62. ตามยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายคุณภาพอากาศในเขตเมืองและเขตอุตสาหกรรมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการจัดการขยะชุมชนถูกหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละเท่าไรของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น
          ก. 50 %                            ข. 60 %                   ค. 70 %                   ง. 80 %
63. ตามยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายมีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าไร
          ก. 20 %                             ข. 30 %                   ค. 40 %                   ง. 50 %
64. ปัจจัยเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จได้แก่ข้อใด
ก. ภาคราชการมีเครื่องมือและวิธีการใหม่ ๆ ด้านการกระจายอำนาจ
ข. ภาคชุมชนและภาคประชาชนมีความเข้มแข็งและมีโอกาสเพิ่มขึ้น
ค. ภาคธุรกิจเอกชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
ง. ถูกทุกข้อ
65. ข้อใดไม่ใช่การติดตามประเมินผลแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11
          ก.ให้ความสำคัญกับการติดตามความก้าวหน้า การประเมินผลสำเร็จและผลกระทบของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อจัดทำรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีทุกปี
          ข. การติดตามประเมินผลการบริหารจัดการแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11 สู่การปฏิบัติในภาพรวม สศช.การติดตามประเมินผลการพัฒนาระดับพื้นที่ และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (...) คณะกรรมการกำกับการปฏิบัติราชการในภูมิภาค (กกภ.) และปรับระบบการตรวจราชการ
ค. พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในทุกระดับ สำหรับการติดตามประเมินผล
ที่มีประสิทธิภาพ
ง. หน่วยงานกลางนำแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 11บูรณาการกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ เป็นกรอบสำหรับกระทรวง/กรมพิจารณาใช้ประกอบการจัดทำคำของบประมาณสนับสนุน แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีภายใต้ภารกิจหลักที่รับผิดชอบ
………………………………………………………………………………………………..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น