วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

UTQ-02129 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้ปัญหาเป็นฐาน 19 คะแนน
  • การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานพัฒนาขึ้นครั้งแรกที่คณะใดของมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์
    คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ปัญหา มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้อย่างไร
    เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
  • ผู้เรียนเรียนรู้โดยการนำตนเองหมายถึงข้อใด
    ถูกทุกข้อ
  • การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยมีประโยชน์อย่างไร
    ได้พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม
  • ปัญหาใดไม่เหมาะกับการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
    ปัญหาที่หาคำตอบได้ง่าย
  • ผู้สอนควรจัดสถานการณ์กระตุ้นยั่วยุ ให้กับผู้เรียนในขั้นตอนใดของการจัดการเรียนรู้
    ขั้นกำหนดปัญหา
  • ผู้สอนใช้คำถามละเอียดให้ผู้เรียนคิดต่อในขั้นตอนใดของการจัดการเรียนรู้
    ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา
  • ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหาผู้เรียนต้องทำสิ่งใด
    กำหนดแนวทางการค้นหาคำตอบ
  • ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า ผู้สอนมีบทบาทอย่างไร
    คอยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน
  • ผู้เรียนแยกกันไปศึกษาค้นคว้า เมื่อได้ความรู้แล้วนำกลับมาเสนอภายในกลุ่ม อยู่ในขั้นตอนใดของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
    ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า
  • ถ้าข้อมูลความรู้ที่หามาได้นั้นยังไม่เพียงพอ ต้องไปหาความรู้เพิ่มเติมในขั้นตอนใด
    ขั้นสังเคราะห์ความรู้
  • ในขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบผู้สอนควรมีบทบาทอย่างไร
    ตรวจสอบการประมวลสร้างองค์ความรู้ใหม่
  • ขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบ ผู้เรียนมีบทบาทอย่างไร
    นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาประมวลเป็นองค์ความรู้ใหม่
  • ในขั้นสุดท้ายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้เรียนต้องทำสิ่งใด
    นำเสนอผลงาน
  • ข้อใดคือประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
    ถูกทุกข้อ
  • คำถามที่ผู้สอนใช้เพื่อให้ผู้เรียนกำหนดปัญหาควรมีลักษณะใด
    เป็นคำถามที่ท้าทาย กระตุ้นความสนใจ
  • การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้เรียนจะใช้แหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย ผู้สอนควรทำอย่างไร
    ประสานผู้เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องการ
  • ผู้เรียนควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานได้ดี
    ถูกทุกข้อ
  • บทบาทผู้เรียนในรูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานคือข้อใด
    ถูกทุกข้อ
  • บทบาทที่สำคัญของผู้สอน ในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานคือข้อใด
    เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

1. บทบาทที่สำคัญของผู้สอน ในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานคือข้อใด

  • ก. เป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้
  • ข. เป็นผู้กำหนดและสอนเนื้อหาสาระ
  • ค. เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
  • ง. เป็นผู้ให้คะแนนผลงานของผู้เรียน
2. ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า ผู้สอนมีบทบาทอย่างไร
  • ก. คอยช่วยผู้เรียนหาคำตอบ
  • ข. คอยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน
  • ค. คอยตั้งคำถามให้สรุปความรู้ได้ถูกต้อง
  • ง. คอยประเมินการทำงานของผู้เรียน
3. ในขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบผู้สอนควรมีบทบาทอย่างไร
  • ก. คอยแนะนำให้กำลังใจ
  • ข. ประเมินการทำงานของผู้เรียน
  • ค. ตรวจสอบการประมวลสร้างองค์ความรู้ใหม่
  • ง. อยู่เฉยๆ คอยดูผู้เรียนทำกิจกรรม
4. ปัญหา มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้อย่างไร
  • ก. เป็นหัวข้อของการเรียนรู้
  • ข. เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
  • ค. เป็นชื่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้
  • ง. เป็นแนวทางในการค้นหาคำตอบ
5. ผู้เรียนแยกกันไปศึกษาค้นคว้า เมื่อได้ความรู้แล้วนำกลับมาเสนอภายในกลุ่ม อยู่ในขั้นตอนใดของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

  • ก. ขั้นสังเคราะห์ความรู้
  • ข. ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า
  • ค. ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน
  • ง. ขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบ
6. ข้อใดคือประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
  • ก. ผู้เรียนรู้จักการวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • ข. ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนรู้
  • ค. ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เกี่ยวข้องในการเรียนรู้
  • ง. ถูกทุกข้อ
7. ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหาผู้เรียนต้องทำสิ่งใด
  • ก. กำหนดปัญหาที่ต้องการศึกษา
  • ข. กำหนดแนวทางการค้นหาคำตอบ
  • ค. กำหนดหน้าที่ของสมาชิกภายในกลุ่ม
  • ง. กำหนดระยะเวลาในการค้นหาคำตอบ
8.  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยมีประโยชน์อย่างไร
  • ก. งานเสร็จเร็ว
  • ข. ใช้อุปกรณ์น้อย
  • ค. ใช้เวลาศึกษาน้อย
  • ง. ได้พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม
9.
คำถามที่ผู้สอนใช้เพื่อให้ผู้เรียนกำหนดปัญหาควรมีลักษณะใด
  • ก. เป็นคำถามทั่วๆไป
  • ข. เป็นคำถามที่ยากต่อการหาคำตอบ
  • ค. เป็นคำถามที่ท้าทาย กระตุ้นความสนใจ
  • ง. เป็นคำถามง่ายๆ ไม่ซับซ้อน
10.
ผู้สอนควรจัดสถานการณ์กระตุ้นยั่วยุ ให้กับผู้เรียนในขั้นตอนใดของการจัดการเรียนรู้

  • ก. ขั้นกำหนดปัญหา
  • ข. ขั้นสังเคราะห์ความรู้
  • ค. ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา
  • ง. ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า
11. ขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบ ผู้เรียนมีบทบาทอย่างไร
  • ก. นำเสนอผลการทำงานต่อชั้นเรียน
  • ข. ไปหาข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์มาเพิ่ม
  • ค. ตรวจสอบข้อมูลว่าตอบคำถามได้หรือไม่
  • ง. นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาประมวลเป็นองค์ความรู้ใหม่
12. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานพัฒนาขึ้นครั้งแรกที่คณะใดของมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์

  • ก. คณะสังคมศาสตร์
  • ข. คณะแพทย์ศาสตร์
  • ค. คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ง. คณะวิศวกรรมศาสตร์
13. ผู้เรียนควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานได้ดี
  • ก. มีความสนใจใฝ่รู้
  • ข. มีทักษะการสืบค้นข้อมูล
  • ค. มีทักษะการทำงานกลุ่ม
  • ง. ถูกทุกข้อ
14.
ในขั้นสุดท้ายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้เรียนต้องทำสิ่งใด
  • ก. นำเสนอผลงาน
  • ข. สรุปข้อมูลความรู้
  • ค. ไปศึกษาเพิ่มเติม
  • ง. ตรวจสอบข้อมูลความรู้
15. บทบาทผู้เรียนในรูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานคือข้อใด 
  • ก. เป็นผู้กำหนดปัญหา
  • ข. เป็นผู้ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
  • ค. เป็นผู้ร่วมประเมินผลการเรียน
  • ง. ถูกทุกข้อ
16. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้เรียนจะใช้แหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย ผู้สอนควรทำอย่างไร

  • ก. หาข้อมูลความรู้มาให้ผู้เรียน
  • ข. ให้ผู้เรียนไปเรียนรู้เองตามอัธยาศัย
  • ค. ให้ผู้บริหารไปติดต่อหาแหล่งเรียนรู้
  • ง. ประสานผู้เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องการ
17. ปัญหาใดไม่เหมาะกับการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
  • ก. ปัญหาที่เป็นปัญหาสังคม
  • ข. ปัญหาที่หาคำตอบได้ง่าย
  • ค. ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
  • ง. ปัญหาที่ตอบสนองตามเนื้อหาสาระของหลักสูตร
18. ถ้าข้อมูลความรู้ที่หามาได้นั้นยังไม่เพียงพอ ต้องไปหาความรู้เพิ่มเติมในขั้นตอนใด
  • ก. ขั้นสังเคราะห์ความรู้
  • ข. ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า
  • ค. ขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบ
  • ง. ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน
19. ผู้เรียนเรียนรู้โดยการนำตนเองหมายถึงข้อใด
  • ก. ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • ข. ผู้เรียนบริหารเวลาในการเรียนรู้เอง
  • ค. ผู้เรียนเลือกวิธีการเรียนรู้และประเมินผลเอง
  • ง. ถูกทุกข้อ
20. ผู้สอนใช้คำถามละเอียดให้ผู้เรียนคิดต่อในขั้นตอนใดของการจัดการเรียนรู้
  • ก. ขั้นกำหนดปัญหา
  • ข. ขั้นสังเคราะห์ความรู้
  • ค. ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา
  • ง. ขั้นสรุปและประเมินค่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น