1. คำสำคัญที่มักใช้ในความหมายเดียวกันกับ
“สมรรถนะ”
คือคำในข้อใด
ก.
คุณภาพ (Quality)
ข.
ศักยภาพ (Potential)
ค.
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
ง.
คุณลักษณะ (Attribute)
2. เป้าหมายและหลักการสำคัญในการศึกษาบทเรียน
(Lesson study) คือข้อใด
ก.
. การปรับปรุงพฤติกรรมการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพ
ข.
การเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน
ค.
การศึกษาและปรับปรุงแผนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
ง.
การพัฒนาสมรรถนะการทำงานของศึกษานิเทศก์
3. ข้อใดคือ
องค์ประกอบของคำว่า “สมรรถนะ”
ก.
คุณภาพ คุณลักษณะ คุณธรรม
ข.
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สัมฤทธิ์ผล
ค.
ความรู้ ทักษะ เจตคติหรือแรงจูงใจ
ง.
มาตรฐาน ภาระงาน วิสัยทัศน์
4. ผลการวิจัยเชิงประเมินพบว่ากระบวนการออก
แบบการสอนและการจัดการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับสมรรถนะของครูและสัมพันธ์กับ
สมรรถนะการนิเทศการเรียนรู้ของศึกษานิเทศก์ มีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.833
หมายความว่าอย่างไร
ก.
สมรรถนะของครูขึ้นอยู่กับสมรรถนะศึกษานิเทศก์ร้อยละ 83
ข.
คุณภาพการสอนของครูเกิดจากการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ร้อยละ 83
ค.
สมรรถนะศึกษานิเทศก์เท่ากับสมรรถนะของครูผู้สอนร้อยละ 83
ง.
คุณภาพการออกแบบการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์กับการนิเทศการเรียนรู้ของศึกษานิเทศก์ร้อยละ
83
5. เต็มใจ
ภาคภูมิใจ และมีความสุขในการได้ไปเยี่ยมชั้น
สังเกตการณ์สอนและทำกิจกรรมพัฒนาโครงการค่ายภาษาอังกฤษ
เป็นพฤติกรรมเด่นชัดของสมรรถนะใด
ก.
การทำงานเป็นทีม (Team work)
ข.
การบริการที่ดี (Service Mind)
ค.
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน (Working Achievement Motivation)
ง.
การพัฒนาตนเอง (Self-Development)
6. จากคำกล่าวที่ว่า
“ศึกษานิเทศก์จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
ของโลกาภิวัฒน์” มีกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ในนโยบายของรัฐบาลตามข้อใดในระหว่างปี
พ.ศ. 2553 - 2555
ก.
โครงการพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้นำทางวิชาการผู้บริหารและยกระดับคุณภาพครูแนวใหม่ครูดี
ครูเก่ง (Master Teacher)
ข.
โครงการพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่ โดยพัฒนาศึกษานิเทศก์ คัดผลงานวัตกรรมนิเทศดีเด่น
ค.
พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบ E-Training
ง.
ถูกทุกข้อ
7. ประโยชน์ของการวิจัยเพื่อการพัฒนาการนิเทศการศึกษา
ตรวจสอบได้และมีหลักฐานยืนยันได้จากอะไร
ก.
การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ข.
การเผยแพร่ในวงวิชาการ
ค.
ความถูกต้องตามหลักวิชาการ
ง.
ความสมบรูณ์ของเนื้อหาสาระการวิจัย
8. “ความรู้ความเข้าใจเนื้อหา
ผนวกวิธีการสอนที่เหมาะสม” (Pedagogical Contents Knowledge : PCK) เป็นองค์ประกอบสมรรถนะที่สำคัญด้านใดของศึกษานิเทศก์
ก.
ทักษะการสอนและเจตคติที่ดีต่อการนิเทศ
ข.
ความรู้ในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะทั่วไปของครู
ค.
ความรู้ในเรื่องที่สอนกับทักษะในการเรียนของนักเรียน
ง.
ความรู้ในเนื้อหาที่สอน และความรู้ในวิธีการสอน
9. การให้คำปรึกษา
(Mentoring) ชี้แนะ
(Coaching) และช่วยแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนแก่ครูของศึกษานิเทศก์มีสิ่งใดเป็นข้อมูล
หลักฐานและร่องรอยคุณภาพการปฏิบัติงาน
ก.
แผนกลยุทธ์ปฏิบัติการนิเทศการศึกษา
ข.
แบบสังเกตการสอน
ค.
รายงานการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล
ง.
แฟ้มบันทึกการนิเทศ
10 การพัฒนาครูในระหว่างปฏิบัติงาน
(In service Training) โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา
(School Based Management) เป็นภารกิจหลักของบุคลากรสายงานใด
ก.
ครูแห่งชาติ สายงานการสอน
ข.
อาจารย์สถาบันอุดมศึกษา สายงานคณาจารย์ระดับอุดมศึกษา
ค.
ศึกษานิเทศก์ สายงานนิเทศการศึกษา
ง.
ผู้บริหารโรงเรียน สายงานบริหารการศึกษา
11.บทบาทหน้าที่หลักของศึกษานิเทศก์สัมพันธ์กับสมรรถนะประจำสายงายของศึกษานิเทศก์ในข้อใด
ก.
การนิเทศเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
ข.
การวิเคราะห์วิจัยทางการศึกษา
ค.
การสื่อสารและการจูงใจ
ง.
การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ
12.“สมรรถนะการสื่อสารและแรงจูงใจ” ของศึกษานิเทศก์ สามารถชี้วัดได้จากพฤติกรรมข้อใด
ก.
มีความคิดเชิงระบบในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
ข.
มีการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและสร้างเครือข่ายการพัฒนา
ค.
มีความสามารถในการพูด และเขียนในโอกาสต่าง ๆ
ง.
มีความสามารถแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสม
13.จากผลการวิจัยของ
Gottesman.B. พบว่าสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ที่ใช้เทคนิควิธีการนิเทศการศึกษาแบบใด
ทำให้เกิดความรู้ ความจดจำที่คงทนยาวนาน เกิดผล 90%
ก.
การชี้แนะการสอนงาน (Coaching)
ข.
การให้ความรู้เชิงทฤษฎี (Theory)
ค.
การเป็นแบบอย่าง (Modeling)
ง.
. การสาธิต (Demonstration)
14.ข้อใดเป็นพฤติกรรม
“ความรับผิดชอบในวิชาชีพ”
ของศึกษานิเทศก์
ก.
แม้เป็นงานที่ยุ่งยากทำไม่เสร็จ เขาก็ยังขอผัดผ่อนทำงานต่อไป
ข.
เขาไม่ยอมทำงานอื่นนอกจากงานในหน้าที่ของเขา
ค.
เขาวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของตนทั้งทางบวกและลบ
ง.
เขาพยายามรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงานอย่างคงเส้นคงวา
15.การนิเทศการศึกษามีความหมายที่สมบูรณ์ที่สุดในข้อใด
ก.
เป็นระบบบริการอย่างหนึ่งที่จัดไว้ให้แก่ระบบการศึกษา
ข.
ความพยายามและความร่วมมือทุกชนิดที่บุคคลจัดให้ครู
ค.
การร่วมมือกระตุ้นให้คำแนะนำแก่ครูและนักเรียน
ง.
ระบบพฤติกรรมขององค์กรที่ทำงานมุ่งผลกระทบสู่พฤติกรรมการสอนของครู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น