วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การปฏิรูปการศึกษา
utq 2126 ได้คะแนน 18/20
1. นโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เป็นระยะเวลาในช่วงใด
ก. พ.ศ. 2554 – 2558
ข. พ.ศ. 2552 – 2561
ค. พ.ศ. 2550 – 2560
ง. พ.ศ. 2548 - 2558
2. นโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ข้อใดที่ครูผู้ปฏิบัติการ มีส่วนเกี่ยวข้องและมีบทบาทในการขับเคลื่อนครั้งนี้
ก. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ข. ปรับปรุงการผลิต การพัฒนาการใช้ครู
ค. พัฒนาการบริหารจัดการและการกระจายอำนาจ
ง. ปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลทุกระดับ
3. จุดเน้นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายเด็กปฐมวัยข้อใดที่เป็นหน้าที่โดยตรงของครูปฐมวัย
ก. เด็กอายุ 3 ปี ทุกคนได้รับการคิดกรองพัฒนาการและการช่วยเหลือตั้งแต่แรกเริ่ม
ข. พ่อแม่ผู้เกี่ยวข้องเด็กปฐมวัยได้รับการอบรมการเลี้ยงดูเด็กอย่างมีคุณภาพ
ค. ผู้จะมีบุตรทุกคนได้รับการศึกษาอบรมเตรียมพร้อมการเป็นพ่อแม่ที่ดี
ง. เด็กอายุ 3 ปี ทุกคนได้รับการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
4. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ข้อใดที่ไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้อง
ก. คนไทยได้เรียนฟรีทุกระดับชั้นตลอดชีวิต
ข. คนไทยมีสมรรถนะในการดำเนินชีวิตรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
ค. คนไทยสามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา สร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีคุณภาพ
ง. คนไทยสามารถเรียนรู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
5. จากการกำหนดให้มีสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น 8 สาระ สืบเนื่องเชื่อมโยงกับแนวคิดใดเป็นสำคัญ
ก. สาระที่ควรเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
ข. สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ความเหมาะสมกับพัฒนาการความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย
ง. ถูกทุกข้อ
6. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ที่เหมาะสมให้แก่เด็กปฐมวัยจะช่วยพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในด้านใด
ก. ด้านสติปัญญา ด้านสังคม ด้านร่างกาย
ข. ด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา
ค. ด้านความตระหนักรู้โลกธรรมชาติรอบตัว และพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ง. ด้านสติปัญญามีความรู้ ความจำ คิดวิเคราะห์และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
7. นักเรียนที่มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ดีมักประสบความสำเร็จในการเรียนวิชาอื่น ๆ ร่วมด้วยเป็นเช่นนี้เพราะ
ก. ได้เรียนรู้ทำกิจกรรมร่วมกลุ่มและเปลี่ยนความคิดเห็น
ข. ได้เรียนรู้ด้วยการฝึกซ้อม ทำแบบฝึกหัดสม่ำเสมอ
ค. ได้ฝึกคิดที่หลากหลายและเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
ง. มีระเบียบแบบแผนการปฏิบัติที่เป็นระบ
8. การจัดกิจกรรมการเรียนโดยให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เป็นการจัดกิจกรรมที่อาศัยองค์ความรู้ใด
ก. ตามหลักการสอนเด็กปฐมวัย
ข. ธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง
ค. หลักการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ง. ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์
9. ขั้นตอนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในชั้นเรียนปฐมวัยที่ถูกต้องคือ
ก. ตั้งคำถาม สำรวจ สร้างคำอธิบาย รวบรวมข้อมูลนำเสนอผล
ข. ตั้งคำถาม สำรวจ รวบรวมข้อมูล นำเสนอผล สร้างคำอธิบาย
ค. ตั้งคำถาม สำรวจ รวบรวมข้อมูล สร้างคำอธิบาย นำเสนอผล
ง. ตั้งคำถาม สร้างคำอธิบาย สำรวจ รวบรวมข้อมูลนำเสนอผล
10. วิธีการถามคำถามที่ดี คือ
ก. ถามโดยให้ทุกคนได้ตอบพร้อม ๆ กัน
ข. คำถามที่เข้าใจง่ายไม่ซ้อนคำถาม
ค. คำถามที่ยากจึงจะสามารถแยกเด็กเก่งได้ชัดเจน
ง. คำถามที่กำหนดเวลาจำกัดเพื่อเร่งให้เด็กใช้ศักยภาพเต็มที่
11. คำถามระดับสูงคือคำถามประเภท
ก. คำถามบ่งชี้ ข. คำถามให้เปรียบเทียบ
ค. คำถามเร้าความสนใจ ง. คำถามให้บอกความหมาย
12. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สามารถออกแบบบูรณาการในลักษณะ
ก. สัมพันธ์กับสาระทักษะวิชา
ข. สัมพันธ์กับพัฒนาการ 4 ด้าน
ค. สัมพันธ์กับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
ง. ถูกทุกข้อ
13. การกำหนดจุดประสงค์ สาระที่ควรรู้ ประสบการณ์สำคัญ ตลอดจนการประเมินพัฒนาการในการจัดกิจกรรมเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้น ได้จากการวิเคราะห์
ก. มาตรฐานการเรียนรู้
ข. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
ค. ตัวชี้วัดของแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้
ง. ไม่มีข้อใดถูก
14. เครื่องมือที่เหมาะสมกับการประเมินเจตคติของคณิตศาสตร์คือ
ก. แบบสังเกต
ข. แบบสัมภาษณ์
ค. การสะสมงาน
ง. แบบบันทึกพฤติกรรม
15. ข้อใดที่ไม่ถูกต้องตามหลักการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
ก. เป็นการประเมินกระบวนการปฏิบัติในสถานการณ์จริง
ข. เป็นการประเมินจากคะแนนที่ได้จากการทดสอบ
ค. เป็นการประเมินที่กระตุ้นให้ผู้เรียนประเมินตนเองจากการสำรวจของตนเอง
ง. เป็นการประเมินครอบคลุมด้านความรู้ ความคิด กระบวนการ พฤติกรรม และผลการปฏิบัติงาน
16. แฟ้มสะสมงานลักษณะใดที่เหมาะกับการประเมินตามสภาพจริง
ก. แฟ้มสะสมงานที่รวบรวมผลงานที่บ่งบอกจุดเด่นและจุดด้อย
ข. แฟ้มสะสมงานจากการทำกิจกรรมประจำวัน
ค. แฟ้มสะสมงานดีเด่นของเด็กปฐมวัย
ง. แฟ้มสะสมงานที่มีงานทั้ง 3 ลักษณะ
17. ร่องรอยหลักฐานใดที่ไม่ได้เป็นสารนิทัศน์ที่ครูปฐมวัยพึงจัดทำ
ก. ผลคะแนนสอบ
ข. แฟ้มสะสมงานเด็กเป็นรายบุคคล
ค. แบบบรรยายรายงานสรุปการดำเนินการเรียนตามรูปแบบการเรียนรู้
ง. แบบสังเกตพัฒนาการ แบบบันทึกพฤติกรรม แบบบันทึกพัฒนาการ
18. ข้อใดที่ไม่สอดคล้องกับแนวการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ก. ทำการทดสอบข้อเขียน เพื่อความคุ้นเคยเมื่อขึ้นระดับประถม
ข. ทำการประเมินควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ค. มีการรวบรวมผลงานนักเรียนเพื่อให้ในการประเมิน
ง. ทำอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน กำหนดเครื่องมือ
19. องค์ประกอบที่สำคัญในการประกันคุณภาพเป็นสถานศึกษาปฐมวัยตามเกณฑ์ของ สพฐ. มีกี่ด้าน
ก. 6 ด้าน
ข. 5 ด้าน
ค. 4 ด้าน
ง. 3 ด้าน
20. ปัจจัยที่แสดงให้เห็นคุณภาพการศึกษาในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาปฐมวัย ตามเกณฑ์ของ สพฐ. ประกอบด้วยด้านใด
ก. ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต
ข. ด้านผู้เรียน ด้านครู ด้านผู้บริหาร ด้านกรรมการสถานศึกษา
ค. ด้านคุณภาพผู้เรียน คุณภาพครู คุณภาพผู้บริหาร คุณภาพสิ่งแวดล้อม
ง. คุณภาพผู้เรียน การจัดการศึกษา สังคมแห่งการเรียนรู้ อัตลักษณ์การศึกษา ด้านการส่งเสริม

เฉลย
1ข 2 ง 3ก 4ก 5ง 6 ค 7ค 8 ข 9ค 10 ข
11 ข 12ง 13ค 14ข 15 ข 16 ก 17ก 18ก 19ข 20ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น