UTQ-02101
UTQ-02101 แนวทางการจัดการเรียนรู้
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 20เต็ม
1. เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คืออะไร ก. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ค. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด x ข้อ ก. - ค. 2. การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แตกต่างจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 อย่างไร ก. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข. การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ค. การจัดการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน xการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับนำไปจัดทำหน่วยการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้และเป็นเกณฑ์สำหรับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3. สิ่งใดในข้อต่อไปนี้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ก. มีความท้าทาย ข. พัฒนาให้มีทักษะกระบวนการที่สำคัญ ค. ใช้เทคนิค/วิธีการ สื่อที่นำผู้เรียนไปสู่การสร้างชิ้นงาน/ภาระงาน เกิดสมรรถนะสำคัญ ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ x. ใช้เทคนิค/วิธีการ สื่อที่จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เกิดสมรรถนะสำคัญ ปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนสามารถสร้างชิ้นงาน/ภาระงานได้ 4. ข้อใดเป็นการกล่าวถึงเจตนารมณ์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อย่างถูกต้อง ก. เป็นเทคนิควิธีการสอน ข. เป็นแนวทางในการประเมินผู้เรียน ค. เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ xเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกิดกับผู้เรียนโดยผ่านวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน 5. ข้อใดเป็นการกล่าวถึงเจตนารมณ์ของการกำหนดจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน อย่างถูกต้อง กเป็นการแก้ไขจุดอ่อนของเด็กไทย ข เป็นการพัฒนาผู้เรียนที่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ค เป็นการสร้างคุณภาพในตัวผู้เรียนที่มีความครอบคลุมในด้านความสามารถและทักษะ ตลอดจนคุณลักษณะที่ ช่วยให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร x หมายเหตุ (ความจริง ถูกทุกข้อนะครับ ข้อ ง แทนที่จะว่าถูก ก-ค แต่กลับ มั่ว เอาคำถามมาเป็นคำตอบ) 6. สิ่งใดไม่ใช่หลักการของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก. ครูผู้สอนต้องมีข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล x ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เรียนเป็นกลุ่มๆ ร่วมกับเพื่อนๆ ค. ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด ง. ผู้เรียนได้วางแผนการเรียนและเลือกปฏิบัติตามความถนัด 7. การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความสำคัญต่อครูผู้สอนอย่างไร ก. ช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ข. ช่วยในการพัฒนาบทเรียนให้มีความยากง่ายเหมาะสมกับผู้เรียน ค. ช่วยให้ครูตระหนักว่าเด็กทุกคนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการเดียวกันหมด x ข้อ ก. - ค. 8. สิ่งใดคือลักษณะที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง ก. การจัดสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ข. การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ค. การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย x การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนจากประสบการณ์จริง จากประสาทสัมผัส 9. ข้อใดกล่าวถึงความสำคัญของโครงสร้างรายวิชาไว้อย่างครอบคลุม ถูกต้อง ก. ช่วยให้เห็นลำดับของการเรียนรู้ ข. ช่วยให้เห็นขอบข่ายของรายวิชา ค. ช่วยให้เห็นภาพรวมของจำนวนหน่วยการเรียนรู้ x ช่วยให้เห็นภาพรวมของรายวิชา มาตรฐานการเรียน/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ/ ความคิดรวบยอด เวลาเรียน และน้ำหนักคะแนนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ในรายวิชานั้นๆ 10. ข้อใดคือความสำคัญของการกำหนดน้ำหนักคะแนนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ในโครงสร้างรายวิชา ก. เพื่อใช้ในการวางแผนการเรียนรู้ ข. เพื่อจำแนกคะแนนเป็นรายหน่วย ค. เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้กำหนดคะแนนรายปี/รายภาค x เพื่อบ่งบอกถึงความสำคัญของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และใช้ในการประเมินระหว่างเรียน (Formative Evaluation) และประเมินรวบยอด (Summative Evaluation) 11. ข้อใดกล่าวถึงขั้นตอนการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ(Backward Design) ได้ถูกต้อง ก. กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ หลักฐานการเรียนรู้ x กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ หลักฐานการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ ค. กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ เป้าหมายการเรียนรู้ หลักฐานการเรียนรู้ ง. กำหนดหลักฐานการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ เป้าหมายการเรียนรู้ 12. สิ่งใดในข้อต่อไปนี้ ไม่ใช่ เป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้ ก. ตัวชี้วัด x ชิ้นงาน/ภาระงาน ค. มาตรฐานการเรียนรู้ ง. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 13. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. การจัดกลุ่มตัวชี้วัดควรมีความหลากหลาย ข. ตัวชี้วัด 1 ตัวชี้วัด จะต้องอยู่หน่วยใดหน่วยหนึ่งเท่านั้น จะซ้ำไม่ได้ ค. ตัวชี้วัดบางตัวที่เห็นว่าไม่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องนำมาไว้ในหน่วยการเรียนรู้ x ตัวชี้วัดบางตัวที่ต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญสามารถนำตัวชี้วัดนั้นๆ ไปพัฒนาผู้เรียนได้มากกว่า 1 หน่วยการเรียนรู้ 14. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง x การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้สอน ข. การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ ควรสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและสังคมของผู้เรียน ค. การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ควรน่าสนใจ อาจเป็นประเด็น ข้อคำถาม ข้อโต้แย้งที่สำคัญ ง. การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ควรเหมาะสมกับวัย ความสนใจ และความสามารถ ของผู้เรียน 15. การกำหนดเวลาเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง ก. จำนวนตัวชี้วัด น้ำหนักคะแนน ความยากง่ายของสาระสำคัญ ข. ความยากง่ายของสาระสำคัญ จำนวนตัวชี้วัด น้ำหนักคะแนน xจำนวนตัวชี้วัด ความยากง่ายของสาระสำคัญ วิธีการและกระบวนการเรียนรู้ ที่นำมาใช้ ง. ความยากง่ายของสาระสำคัญ น้ำหนักคะแนน วิธีการและกระบวนการเรียนรู้ 16. ข้อใดกล่าวถึงวิธีการวัดและประเมินผลที่ควรกำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้ ก. กำหนดให้มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายวิธี ข. กำหนดให้มีการวัดและประเมินผลเฉพาะชิ้นงาน/ภาระงาน ค. กำหนดให้มีการวัดและประเมินผลระหว่างและเมื่อสิ้นสุดการทำกิจกรรมการเรียน รู้โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินที่ต้องใช้ Rubric กับเครื่องมือทุกประเภท xกำหนดให้การวัดและประเมินผลระหว่างและสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนเกณฑ์การประเมินที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้ 17. สิ่งใดต่อไปนี้ที่สามารถเพิ่มเติมได้ตามจุดเน้นของเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้ ก. ตัวชี้วัด ข. มาตรฐานการเรียนรู้ ค. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน x คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 18. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนไว้อย่างถูกต้อง ก. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนเป็นเป้าหมายหลักที่ผู้เรียนต้องบรรลุในการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ ข. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญไม่จำเป็น ต้องคำนึงถึงมาตรฐานการเรียนรู้/ ตัวชี้วัด ค. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสามารถเพิ่มเติมได้ตามจุดเน้นของเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และกลุ่ม สาระการเรียนรู้ xสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการสั่งสมประสบการณ์จาก การเรียนรู้และได้รับการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 19. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไม่ถูกต้อง ก. คุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นเกณฑ์หนึ่งในการประเมินผลการเรียน x การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต้องใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือหลัก ค. คุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นสิ่งที่เพิ่มเติมได้ตามจุดเน้นของเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และกลุ่ม สาระการเรียนรู้ ง. การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต้องดำเนินการพัฒนาโดยบูรณาการเข้าไปใน กระบวนการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทั้งในและนอกห้องเรียน 20. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ก. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการนำไปใช้ในชีวิตจริง ข. ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในความแตกต่างของผู้เรียน ค. เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจากประสบการณ์ไปสู่การสร้างองค์ความรู้ มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวคิด วางแผน และประเมินผลการเรียนรู้ x ข้อ ก. – ค. |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น